พบผลลัพธ์ทั้งหมด 637 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5542/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินด้วยรั้วกำแพง: ศาลพิพากษาสั่งรื้อถอน แม้จำเลยอ้างสิ่งปลูกสร้าง
การที่จำเลยสร้างรั้วกำแพงรุกล้ำที่ดินของโจทก์นั้น มิใช่เป็นการปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1312 จำเลยต้องรื้อถอนออกไป
ที่จำเลยฎีกาว่า สิ่งปลูกสร้างคดีนี้มีลักษณะเช่นเดียวกับโรงเรือนเพราะปลูกสร้างแน่นหนามั่นคงติดกับที่ดิน และพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้าง พ.ศ. 2497 ให้ถือว่ากำแพงเป็นอาคารด้วยนั้นจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ในประเด็นข้อนี้ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยฎีกาว่า สิ่งปลูกสร้างคดีนี้มีลักษณะเช่นเดียวกับโรงเรือนเพราะปลูกสร้างแน่นหนามั่นคงติดกับที่ดิน และพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้าง พ.ศ. 2497 ให้ถือว่ากำแพงเป็นอาคารด้วยนั้นจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ในประเด็นข้อนี้ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5516/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารบัญชีผู้ถือหุ้นเป็นหลักฐานทางราชการมีน้ำหนักหักล้างพยานอื่นไม่ได้ การชำระค่าหุ้นต้องมีหลักฐานชัดเจน
บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่บริษัทจำเลยส่งไว้ต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร เป็นเอกสารราชการ กฎหมายสันนิษฐานว่าเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1141 เมื่อบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นดังกล่าวระบุว่าผู้ร้องเป็นผู้ถือหุ้นและยังคงค้างค่าหุ้นอยู่ และผู้ร้องไม่อาจนำพยานหลักฐานมาสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายได้ จึงต้องฟังว่าผู้ร้องถือหุ้นและค้างค่าหุ้นตามที่ระบุไว้
บริษัทจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ผู้ร้องซึ่งถือหุ้นและค้างค่าหุ้นบริษัทจำเลยอยู่ต้องชำระเงินค่าหุ้นที่ค้างต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทจำเลย.
บริษัทจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ผู้ร้องซึ่งถือหุ้นและค้างค่าหุ้นบริษัทจำเลยอยู่ต้องชำระเงินค่าหุ้นที่ค้างต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5512/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกักกันสินค้าเพื่อตรวจสอบการหลีกเลี่ยงภาษีอากร เจ้าหน้าที่ศุลกากรมีอำนาจตามกฎหมาย
กองป้องกันและปราบปราม กรมศุลกากร มีหน้าที่ตรวจสอบสินค้านำเข้าส่งออกเพื่อเก็บภาษีอากร และปราบปรามผู้ลักลอบนำสินค้าเข้าหรือส่งสินค้าออกโดยหลีกเลี่ยงภาษีอากร รวมทั้งมีอำนาจยึดกักตรวจสินค้าที่มีเหตุสงสัยว่าจะนำเข้ามาในราชอาณาจักรหรือส่งออกนอกราชอาณาจักรโดย ไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย การตรวจปล่อยสินค้ากรณีขอผ่อนผันใบสุทธินำกลับและยกเว้นอากรนั้น หากมีเหตุหรือพฤติการณ์แวดล้อมเป็นที่สงสัยอันควรเชื่อว่าสินค้านั้นไม่ใช่สินค้ารายเดียวกับที่ส่งออก หรือเป็นสินค้าที่ถูกลักลอบนำเข้าโดยหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรเจ้าหน้าที่กองป้องกันและปราบปรามก็มีอำนาจโดยชอบที่จะกักสินค้านั้นไว้เพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัติศุลกากรต่อไปได้
โจทก์ได้รับการผ่อนผันใบสุทธินำกลับและยกเว้นอากรขาเข้าแล้วแต่ตามพฤติการณ์แห่งคดีมีเหตุอันควรให้เจ้าหน้าที่กองป้องกันและปราบปรามของจำเลยสงสัย และน่าเชื่อว่าสินค้าที่โจทก์นำกลับเข้ามาและขอผ่อนผันใบสุทธินำกลับไม่ใช่สินค้ารายเดียวกับสินค้าที่ส่งออกไปแต่เป็นสินค้าที่ใช้วิธีผ่อนผันใบสุทธินำกลับหลีกเลี่ยงภาษีอากรขาเข้า เจ้าหน้าที่กองป้องกันและปราบปรามของจำเลยจึงกักสินค้าดังกล่าวของโจทก์ไว้ตรวจสอบ ทั้งได้ตรวจสอบสินค้าดังกล่าวถึง2 ครั้ง ภายในเวลาอันสมควรแล้ว เช่นนี้ จำเลยจึงมีสิทธิและอำนาจโดยชอบที่จะสั่งไม่ปล่อยสินค้านั้นแก่โจทก์ได้ การกระทำของจำเลยมิใช่เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ จึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์.
โจทก์ได้รับการผ่อนผันใบสุทธินำกลับและยกเว้นอากรขาเข้าแล้วแต่ตามพฤติการณ์แห่งคดีมีเหตุอันควรให้เจ้าหน้าที่กองป้องกันและปราบปรามของจำเลยสงสัย และน่าเชื่อว่าสินค้าที่โจทก์นำกลับเข้ามาและขอผ่อนผันใบสุทธินำกลับไม่ใช่สินค้ารายเดียวกับสินค้าที่ส่งออกไปแต่เป็นสินค้าที่ใช้วิธีผ่อนผันใบสุทธินำกลับหลีกเลี่ยงภาษีอากรขาเข้า เจ้าหน้าที่กองป้องกันและปราบปรามของจำเลยจึงกักสินค้าดังกล่าวของโจทก์ไว้ตรวจสอบ ทั้งได้ตรวจสอบสินค้าดังกล่าวถึง2 ครั้ง ภายในเวลาอันสมควรแล้ว เช่นนี้ จำเลยจึงมีสิทธิและอำนาจโดยชอบที่จะสั่งไม่ปล่อยสินค้านั้นแก่โจทก์ได้ การกระทำของจำเลยมิใช่เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ จึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5504/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินหนีหนี้ภาษี: เพิกถอนนิติกรรมได้หากโอนโดยรู้หนี้และเจตนาทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ
จำเลยที่ 1 รู้อยู่แล้วว่าตนได้ชำระภาษีอากรไว้ไม่ครบถ้วนจะต้องถูกประเมินเรียกเก็บภาษีอากรเพิ่ม และหนี้ภาษีอากรที่ชำระไม่ครบถ้วนไว้ในปีใดก็เป็นหนี้ที่มีอยู่แล้วในปีนั้น ไม่ใช่หนี้จะเกิดมีขึ้นในปีที่มีการแจ้งประเมิน การโอนที่ดินพิพาททั้งสี่แปลงของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการโอนไปโดยรู้อยู่ว่าตนมีหนี้ภาษีอากรที่จะต้องชำระ และจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะนำมาชำระหนี้ภาษีอากรให้แก่โจทก์ได้ การทำนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาททั้งหมดของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำโดยรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 สมคบกับจำเลยที่ 1 เพื่อมิให้โจทก์สามารถที่จะนำเอาทรัพย์ที่รับโอนมานั้นบังคับชำระหนี้ได้ แต่จำเลยที่ 6 ผู้รับโอนที่ดินพิพาทแปลงหนึ่งจากจำเลยที่ 5 ไม่ได้รู้ถึงการที่จำเลยที่ 1 ได้โอนที่ดินแปลงนี้ให้จำเลยที่ 5 เป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ จึงไม่อาจจะเพิกถอนการโอนระหว่างจำเลยที่ 5 กับจำเลยที่ 6 ได้ โจทก์คงมีอำนาจที่จะขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทสามแปลงที่เหลือเสียได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5480/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การฟ้องแบ่งมรดกซ้ำกับคดีก่อนที่เคยฟ้องแล้วย่อมถูกห้ามตามกฎหมาย
โจทก์เคยฟ้องจำเลยทั้งสามในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ขอให้แบ่งปันมรดกให้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ที่จำเลยทั้งสามทำกับผู้จัดการมรดกร่วมของผู้ตายโดยมิได้ขอแบ่งที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกของผู้ตายด้วย คดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแม้โจทก์กล่าวอ้างว่าเป็นการฟ้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความก็ตาม แต่โจทก์มิได้เป็นคู่ความในคดีที่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันระบุถึงส่วนแบ่งมรดก การฟ้องคดีของโจทก์ในคดีก่อนจึงเป็นการเรียกร้องมรดกในฐานะที่ตนเป็นทายาทนั่นเอง ในเมื่อคดีก่อนโจทก์มิได้ฟ้องขอแบ่งที่พิพาทที่เป็นมรดกมาด้วยตามสิทธิที่จะเรียกร้องได้ คงมาฟ้องใหม่เป็นคดีนี้ ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในคดีนี้จึงเป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับประเด็นที่ได้วินิจฉัยไว้ในคดีก่อน เมื่อโจทก์จำเลยทั้งสามเป็นคู่ความรายเดียวกัน คดีของโจทก์จึงต้องห้ามมิให้รื้อร้องฟ้องกันอีกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148
ปัญหาที่ว่าฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องซ้ำหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลเห็นสมควรก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) ทั้งข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวนตามที่คู่ความนำสืบก็เป็นการนำสืบโดยถูกต้องตามวิธีพิจารณา ศาลจึงยกขึ้นวินิจฉัยได้.
ปัญหาที่ว่าฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องซ้ำหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลเห็นสมควรก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) ทั้งข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวนตามที่คู่ความนำสืบก็เป็นการนำสืบโดยถูกต้องตามวิธีพิจารณา ศาลจึงยกขึ้นวินิจฉัยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5452/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพูดกระทบกระเทียบด้วยความน้อยใจ ไม่ถือเป็นการหมิ่นประมาทอย่างร้ายแรง
จำเลยกล่าวแก่โจทก์ซึ่งเป็นมารดาว่า จำเลยไม่เคยได้อะไรจากโจทก์เลยได้มาแต่หี คำพูดดังกล่าวไม่ได้เน้นให้ เห็นว่าจำเลยมีเจตนาจะก้าวร้าวหรือด่าว่าโจทก์ หากแต่เป็นการพูดลอย ๆ เพื่อกระทบกระเทียบเปรียบเปรยด้วยความน้อยใจที่น้องสาวพาโจทก์มาขอเงินจำเลยเสียมากกว่า ไม่เป็นหมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531(2).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5379/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาไม่มีผลผูกพันซื้อขายเมื่อไม่มีข้อตกลงชัดเจน ศาลไม่บังคับขับไล่
โจทก์อ้างว่าจำเลยซื้อที่ดินโจทก์เฉพาะส่วนที่จำเลยรุกล้ำตามสัญญาเอกสารหมาย จ.1 แล้วไม่ชำระราคาตามกำหนด โจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว ขอให้ขับไล่จำเลย จำเลยกล่าวแก้ว่าส่วนที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยรุกล้ำจำเลยครอบครองมาตั้งแต่ได้รับยกให้ โจทก์จำเลยโต้เถียงกัน เพื่อไม่ให้ต้องดำเนินคดีกัน จำเลยยินยอมให้เงินโจทก์ 2,000 บาทได้ทำสัญญาเอกสารหมาย จ.1 ไว้ ปรากฏว่าตามสัญญาเอกสารหมายจ.1 ไม่มีข้อความใดระบุว่าเป็นการซื้อขาย คงมีแต่เพียงว่าจำเลยจะจ่ายเงินให้โจทก์ 2,000 บาท ใน 60 วัน และไม่มีข้อความใดระบุว่าถ้าหากจำเลยไม่ใช้เงินแก่โจทก์ตามกำหนดแล้ว คู่สัญญาต้องปฏิบัติอย่างไรต่อกันจึงต้องถือเอาเจตนาในการเข้าทำสัญญาระหว่างกันจำเลยมีหน้าที่ต้องชำระเงินตามสัญญา แต่โจทก์ไม่ได้ขอให้บังคับตามข้อนี้ ส่วนประเด็นที่โจทก์อ้างว่าจำเลยซื้อขายที่ดินส่วนที่รุกล้ำนั้นจำเลยปฏิเสธว่าให้เงินเพื่อไม่ต้องดำเนินคดีแก่กัน ซึ่งโจทก์ไม่ได้นำสืบตามข้อกล่าวอ้าง จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยตกลงจะซื้อที่ดินของโจทก์ ศาลจึงบังคับขับไล่จำเลยตามฟ้องไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5353/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายหนี้สูญและการหักค่าใช้จ่ายทางภาษี: หลักเกณฑ์การปฏิบัติโดยสมควรและการพิสูจน์รายจ่าย
หนี้ที่จะนำไปจำหน่ายเป็นหนี้สูญในการคำนวณกำไรสุทธินั้นต้องปรากฏว่าโจทก์ได้ปฏิบัติการโดยสมควรเพื่อให้ได้รับชำระหนี้แล้วตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(9) แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 มาตรา 29ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ซึ่งต้องพิจารณาตามสภาพของกิจการที่ประกอบอยู่ว่าสมควรจะทำได้เพียงใดหนี้ของโจทก์เกิดจากการขายลดเช็คและทรัสต์รีซีท ลูกหนี้บางรายโจทก์ดำเนินคดีอาญาหรือฟ้องคดีแพ่งบางรายมิได้ฟ้องคดีเนื่องจากหนี้มีจำนวนเล็กน้อยไม่คุ้มค่าใช้จ่ายแต่โจทก์ได้ให้คนติดตามทรัพย์สินของลูกหนี้ปรากฏว่าไม่มีที่จะยึดมาชำระหนี้ได้ จึงไม่ได้ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีสำหรับรายที่ศาลพิพากษาแล้ว ถือว่าโจทก์ได้ปฏิบัติการโดยสมควรเพื่อให้ได้รับชำระหนี้แล้ว จะนำเอาหลักเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นภายหลังมาเป็นตัวกำหนดเจตนารมณ์ในการแปล กฎหมายที่ใช้อยู่เดิมเพื่อเป็นการเพิ่มภาระของผู้เสียภาษีย่อมไม่ได้ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะจำหน่ายหนี้เหล่านั้นเป็นหนี้สูญในการคำนวณกำไรสุทธิได้
โจทก์ทำหลักทรัพย์ขาดบัญชีโดยความบกพร่องหรือผิดพลาดในการบริหารงานของโจทก์ ไม่สามารถหาหลักฐานมายืนยันได้ว่าเป็นหุ้นที่ซื้อจากผู้ใด จำนวนกี่หุ้น เป็นเงินเท่าใด ได้รับมาครบถ้วนหรือไม่แม้โจทก์จะมีผู้สอบบัญชีอนุญาตตรวจรับรองว่าโจทก์ได้จ่ายเงินจำนวนดังกล่าวซื้อหลักทรัพย์มาทดแทนส่วนที่หายไปก็ตาม ไม่ใช่เป็นกรณีจำหน่ายหนี้สูญตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(9) แต่ถือว่าเป็นรายจ่ายซึ่งโจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา65 ตรี(18).
โจทก์ทำหลักทรัพย์ขาดบัญชีโดยความบกพร่องหรือผิดพลาดในการบริหารงานของโจทก์ ไม่สามารถหาหลักฐานมายืนยันได้ว่าเป็นหุ้นที่ซื้อจากผู้ใด จำนวนกี่หุ้น เป็นเงินเท่าใด ได้รับมาครบถ้วนหรือไม่แม้โจทก์จะมีผู้สอบบัญชีอนุญาตตรวจรับรองว่าโจทก์ได้จ่ายเงินจำนวนดังกล่าวซื้อหลักทรัพย์มาทดแทนส่วนที่หายไปก็ตาม ไม่ใช่เป็นกรณีจำหน่ายหนี้สูญตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(9) แต่ถือว่าเป็นรายจ่ายซึ่งโจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา65 ตรี(18).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5332/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินพิพาท: ศาลต้องสืบพยานเพื่อพิสูจน์สิทธิการครอบครองที่แท้จริงก่อนตัดสิน
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยอ้างว่าที่พิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินน.ส.3 ก. เลขที่ 1206 ของโจทก์ซึ่งซื้อจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดิน น.ส.3 ก.เลขที่ 993 ซึ่งจำเลยซื้อจากเจ้าของที่ดินเดิมและครอบครองต่อจากเจ้าของที่ดินเดิม น.ส.3 ก. ของโจทก์ออกภายหลัง เฉพาะตรงที่พิพาททับที่ดินจำเลย โจทก์ไม่เคยเข้าครอบครองที่พิพาท โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองซึ่งหมายความว่า ที่ดินตาม น.ส.3 ก. ของจำเลยเป็น น.ส.3 ก. ที่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เคยมีการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล โจทก์จะอ้างสิทธิว่าเป็นที่ดินที่โจทก์ซื้อมาจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลไม่ได้ ซึ่งโจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งว่าน.ส.3ก.ของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะออกทับ น.ส.3ก. ของโจทก์ข้อเท็จจริงยังไม่เป็นที่ยุติทางใดทางหนึ่ง และตามฟ้องโจทก์ไม่ได้กล่าวหาว่าจำเลยรู้ถึงการขายทอดตลาดที่ดินน.ส.3ก.ของโจทก์ ซึ่งมีอาณาเขตมาทับที่ดินตาม น.ส.3ก.ของจำเลย จำเลยจึงไม่ได้ไปร้องขัดทรัพย์หรือไปคัดค้านการขายทอดตลาด อันเป็นเรื่องที่จะต้องฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานของทั้งสองฝ่ายเสียก่อน การที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วฟังว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่พิพาทจึงไม่ชอบ
จำเลยขอเพิ่มประเด็นว่า ที่พิพาทได้มาโดยสุจริตหรือไม่เพียงใดปรากฏว่าจำเลยให้การไว้ตอนแรกว่า "โจทก์บกพร่องไม่สืบเรื่องราวก่อนซื้อว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ชอบที่จะไปร้องขอคืนเงินจากกองพิทักษ์ทรัพย์..."ซึ่งหมายความว่าโจทก์ไม่ทราบว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยโดยชอบ เพราะความบกพร่องของโจทก์ที่ไม่สืบเรื่องราวก่อนซื้อ แต่ในตอนต่อมาจำเลยกล่าวในคำให้การว่า "โจทก์ทราบดีว่าที่ดินเป็นของจำเลยโดยชอบ โจทก์ได้ร้องต่อผู้อำนวยการกองพิทักษ์ทรัพย์บังคับคดีล้มละลาย กรมบังคับคดีให้กันค่าขายที่ดินไว้ก่อน..." จึงเป็นคำให้การที่ขัดกันเองในตัวไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง จำเลยจึงไม่มีประเด็นที่จะสืบในเรื่องความสุจริตของโจทก์ ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้อง ของจำเลยข้อนี้ชอบแล้ว
จำเลยขอเพิ่มประเด็นว่า ที่พิพาทได้มาโดยสุจริตหรือไม่เพียงใดปรากฏว่าจำเลยให้การไว้ตอนแรกว่า "โจทก์บกพร่องไม่สืบเรื่องราวก่อนซื้อว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ชอบที่จะไปร้องขอคืนเงินจากกองพิทักษ์ทรัพย์..."ซึ่งหมายความว่าโจทก์ไม่ทราบว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยโดยชอบ เพราะความบกพร่องของโจทก์ที่ไม่สืบเรื่องราวก่อนซื้อ แต่ในตอนต่อมาจำเลยกล่าวในคำให้การว่า "โจทก์ทราบดีว่าที่ดินเป็นของจำเลยโดยชอบ โจทก์ได้ร้องต่อผู้อำนวยการกองพิทักษ์ทรัพย์บังคับคดีล้มละลาย กรมบังคับคดีให้กันค่าขายที่ดินไว้ก่อน..." จึงเป็นคำให้การที่ขัดกันเองในตัวไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง จำเลยจึงไม่มีประเด็นที่จะสืบในเรื่องความสุจริตของโจทก์ ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้อง ของจำเลยข้อนี้ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5302/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเข้าสินค้า, ความรับผิดทางภาษีอากร, การประเมินราคา, และดอกเบี้ยเงินเพิ่ม
การนำสินค้าเข้าเป็นอันสำเร็จแต่ขณะที่เรือซึ่งนำของเช่นนั้นได้เข้ามาในเขตท่าที่จะถ่ายของจากเรือหรือท่าที่มีชื่อส่งของถึงเมื่อจำเลยนำสินค้าเข้ามาในอาณาจักรสำเร็จ จึงมีหน้าที่ต้องชำระค่าภาษีอากรให้โจทก์ ส่วนที่จำเลยอ้างว่าจำเลยได้คืนสินค้าพิพาทให้แก่ผู้ขายและผู้ขายได้คืนเงินค่าสินค้าให้จำเลยแล้ว ไม่ทำให้ความรับผิดของจำเลยเปลี่ยนแปลงไป
ปัญหาว่าโจทก์ประเมินราคาสินค้าพิพาทสูงเกินไปไม่ใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดนั้น พยานจำเลยเลื่อนลอยปราศจากพยานหลักฐานอ้างอิง ทั้งตามคำอุทธรณ์ของจำเลยก็มิได้โต้แย้งราคาประเมินสินค้าพิพาทที่โจทก์ได้ประเมินไว้เพียงแต่ขอให้ระงับการปรับ พยานโจทก์จึงมีน้ำหนักมากกว่าพยานจำเลย
โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกเงินเพิ่มร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรที่นำมาชำระนับแต่วันที่ได้ส่งมอบของจนถึงวันที่นำเงินมาชำระ ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 จัตวา กับเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือน สำหรับภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา89 ทวิ อันมีลักษณะคล้ายดอกเบี้ยอยู่แล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยให้ชำระดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 อีก และปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่จำเลยนั้นชอบแล้ว.
ปัญหาว่าโจทก์ประเมินราคาสินค้าพิพาทสูงเกินไปไม่ใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดนั้น พยานจำเลยเลื่อนลอยปราศจากพยานหลักฐานอ้างอิง ทั้งตามคำอุทธรณ์ของจำเลยก็มิได้โต้แย้งราคาประเมินสินค้าพิพาทที่โจทก์ได้ประเมินไว้เพียงแต่ขอให้ระงับการปรับ พยานโจทก์จึงมีน้ำหนักมากกว่าพยานจำเลย
โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกเงินเพิ่มร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรที่นำมาชำระนับแต่วันที่ได้ส่งมอบของจนถึงวันที่นำเงินมาชำระ ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 จัตวา กับเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือน สำหรับภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา89 ทวิ อันมีลักษณะคล้ายดอกเบี้ยอยู่แล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยให้ชำระดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 อีก และปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่จำเลยนั้นชอบแล้ว.