คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ.

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 637 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันหนี้: การทวงหนี้และผลกระทบต่อความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
จำเลยเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ ตามสัญญากู้ที่กำหนดเวลาชำระไว้แน่นอน คือ ภายในวันที่ 25 กันยายน 2500 เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระโจทก์ไม่ได้ทวงถามจำเลย แต่กลับมีหนังสือลงวันที่ 1 ตุลาคม 2500 ถึงลูกหนี้ให้นำเงินมาชำระภายในวันที่ 15 ตุลาคม 2500 ดังนี้ หนังสือนั้นเป็นหนังสือทวงหนี้บอกกล่าวกำหนดวันให้นำเงินมาชำระ ไม่มีข้อความกล่าวถึงเรื่องผ่อนเวลาชำระหนี้ จึงเป็นเพียงเรื่องที่ผู้กู้ผิดนัดและผู้ให้กู้ไม่ฟ้องร้องทันทีเท่านั้นหาใช่เป็นเรื่องผ่อนเวลาชำระหนี้ไม่
การที่เจ้าหนี้ผู้ให้กู้มิได้บรรยายในฟ้องที่ฟ้องลูกหนี้ผู้กู้ว่าจะฟ้องผู้ค้ำประกันในภายหลังนั้น ไม่มีผลให้ผู้ค้ำประกันพ้นความรับผิด ผู้ค้ำประกันจะพ้นความรับผิดก็ต่อเมื่อสัญญาค้ำประกันระงับสิ้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 229/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการใช้บทบัญญัติมาตรา 100 พ.ร.บ.ล้มละลาย: ข้อต่อสู้เฉพาะคดีล้มละลายเท่านั้น
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 100 ซึ่งบัญญัติว่า ดอกเบี้ยหรือเงินค่าป่วยการอื่นแทนดอกเบี้ยภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ไม่ให้ถือว่าเป็นหนี้ที่จะขอชำระได้นั้น เป็นบทบังคับของกฎหมายพิเศษมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้คดีล้มละลายได้เหมือนคดีแพ่งสามัญเท่านั้นหาใช่บทบังคับของกฎหมายทั่วไปว่า ในกรณีที่ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายแล้ว ห้ามมิให้เจ้าหนี้ใช้สิทธิใดๆ เรียกร้องเอาดอกเบี้ยภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไม่ กฎหมายมาตรานี้จึงเป็นข้อต่อสู้ที่ลูกหนี้จะยกขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ได้เฉพาะในคดีล้มละลายเท่านั้น
ฉะนั้น ผู้ค้ำประกันลูกหนี้ดังกล่าวซึ่งทำสัญญาผูกพันตนไว้โดยไม่จำกัดความรับผิด เมื่อตนถูกเจ้าหนี้ฟ้องเป็นคดีแพ่งธรรมดาให้รับผิดแทนลูกหนี้ในดอกเบี้ยภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ จึงไม่อาจยกกฎหมายมาตรานี้ขึ้นต่อสู้เพื่อให้ตนพ้นความรับผิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 182/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าค้าขาย-ที่อยู่อาศัย: ไม่คุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า แม้มีกฎหมายใหม่
สัญญาเช่าห้องแถวระบุว่า ให้เช่าเป็นที่อยู่และค้าขายแต่ตามข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้เช่าเช่าด้วยเจตนาประกอบธุรกิจการค้าเป็นส่วนสำคัญ แม้จะใช้เป็นที่อยู่อาศัยด้วยก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขันฯ
เมื่อคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา มีพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดินฯ ออกใช้บังคับ ผู้เช่าก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายใหม่ เพราะคดีพิพาทกันก่อนกฎหมายใหม่ออกใช้ ทั้งตามข้อเท็จจริง ผู้เช่าก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายใหม่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1980/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ใช้รถที่วานบุคคลภายนอกขับ ไม่ต้องรับผิดในความเสียหายจากการละเมิด
การใช้หรือวานบุคคลที่มิใช่ลูกจ้างให้ขับรถยนต์ไปในธุรกิจของผู้ใช้เอง โดยผู้ถูกใช้เป็นผู้ที่ขับรถยนต์ได้และเคยขับให้ผู้ใช้มาก่อนแล้วนั้น หากผู้ถูกใช้ขับรถยนต์ไปชนบุคคลอื่นอันเป็นการละเมิดขึ้น ผู้ใช้หาจำต้องร่วมรับผิดด้วยไม่ เพราะมิได้ประมาทเลินเล่อในการใช้หรือวาน
การรับใช้หรือรับวานขับรถยนต์ให้นั้น ไม่ใช่เป็นตัวแทนเพราะมิใช่เป็นกิจการที่ทำแทนตัวการต่อบุคคลที่สามแต่เป็นกิจการระหว่างผู้ใช้กับผู้รับใช้ ไม่ได้เกี่ยวกับบุคคลที่สามเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1848/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเงินจากสัญญา TRUST RECEIPT: พิจารณาจากการเรียกค่าขายสินค้า ไม่ใช่เงินทดรอง
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามข้อตกลงในสัญญาใบรับสินค้าเชื่อ(TRUSTRECEIPT) ซึ่งโจทก์มอบอำนาจให้จำเลยไปจัดการขายสินค้า และนำเงินมาชำระให้โจทก์ตามที่กำหนดกันไว้ กรณีเช่นนี้ เป็นการเรียกเงินค่าขายของ ไม่ใช่เรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองไป ตามมาตรา 165(1) อายุความฟ้องร้องจึงมีกำหนด 10 ปี ตามมาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1807/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน: ความรับผิดจำกัดเฉพาะการมอบหมายให้เก็บเงิน
ทำสัญญาค้ำประกันผู้มีหน้าที่เก็บเงินของการไฟฟ้าฯไว้ว่าถ้าบุคคลนั้นทำความเสียหาย เป็นเหตุให้เงินของการไฟฟ้าฯ ที่ตนได้รับมอบหมายให้ไปเก็บจากลูกหนี้ ขาดหายสูญเสียไปด้วยประการใด ผู้ค้ำประกันยอมรับชดใช้ให้ นั้นหากปรากฏว่าบุคคลนั้นปลอมแปลงใบเสร็จรับเงินแล้วไปเก็บเงินเอาเสียเอง ผู้ค้ำประกันย่อมไม่ต้องรับผิด เพราะมิได้มีการมอบหมายให้ไปเก็บเงินแต่อย่างใด
สัญญาค้ำประกันเป็นสัญญาที่ผู้ค้ำประกันมีความรับผิดแต่ฝ่ายเดียวการตีความจึงต้องเป็นไปโดยเคร่งครัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1754/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางภารจำยอมต้องเกิดจากการใช้สิทธิอย่างเปิดเผยต่อเนื่องหลังแบ่งแยกที่ดิน
ทางเดินพิพาทอยู่ในที่ดินโฉนดแปลงเดียวกัน ซึ่งมีเจ้าของรวมสองฝ่ายครอบครองร่วมกันมา โดยมิได้แยกกันครอบครองเป็นส่วนสัดและในระหว่างนั้น แม้ผู้เช่าห้องแถวของเจ้าของรวมอีกฝ่ายหนึ่งจะได้ใช้ทางเดินพิพาทนั้นมาเป็นเวลา 20 ปีเศษ ก็ตาม แต่ภายหลังเมื่อได้แบ่งแยกโฉนดครอบครองกันเป็นส่วนสัดแล้ว ยังใช้ทางเดินพิพาทนั้นต่อมาไม่ถึง 10 ปี นับแต่ได้แยกกันครอบครอง ทางเดินพิพาทย่อมไม่เป็นทางภารจำยอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1741/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้เริ่มก่อการบริษัทจำกัดที่ยังมิได้จดทะเบียน
ฟ้องว่า บริษัทจำกัดทำละเมิด ภายหลังปรากฏว่าบริษัทยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล โจทก์ก็ขอให้ศาลเรียกผู้เริ่มก่อการเข้ามาเป็นจำเลยรับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัวตาม มาตรา 1113 ได้
จดทะเบียนเป็นผู้เริ่มก่อการและเป็นผู้ถือหุ้นตามหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว หากจะเปลี่ยนแปลงก็ต้องจดทะเบียน ณ หอทะเบียนแห่งเดียวกันนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1016 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1671/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนข้อผูกพันสัญญาเดิมเป็นสัญญากู้ และผลของการอ้างนิติกรรมอำพรางต่อเงื่อนเวลา
สองฝ่ายมีหนี้สินเกี่ยวค้างกัน คิดบัญชีกันแล้วฝ่ายหนึ่งยังเป็นหนี้อีกฝ่ายหนึ่งอยู่ จึงตกลงทำเป็นสัญญากู้ไว้ ดังนี้ เป็นกรณีที่คู่สัญญาตกลงเปลี่ยนข้อผูกพันจากสัญญาเดิมมาผูกพันตามสัญญากู้ สัญญากู้จึงไม่ใช่นิติกรรมอำพราง
เจ้าหนี้ฟ้องเรียกเงินกู้ก่อนถึงกำหนดชำระ ลูกหนี้ปฏิเสธความรับผิด อ้างว่าเป็นนิติกรรมอำพราง ย่อมแสดงว่าลูกหนี้ไม่ถือเอาประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาในสัญญากู้นั้น เงื่อนเวลาจึงไม่เป็นข้อที่ลูกหนี้จะอ้างเป็นประโยชน์ได้ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1646/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแย่งการครอบครองที่ดินเกินหนึ่งปี ศาลยกฟ้องได้ แม้จำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยได้แย่งการครอบครองที่ดินมือเปล่าไปจากโจทก์ และโจทก์ได้ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองเมื่อเกินกว่าหนึ่งปีแล้ว ศาลก็ชอบที่จะยก มาตรา 1375 ขึ้นยกฟ้องโจทก์เสียได้แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การ
of 64