คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุมิตร สุภาดุลย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 320 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4063/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมที่ไม่แจ้งสิทธิผู้ต้องหา ทำให้คำรับสารภาพและพยานหลักฐานอื่น ๆ ที่ได้มาใช้ไม่ได้ ศาลยกฟ้อง
เมื่อมีการจับกุมตัวจำเลยทั้งสามและแจ้งข้อหาแก่จำเลยทั้งสามแล้ว ไม่ปรากฏว่าได้มีการแจ้งสิทธิให้จำเลยทั้งสามทราบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 7 ทวิ (เดิม) ซึ่งเป็นบทบังคับให้ผู้จับมีหน้าที่ต้องแจ้งสิทธิให้ผู้ต้องหาทราบถึงสิทธิรวม 3 ประการ โดยเฉพาะประการที่ 1 คือพบและปรึกษาผู้ที่จะเป็นทนายสองต่อสอง ดังนั้น บันทึกการจับกุมของจำเลยทั้งสาม จึงไม่อาจรับฟังได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3892/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการขอเปิดทางจำเป็นในที่ดินจัดสรร แม้มีภาระจำยอมสาธารณูปโภค การเปิดทางจำเป็นไม่ขัดต่อกฎหมายจัดสรรที่ดิน
แม้ทางจำเป็นที่โจทก์ขอผ่านที่ดินจัดสรรของจำเลยเป็นถนนซึ่งเป็นสาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรได้จัดให้มีขึ้นและตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรร ซึ่งมี พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดินฯ มาตรา 43 วรรคหนึ่ง บัญญัติห้ามมิให้ผู้จัดสรรที่ดินกระทำการใดอันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก แต่เมื่อจำเลยรับว่าถนนดังกล่าวตกอยู่ภายใต้สิทธิที่โจทก์จะขอเปิดทางจำเป็นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นไปโดยผลของกฎหมาย มิใช่เป็นเรื่องที่ผู้จัดสรรที่ดินทำนิติกรรมอันก่อให้เกิดภาระแก่ที่ดินที่ตกเป็นสาธารณูปโภค จึงหาได้ขัดต่อกฎหมายดังกล่าวไม่ และหากการที่จำเลยเปิดทางจำเป็นให้แก่โจทก์ทำให้จำเลยต้องเสียหายจำเลยย่อมมีสิทธิเรียกค่าทดแทนเพื่อความเสียหายจากโจทก์ได้ โจทก์จึงมีสิทธิขอให้เปิดทางพิพาทที่จำเลยสร้างรั้วกำแพงปิดกั้นเพื่อใช้เป็นทางเข้าออกและจัดวางท่อระบายน้ำ สายไฟฟ้า สายโทรศัพท์สู่ทางสาธารณะได้
เมื่อทางพิพาทเป็นทางจำเป็นแล้ว โจทก์มีสิทธิใช้ทางดังกล่าวได้โดยอำนาจของกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 จึงไม่จำต้องให้จำเลยไปจดทะเบียนทางจำเป็นตามคำขอของโจทก์อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2722/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยักยอกทรัพย์: โจทก์ไม่จำเป็นต้องบรรยายเจตนาทุจริต หากเป็นการนำทรัพย์ฝากไว้
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้นำทรัพย์รวม 44 รายการ ฝากจำเลยไว้เมื่อประมาณปี 2532 ถึงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2539 ต่อมาโจทก์ให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยคืนทรัพย์ดังกล่าวแก่โจทก์ แต่จำเลยหาได้นำทรัพย์มาคืนให้โจทก์ไม่ โดยจำเลยมีเจตนาเบียดบังเอาทรัพย์ดังกล่าวเป็นของตนเองหรือผู้อื่น อันเป็นการยักยอกทรัพย์ ดังนี้ แม้ความผิดฐานยักยอกจะต้องปรากฏว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตอันเป็นองค์ประกอบอยู่ด้วย แต่การยักยอกทรัพย์ย่อมมีความหมายถึงการบังอาจเอาทรัพย์ที่ผู้อื่นฝากไว้ไปโดยมีเจตนาทุจริตอยู่ในตัวอยู่แล้ว ฉะนั้น โจทก์จึงไม่จำเป็นต้องบรรยายฟ้องว่าจำเลยทุจริตหรือโดยทุจริตแต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2523/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผลิตเมทแอมเฟตามีน: การปรับบทลงโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ และอำนาจศาลฎีกาในการปรับบทกฎหมาย
ขณะที่เจ้าพนักงานตำรวจเข้าจับกุมจำเลย จำเลยกำลังนั่งปรุงผสมเมทแอมเฟตามีน โดยยึดได้เครื่องมือที่จำเลยใช้ มีแปรงสีฟัน ตลับพลาสติก บล็อกพิมพ์เมทแอมเฟตามีนที่มีรูปตัวอักษรดับเบิลยูวายทำด้วยเทียนสีเหลือง มีดคัทเตอร์ ไม้ไผ่เสียบลูกชิ้น และผงเมทแอมเฟตามีนปรุงแต่งผสมน้ำอยู่ครึ่งตลับ ตรวจค้นตัวจำเลยพบเมทแอมเฟตามีน 4 เม็ด เมื่อพิจารณาการกระทำของจำเลยประกอบกับเครื่องมือวัสดุต่าง ๆ ที่จำเลยใช้ในการปรุงผสมเมทแอมเฟตามีน ซึ่งจับกุมได้ชนิดที่เรียกว่าคาหนังคาเขาเช่นนี้ เห็นว่า แม้จะพบผงเมทแอมเฟตามีนปรุงแต่งผสมน้ำอยู่เพียงครึ่งตลับกับมีเครื่องมือต่าง ๆ เป็นเศษวัสดุที่สามารถหาได้ทั่วไปก็ตาม การกระทำของจำเลยก็เป็นการทำผสมแปรสภาพเมทแอมเฟตามีน ถือได้ว่าเป็นการผลิตตามบทนิยามของ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 4 ซึ่งบัญญัติคำว่า "ผลิต" มีความหมายว่า เพาะ ปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูป หรือสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์แล้ว ลักษณะการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานผลิตเมทแอมเฟตามีนตามฟ้อง
ศาลอุทธรณ์ปรับบทลงโทษจำเลยฐานผลิตเมทแอมเฟตามีนตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 65 วรรคสาม (ที่แก้ไขใหม่) และลงโทษจำคุกจำเลย 4 ปี นั้น ไม่ถูกต้อง เพราะการผลิตโดยการทำ ผสม แปรสภาพเมทแอมเฟตามีน หาใช่การผลิตในการแบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุและมีน้ำหนักสุทธิไม่ถึงหนึ่งจุดห้ากรัมอันจะต้องด้วยบทกำหนดโทษดังกล่าวไม่ แต่การกระทำความผิดของจำเลยต้องด้วยบทกำหนดโทษตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง (เดิม) ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต แต่เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาจึงมิอาจเปลี่ยนแปลงโทษของจำเลยให้ถูกต้องได้เพราะเป็นการเพิ่มเติมโทษอันเป็นผลร้ายแก่จำเลย ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1484/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขู่กรรโชกทรัพย์ด้วยการข่มขู่จะทำลายทรัพย์สินของผู้เสียหาย ถือเป็นความผิดฐานกรรโชก
จำเลยขู่เข็ญให้ผู้เสียหายนำเงิน 5,500 บาท มามอบให้เป็นค่าไถ่โทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายที่จำเลยรับมาจากคนร้ายที่ลักทรัพย์ และหากไม่นำมาให้จะไม่ได้รับโทรศัพท์คืนจำเลยจะนำไปขายให้แก่บุคคลอื่น เข้าลักษณะเป็นการขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญคือขายโทรศัพท์เคลื่อนที่ไปซึ่งทำให้ผู้เสียหายเกิดความกลัวและยินยอมจะนำเงิน 5,500 บาท ไปให้จำเลยจึงเข้าลักษณะความผิดฐานกรรโชก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1484/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขู่เข็ญเรียกค่าไถ่ทรัพย์สินเข้าข่ายความผิดกรรโชกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 337
จำเลยขู่เข็ญให้ผู้เสียหายที่ 1 นำเงินจำนวน 5,500 บาท มามอบให้เป็นค่าไถ่โทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายที่ 1 และหากไม่นำมาให้จะไม่ได้รับโทรศัพท์คืน จำเลยจะนำไปขายให้แก่บุคคลอื่น เข้าลักษณะเป็นการขู่เข็ญผู้เสียหายที่ 1 โดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญคือขายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายที่ 1 ไป ซึ่งทำให้ผู้เสียหายที่ 1 เกิดความกลัวและยินยอมจะนำเงินจำนวน 5,500 บาท ไปให้จำเลย การกระทำของจำเลยจึงเข้าลักษณะความผิดฐานกรรโชก ตาม ป.อ. มาตรา 337

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 626/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพนันที่ไม่เข้าข่ายความเสี่ยงโชค: ผลการเล่นทราบแน่ชัด ทำให้คำฟ้องไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2547 เวลาประมาณ 18 นาฬิกา จำเลยเล่นการพนันสลากกินรวบ โดยถือเอาเลขท้ายสามตัวรางวัลที่หนึ่งของสลากกินแบ่งรัฐบาลไทยประจำงวดวันที่ 16 มิถุนายน 2547 และถือเอาเลขท้ายสองตัวของดัชนีหุ้นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่ปิดในวันที่ 18 มิถุนายน 2547 เป็นเกณฑ์ในการแพ้ชนะกัน โดยจำเลยเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้ ตามคำฟ้องของโจทก์นั้นแสดงว่าในขณะกระทำความผิด ผู้เล่นได้ถือเอาผลของเลขท้ายสามตัวรางวัลที่หนึ่งของสลากกินแบ่งรัฐบาลไทยในงวดที่ทราบผลมาแล้ว และถือเอาดัชนีหุ้นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยซึ่งจะทำการปิดตลาดหลักทรัพย์แต่ละวันในช่วงเวลาเช้า 12.30 นาฬิกา และในช่วงบ่ายเวลา 16.30 นาฬิกา และทราบเลขท้ายสองตัวดัชนีในเวลาปิดตลาดในแต่ละช่วงไล่เลี่ยกับเวลาปิดตลาดดังกล่าว ซึ่งในขณะที่เล่นการพนันในเวลาประมาณ 18 นาฬิกา ก็ทราบผลการเล่นแล้วเช่นกัน มาเป็นเกณฑ์ในการแพ้ชนะในการเล่นการพนัน ย่อมเป็นการฟ้องที่ขัดต่อสภาพและลักษณะของการกระทำความผิดฐานเล่นการพนันอันจะต้องเป็นการเสี่ยงโชคและอาศัยผลที่ยังไม่แน่นอนเป็นข้อแพ้ชนะกัน จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 593/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถือหุ้นและการแบ่งผลกำไร: การกระทำเพื่อเรียกร้องสิทธิ ไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์
ตามสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ซึ่งโจทก์ส่งไว้ต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ก. เป็นเอกสารราชการ นอกจากนี้ ส. กรรมการโจทก์ได้ลงชื่อรับรองว่าเป็นรายการที่ถูกต้องตรงกับสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1141 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้อง เอกสารดังกล่าวระบุว่าจำเลยที่ 1 ถือหุ้นอยู่ในบริษัทโจทก์จำนวน 5,000 หุ้น เมื่อโจทก์ไม่สามารถหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวได้ ดังนั้น จำเลยที่ 1 ซึ่งถือหุ้นจำนวน 5,000 หุ้น รองจาก ส. กรรมการโจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับการแบ่งผลกำไรจากการทำธุรกิจร่วมกันกับโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 กับโจทก์มีปัญหาเรื่องผลประโยชน์กันโดยจำเลยที่ 1 เห็นว่า โจทก์ไม่แบ่งผลประโยชน์ให้ จึงถอดเครื่องอุปกรณ์ของเครื่องจักรในโรงงานและเอาสีต่าง ๆ ไปเก็บไว้เพื่อต่อรองให้โจทก์จ่ายผลประโยชน์ในส่วนที่ตนพึงจะได้รับเครื่องอุปกรณ์ชิ้นส่วนดังกล่าวเมื่อนำมาติดตั้งใหม่ก็สามารถติดตั้งและใช้งานได้ดีตามปกติ การกระทำของจำเลยที่ 1 เห็นได้ว่ามิได้ประสงค์ต่อผลที่จะเอาทรัพย์ของโจทก์ไปเป็นของตนหรือของผู้อื่น แสดงว่าจำเลยที่ 1 มิได้มีเจตนาทุจริตแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ขับรถยนต์นำสิ่งของดังกล่าวไปฝากไว้ที่บ้านของจำเลยที่ 3 จึงไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์ ส่วนจำเลยที่ 3 ก็ไม่มีความผิดฐานรับของโจร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 593/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถือหุ้นและการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์: ข้อสันนิษฐานทางกฎหมายและการขาดเจตนาทุจริต
สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่โจทก์ส่งไว้ต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครเป็นเอกสารราชการ และนาง ส. กรรมการบริษัทโจทก์ได้ลงชื่อรับรองว่าเป็นรายการที่ถูกต้องตรงกับสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1141 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้อง เอกสารดังกล่าวระบุว่าจำเลยที่ 1 ถือหุ้นอยู่ในบริษัทโจทก์จำนวน 5,000 หุ้น เมื่อโจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 1 ถือหุ้นแทนบุตรสาวของนาง ส. โดยโจทก์มีเพียงนาง ส. เท่านั้นมานำสืบ จึงไม่มีน้ำหนักหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวได้
จำเลยที่ 1 ถือหุ้นจำนวน 5,000 หุ้น รองจากนาง ส. ย่อมมีสิทธิได้รับการแบ่งผลกำไรจากการทำธุรกิจร่วมกับโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 กับโจทก์มีปัญหาเรื่องผลประโยชน์กัน โดยจำเลยที่ 1 เห็นว่าโจทก์ไม่แบ่งผลประโยชน์ให้ จึงถอดเครื่องอุปกรณ์ของเครื่องจักรในโรงงานและเอาสีต่าง ๆ ไปเก็บไว้เพื่อต่อรองให้โจทก์จ่ายผลประโยชน์ในส่วนที่ตนพึงจะได้รับ เครื่องอุปกรณ์ชิ้นส่วนดังกล่าวเมื่อนำมาติดตั้งใหม่ก็สามารถติดตั้งและใช้งานได้ดีตามปกติ การกระทำเช่นนี้ของจำเลยที่ 1 เห็นได้ว่ามิได้ประสงค์ต่อผลที่จะเอาทรัพย์ของโจทก์ไปเป็นของตนหรือของผู้อื่น แสดงว่าจำเลยที่ 1 มิได้มีเจตนาทุจริตแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย การกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ขับรถยนต์นำสิ่งของดังกล่าวไปฝากที่บ้านของจำเลยที่ 3 ตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์ และจำเลยที่ 3 ผู้รับฝากทรัพย์ข้างต้นย่อมไม่มีความผิดฐานรับของโจร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6896/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโต้แย้งเรื่องกรรมสิทธิ์รถยนต์และคำขอให้บังคับชำระหนี้จากบัญชีเงินฝากในคดีชำระหนี้
การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ในฐานะผู้ชำระบัญชีของจำเลยที่ 1 มีหนังสือถึงป่าไม้เขตแพร่ว่ารถยนต์บรรทุกทั้งห้าคันที่จำเลยที่ 1 ยืมมานั้นเป็นของจำเลยที่ 1 เอง กรณีเช่นนี้ถือว่ามิใช่เป็นการยืม แต่เป็นการนำทรัพย์สินของตนเองไปใช้ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่ารถยนต์บรรทุกทั้งห้าคันซึ่งใช้เป็นอุปกรณ์ป้องกันไฟป่าเป็นของจำเลยที่ 1 เมื่อสัมปทานสิ้นสุดลง จำเลยที่ 1 ต้องส่งมอบให้แก่โจทก์ที่ 2 แต่ในชั้นอุทธรณ์ จำเลยทั้งสี่มิได้ยกข้อนี้โต้แย้งไว้ในอุทธรณ์ กลับยกข้ออ้างขึ้นใหม่ว่ารถยนต์บรรทุกดังกล่าวไม่ใช่อุปกรณ์ป้องกันไฟป่า ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 5 ไม่รับวินิจฉัยเพราะเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ จำเลยทั้งสี่มิได้ฎีกาโต้แย้งว่าที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ไม่รับวินิจฉัยนั้นเป็นการไม่ชอบอย่างไร ข้อเท็จจริงจึงยุติไปตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นแล้วว่ารถยนต์บรรทุกทั้งห้าคันที่ใช้เป็นอุปกรณ์ป้องกันไฟป่าเป็นของจำเลยที่ 1 ดังนั้นที่จำเลยทั้งสี่ฎีกาว่ารถยนต์บรรทุกทั้งห้าคันมิใช่เป็นของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 ยืมหรือเช่ามาใช้เป็นการชั่วคราว จึงเป็นข้อที่จำเลยทั้งสี่เพิ่งยกขึ้นในชั้นฎีกา ถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 5 ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 213 วรรคสอง ศาลจะสั่งให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของลูกหนี้ได้ก็เฉพาะกรณีที่วัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น คดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสี่ชำระหนี้เงิน ศาลจึงไม่อาจกำหนดให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสี่ในการบังคับชำระหนี้จากบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 1 หากจำเลยทั้งสี่ไม่ยอมชำระหนี้ให้แก่โจทก์ทั้งสอง
of 32