คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ.

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 637 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5917/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดในการฎีกาเรื่องใหม่นอกเหนือจากที่เคยต่อสู้ในศาลชั้นต้น และความรับผิดร่วมกันในหนี้จากการประกอบธุรกิจสามีภริยา
จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า โจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน แท้จริงแล้วน้องชายโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน การที่น้องชายโจทก์โอนหนี้ให้แก่โจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามสัญญารับสภาพหนี้เป็นการโอนหนี้ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ และจำเลยที่ 1 ลงชื่อในสัญญารับสภาพหนี้ด้วยความหวาดกลัว แต่จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้คดีไว้ว่าสัญญารับสภาพหนี้เป็นเอกสารปลอมที่โจทก์ทำขึ้นเอง ลายมือชื่อก็ไม่ใช่ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 มีมูลหนี้ต่อโจทก์ไม่ถึงตามจำนวนที่โจทก์ฟ้อง ดังนั้นข้อที่จำเลยที่ 1 ยกขึ้นฎีกาดังกล่าวเป็นข้อที่นอกเหนือจากที่จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้คดีไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก
พฤติการณ์ที่ร้านค้าของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสามีภริยากันชื่อเหมือนกับชื่อหมู่บ้านที่โจทก์ส่งวัสดุก่อสร้างมาให้จำเลยทั้งสองเคยไปดูแลการทำงานของช่างก่อสร้างในหมู่บ้านดังกล่าวและบ้านของจำเลยทั้งสองถูกใช้เป็นสำนักงาน โดยมีเสมียนเข้าไปทำงานในบ้านของจำเลยทั้งสองจำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาชำระหนี้และบันทึกข้อความในฐานะภริยาผู้ให้ความยินยอมแสดงให้เห็นได้ว่ากิจการ ก่อสร้างหมู่บ้านดังกล่าวเป็นการงานที่จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสามีภริยาทำด้วยกัน ดังนั้นหนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่จำเลยที่ 2 ต้องเป็นลูกหนี้ร่วมกันกับจำเลยที่ 1 ด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1490 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5771/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเพิกถอนใบอนุญาตสมาคมที่ไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับและเกิดความแตกแยกภายใน
สมาคมโจทก์มีวัตถุประสงค์ดำเนินกิจการเพื่อเผยแพร่ศาสนาอยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2485 จะต้องปฏิบัติตามข้อบังคับของสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ เรื่องควบคุมสมาคมและองค์การต่าง ๆ การที่สมาคมโจทก์ไม่แจ้งจำนวนสมาชิกทุกประเภทและรายชื่อกรรมการ ไม่รายงานกิจการที่สมาคมได้ดำเนินการไปต่อจำเลยที่ 1 อันเป็นการขัดต่อข้อบังคับดังกล่าวไม่แจ้งจำเลยที่ 1 ภายในกำหนดว่าประสงค์จะดำเนินกิจการอีกต่อไปทั้งสมาชิกของสมาคมโจทก์มีความแตกแยกเป็นหลายฝ่ายถึงขั้นแจ้งความจับกุมสมาชิกซึ่งกันและกัน นำคดีมาฟ้องร้องต่อศาลหลายคดี อันเป็นการก่อให้เกิดความไม่สงบในบ้านเมือง และขัดต่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้นเป็นที่เสียหายแก่สมาคมโจทก์ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ควบคุมดูแลสมาคมโจทก์ย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนการอนุญาตที่ให้ไว้แก่สมาคมโจทก์ได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นการละเมิดโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5756/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: การรื้อฟ้องคดีกรรมสิทธิ์ที่ดินเดิมที่ศาลมีคำสั่งถึงที่สุดแล้ว
ผู้ร้องเคยยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนในโฉนดที่ดินเลขที่ 1417 ที่ผู้คัดค้านมีชื่อถือกรรมสิทธิ์โดยผู้ร้องได้แนบแผนที่สังเขปแสดงรูปลักษณะของที่ดินที่ผู้ร้องได้ครอบครองมา ท้ายคำร้องขอด้วย และศาลชั้นต้นก็ได้วินิจฉัยว่าผู้ร้องครอบครองที่ดินแปลงตามคำร้องขอจนได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ครั้นผู้ร้องมายื่นคำร้องขอในคดีนี้ก็กล่าวในคำร้องขอว่าเป็นที่ดินที่ผู้ร้องได้ครอบครองอยู่ในขณะที่ยื่นคำร้องขอ ในคดีเดิม เมื่อที่พิพาทในคดีนี้เป็นที่ดินแปลงเดียวกันกับที่ดินที่ผู้ร้องร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ และศาลได้มีคำสั่งถึงที่สุดแล้วว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ตามคดีเดิม ฉะนั้น ที่ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอเป็นคดีนี้อีกจึงเป็นการรื้อร้องเพื่อให้ศาลวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกับคดีก่อนนั่นเอง ถือว่าเป็นฟ้องซ้ำ
ปัญหาเรื่องฟ้องซ้ำ แม้จะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นว่ากล่าว แต่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลยกขึ้นวินิจฉัยเองได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5723/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย การซื้อขายเช็ค และเช็คไม่มีมูลหนี้
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คผู้ถือแล้วมอบให้ ว.เป็นการชั่วคราวตามคำขอร้อง ของ ก. มารดาจำเลย ต่อมา ก.ได้ออกเช็คของ ก. มอบให้ ว. แทนเช็คพิพาท และ ว. นำเช็คฉบับหลังขึ้นเงินได้แล้วแต่ไม่คืนเช็คพิพาทให้จำเลย จำเลยไม่ได้ออกเช็คพิพาทให้โจทก์ และโจทก์ไม่เคยได้เช็คพิพาทไว้ในครอบครองโจทก์เพียงแต่มีภาพถ่ายเช็คพิพาทไว้เท่านั้น ดังนี้ โจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5701/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การคิดคำนวณหนี้ที่จำหน่ายเป็นเงินตราต่างประเทศ
ข้อกฎหมายเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคสอง เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคสอง บัญญัติไว้ว่า การเปลี่ยนเงินให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน อัตราแลกเปลี่ยนเงินตามมาตรานี้ ย่อมต้องหมายถึงอัตราที่จะแลกเปลี่ยนกันได้โดยเสรี ซึ่งตามปกติจะคิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินโดยเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ที่ทำการขายเงินตราต่างประเทศเป็น เงินตราของประเทศในกรุงเทพมหานครเป็นเกณฑ์ และเพื่อความสะดวกแก่การบังคับคดี จึงให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนโดยธนาคารพาณิชย์ในวันที่มีคำพิพากษาของศาลฎีกา ถ้าไม่มีอัตราการขายในวันนั้นให้ถือเอาวันสุดท้ายที่มีอัตราการขายเช่นว่านั้นก่อนวันพิพากษา
การที่โจทก์ขอใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศขณะยื่นฟ้องเป็นเกณฑ์คำนวณในการมีคำขอท้ายฟ้อง และโจทก์ไม่อุทธรณ์ฎีกาคัดค้านเงินเหรียญสหรัฐ ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยคิดเป็นเงินไทย โจทก์จึงไม่อาจรับชำระหนี้จากจำเลยเกินกว่าจำนวนเงินไทยดังกล่าวได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5646/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องค่าบริการโทรศัพท์: การพิจารณาประเภทของโจทก์และลักษณะของสิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จำเลยให้การว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ เนื่องจากสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ค่าใช้บริการโทรศัพท์ตามฟ้องเริ่มวันที่ 1 เมษายน2526 โจทก์ฟ้องเกินกำหนดไม่อาจบังคับจำเลยได้ คำให้การดังกล่าวได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความแล้ว
ผู้ใช้บริการวิทยุโทรศัพท์ระหว่างประเทศของโจทก์ โดยเครื่องโทรศัพท์ที่เช่าจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยผ่านเครื่องวิทยุโทรศัพท์ของโจทก์ จะต้องเสียค่าบริการตามอัตราที่โจทก์กำหนดไว้ ค่าบริการดังกล่าวก็คือสินจ้างนั่นเอง ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ค้าในการรับทำการงานต่าง ๆ เมื่อโจทก์เรียกเอาสินจ้างอันพึงจะได้รับในการนั้นจากจำเลย สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(7).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5637/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดทางการแพทย์: การฉีดวัคซีน MMR หญิงมีครรภ์ ไม่พบความประมาเลินเล่อ เหตุทำแท้งเกิดจากความกลัวส่วนตัว
โจทก์ขณะเป็นหญิงมีครรภ์ได้ไปปรึกษาแพทย์ที่โรงพยาบาลจำเลยที่ 1 เพื่อขอคำแนะนำในการป้องกันการติดเชื้อหัดเยอรมัน จำเลยที่ 2 แพทย์ผู้ตรวจจึงได้ฉีดวัคซีน เอ็ม.เอ็ม.อาร์. ให้โจทก์ ต่อมาโจทก์ทราบว่าวัคซีนดังกล่าวห้ามใช้กับหญิงมีครรภ์ โจทก์ไปขอคำปรึกษาจากแพทย์อีก แพทย์แจ้งว่าวัคซีนที่ฉีดให้โจทก์ไม่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ แต่โจทก์ยืนยันจะทำแท้ง แพทย์เห็นว่าโจทก์มีสุขภาพจิตแย่มากจึงยอมทำแท้งให้ ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ทำแท้งเพราะกลัวไปเองว่าทารกในครรภ์จะคลอดออกมาพิการมิใช่เพราะวัคซีน เอ็ม.เอ็ม.อาร์. ที่จำเลยที่ 2 ฉีด ให้โจทก์ทำให้ทารกในครรภ์ของโจทก์พิการ การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5624/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินโดยอาศัยสิทธิของผู้อื่น แม้ครอบครองนานก็ไม่เกิดสิทธิครอบครองเอง
จำเลยขออาศัยอยู่ในที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ การครอบครองที่ดินของจำเลยจึงเท่ากับเป็นการอาศัยสิทธิของโจทก์ แม้จะครอบครองมานานเกินกว่าหนึ่งปีก็หาได้เกิดสิทธิครอบครองของจำเลยเองไม่ หากโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยอาศัยอยู่ต่อไปโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5590/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินต้องรอการประเมินภาษีจากเจ้าหน้าที่ และห้ามคิดดอกเบี้ยซ้อนจากเงินเพิ่ม
แม้ลูกหนี้จะมีหน้าที่เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นรายปีก็ตาม แต่จะต้องเสียเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประเมินภาษีและแจ้งรายการประเมินให้ลูกหนี้ทราบแล้วตามความในภาค 3เรื่องวิธีดำเนินการประเมินและจัดเก็บภาษีแห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 ซึ่งผู้รับการประเมินจะต้องเสียภาษีในกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งการประเมินตามมาตรา 38ฉะนั้นเมื่อเจ้าหนี้ยังมิได้ประเมินภาษีและแจ้งให้ลูกหนี้ทราบจำนวนภาษีที่จะต้องเสีย ลูกหนี้ก็ยังไม่ต้องชำระหนี้ภาษีดังกล่าวเจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ภาษีนั้น
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 43บัญญัติทางแก้สำหรับกรณีลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระเงินค่าภาษีที่ค้างชำระไว้โดยเฉพาะแล้วว่า ผู้ค้างชำระจะต้องเสียเงินเพิ่มคิดเป็นร้อยละตามจำนวนค่าภาษีที่ค้างและมีอัตราเงินเพิ่มสูงขึ้นตามเวลาที่ค้างชำระ จึงคิดดอกเบี้ยซ้อนเข้าไปอีกในระหว่างผิดนัดไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5558/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน 3 ปีต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน หากไม่จดทะเบียน สิทธิบังคับได้เพียง 3 ปี
จำเลยเช่าที่ดินของ ห. มีกำหนด 10 ปี โดยทำสัญญาเป็นหนังสือแต่ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงมีผลบังคับกันได้เพียง 3 ปี ที่จำเลยให้การว่ากำหนดเวลาเช่าที่เกินกว่า 3 ปีเป็นคำมั่นซึ่งมีผลบังคับ ห. ได้ จึงมีผลบังคับ พ. ผู้รับโอนที่ดินจาก ห. ด้วยนั้น ไม่มีบทกฎหมายรับรองสิทธิให้บังคับตามที่จำเลยให้การ ศาลชอบที่จะพิพากษาคดีได้โดยไม่จำต้องสืบพยาน.
of 64