พบผลลัพธ์ทั้งหมด 637 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4508/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยนอกฟ้องและนอกประเด็นแห่งคดี ศาลฎีกาพิพากษากลับให้ยกฟ้องเมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเกินขอบเขตที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็น
โจทก์มิได้ฟ้องขอให้เลิกห้างหุ้นส่วนระหว่างโจทก์และจำเลยโดยอ้างว่ามีเหตุที่ทำให้ห้างหุ้นส่วนเหลือวิสัยที่จะดำรง อยู่ต่อไป และในชั้นชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นก็กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้แต่เพียงว่า สัญญาเข้าหุ้นส่วนชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เท่านั้น ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าห้างหุ้นส่วนระหว่างโจทก์และจำเลยเลิกกันเพราะจำเลยที่ 1 ไม่ดำเนินกิจการของหุ้นส่วนตามที่ตกลงกัน ทำให้กิจการของหุ้นส่วนเหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไป จึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ชอบด้วย กระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3738/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เงินบำรุงการศึกษาต้องเป็นไปตามระเบียบ หากนำไปใช้ในกิจการที่ไม่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา ถือเป็นละเมิดทำให้เกิดความเสียหาย
เงินบำรุงการศึกษามีระเบียบให้ใช้เฉพาะเพื่อกิจการของสถานศึกษาเท่านั้น น้ำดื่มสำหรับครูไม่ใช่กิจการของสถานศึกษา และโจทก์ไม่มีหน้าที่ที่จะต้องจัดหา จำเลยจึงไม่มีอำนาจนำเงินบำรุงการศึกษามาจ่ายได้
จำเลยจ่ายเงินบริจาคจำนวน 15,800 บาทไปโดยไม่มีอำนาจแม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่า ยอดรายจ่ายที่จ่ายไปโดยชอบจะสูงกว่ายอดรายรับ ก็ถือได้ว่าเงินที่จำเลยจ่ายไปโดยมิชอบนั้นทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยจึงต้องคืนเงินจำนวนนี้ให้แก่โจทก์
จำเลยจ่ายเงินบริจาคจำนวน 15,800 บาทไปโดยไม่มีอำนาจแม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่า ยอดรายจ่ายที่จ่ายไปโดยชอบจะสูงกว่ายอดรายรับ ก็ถือได้ว่าเงินที่จำเลยจ่ายไปโดยมิชอบนั้นทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยจึงต้องคืนเงินจำนวนนี้ให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3146/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: ทายาทฟ้องโมฆะพินัยกรรมซ้ำ แม้มิได้เป็นผู้จัดการมรดก หรือโจทก์ร่วมในคดีก่อน
ท. ทายาทของเจ้ามรดกคนหนึ่งเคยฟ้องจำเลยขอให้พิพากษาว่าพินัยกรรมเป็นโมฆะ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คดีอยู่ในระหว่างอุทธรณ์ โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกแทนที่ทายาทอีกคนหนึ่งมาฟ้องคดีนี้ขอให้พิพากษาว่าพินัยกรรมฉบับเดียวกันนั้นเป็นโมฆะอีกเมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า ท. เป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกอันจะถือว่ากระทำในฐานะตัวแทนทายาททั้งหมดรวมทั้งโจทก์ด้วยแล้วโจทก์ย่อมไม่ใช่โจทก์คนเดียวกับคดีก่อน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3032/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีหมิ่นประมาท: การแยกพิจารณาคดีอาญาและแพ่ง และระยะเวลาการฟ้องร้อง
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสี่กล่าวหาว่าหมิ่นประมาทโจทก์ด้วยเอกสาร แม้ว่าก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์ได้เข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการฟ้องจำเลยทั้งสี่เป็นคดีอาญาอันเนื่องจากการกระทำเดียวกัน แต่คดีอาญาดังกล่าวถึงที่สุดขณะที่คดีนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาโดยศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกฟ้องเนื่องจากโจทก์มิได้ร้องทุกข์ภายในกำหนด3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด คดีขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 กรณีของโจทก์คดีนี้จึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 51 จึงต้องใช้อายุความ 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2394/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของภรรยา: ไม่ต้องขอความยินยอมสามีกรณีฟ้องเกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนตัว
การที่หญิงมีสามีฟ้องคดีนั้นหาจำต้องได้รับอนุญาตจากสามีเสียก่อนทุกกรณีไม่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดฟ้องคดีต้องได้รับอนุญาตจากอีกฝ่ายหนึ่งก็เฉพาะการฟ้องคดีเกี่ยวกับสินสมรสซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ทั้งสองฝ่ายต้องจัดการร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1476 เท่านั้น เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่า โจทก์ฟ้องคดีเป็นการฟ้องเกี่ยวกับสินสมรสที่โจทก์กับสามีต้องจัดการร่วมกันจึงไม่มีประเด็นข้อโต้เถียงว่าทรัพย์สินที่โจทก์ฟ้องเป็นสินสมรสหรือไม่ โจทก์ย่อมฟ้องได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากสามีก่อน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2217/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ร่วมต้องรับผิดชอบหนี้ส่วนตนจนกว่าจะชำระหนี้ทั้งหมด หรือจนกว่าเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ครบถ้วน
หนี้ตามคำพิพากษาที่ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ โดยจำกัดวงเงินให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดนั้น จำเลยที่ 3 ต้องผูกพันชำระหนี้ในส่วนที่ตนต้องรับผิดจนกว่าจะชำระหนี้ส่วนที่ต้องรับผิดจนครบหรือจนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้ทั้งหมดเสร็จสิ้นแล้วเมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 3 ชำระหนี้ส่วนที่ตนต้องรับผิดยังไม่ครบและโจทก์ยังมิได้รับชำระหนี้เสร็จสิ้น จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมจึงต้องชำระหนี้ในส่วนที่ตนยังต้องรับผิด ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2163/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารปลอมและการบังคับคดี: สัญญาที่ถูกแก้ไขโดยไม่ได้รับความยินยอม
การที่โจทก์เขียนข้อความในสัญญากู้เกินกว่าจำนวนหนี้ที่เป็นจริงโดย จำเลยไม่ได้รู้เห็นยินยอมด้วย สัญญากู้ดังกล่าวย่อมเป็นเอกสารปลอม ใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่ และแม้ขณะโจทก์เขียนสัญญากู้ จำเลยจะได้กู้ยืมเงินโจทก์ไปจำนวนหนึ่งจริง ศาลก็จะบังคับให้จำเลยชำระหนี้นั้นโดยอาศัยสัญญากู้นี้ไม่ได้
แม้สัญญากู้ที่โจทก์นำมาฟ้องจะระบุว่าจำเลยได้รับเงินที่กู้ไปครบถ้วนแล้วก็ตาม แต่เมื่อจำเลยได้ให้การต่อสู้คดีไว้ว่าสัญญากู้ดังกล่าวเป็นสัญญาที่โจทก์ปลอมแปลงโดยกรอกข้อความและจำนวนเงินที่กู้ผิดจากที่กู้กันจริงโดย จำเลยไม่ได้รู้เห็นยินยอมด้วย เช่นนี้ จำเลยย่อมมีสิทธินำสืบพยานบุคคลตามข้อต่อสู้ของตนได้ตามป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคท้าย กรณีหาใช่เป็นการนำสืบเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญากู้ไม่
แม้สัญญากู้ที่โจทก์นำมาฟ้องจะระบุว่าจำเลยได้รับเงินที่กู้ไปครบถ้วนแล้วก็ตาม แต่เมื่อจำเลยได้ให้การต่อสู้คดีไว้ว่าสัญญากู้ดังกล่าวเป็นสัญญาที่โจทก์ปลอมแปลงโดยกรอกข้อความและจำนวนเงินที่กู้ผิดจากที่กู้กันจริงโดย จำเลยไม่ได้รู้เห็นยินยอมด้วย เช่นนี้ จำเลยย่อมมีสิทธินำสืบพยานบุคคลตามข้อต่อสู้ของตนได้ตามป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคท้าย กรณีหาใช่เป็นการนำสืบเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญากู้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1068/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการพิสูจน์สิทธิที่ดีกว่าของทายาทเจ้าของเดิม
คำสั่งศาลที่แสดงว่าที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยการครอบครองปรปักษ์ใช้ยันจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ แต่เมื่อจำเลยพิสูจน์ได้ว่าโจทก์เข้าอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยเจ้าของเดิม และโจทก์ไม่เคยแสดงการเป็นปรปักษ์ต่อเจ้าของเดิมและจำเลยซึ่งเป็นทายาท จำเลยจึงมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์ และเมื่อจำเลยไม่ต้องการให้โจทก์อาศัยต่อไปโจทก์ก็ต้องออกจากที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 807/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องในสัญญาประกันภัย: เจ้าของกรรมสิทธิ์/ผู้ครอบครองรถ ณ เวลาทำสัญญาเป็นสำคัญ
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า โจทก์เป็นเจ้าของรถยนต์คันเกิดเหตุซึ่งได้เอาประกันภัยค้ำจุนไว้กับจำเลยเท่านั้น จึงเป็นการกล่าวอ้างว่า โจทก์มีส่วนได้เสียในรถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ เมื่อจำเลยให้การว่าโจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้ครอบครองรถยนต์คันดังกล่าว โจทก์ไม่มีส่วนได้เสียในรถยนต์ที่เอาประกันภัย ประเด็นจึงมีเพียงว่าโจทก์มีส่วนได้เสียในฐานะที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้ครอบครองรถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้กับจำเลยหรือไม่เท่านั้นที่โจทก์นำสืบและฎีกาว่า เจ้าของรถยนต์คันที่โจทก์เอาประกันภัยไว้กับจำเลยได้นำรถยนต์คันดังกล่าวเข้าร่วมในกิจการของโจทก์โดยแบ่งผลประโยชน์กัน โจทก์จึงมีส่วนต้องรับผิดในผลแห่งการกระทำละเมิดด้วยนั้น เป็นเรื่องนอกคำฟ้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองรถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้ในขณะที่ทำสัญญาประกันภัย โจทก์จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในรถยนต์คันดังกล่าวกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงไม่ผูกพันคู่กรณีตาม ป.พ.พ. มาตรา 863 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
โจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองรถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้ในขณะที่ทำสัญญาประกันภัย โจทก์จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในรถยนต์คันดังกล่าวกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงไม่ผูกพันคู่กรณีตาม ป.พ.พ. มาตรา 863 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 552/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความครอบคลุมฟ้องแย้ง สละสิทธิเรียกร้อง
โจทก์ฟ้องและจำเลยฟ้องแย้งเรียกร้องให้อีกฝ่ายหนึ่งชำระเงินแก่ตน ครั้นถึงวันนัดสืบพยาน คู่ความยอมตกลงกันตามที่ศาลแรงงานกลางไกล่เกลี่ย ศาลแรงงานกลางจัดทำสัญญาประนีประนอมยอมความและได้มีคำพิพากษาตามยอม ในวันนั้นตามข้อ 2 แห่งสัญญาประนีประนอมยอมความได้ระบุไว้ว่า โจทก์จำเลยต่างไม่ติดใจเรียกร้องอื่นใดกันอีก ซึ่งหมายความว่า จำเลยได้สละข้อเรียกร้องของตนตามฟ้องแย้งแล้ว ถือว่าข้อเรียกร้องตามฟ้องแย้งของจำเลยได้ระงับสิ้นไปด้วยผลของสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 และคำพิพากษาตามยอมของศาลแรงงานกลาง ได้พิพากษารวมถึงข้อเรียกร้องตามฟ้องแย้งของจำเลยด้วยแล้ว ศาลแรงงานกลางจึงไม่จำต้องมีคำพิพากษาหรือคำสั่งในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องแย้งของจำเลยอีก