คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ.

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 637 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4989/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงการประนีประนอมในการขายทอดตลาด: ผลของการไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข และการจำหน่ายคำร้อง
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งให้ขายทอดตลาดที่ดินพิพาทแก่ผู้ซื้อ โดยไม่งดการขายทอดตลาดไว้รอพิจารณาคำขอประนอมหนี้ตามคำขอของจำเลย จำเลยยื่นคำร้องว่า คำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่าจำเลยประวิงคดี ขอให้ยกคำร้องของจำเลยระหว่างการพิจารณาของศาล ผู้ซื้อที่ดินพิพาทได้จากการขายทอดตลาด จำเลยและ ส. ผู้ซื้อรายใหม่ตกลงกันว่า ผู้ซื้อรายใหม่ตกลงวางเงิน 100,000 บาท ให้ผู้ซื้อที่ดินพิพาทได้จากการขายทอดตลาดรับไปเป็นค่าเสียหาย เพื่อจะได้ไม่คัดค้านที่จะมีการขายทอดตลาดใหม่ มิใช่เป็นการตกลงว่าผู้ซื้อที่ดินพิพาทได้จากการขายทอดตลาดสละสิทธิในที่ประมูลซื้อได้ในครั้งก่อน เพราะการที่ผู้ซื้อรายใหม่ตกลงจะเข้าประมูลซื้อที่ดินพิพาทครั้งใหม่ในราคาไม่ต่ำกว่า 18,000,000 บาทนั้น จะต้องจัดหาธนาคารมาค้ำประกันจำนวน 2,000,000 บาท เพื่อเป็นประกันค่าเสียหายแก่กองทรัพย์สินหากผู้ซื้อรายใหม่เข้าสู้ราคาต่ำกว่า 18,000,000 บาท ซึ่งเป็นอีกเงื่อนไขหนึ่งที่ผู้ซื้อรายใหม่ต้องปฏิบัติก่อน เมื่อผู้ซื้อรายใหม่ไม่สามารถหาธนาคารมาค้ำประกันได้ จึงเป็นฝ่ายผิดข้อตกลงศาลต้องจำหน่ายคำร้องของจำเลยตามสัญญาที่ตกลงไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4953/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างไม่ต้องรับผิดชอบความเสียหายจากการยักยอกทรัพย์ของลูกจ้างอื่น แม้ไม่ให้ความร่วมมือในการติดตามทรัพย์
นางสาว ร. ลูกจ้างคนหนึ่งของจำเลยยักยอกทรัพย์ของจำเลยไป แต่โจทก์ไม่มีหน้าที่ดูแลทรัพย์สินนั้น และความเสียหายที่เกิดแก่จำเลยก็เป็นการกระทำของนางสาว ร. โจทก์มิได้กระทำการใด ๆเป็นที่เสียหายแก่จำเลย แม้โจทก์ไม่ให้ความร่วมมือในการติดตามเอาทรัพย์ที่ นางสาว ร. ยักยอกไป และจับกุมนางสาว ร. ได้ขณะอยู่กับโจทก์ก็ตาม ก็หาเป็นการจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(2) ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4908/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางจำเป็นแม้มีทางออกอื่น แต่ต้องผ่านที่ดินบุคคลอื่น และข้อตกลงใช้ทางไม่ขัดกฎหมายอาคารชุด
ที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะโดยตรงได้แม้โจทก์จะผ่านที่ดินของบุคคลอื่น ทางทิศเหนือและทิศตะวันออกไปสู่ทางสาธารณะได้ก็ตาม แต่ก็ต้องผ่านที่ดินของบุคคลอื่นเช่นกัน โจทก์จึงมีสิทธิจะใช้ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นผ่านที่ดินของจำเลยไปสู่ทางสาธารณะได้
เดิมเจ้าของที่ดินของโจทก์เคยใช้ทางพิพาทผ่านที่ดินของจำเลยออกสู่ทางสาธารณะต่อมาก็ได้มีการจดทะเบียนภาร จำยอมให้ที่ดินของโจทก์ใช้ที่ดินของจำเลยเป็นทางออกไปสู่ทางสาธารณะได้ แม้ต่อมาจะมีการจดทะเบียนยกเลิกภารจำยอม แต่ก็เป็นการทำเพื่อประโยชน์ของจำเลย ทั้งยังได้มีการตกลงกันให้โจทก์ใช้ทางพิพาทในที่ดินของจำเลยเป็นทางออกไปสู่ทางสาธารณะได้จึงเป็นการสมควรที่โจทก์เลือกใช้ทางพิพาทผ่านที่ดินของจำเลยออกไปสู่ทางสาธารณะ
ข้อกำหนดตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 มาตรา 10เป็นกรณีเมื่อมีการจดทะเบียนอาคารชุดแล้ว ห้ามมิให้ผู้ขอจดทะเบียนอาคารชุดนั้นก่อภารผูกพันเกี่ยวกับอาคารชุด ดังกล่าว แต่คำพิพากษาศาลล่างทั้งสองมิได้บังคับให้ไปจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินของจำเลยแต่อย่างใด และกรณีเป็นเรื่องทางจำเป็นที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349หาใช่เป็นเรื่องที่ผู้ขอจดทะเบียนอาคารชุดนั้นเป็นผู้ก่อภารผูกพันดังกล่าวขึ้นไม่ ฉะนั้นแม้ว่าข้อตกลงดังกล่าวจะตกเป็นโมฆะก็ตาม แต่ก็หา กระทบกระทั่งถึงสิทธิของโจทก์ที่จะใช้ทางพิพาทผ่านที่ดินของจำเลยไปสู่ทางสาธารณะไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4890/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำแนกประเภทสินค้า (คอนเดนเซอร์) เพื่อเสียอากรและสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรตามกฎหมาย
พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร (ฉบับที่ 35) พ.ศ. 2521 ซึ่งใช้บังคับขณะมีข้อพิพาท ไม่ได้ให้ความหมายของคำว่า เครื่องจักรไว้เป็นพิเศษ จึงต้องถือตามความหมายธรรมดาซึ่งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายไว้ว่า เป็นกลอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ประกอบกันขึ้นเป็นเครื่องเพื่อใช้ประโยชน์ในการผลิตสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตามคำเบิกความของพยานจำเลยไม่ปรากฏว่าคอนเดนเซอร์ประกอบขึ้นด้วยกลอุปกรณ์ใด และสามารถผลิตสิ่งใดได้บ้าง ไม่ปรากฏว่าเป็นเครื่องเพื่อใช้ประโยชน์ในการผลิต คอนเดนเซอร์จึงมิใช่เครื่องจักรตามพิกัดประเภทที่ 84.17ก. แต่เป็นส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศตามพิกัดประเภทที่ 84.15ข.
จำเลยยื่นคำขอและเสียภาษีภายในเวลาที่กำหนดไว้ในพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529มาตรา 30 แล้ว แต่เจ้าหน้าที่ได้ระบุในใบเสร็จว่า ประเภทอื่น ๆโดยมิได้ระบุเฉพาะลงไปว่าเป็นภาษีประเภทใด เมื่อจำเลยระบุในคำขอว่า รายได้ส่วนใหญ่มาจากกิจการทำการค้า การที่จำเลยเสียภาษีอากรดังกล่าว ย่อมรวมถึงภาษีการค้าด้วย จำเลยย่อมได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4724/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินโดยอาศัยสิทธิผู้อื่น ย่อมไม่ทำให้ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น แม้จะครอบครองนานเพียงใด
คดีมีประเด็นว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยการครอบครอง หรือไม่ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ครอบครองที่พิพาทแทนเจ้าของ ที่ดิน เป็นการชี้ให้เห็นว่าโจทก์อยู่ในที่พิพาทโดยไม่มีเจตนาเป็นเจ้าของจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ ทั้งจำเลยต่อสู้ไว้ด้วยว่าโจทก์ครอบครองที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิของผู้อื่น คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์จึงเป็นการวินิจฉัยในประเด็นพิพาท
โจทก์ฟ้องและให้การแก้ฟ้องแย้งว่า โจทก์ซื้อที่ดินสองแปลงและโจทก์ครอบครองที่ดินทั้งสองแปลงมาโดยตลอดนับแต่วันซื้อ แต่โจทก์ฎีกาทำนองว่าโจทก์ซื้อที่ดินมาเพียงแปลงเดียว ฎีกาของโจทก์จึงเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น
โจทก์เข้าอยู่ในที่พิพาทโดยการซื้อบ้านจากผู้เช่าที่พิพาทปลูกบ้านโจทก์จึงอยู่ในที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิของผู้เช่า เป็นการครอบครองแทนเจ้าของ โจทก์ครอบครองที่พิพาทนานเท่าใดก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4719/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายในกำหนด 1 ปี
จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาโดยไม่ปรากฏว่าได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ จนกระทั่งโจทก์ไปยื่นเรื่องราวขอรับโอนมรดกที่ดินส่วนที่เป็นของมารดาโจทก์ที่สำนักงานที่ดิน จำเลยจึงได้มีหนังสือลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2527 ถึงนายอำเภอขอคัดค้านการรับโอนมรดกโดยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยผู้เดียว หนังสือดังกล่าวได้ยื่นต่อนายอำเภอเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2527 โจทก์ได้รับสำเนาหนังสือคัดค้านของจำเลยเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2527 แสดงว่าโจทก์ทราบเรื่องที่จำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาทเพื่อตนตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม 2527 ซึ่งเป็นการแย่งการครอบครองของโจทก์ โจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครอง เมื่อวันที่ 6กุมภาพันธ์ 2528 จึงเป็นการฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายในกำหนด 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4702/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ-อายุความเช็ค: ศาลฯ ยืนฟ้องได้ แม้ฟ้องซ้ำศาลเดิม เหตุคดีก่อนยกฟ้องเพราะอำนาจศาลไม่ครบ
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยเรียกเงินตามเช็คภายในกำหนดอายุความแล้วแต่ศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์ เพราะคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจศาลโดยเชื่อคำแถลงของภรรยาจำเลยว่าได้หย่าขาดและจำเลยได้ย้ายออกจาก ภูมิลำเนาตามฟ้องแล้ว กรณีจึงต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 176 มีผลว่าเช็คที่ขาดอายุความระหว่างดำเนินคดี หรือจะสิ้นอายุความระหว่างหกเดือนภายหลังที่ได้พิพากษาคดีถึงที่สุด ให้ขยายอายุความออกไปถึงหกเดือนภายหลังคำพิพากษานั้น ปรากฏว่าศาลยกฟ้องคดีนั้นวันที่ 20 กันยายน2527 เช็คที่ขาดอายุความในระหว่างพิจารณาหรือเหลืออายุความไม่ถึงหกเดือนจึงขยายไปถึงวันที่ 20 มีนาคม 2528 โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องอีกเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2528 คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความและแม้จะเป็นการฟ้องที่ศาลเดิมก็ตาม เพราะมาตรา 176 ไม่มีข้อความจำกัดว่าจะต้องฟ้องต่อศาลอื่น
คดีก่อนศาลจังหวัดปทุมธานียกฟ้องโดย ที่เห็นว่า ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา เป็นการยกฟ้องที่ยังมิได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี เมื่อปรากฏว่าจำเลยยังมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดปทุมธานี โจทก์ก็มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลจังหวัดปทุมธานีได้อีก ไม่เป็นฟ้องซ้ำ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4683/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เรือนพิพาทเป็นส่วนควบของที่ดินหรือไม่ ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยหากมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้น
ปัญหาว่า เรือนพิพาทตกเป็นส่วนควบของที่ดินหรือไม่นั้นมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของ ประชาชนเมื่อไม่เป็นประเด็นที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4679/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ชายตลิ่งเป็นที่สาธารณะ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่ แม้จะครอบครองก่อนและสร้างพื้นไม้กระดาน
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยและบริวารออกไปจากพื้นไม้กระดานของโจทก์ซึ่งปลูกอยู่บนที่ชายตลิ่ง กับให้ใช้ค่าเสียหายจนกว่าจำเลยและบริวารจะออกไปจากที่พิพาท เท่ากับฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่ชายตลิ่งใต้พื้นไม้กระดานนั่นเอง แม้จะฟังว่าพื้นไม้กระดานบนที่พิพาทเป็นของโจทก์ก็ตาม แต่ที่พิพาทเป็นที่ชายตลิ่งอันเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304(2) ผู้ใดหามีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองไม่ แม้โจทก์จะได้ครอบครองที่พิพาทมาก่อนแล้วยอมให้จำเลยใช้ที่พิพาทเพื่อวางสินค้าขาย ขนสินค้าลงไปบรรทุกเรือและขึ้นจากเรือ ก็จะถือว่าเป็นการมอบให้จำเลยครอบครองแทนหาได้ไม่เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายครอบครองที่พิพาทอยู่จำเลยย่อมมีสิทธิดีกว่าโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่ และเรียกค่าเสียหายจากจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4670/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนได้ แม้ไม่ได้ยกเป็นประเด็นข้อพิพาทโดยตรง โดยอ้างอิงมาตรา 383 ป.พ.พ.
เบี้ยปรับหากกำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจหยิบยกบทบัญญัติมาตรา 383 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาใช้ปรับแก่คดีโดยลดเบี้ยปรับลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ แม้ศาลชั้นต้นจะไม่ได้กำหนดเรื่องเบี้ยปรับเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ในคดีโดยตรง
of 64