พบผลลัพธ์ทั้งหมด 54 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1564/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีที่ดินสาธารณประโยชน์: โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องหากที่ดินเป็นของรัฐ
จำเลยมีสิทธิที่จะยกประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ เพราะเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง และประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายซึ่งศาลชั้นต้นยังมิได้พิจารณาหรือวินิจฉัยในส่วนข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญในประเด็นเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย แต่ศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์และจำเลยจนเสร็จสิ้นกระแสความแล้ว เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยข้อเท็จจริงอันนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลล่างทั้งสองพิพากษาใหม่
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของหนองน้ำและลำรางสาธารณประโยชน์ เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทพลเมืองใช้ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (2) การที่โจทก์ให้จำเลยและผู้อื่นเช่าที่ดินพิพาทจึงเป็นการกระทำที่ไม่มีสิทธิเพราะเท่ากับนำที่ดินของรัฐไปให้บุคคลอื่นเช่าโดยรัฐไม่ยินยอม และมีผลเป็นการมอบการยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทให้จำเลยและผู้เช่ารายอื่นๆ ทำให้โจทก์ขาดการยึดถือครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของหนองน้ำและลำรางสาธารณประโยชน์ เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทพลเมืองใช้ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (2) การที่โจทก์ให้จำเลยและผู้อื่นเช่าที่ดินพิพาทจึงเป็นการกระทำที่ไม่มีสิทธิเพราะเท่ากับนำที่ดินของรัฐไปให้บุคคลอื่นเช่าโดยรัฐไม่ยินยอม และมีผลเป็นการมอบการยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทให้จำเลยและผู้เช่ารายอื่นๆ ทำให้โจทก์ขาดการยึดถือครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6644/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเพื่อเป็นหลักฐานยังไม่ถือเป็นคำร้องทุกข์ การฟ้องคดีหมิ่นประมาทจึงไม่ชอบ
ความผิดฐานหมิ่นประมาทตาม ป.อ. มาตรา 326 และ 328 เป็นความผิดอันยอมความได้ตาม ป.อ. มาตรา 333 พนักงานสอบสวนจะทำการสอบสวนได้ต่อเมื่อมีคำร้องทุกข์ตามระเบียบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 121 วรรคสอง แต่ข้อความในรายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐาน ระบุแต่เพียงว่าผู้เสียหายทั้งสามมาแจ้งความไว้เป็นหลักฐานเพื่อจะได้นำเสนอผู้บังคับบัญชาระดับสูงเพื่อพิจารณาต่อไป จึงมิใช่เป็นการมอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินการตามกฎหมาย ไม่เป็นคำร้องทุกข์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (7) เพราะขณะแจ้งยังมิได้มีเจตนาจะให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษการสอบสวนความผิดฐานนี้ต่อมาภายหลังจึงเป็นการไม่ชอบ พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในฐานความผิดดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6644/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเพื่อเป็นหลักฐานไม่ถือเป็นคำร้องทุกข์ อำนาจฟ้องความผิดหมิ่นประมาท
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 326 และมาตรา 328 เป็นความผิดอันยอมความได้ ตาม ป.อ. มาตรา 333 พนักงานสอบสวนจะทำการสอบสวนได้ต่อเมื่อมีคำร้องทุกข์ตามระเบียบ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 121 วรรคสอง แต่ปรากฏจากสำเนารายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานในหน้าแรกว่า ผู้เสียหายทั้งสามรวมทั้งบุคคลอื่นอีก 7 คน ไปพบพนักงานสอบสวนเพื่อแจ้งไว้เป็นหลักฐานว่าในวันเกิดเหตุจำเลยไปหา ส. และขอร้องให้ ส. ไปขอล่าลายมือชื่อชาวบ้านให้ได้มากที่สุด เพื่อเป็นหลักฐานร่วมกันขับไล่ผู้อำนวยการโรงเรียนและคณะครู ซึ่งมีผู้เสียหายทั้งสามรวมอยู่ด้วยให้ย้ายไปที่อื่นโดยบอกว่ามีพฤติกรรมไม่เหมาะสม และผู้เสียหายทั้งสามได้นำเอกสารเป็นบันทึกข้อความเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวมามอบให้พนักงานสอบสวนตรวจสอบ และในหน้าที่สองระบุว่าจึงมาแจ้งไว้เป็นหลักฐานเพื่อจะได้นำเสนอผู้บังคับบัญชาระดับสูงพิจารณาต่อไป ซึ่งกรณีเชื่อได้ว่าผู้เสียหายทั้งสามไปแจ้งความเพียงครั้งเดียวตามสำเนารายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานฉบับดังกล่าวเท่านั้น เมื่อข้อความในสำเนารายงานประจำวันดังกล่าวระบุแต่เพียงว่าผู้เสียหายทั้งสามมาแจ้งไว้เป็นหลักฐานเพื่อจะได้นำเสนอผู้บังคับบัญชาระดับสูงพิจารณาต่อไป จึงมิใช่เป็นการมอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินการตามกฎหมาย ไม่เป็นคำร้องทุกข์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (7) เพราะขณะแจ้งยังมิได้มีเจตนาจะให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ การสอบสวนความผิดฐานนี้ต่อมาภายหลังจึงเป็นการไม่ชอบ พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในฐานความผิดดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 และปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์และฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นอ้างได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5960/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดประเภทเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40: ลักษณะงานและค่าใช้จ่ายประกอบวิชาชีพ
เงินได้พึงประเมินจะเป็นประเภทใดตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 นั้น ต้องพิจารณาถึงรายจ่ายและลักษณะของงานที่ทำประกอบด้วย เงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (2) ซึ่งเป็นเงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้ ลักษณะงานที่ทำมีค่าใช้จ่ายไม่มาก ประมวลรัษฎากรจึงกำหนดให้หักค่าใช้จ่ายได้น้อย ส่วนเงินได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (6) เป็นเงินได้จากวิชาชีพอิสระคือ การประกอบอาชีพของตนเอง และต้องอาศัยวิชาความรู้ความชำนาญ อันเป็นงานที่ต้องมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าเงินได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (2) ป.รัษฎากรจึงยอมให้หักค่าใช้จ่ายได้มากกว่า
โจทก์ทั้งสองไม่ได้ประกอบโรคศิลปะโดยเปิดคลินิกเป็นของตนเอง แต่เป็นการทำงานให้แก่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์นอกเวลาทำการปกติ และโรงพยาบาลหรือคลินิกเอกชนอื่น โจทก์ทั้งสองนำสืบไม่ได้ว่า ผู้ป่วยที่มารับการรักษาจากโจทก์ทั้งสองไม่ใช่ผู้ป่วยของโรงพยาบาล ทั้งยอมรับว่าคลินิกพิเศษนอกเวลาราชการที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และโรงพยาบาลหรือคลินิกเอกชนอื่นเป็นผู้เก็บเงินและออกใบเสร็จรับเงินในนามของคลินิกดังกล่าว ไม่ได้ออกในนามของโจทก์ทั้งสอง ยิ่งกว่านั้นก่อนที่คลินิกพิเศษนอกเวลาราชการที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และโรงพยาบาลหรือคลินิกเอกชนอื่น จะจ่ายเงินให้แก่โจทก์ทั้งสองก็ได้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ ย่อมแสดงให้เห็นเป็นที่ชัดเจนว่า โจทก์ทั้งสองมิได้มีนิติสัมพันธ์ทางการเงินกับผู้ป่วยโดยตรง โจทก์ทั้งสองจึงเป็นเพียงผู้เรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลจากผู้ป่วยเท่านั้น และเมื่อพิจารณาถึงค่าใช้จ่าย โจทก์ทั้งสองก็ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าโจทก์ทั้งสองมีค่าใช้จ่ายมากเพียงใดที่จะแสดงว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการประกอบวิชาชีพอิสระอันจะถือว่ารายได้ของโจทก์ทั้งสองอันเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (6) แห่ง ป.รัษฎากร ดังนั้น หากโจทก์ทั้งสองเสียภาษีแตกต่างกับแพทย์ที่ไปทำสัญญาว่าจ้างแพทย์ที่โรงพยาบาลเอกชนหรือแพทย์เวรก็จะเกิดความไม่เป็นธรรมในการเสียภาษีขึ้น คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการการพิจารณาอุทธรณ์จึงชอบแล้ว
โจทก์ทั้งสองไม่ได้ประกอบโรคศิลปะโดยเปิดคลินิกเป็นของตนเอง แต่เป็นการทำงานให้แก่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์นอกเวลาทำการปกติ และโรงพยาบาลหรือคลินิกเอกชนอื่น โจทก์ทั้งสองนำสืบไม่ได้ว่า ผู้ป่วยที่มารับการรักษาจากโจทก์ทั้งสองไม่ใช่ผู้ป่วยของโรงพยาบาล ทั้งยอมรับว่าคลินิกพิเศษนอกเวลาราชการที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และโรงพยาบาลหรือคลินิกเอกชนอื่นเป็นผู้เก็บเงินและออกใบเสร็จรับเงินในนามของคลินิกดังกล่าว ไม่ได้ออกในนามของโจทก์ทั้งสอง ยิ่งกว่านั้นก่อนที่คลินิกพิเศษนอกเวลาราชการที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และโรงพยาบาลหรือคลินิกเอกชนอื่น จะจ่ายเงินให้แก่โจทก์ทั้งสองก็ได้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ ย่อมแสดงให้เห็นเป็นที่ชัดเจนว่า โจทก์ทั้งสองมิได้มีนิติสัมพันธ์ทางการเงินกับผู้ป่วยโดยตรง โจทก์ทั้งสองจึงเป็นเพียงผู้เรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลจากผู้ป่วยเท่านั้น และเมื่อพิจารณาถึงค่าใช้จ่าย โจทก์ทั้งสองก็ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าโจทก์ทั้งสองมีค่าใช้จ่ายมากเพียงใดที่จะแสดงว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการประกอบวิชาชีพอิสระอันจะถือว่ารายได้ของโจทก์ทั้งสองอันเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (6) แห่ง ป.รัษฎากร ดังนั้น หากโจทก์ทั้งสองเสียภาษีแตกต่างกับแพทย์ที่ไปทำสัญญาว่าจ้างแพทย์ที่โรงพยาบาลเอกชนหรือแพทย์เวรก็จะเกิดความไม่เป็นธรรมในการเสียภาษีขึ้น คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการการพิจารณาอุทธรณ์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4063/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมที่ไม่แจ้งสิทธิผู้ต้องหา ทำให้คำรับสารภาพและพยานหลักฐานอื่น ๆ ที่ได้มาใช้ไม่ได้ ศาลยกฟ้อง
เมื่อมีการจับกุมตัวจำเลยทั้งสามและแจ้งข้อหาแก่จำเลยทั้งสามแล้ว ไม่ปรากฏว่าได้มีการแจ้งสิทธิให้จำเลยทั้งสามทราบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 7 ทวิ (เดิม) ซึ่งเป็นบทบังคับให้ผู้จับมีหน้าที่ต้องแจ้งสิทธิให้ผู้ต้องหาทราบถึงสิทธิรวม 3 ประการ โดยเฉพาะประการที่ 1 คือพบและปรึกษาผู้ที่จะเป็นทนายสองต่อสอง ดังนั้น บันทึกการจับกุมของจำเลยทั้งสาม จึงไม่อาจรับฟังได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2523/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผลิตเมทแอมเฟตามีน: การปรับบทลงโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ และอำนาจศาลฎีกาในการปรับบทกฎหมาย
ขณะที่เจ้าพนักงานตำรวจเข้าจับกุมจำเลย จำเลยกำลังนั่งปรุงผสมเมทแอมเฟตามีน โดยยึดได้เครื่องมือที่จำเลยใช้ มีแปรงสีฟัน ตลับพลาสติก บล็อกพิมพ์เมทแอมเฟตามีนที่มีรูปตัวอักษรดับเบิลยูวายทำด้วยเทียนสีเหลือง มีดคัทเตอร์ ไม้ไผ่เสียบลูกชิ้น และผงเมทแอมเฟตามีนปรุงแต่งผสมน้ำอยู่ครึ่งตลับ ตรวจค้นตัวจำเลยพบเมทแอมเฟตามีน 4 เม็ด เมื่อพิจารณาการกระทำของจำเลยประกอบกับเครื่องมือวัสดุต่าง ๆ ที่จำเลยใช้ในการปรุงผสมเมทแอมเฟตามีน ซึ่งจับกุมได้ชนิดที่เรียกว่าคาหนังคาเขาเช่นนี้ เห็นว่า แม้จะพบผงเมทแอมเฟตามีนปรุงแต่งผสมน้ำอยู่เพียงครึ่งตลับกับมีเครื่องมือต่าง ๆ เป็นเศษวัสดุที่สามารถหาได้ทั่วไปก็ตาม การกระทำของจำเลยก็เป็นการทำผสมแปรสภาพเมทแอมเฟตามีน ถือได้ว่าเป็นการผลิตตามบทนิยามของ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 4 ซึ่งบัญญัติคำว่า "ผลิต" มีความหมายว่า เพาะ ปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูป หรือสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์แล้ว ลักษณะการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานผลิตเมทแอมเฟตามีนตามฟ้อง
ศาลอุทธรณ์ปรับบทลงโทษจำเลยฐานผลิตเมทแอมเฟตามีนตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 65 วรรคสาม (ที่แก้ไขใหม่) และลงโทษจำคุกจำเลย 4 ปี นั้น ไม่ถูกต้อง เพราะการผลิตโดยการทำ ผสม แปรสภาพเมทแอมเฟตามีน หาใช่การผลิตในการแบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุและมีน้ำหนักสุทธิไม่ถึงหนึ่งจุดห้ากรัมอันจะต้องด้วยบทกำหนดโทษดังกล่าวไม่ แต่การกระทำความผิดของจำเลยต้องด้วยบทกำหนดโทษตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง (เดิม) ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต แต่เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาจึงมิอาจเปลี่ยนแปลงโทษของจำเลยให้ถูกต้องได้เพราะเป็นการเพิ่มเติมโทษอันเป็นผลร้ายแก่จำเลย ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้
ศาลอุทธรณ์ปรับบทลงโทษจำเลยฐานผลิตเมทแอมเฟตามีนตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 65 วรรคสาม (ที่แก้ไขใหม่) และลงโทษจำคุกจำเลย 4 ปี นั้น ไม่ถูกต้อง เพราะการผลิตโดยการทำ ผสม แปรสภาพเมทแอมเฟตามีน หาใช่การผลิตในการแบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุและมีน้ำหนักสุทธิไม่ถึงหนึ่งจุดห้ากรัมอันจะต้องด้วยบทกำหนดโทษดังกล่าวไม่ แต่การกระทำความผิดของจำเลยต้องด้วยบทกำหนดโทษตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง (เดิม) ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต แต่เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาจึงมิอาจเปลี่ยนแปลงโทษของจำเลยให้ถูกต้องได้เพราะเป็นการเพิ่มเติมโทษอันเป็นผลร้ายแก่จำเลย ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1553/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับห้องชุดที่ใช้เป็นที่พักระหว่างเดินทาง แม้ไม่ได้ใช้เป็นประจำ
โจทก์และ ป. ร่วมกันซื้อห้องชุดพิพาทและใช้เป็นที่พักระหว่างที่เดินทางมากรุงเทพมหานคร แม้ว่าจะมิได้ใช้เป็นที่พักประจำเพียงแต่ใช้เป็นครั้งคราว ก็ถือได้ว่าเป็นกรณีเจ้าของอยู่เอง อันได้รับการยกเว้นตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 10 กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่า การที่โจทก์และ ป. ให้ ส. เข้าอยู่เป็นการเฝ้ารักษาห้องชุดพิพาทหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1484/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขู่เข็ญเรียกค่าไถ่ทรัพย์สินเข้าข่ายความผิดกรรโชกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 337
จำเลยขู่เข็ญให้ผู้เสียหายที่ 1 นำเงินจำนวน 5,500 บาท มามอบให้เป็นค่าไถ่โทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายที่ 1 และหากไม่นำมาให้จะไม่ได้รับโทรศัพท์คืน จำเลยจะนำไปขายให้แก่บุคคลอื่น เข้าลักษณะเป็นการขู่เข็ญผู้เสียหายที่ 1 โดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญคือขายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายที่ 1 ไป ซึ่งทำให้ผู้เสียหายที่ 1 เกิดความกลัวและยินยอมจะนำเงินจำนวน 5,500 บาท ไปให้จำเลย การกระทำของจำเลยจึงเข้าลักษณะความผิดฐานกรรโชก ตาม ป.อ. มาตรา 337
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1484/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขู่กรรโชกทรัพย์ด้วยการข่มขู่จะทำลายทรัพย์สินของผู้เสียหาย ถือเป็นความผิดฐานกรรโชก
จำเลยขู่เข็ญให้ผู้เสียหายนำเงิน 5,500 บาท มามอบให้เป็นค่าไถ่โทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายที่จำเลยรับมาจากคนร้ายที่ลักทรัพย์ และหากไม่นำมาให้จะไม่ได้รับโทรศัพท์คืนจำเลยจะนำไปขายให้แก่บุคคลอื่น เข้าลักษณะเป็นการขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญคือขายโทรศัพท์เคลื่อนที่ไปซึ่งทำให้ผู้เสียหายเกิดความกลัวและยินยอมจะนำเงิน 5,500 บาท ไปให้จำเลยจึงเข้าลักษณะความผิดฐานกรรโชก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 700/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การซื้อขาย, การครอบครองโดยใช้สิทธิ, พยานรู้เห็นสัญญา, การอ้างสิทธิซื้อขายซ้ำซ้อน
โจทก์รู้เห็นและลงชื่อเป็นพยานในสัญญาซื้อขายพิพาทระหว่างจำเลยกับ ร. และยอมรับว่า บ. เป็นคนเฝ้าดูแลที่ดินให้จำเลย ดังนั้น โจทก์ย่อมทราบดีว่า ที่ดินพิพาทมีจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองโดยการซื้อมาอย่างถูกต้อง การที่จำเลยซื้อที่ดินพิพาทมาแล้วให้ บ. ครอบครองแทน ถือได้ว่าจำเลยได้ใช้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมา จำเลยย่อมมีสิทธิทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทได้ การที่จำเลยเข้าไปปักป้ายแสดงความเป็นเจ้าของและสร้างรั้วในที่ดินพิพาท จึงไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ซึ่งอ้างว่าซื้อที่ดินพิพาทมาจากบุคคลอื่นในภายหลัง