คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ.

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 637 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3062/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้าราชการผู้มีหน้าที่ดูแลการขายทอดตลาดเข้าสู้ราคาเองถือว่ามีคุณสมบัติถูกห้ามตามกฎหมาย
จำเลยที่ 1 เป็นข้าราชการดำรงตำแหน่งสรรพากรจังหวัด ซึ่งอยู่ในสังกัดกรมสรรพากร จำเลยที่ 2 มีหน้าที่โดยตรงในการดำเนินการนำที่ดินที่ยึดของผู้ค้างชำระค่าภาษีอากรขายทอดตลาด และจำเลยที่ 1 เป็นผู้เสนอจำเลยที่ 3ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการขายทอดตลาดที่ดินของโจทก์ ซึ่งเป็นหนี้ภาษีอากรค้างชำระ และจำเลยที่ 3 ก็แต่งตั้งบุคคลตามที่จำเลยที่ 1 เสนอ การกระทำของจำเลยที่ 1 ถือว่าได้ทำในนามของจำเลยที่ 2ทั้งสิ้น แม้จำเลยที่ 1 มิใช่เป็นกรรมการจัดการขายทอดตลาดด้วยก็ตาม ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ทอดตลาดตามความหมายแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 511 จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้มีคุณสมบัติต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวที่จะเข้าสู้ราคาซื้อที่ดินโจทก์ในการขายทอดตลาดซึ่งตนเป็นผู้อำนวยการเองตามประกาศของจำเลยที่ 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4816/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนมรดกที่เป็นโมฆะและการฟ้องเอาคืนทรัพย์สินจากผู้รับโอนที่ไม่มีสิทธิ
การห้ามฟ้องบุพการีตาม ป.พ.พ.มาตรา 1562 เป็นเหตุเฉพาะตัวระหว่างโจทก์ทั้งสามผู้เป็นบุตรกับจำเลยที่ 1 ผู้เป็นบิดาเท่านั้น หามีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกด้วยไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ปัญหาเรื่องโจทก์ทั้งสามมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 หรือไม่จึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจำเลยที่ 2 ไม่อาจยกเรื่องห้ามฟ้องจำเลยที่ 1 มาเป็นข้อต่อสู้โจทก์ทั้งสามได้
จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ห.มีหน้าที่แบ่งปันทรัพย์มรดกให้เป็นไปตามพินัยกรรมของ ห.ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1719 และจะทำนิติกรรมใด ๆ ซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกหาได้ไม่ ตามมาตรา1722 การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ห.โอนที่ดินพิพาทให้แก่ตนเองในฐานะส่วนตัว โดยจำเลยที่ 1 มิใช่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกตามพินัยกรรมของ ห.เป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกของ ห.ต้องห้ามโดยชัดแจ้งตามมาตรา 1722 จึงตกเป็นโมฆะตามมาตรา 113 เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะทำนิติกรรม ต้องถือเสมือนว่ามิได้มีนิติกรรมการโอนเกิดขึ้นเลยกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทยังคงเป็นกองมรดกของ ห.อยู่ หาตกไปเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัวไม่ สำหรับบ้านซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทเป็นส่วนควบของที่ดิน ย่อมตกได้แก่โจทก์ทั้งสามผู้รับพินัยกรรมด้วย
จำเลยที่ 2 ได้รับซื้อฝากและรับโอนชื่อทางทะเบียนในที่ดินพิพาทพร้อมบ้านไว้จากจำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัวซึ่งเป็นผู้ไม่มีสิทธิจะขายฝากได้ย่อมไม่เกิดผลให้จำเลยที่ 2 มีสิทธิตามนิติกรรมขายฝาก
โจทก์ทั้งสามฟ้องเพื่อเอาคืนซึ่งทรัพย์สินจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ จะนำอายุความตามมาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3647/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินวัดและธรณีสงฆ์: ห้ามจำเลยอ้างอายุความในการครอบครอง
ที่พิพาทเป็นที่ดินของวัดโจทก์อันเป็นที่ธรณีสงฆ์ จำเลยจึงไม่อาจอ้างการครอบครองและยกอายุความขึ้นต่อสู้กับโจทก์ได้ ทั้งนี้เพราะจำเลยต้องห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นต่อสู้กับวัดในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นที่วัดและที่ธรณีสงฆ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 34

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3075/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าปรับจากสัญญาซื้อขาย: สิทธิในการปรับและบอกเลิกสัญญา, การลดเบี้ยปรับ
ตามสัญญาซื้อขาย โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและปรับจำเลยผู้ขายได้ทั้งตามข้อ 8 และข้อ 9 ซึ่งตามสัญญาซื้อขาย ข้อ 9 วรรคแรกระบุว่า ในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกตามข้อ 8 ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละศูนย์จุดสอง (0.2) ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบ นับแต่วันถัดครบกำหนดการส่งมอบตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งให้แก่ผู้ซื้อจนถูกต้องครบถ้วนการที่จำเลยผิดนัดไม่ส่งมอบรถยนต์ให้โจทก์ โจทก์ได้ทวงถามเป็นหนังสือไปยังจำเลย3 ฉบับ และสงวนสิทธิที่จะปรับจำเลยเป็นรายวัน จำเลยมีหนังสือขอผ่อนผันการส่งมอบรถยนต์ต่อโจทก์รวม 4 ครั้ง แต่ในที่สุดจำเลยก็ไม่สามารถส่งมอบรถยนต์ให้โจทก์ได้ โจทก์จึงบอกเลิกสัญญา ดังนี้ การที่โจทก์สงวนสิทธิที่จะปรับจำเลยนั้นเป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิตามสัญญาซื้อขาย ข้อ 9 วรรคแรกแล้วก่อนที่จะบอกเลิกสัญญาดังนั้น เมื่อจำเลยผิดสัญญาจึงต้องชำระค่าปรับให้โจทก์ตามข้อสัญญาดังกล่าว และต่อมาในระหว่างที่มีการปรับนั้น เมื่อโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญา และริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7 กับเรียกร้องให้ใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นตามที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 8 วรรคสอง นอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาได้อีกตามสัญญาข้อ 9 วรรค 2 แต่เนื่องจากโจทก์เรียกค่าปรับมาสูงเกินส่วนเงินค่าปรับดังกล่าวเป็นเบี้ยปรับอย่างหนึ่ง ศาลมีอำนาจลดลงได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2971/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมกันทางละเมิด: การเช่าช่วงรถและขอบเขตความรับผิดของลูกจ้าง
จำเลยที่ 3 มีรถสำหรับท่องเที่ยวเป็นของตนเองเพื่อให้เช่าขณะที่ ส.ผู้แทนโจทก์และคณะทำสัญญาเช่ารถ จำเลยที่ 3 ยังไม่ทราบว่ารถมีไม่พอให้เช่า จึงต้องเช่ารถจากจำเลยที่ 2 เพื่อบริการแก่คณะของโจทก์แทน และจำเลยที่ 2 ผู้ให้เช่ารถจัดให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ขับรถพาคณะของโจทก์ไปยังจุดหมายตามข้อตกลง ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 นำรถเข้าร่วมบริการกับจำเลยที่ 3 โดยรับผลประโยชน์ร่วมกัน จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 นั้นเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 อันจะเป็นเหตุให้จำเลยที่ 3ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 89/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินของผู้เยาว์: จำเลยไม่ต้องรับผิดหากศาลไม่อนุญาตขาย
โจทก์ทราบดีอยู่แล้วในขณะทำสัญญาว่าที่ดินพิพาทเป็นของบุตรผู้เยาว์ของจำเลย ซึ่งจะต้องขออนุญาตศาลก่อนจึงจะขายได้ จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลขออนุญาตขายที่ดินแทนผู้เยาว์ภายหลังทำสัญญาจะซื้อขายกับโจทก์เพียงเดือนเศษไม่ปรากฏว่าพยานหลักญานที่จำเลยนำเข้าไต่สวนในคดีดังกล่าวนั้น จำเลยจงใจจะไม่ให้ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตเพื่อหลีกเลี่ยงการโอนขายที่ดินให้แก่โจทก์ การที่ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ขายที่ดินของบุตรผู้เยาว์ จะถือว่าเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยต้องรับผิดชอบหาได้ไม่ จำเลยไม่ผิดสัญญาจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าปรับให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2419/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนประกันภัย, การต่ออายุสัญญา, ตัวการรับผิด, ตัวแทนไม่ต้องรับผิด
โจทก์ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจากจำเลยที่ 2 มีที่ดินและบ้านจำนองเป็นประกันระเบียบของจำเลยที่ 2 กำหนดให้โจทก์เอาประกันบ้านดังกล่าวโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประโยชน์ในการประกันภัยผู้จัดการสาขาจำเลยที่ 2 และพนักงานเป็นผู้เตรียมแบบพิมพ์เอกสาร ทำสัญญาประกันภัยกับชำระเบี้ยประกันภัยที่สำนักงานสาขาจำเลยที่ 2 แทนจำเลยที่ 1 เมื่อออกกรมธรรม์ประกันภัยแล้ว จำเลยที่ 1 ส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยและใบเสร็จรับเงินเบี้ยประกันภัยให้สาขาจำเลยที่ 2 สาขาจำเลยที่ 2 จะส่งเฉพาะใบเสร็จรับเงินเบี้ยประกันภัยให้โจทก์ ส่วนกรมธรรม์ประกันภัยสาขาจำเลยที่ 2 เป็นผู้เก็บไว้เอง เมื่อกรมธรรม์ประกันภัยจะหมดอายุ สาขาจำเลยที่ 2ก็เป็นผู้แจ้งเตือนให้โจทก์ต่ออายุสัญญาประกันภัย พฤติการณ์ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้เชิดหรือรู้แล้วยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตนเองเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ในการรับประกันภัยบ้านโจทก์ที่จำนองไว้เป็นประกันกับจำเลยที่ 2
แม้ตัวแทนจำเลยที่ 1 จะรับเบี้ยประกันภัยเพื่อต่ออายุสัญญาประกันภัย เมื่อกรมธรรม์ประกันภัยขาดอายุแล้วก็ตาม แต่ตัวแทนของจำเลยที่ 1 ก็ยินยอมให้โจทก์ผัดชำระเบี้ยประกันภัยได้ และในกรณีเช่นนี้ตามปกติแล้วเมื่อตัวแทนจำเลยที่ 1 ติดต่อไปยังจำเลยที่ 1ทางจำเลยที่ 1 ก็ต่ออายุสัญญาให้ ถือว่าคู่สัญญามีเจตนาต่ออายุสัญญาประกันภัยให้มีผลผูกพันต่อไปอีก 1 ปี ตามเงื่อนไขเดิม
กฎหมายมิได้กำหนดแบบแห่งสัญญาประกันภัยไว้ สัญญาประกันภัยเกิดขึ้นเมื่อมีการแสดงเจตนาทำคำเสนอคำสนองถูกต้องตรงกัน
มีระเบียบของจำเลยที่ 2 กำหนดให้เอาประกันภัยทรัพย์สินที่จำนองไว้กับจำเลยที่ 2 การที่ผู้จัดการสาขาของจำเลยที่ 2 ดำเนินการให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้เอาประกันภัยทรัพย์สินที่จำนองกับจำเลยที่ 1 ย่อมมีผลให้จำเลยที่ 2 ได้หลักประกันที่มั่นคงยิ่งขึ้น ถือไม่ได้ว่าผู้จัดการสาขาของจำเลยที่ 2 ทำนอกเหนือวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 2 หรือนอกเหนือขอบอำนาจที่จำเลยที่ 2 มอบให้ผู้จัดการสาขาของจำเลยที่ 2 กระทำแทน
ในการเอาประกันภัยจำเลยที่ 2 ได้มีจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับประกันภัยให้แก่ลูกค้าของจำเลยที่ 2 โจทก์เป็นลูกค้าของจำเลยที่ 2 ได้เอาประกันภัยบ้านของโจทก์ที่จำนองไว้กับจำเลยที่ 2 โดยมีผู้จัดการสาขาจำเลยที่ 2 ดำเนินการให้ตั้งแต่ให้โจทก์กรอกแบบคำเสนอขอเอาประกันภัย รับเบี้ยประกันภัยจากโจทก์ไปชำระให้จำเลยที่ 1 รับกรมธรรม์ประกันภัยและใบเสร็จรับเงินเบี้ยประกันภัยจากจำเลยที่ 1 มาให้โจทก์ ลักษณะการกระทำของผู้จัดการสาขาจำเลยที่ 2 แสดงว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนโดยปริยายของโจทก์ในการติดต่อทำนิติกรรมประกันภัยกับจำเลยที่ 1
เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นตัวการต้องรับผิดต่อโจทก์แล้ว จำเลยที่ 2 ในฐานะตัวแทนแม้จะประมาทเลินเล่อไม่ส่งเบี้ยประกันภัยในเวลาอันสมควรให้แก่จำเลยที่ 1 โจทก์ในฐานะตัวการย่อมไม่ได้รับความเสียหายเพราะความเสียหายได้หมดไปโดยโจทก์ย่อมบังคับเอาจากจำเลยที่ 1ได้ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6095/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งในคดีแรงงาน: สิทธิและหน้าที่ตามสัญญาจ้างเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม
ตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม การที่จำเลยจะฟ้องแย้งเข้ามาในคดีที่ถูกฟ้องนั้น เรื่องที่ฟ้องแย้งจะต้องเกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะพิจารณารวมกันได้ เพื่อจะได้พิจารณาไปเสียคราวเดียวกัน
โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาจ้างแรงงานโดยไม่จ่ายค่าจ้างให้โจทก์ตามกำหนดในสัญญา โดยไม่มีเหตุอันสมควร ขอให้จำเลยชำระค่าจ้างที่ค้างพร้อมด้วยดอกเบี้ยและเงินเพิ่มอีกร้อยละสิบห้าทุกระยะเจ็ดวันตามประกาศ กระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานจำเลยให้การว่า ได้ทำสัญญาจ้างแรงงานกับโจทก์จริง และฟ้องแย้งว่าโจทก์ปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์จำเลยโดยไม่ทำหน้าที่ตามที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญา เป็นเหตุให้จำเลยต้องถูกลูกค้าปรับและขาดกำไรไปอย่างมาก ทำให้เกิดปัญหาทางด้านการเงินอันเป็นเหตุหนึ่งที่จำเลยไม่อาจจ่ายค่าจ้างให้แก่พนักงานของจำเลยได้ขอให้โจทก์ ใช้ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาเช่นนี้ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาทั้งตามคำฟ้องของโจทก์และฟ้องแย้งของ จำเลยนั้นมาจากสิทธิและหน้าที่ที่มีต่อกันตามสัญญาจ้างแรงงาน และข้ออ้างตามฟ้องแย้งของจำเลยที่ว่าโจทก์ทำผิดสัญญาในการทำหน้าที่ที่กำหนดไว้ต่อกันทำให้จำเลยเสียหาย จนไม่อาจจ่ายค่าจ้างได้ตามกำหนดเวลาก็เป็นข้ออ้างที่เป็นข้อเท็จจริงอันเดียวกันกับที่จำเลยยกขึ้นมาเป็นข้อปฏิเสธคำฟ้องของโจทก์ในข้อที่โจทก์อ้างว่าจำเลยไม่จ่ายค่าจ้างให้โจทก์ตามกำหนดเวลาโดยปราศจากเหตุอันสมควรตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นคำฟ้องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมที่สามารถพิจารณารวมกันไปได้ศาลชอบที่จะรับฟ้องแย้งของ จำเลยไว้พิจารณาดำเนินการต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6024/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างเดิมเป็นเกณฑ์คำนวณค่าชดเชย-สินจ้างแทนการบอกกล่าว กรณีจำเลยลดค่าจ้าง และศาลแรงงานกำหนดค่าเสียหายเลิกจ้างไม่เป็นธรรมได้
เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า เดิมโจทก์ได้รับค่าจ้างเดือนละ43,000 บาท แต่ต่อมาโจทก์ได้รับค่าจ้างไม่ครบจำนวนดังกล่าวเพราะการกระทำของจำเลยที่ผิดสัญญาจ้าง การคำนวณค่าชดเชยกับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจึงต้องนำค่าจ้างเดือนละ 43,000 บาท มาเป็น เกณฑ์ในการคำนวณ และเมื่อจำเลยจ่ายเงินเดือนให้โจทก์ไม่ครบ43,000 บาท จำเลยจึงต้องจ่ายค่าจ้างส่วนที่ขาดให้แก่โจทก์
ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมเป็นค่าเสียหาย ที่ ศาลแรงงานกลางกำหนดให้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ซึ่งบัญญัติให้นายจ้างชดใช้แทนโดยคำนึงถึงอายุของลูกจ้าง ระยะเวลาการทำงานของลูกจ้างความเดือดร้อนของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้าง มูลเหตุแห่งการเลิกจ้างและค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับประกอบการพิจารณา เมื่อคดี มี ข้อเท็จจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าวอย่างครบถ้วนศาลแรงงานกลางย่อมนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาเป็นเกณฑ์ในการกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ได้แม้โจทก์ไม่ได้นำสืบถึงค่าเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5957/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความครอบครองปรปักษ์: การแย่งการครอบครองและผลกระทบต่อสิทธิเรียกร้องคืน
มารดาโจทก์จำเลยถึงแก่ความตายเมื่อปี พ.ศ. 2520 หลังจากมารดาถึงแก่ความตายไปได้ประมาณ 5 เดือน โจทก์ได้บอกจำเลยว่า มารดาทำพินัยกรรมยกที่พิพาทตาม ส.ค.1 เลขที่ 27 ให้โจทก์ ให้จำเลยรื้อถอนบ้านออกไป จำเลยโต้แย้งว่ามารดายกที่ดินให้จำเลยแล้วจำเลยไม่ยอมมอบที่ดินให้โจทก์ ถือว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่พิพาทจากโจทก์นับแต่วันนั้น โจทก์เพิ่งฟ้องคดีเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน2527 เป็นเวลาเกิน 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375 วรรคสอง โจทก์จึงหมดสิทธิที่จะเรียกเอาคืนการครอบครอง.
of 64