พบผลลัพธ์ทั้งหมด 54 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 626/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพนันที่ไม่เข้าข่ายความเสี่ยงโชค: ผลการเล่นทราบแน่ชัด ทำให้คำฟ้องไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2547 เวลาประมาณ 18 นาฬิกา จำเลยเล่นการพนันสลากกินรวบ โดยถือเอาเลขท้ายสามตัวรางวัลที่หนึ่งของสลากกินแบ่งรัฐบาลไทยประจำงวดวันที่ 16 มิถุนายน 2547 และถือเอาเลขท้ายสองตัวของดัชนีหุ้นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่ปิดในวันที่ 18 มิถุนายน 2547 เป็นเกณฑ์ในการแพ้ชนะกัน โดยจำเลยเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้ ตามคำฟ้องของโจทก์นั้นแสดงว่าในขณะกระทำความผิด ผู้เล่นได้ถือเอาผลของเลขท้ายสามตัวรางวัลที่หนึ่งของสลากกินแบ่งรัฐบาลไทยในงวดที่ทราบผลมาแล้ว และถือเอาดัชนีหุ้นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยซึ่งจะทำการปิดตลาดหลักทรัพย์แต่ละวันในช่วงเวลาเช้า 12.30 นาฬิกา และในช่วงบ่ายเวลา 16.30 นาฬิกา และทราบเลขท้ายสองตัวดัชนีในเวลาปิดตลาดในแต่ละช่วงไล่เลี่ยกับเวลาปิดตลาดดังกล่าว ซึ่งในขณะที่เล่นการพนันในเวลาประมาณ 18 นาฬิกา ก็ทราบผลการเล่นแล้วเช่นกัน มาเป็นเกณฑ์ในการแพ้ชนะในการเล่นการพนัน ย่อมเป็นการฟ้องที่ขัดต่อสภาพและลักษณะของการกระทำความผิดฐานเล่นการพนันอันจะต้องเป็นการเสี่ยงโชคและอาศัยผลที่ยังไม่แน่นอนเป็นข้อแพ้ชนะกัน จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 593/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถือหุ้นและการแบ่งผลกำไร: การกระทำเพื่อเรียกร้องสิทธิ ไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์
ตามสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ซึ่งโจทก์ส่งไว้ต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ก. เป็นเอกสารราชการ นอกจากนี้ ส. กรรมการโจทก์ได้ลงชื่อรับรองว่าเป็นรายการที่ถูกต้องตรงกับสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1141 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้อง เอกสารดังกล่าวระบุว่าจำเลยที่ 1 ถือหุ้นอยู่ในบริษัทโจทก์จำนวน 5,000 หุ้น เมื่อโจทก์ไม่สามารถหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวได้ ดังนั้น จำเลยที่ 1 ซึ่งถือหุ้นจำนวน 5,000 หุ้น รองจาก ส. กรรมการโจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับการแบ่งผลกำไรจากการทำธุรกิจร่วมกันกับโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 กับโจทก์มีปัญหาเรื่องผลประโยชน์กันโดยจำเลยที่ 1 เห็นว่า โจทก์ไม่แบ่งผลประโยชน์ให้ จึงถอดเครื่องอุปกรณ์ของเครื่องจักรในโรงงานและเอาสีต่าง ๆ ไปเก็บไว้เพื่อต่อรองให้โจทก์จ่ายผลประโยชน์ในส่วนที่ตนพึงจะได้รับเครื่องอุปกรณ์ชิ้นส่วนดังกล่าวเมื่อนำมาติดตั้งใหม่ก็สามารถติดตั้งและใช้งานได้ดีตามปกติ การกระทำของจำเลยที่ 1 เห็นได้ว่ามิได้ประสงค์ต่อผลที่จะเอาทรัพย์ของโจทก์ไปเป็นของตนหรือของผู้อื่น แสดงว่าจำเลยที่ 1 มิได้มีเจตนาทุจริตแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ขับรถยนต์นำสิ่งของดังกล่าวไปฝากไว้ที่บ้านของจำเลยที่ 3 จึงไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์ ส่วนจำเลยที่ 3 ก็ไม่มีความผิดฐานรับของโจร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 593/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถือหุ้นและการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์: ข้อสันนิษฐานทางกฎหมายและการขาดเจตนาทุจริต
สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่โจทก์ส่งไว้ต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครเป็นเอกสารราชการ และนาง ส. กรรมการบริษัทโจทก์ได้ลงชื่อรับรองว่าเป็นรายการที่ถูกต้องตรงกับสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1141 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้อง เอกสารดังกล่าวระบุว่าจำเลยที่ 1 ถือหุ้นอยู่ในบริษัทโจทก์จำนวน 5,000 หุ้น เมื่อโจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 1 ถือหุ้นแทนบุตรสาวของนาง ส. โดยโจทก์มีเพียงนาง ส. เท่านั้นมานำสืบ จึงไม่มีน้ำหนักหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวได้
จำเลยที่ 1 ถือหุ้นจำนวน 5,000 หุ้น รองจากนาง ส. ย่อมมีสิทธิได้รับการแบ่งผลกำไรจากการทำธุรกิจร่วมกับโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 กับโจทก์มีปัญหาเรื่องผลประโยชน์กัน โดยจำเลยที่ 1 เห็นว่าโจทก์ไม่แบ่งผลประโยชน์ให้ จึงถอดเครื่องอุปกรณ์ของเครื่องจักรในโรงงานและเอาสีต่าง ๆ ไปเก็บไว้เพื่อต่อรองให้โจทก์จ่ายผลประโยชน์ในส่วนที่ตนพึงจะได้รับ เครื่องอุปกรณ์ชิ้นส่วนดังกล่าวเมื่อนำมาติดตั้งใหม่ก็สามารถติดตั้งและใช้งานได้ดีตามปกติ การกระทำเช่นนี้ของจำเลยที่ 1 เห็นได้ว่ามิได้ประสงค์ต่อผลที่จะเอาทรัพย์ของโจทก์ไปเป็นของตนหรือของผู้อื่น แสดงว่าจำเลยที่ 1 มิได้มีเจตนาทุจริตแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย การกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ขับรถยนต์นำสิ่งของดังกล่าวไปฝากที่บ้านของจำเลยที่ 3 ตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์ และจำเลยที่ 3 ผู้รับฝากทรัพย์ข้างต้นย่อมไม่มีความผิดฐานรับของโจร
จำเลยที่ 1 ถือหุ้นจำนวน 5,000 หุ้น รองจากนาง ส. ย่อมมีสิทธิได้รับการแบ่งผลกำไรจากการทำธุรกิจร่วมกับโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 กับโจทก์มีปัญหาเรื่องผลประโยชน์กัน โดยจำเลยที่ 1 เห็นว่าโจทก์ไม่แบ่งผลประโยชน์ให้ จึงถอดเครื่องอุปกรณ์ของเครื่องจักรในโรงงานและเอาสีต่าง ๆ ไปเก็บไว้เพื่อต่อรองให้โจทก์จ่ายผลประโยชน์ในส่วนที่ตนพึงจะได้รับ เครื่องอุปกรณ์ชิ้นส่วนดังกล่าวเมื่อนำมาติดตั้งใหม่ก็สามารถติดตั้งและใช้งานได้ดีตามปกติ การกระทำเช่นนี้ของจำเลยที่ 1 เห็นได้ว่ามิได้ประสงค์ต่อผลที่จะเอาทรัพย์ของโจทก์ไปเป็นของตนหรือของผู้อื่น แสดงว่าจำเลยที่ 1 มิได้มีเจตนาทุจริตแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย การกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ขับรถยนต์นำสิ่งของดังกล่าวไปฝากที่บ้านของจำเลยที่ 3 ตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์ และจำเลยที่ 3 ผู้รับฝากทรัพย์ข้างต้นย่อมไม่มีความผิดฐานรับของโจร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 444/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นแบบ ภ.พ.30 เพิ่มเติมและการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์ยื่นแบบ ภ.พ.30 ของเดือนเมษายน 2541 สองครั้ง โดยครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2541 มีภาษีซื้อที่ชำระเกินเป็นจำนวน 8,554.17 บาท ซึ่งโจทก์ขอนำภาษีซื้อที่ชำระเกินไปนี้ไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนถัดไป ต่อมาโจทก์ยื่นแบบ ภ.พ.30 ครั้งที่สอง ในวันที่ 15 พฤษภาคม 2541 โดยแจ้งยอดภาษีซื้อเกินเป็นจำนวน 40,853.80 บาท กรณีของโจทก์ถือได้ว่า การยื่นแบบ ภ.พ.30 ครั้งที่สอง แม้จะเป็นการยื่นภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไปก็ตามก็เป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเพิ่มเติมเนื่องจากโจทก์ในฐานะผู้ประกอบการจดทะเบียนยื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วน ไม่ว่าการคลาดเคลื่อนนั้นจะเป็นเหตุให้จำนวนภาษีในเดือนภาษีเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ก็ตาม ตามป.รัษฎากรฯ มาตรา 83/4 ซึ่งเข้าข้อยกเว้นของมาตรา 84 ที่บัญญัติว่า ในกรณีที่มีการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเพิ่มเติม เพราะการยื่นแบบแสดงรายการภาษีไม่ถูกต้องครบถ้วนตามมาตรา 83/4 ก็ให้มีสิทธิขอคืนภาษีที่เหลืออยู่ในแต่ละเดือนภาษีจากการคำนวณภาษีตามมาตรา 82/3 พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเพิ่มเติมนั้น ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิแต่เพียงขอคืนภาษีที่เหลืออยู่ในแต่ละเดือนภาษีจากการคำนวณภาษีตามมาตรา 82/3 เท่านั้น ไม่มีสิทธินำไปเป็นเครดิตภาษีในเดือนถัดไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7700/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักลดหย่อนภาษีเงินบริจาคจากใบอนุโมทนาบัตรที่ระบุชื่อครอบครัว และการขอคืนภาษีที่ถูกต้อง
คดีนี้มีประเด็นที่ต้องพิจารณาเพียงว่า ใบอนุโมทนาบัตรที่ระบุชื่อโจทก์และครอบครัวเป็นผู้บริจาค โจทก์สามารถนำไปหักลดหย่อนเงินบริจาคได้หรือไม่ การที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่า แม้โจทก์ไม่มีใบอนุโมทนาบัตรของวัดมาแสดง แต่โจทก์พิสูจน์พยานบุคคลว่ามีการบริจาคจริง โจทก์ก็ย่อมนำไปหักเป็นค่าลดหย่อนได้จึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้อง นอกประเด็น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 แม้คู่ความจะหยิบยกขึ้นเป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรไม่จำต้องวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าว
มาตรา 47 (7) แห่ง ป. รัษฎากร ให้สิทธิผู้มีเงินได้พึงประเมินนำเงินที่ตนบริจาคมาหักเป็นค่าลดหย่อนได้ โดยหักได้เท่าจำนวนที่บริจาค แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้พึงประเมินที่หักรายจ่ายแล้ว เมื่อใบอนุโมทนาบัตรที่โจทก์นำมาหักเป็นค่าลดหย่อนระบุชื่อโจทก์และครอบครัวเป็นผู้บริจาค โจทก์จึงมีสิทธินำมาหักเป็นค่าลดหย่อนได้
การที่ใบอนุโมทนาบัตรระบุชื่อโจทก์และครอบครัวเป็นผู้บริจาคก็เพื่อเหตุผลทางด้านจิตใจและความเชื่อทางศาสนาว่า บุคคลในครอบครัวของโจทก์ทุกคนได้ร่วมกันทำบุญกุศล เมื่อโจทก์เป็นผู้มีชื่อระบุในใบอนุโมทนาบัตรเพียงคนเดียวโดยไม่มีชื่อบุคคลอื่นร่วมด้วย โจทก์จึงมีสิทธินำเงินบริจาคทั้งจำนวนตามที่ปรากฏในใบอนุโมทนาบัตรพิพาท มาหักเป็นค่าลดหย่อนในการคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของโจทก์ได้
การขอคืนภาษีอากรที่นำส่งแล้วเป็นจำนวนเงินเกินกว่าที่ควรต้องเสีย หรือไม่มีหน้าที่ต้องเสีย ผู้เสียภาษีจะต้องยื่นคำร้องขอคืนภาษีต่อเจ้าพนักงานของจำเลย ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 27 ตรี การที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้จำเลยคืนเงินจำนวน 21,806 บาท ที่โจทก์นำไปชำระแก่จำเลยตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ พร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอคืนภาษีแล้วจึงไม่ชอบ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
มาตรา 47 (7) แห่ง ป. รัษฎากร ให้สิทธิผู้มีเงินได้พึงประเมินนำเงินที่ตนบริจาคมาหักเป็นค่าลดหย่อนได้ โดยหักได้เท่าจำนวนที่บริจาค แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้พึงประเมินที่หักรายจ่ายแล้ว เมื่อใบอนุโมทนาบัตรที่โจทก์นำมาหักเป็นค่าลดหย่อนระบุชื่อโจทก์และครอบครัวเป็นผู้บริจาค โจทก์จึงมีสิทธินำมาหักเป็นค่าลดหย่อนได้
การที่ใบอนุโมทนาบัตรระบุชื่อโจทก์และครอบครัวเป็นผู้บริจาคก็เพื่อเหตุผลทางด้านจิตใจและความเชื่อทางศาสนาว่า บุคคลในครอบครัวของโจทก์ทุกคนได้ร่วมกันทำบุญกุศล เมื่อโจทก์เป็นผู้มีชื่อระบุในใบอนุโมทนาบัตรเพียงคนเดียวโดยไม่มีชื่อบุคคลอื่นร่วมด้วย โจทก์จึงมีสิทธินำเงินบริจาคทั้งจำนวนตามที่ปรากฏในใบอนุโมทนาบัตรพิพาท มาหักเป็นค่าลดหย่อนในการคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของโจทก์ได้
การขอคืนภาษีอากรที่นำส่งแล้วเป็นจำนวนเงินเกินกว่าที่ควรต้องเสีย หรือไม่มีหน้าที่ต้องเสีย ผู้เสียภาษีจะต้องยื่นคำร้องขอคืนภาษีต่อเจ้าพนักงานของจำเลย ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 27 ตรี การที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้จำเลยคืนเงินจำนวน 21,806 บาท ที่โจทก์นำไปชำระแก่จำเลยตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ พร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอคืนภาษีแล้วจึงไม่ชอบ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7700/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักลดหย่อนภาษีเงินได้จากการบริจาคที่ระบุชื่อผู้บริจาคและครอบครัว ผู้บริจาคมีสิทธิหักลดหย่อนได้เต็มจำนวน
คดีมีประเด็นที่ต้องพิจารณาเพียงว่าใบอนุโมทนาบัตรที่ระบุชื่อโจทก์และครอบครัวเป็นผู้บริจาค โจทก์สามารถนำไปหักค่าลดหย่อนเงินบริจาคได้หรือไม่ การที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่า แม้โจทก์ไม่มีใบอนุโมทนาบัตรของวัดมาแสดง แต่โจทก์พิสูจน์พยานบุคคลว่ามีการบริจาคจริงโจทก์ก็ย่อมนำไปหักเป็นค่าลดหย่อนได้ จึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลางตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 47 (7) (ข) ให้สิทธิผู้มีเงินได้พึงประเมินนำเงินที่ตนบริจาคมาหักเป็นค่าลดหย่อนได้ โดยหักได้เท่าจำนวนที่บริจาค แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้พึงประเมินที่เหลือจากการหักค่าใช้จ่ายแล้ว เมื่อใบอนุโมทนาบัตรที่โจทก์นำมาขอหักเป็นค่าลดหย่อนระบุชื่อโจทก์และครอบครัวเป็นผู้บริจาค และโจทก์ได้บริจาคเงินจริง โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีชื่อในใบอนุโมทนาบัตรดังกล่าวจึงมีสิทธิหักเป็นค่าลดหย่อนได้
การที่ใบอนุโมทนาบัตรระบุชื่อโจทก์และครอบครัวเป็นผู้บริจาคเพื่อเหตุผลทางด้านจิตใจและความเชื่อทางศาสนาว่าบุคคลในครอบครัวของโจทก์ทุกคนได้ร่วมกันทำบุญกุศล เมื่อโจทก์เป็นผู้มีชื่อระบุในใบอนุโมทนาบัตร โดยไม่มีชื่อบุคคลอื่นร่วมด้วย โจทก์จึงมีสิทธิที่จะนำเงินบริจาคทั้งจำนวนตามที่ปรากฏในใบอนุโมทนาบัตรนั้นมาหักเป็นค่าลดหย่อนในการคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของโจทก์ได้
การขอคืนภาษีอากรที่นำส่งแล้วเป็นจำนวนเงินเกินกว่าที่ควรต้องเสียภาษีหรือที่ไม่มีหน้าที่ต้องเสีย ผู้เสียภาษีจะต้องยื่นคำร้องขอคืนภาษีต่อเจ้าพนักงานของจำเลยตามประมวลรัษฎากร มาตรา 27 ตรี แต่โจทก์ไม่ได้ยื่นคำร้องขอคืนภาษี โจทก์จึงไม่มีอำนาจนำคดีมาฟ้องต่อศาลขอคืนภาษีและดอกเบี้ยตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร ที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้จำเลยคืนเงิน 21,806 บาท พร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์จึงไม่ชอบ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) และมาตรา 246
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 47 (7) (ข) ให้สิทธิผู้มีเงินได้พึงประเมินนำเงินที่ตนบริจาคมาหักเป็นค่าลดหย่อนได้ โดยหักได้เท่าจำนวนที่บริจาค แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้พึงประเมินที่เหลือจากการหักค่าใช้จ่ายแล้ว เมื่อใบอนุโมทนาบัตรที่โจทก์นำมาขอหักเป็นค่าลดหย่อนระบุชื่อโจทก์และครอบครัวเป็นผู้บริจาค และโจทก์ได้บริจาคเงินจริง โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีชื่อในใบอนุโมทนาบัตรดังกล่าวจึงมีสิทธิหักเป็นค่าลดหย่อนได้
การที่ใบอนุโมทนาบัตรระบุชื่อโจทก์และครอบครัวเป็นผู้บริจาคเพื่อเหตุผลทางด้านจิตใจและความเชื่อทางศาสนาว่าบุคคลในครอบครัวของโจทก์ทุกคนได้ร่วมกันทำบุญกุศล เมื่อโจทก์เป็นผู้มีชื่อระบุในใบอนุโมทนาบัตร โดยไม่มีชื่อบุคคลอื่นร่วมด้วย โจทก์จึงมีสิทธิที่จะนำเงินบริจาคทั้งจำนวนตามที่ปรากฏในใบอนุโมทนาบัตรนั้นมาหักเป็นค่าลดหย่อนในการคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของโจทก์ได้
การขอคืนภาษีอากรที่นำส่งแล้วเป็นจำนวนเงินเกินกว่าที่ควรต้องเสียภาษีหรือที่ไม่มีหน้าที่ต้องเสีย ผู้เสียภาษีจะต้องยื่นคำร้องขอคืนภาษีต่อเจ้าพนักงานของจำเลยตามประมวลรัษฎากร มาตรา 27 ตรี แต่โจทก์ไม่ได้ยื่นคำร้องขอคืนภาษี โจทก์จึงไม่มีอำนาจนำคดีมาฟ้องต่อศาลขอคืนภาษีและดอกเบี้ยตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร ที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้จำเลยคืนเงิน 21,806 บาท พร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์จึงไม่ชอบ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) และมาตรา 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7382/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละเจตนาครอบครองปรปักษ์และการเริ่มต้นนับอายุความใหม่เมื่อมีการรังวัดและรับรองแนวเขตที่ดิน
จำเลยได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทอย่างเป็นเจ้าของนานเกินกว่า 10 ปี ต่อมาเมื่อปี 2535 จำเลยขอรังวัดที่ดินของตนซึ่งมีแนวเขตติดต่อกับที่ดินของ ก. จำเลยไม่ได้โต้แย้งว่าที่ดินพิพาทเป็นของตนเองโดยการครอบครองปรปักษ์ ทั้งยังยอมรับว่าที่ดินพิพาทไม่ได้อยู่ในเขตที่ดินตามโฉนดของตนเอง แต่อยู่ในเขตโฉนดที่ดินของ ก. จึงถือได้ว่าจำเลยได้สละเจตนาครอบครองที่ดินพิพาทแล้ว และแม้จำเลยจะครอบครองที่ดินพิพาทมาก่อนเป็นเวลาเกิน 10 ปี ที่จำเลยอาจได้กรรมสิทธิ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 แล้วก็ตาม ถือได้ว่าจำเลยได้สละกรรมสิทธิ์ที่ได้มาดังกล่าวให้แก่ ก. แล้ว และการครอบครองที่มีมาก่อนดังกล่าวย่อมสิ้นสุดลง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1377 การครอบครองที่ดินที่จะเป็นเหตุให้จำเลยได้กรรมสิทธิ์ใหม่ได้อีกจึงต้องเริ่มต้นนับใหม่ตั้งแต่วันที่จำเลยได้ครอบครองที่ดินใหม่อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งหากจะถือว่าจำเลยได้ครอบครองที่ดินใหม่ทันทีหลังจากที่ได้รับรองแนวเขตเป็นต้นไป แต่เมื่อนับถึงวันฟ้องแล้วไม่ครบ 10 ปี จำเลยจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5685/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกรอกข้อความในสัญญากู้เงินและค้ำประกันภายหลังการลงลายมือชื่อ ไม่ทำให้สัญญานั้นเป็นเอกสารปลอม หากมีมูลหนี้จริง
หนังสือสัญญากู้เงินมีการกรอกข้อความว่าจำเลยที่ 1 ได้กู้เงินโจทก์จำนวน 400,000 บาท และหนังสือสัญญาค้ำประกันมีการกรอกข้อความว่าจำเลยที่ 2 ค้ำประกันเงินกู้ดังกล่าวให้แก่โจทก์ อันเป็นการกรอกข้อความที่มีมูลหนี้กันจริงแม้จะเป็นการกรอกข้อความภายหลังที่จำเลยทั้งสองลงลายมือชื่อในสัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันแล้ว ก็ไม่ทำให้หนังสือสัญญากู้เงินและหนังสือสัญญาค้ำประกันเป็นเอกสารปลอม หนังสือสัญญาทั้งสองฉบับจึงมีผลผูกพันโจทก์กับจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5576/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานศึกษาเอกชนแสวงหากำไรและให้เช่าพื้นที่ ไม่ได้รับการยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินตามมาตรา 9 (3)
ตามมาตรา 9 (3) แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนฯ ทรัพย์สินของโรงเรียนสาธารณะซึ่งกระทำกิจการอันมิใช่เพื่อผลกำไรส่วนบุคคล และใช้เฉพาะในการศึกษาเท่านั้นที่ได้รับการยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดิน มหาวิทยาลัยโจทก์มีกำไรจากการดำเนินกิจการเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ในปี 2545 ที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการโจทก์มีรายได้สูงกว่ารายจ่าย 700 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าปีที่ผ่านมาถึง 300 ล้านบาท แสดงให้เห็นว่าเป็นกิจการเพื่อแสวงหาผลกำไรส่วนบุคคลมากกว่าจะเป็นกิจการสาธารณะ ทั้งโจทก์ยังนำเอาอาคารเรียนไปให้บุคคลภายนอกเช่าทำเป็นศูนย์การค้า มีร้านอาหาร ร้านเสริมสวย ร้านแว่นตา ร้านถ่ายรูป ธนาคาร ที่ทำการไปรษณีย์ ซึ่งเห็นได้ว่าอาคารของโจทก์มิได้ใช้เฉพาะเพื่อการศึกษาเพียงอย่างเดียว จึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5576/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับสถานศึกษาเอกชนที่แสวงหากำไร การประเมินภาษีที่ถูกต้อง
ตามมาตรา 9 (3) แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนฯ ทรัพย์สินของโรงเรียนสาธารณะซึ่งกระทำกิจการอันมิใช่เพื่อผลกำไรส่วนบุคคล และใช้เฉพาะในการศึกษาเท่านั้นที่ได้รับการยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดิน มหาวิทยาลัยโจทก์มีกำไรจากการดำเนินกิจการเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ในปี 2545 ที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการ โจทก์มีรายได้สูงกว่ารายจ่ายกว่า 700 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าปีที่ผ่านมาถึง 300 ล้านบาท แสดงให้เห็นว่าเป็นกิจการเพื่อแสวงหาผลกำไรส่วนบุคคลมากกว่าจะเป็นกิจการสาธารณะ ทั้งโจทก์ยังนำเอาอาคารเรียนไปให้บุคคลภายนอกเช่าทำเป็นศูนย์การค้า มีร้านอาหาร ร้านเสริมสวย ร้านแว่นตา ร้านถ่ายรูป ธนาคาร ที่ทำการไปรษณีย์ ซึ่งเห็นได้ว่าอาคารของโจทก์มิได้ใช้เฉพาะเพื่อการศึกษาเพียงอย่างเดียว จึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินตามบทบัญญัติดังกล่าว