คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
คมวุฒ บุรีธนวัต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 54 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5244/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำพิพากษาเล็กน้อยโดยศาลอุทธรณ์ ทำให้จำกัดสิทธิในการฎีกาในข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ. มาตรา 91 คงจำคุกกระทงละ 5 ปี เพิ่มโทษหนึ่งในสามตาม ป.อ. มาตรา 92 เป็นจำคุก 13 ปี 4 เดือน ริบเมทแอมเฟตามีนที่เหลือจากการตรวจพิสูจน์ของกลาง ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จำคุก 4 ปี เพิ่มโทษหนึ่งในสามเป็นจำคุก 5 ปี 4 เดือน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นการแก้ไขเล็กน้อย คดีจึงต้องห้ามโจทก์มิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคสอง ที่โจทก์ฎีกาว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบฟังได้ว่าเมทแอมเฟตามีนอีก 1 เม็ด ที่พบข้างโถส้วมเป็นของจำเลยด้วย ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตามที่โจทก์ฟ้องนั้น เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ที่ฟังว่าข้อเท็จจริงยังไม่เพียงพอให้รับฟังว่าเมทแอมเฟตามีนอีก 1 เม็ด ที่พบข้างโถส้วมเป็นของจำเลย เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5028/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกและคำสั่งเจ้าพนักงานประเมิน ทำให้ไม่สามารถอุทธรณ์การประเมินภาษีได้
การที่โจทก์ไม่นำใบเสร็จรับเงินการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไปแสดงต่อเจ้าพนักงานประเมินตามหมายเรียก และไม่ไปพบเจ้าพนักงานประเมินตามหนังสือเชิญพบหลายครั้ง ถือได้ว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามหมายหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินที่ให้นำใบเสร็จรับเงินการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอันเป็นพยานหลักฐานอันควรแก่เรื่องมาแสดงตาม ป. รัษฎากร มาตรา 23 เนื่องจากใบเสร็จรับเงินการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสามารถแสดงให้เห็นได้ว่า โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบใดและยื่นถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ เพราะใบเสร็จรับเงินจะระบุวัน เดือน ปี ที่ยื่นแบบแสดงรายการ รวมทั้งประเภทของแบบแสดงรายการที่ยื่น หากในใบเสร็จรับเงินระบุว่า ภ.ง.ด. 91 ก็แสดงว่าโจทก์มิได้นำเงินได้ที่ได้จากการขายที่ดินที่ได้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร มารวมคำนวณกับเงินได้อื่น ส่วนเอกสารที่บริษัท ท. กับบริษัท ร. ซึ่งโจทก์เป็นเจ้าของส่งให้แก่เจ้าพนักงานประเมินก็เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่าง ว. คนขับรถยนต์ของโจทก์กับบริษัทดังกล่าว มิใช่หลักฐานการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับ ว. นอกจากนี้หากใบเสร็จรับเงินการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของโจทก์ในปีพิพาทสูญหาย โจทก์ควรให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานประเมินเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบไต่สวนของทางราชการ แต่โจทก์มิได้ให้ถ้อยคำอันเป็นประโยชน์ในการตรวจสอบไต่สวนของทางราชการแต่อย่างใด ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโจทก์โดยอาศัยอำนาจตาม ป. รัษฎากร มาตรา 25 นั้น ชอบแล้ว ซึ่งเป็นผลให้โจทก์ไม่สามารถอุทธรณ์การประเมินได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4878/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ส่วนลดทางการค้ากับภาษีมูลค่าเพิ่ม: การหักส่วนลดออกจากฐานภาษีและการไม่ถือเป็นค่าจ้าง
ในการประกอบกิจการของโจทก์ โจทก์ขายสินค้าให้แก่ลูกค้าผู้ขายปลีกโดยหักส่วนลดทันทีและส่งมอบกรรมสิทธิ์ในสินค้าให้ลูกค้าไป และลูกค้าของโจทก์จะต้องชำระราคาตามเวลาที่โจทก์กำหนดมิใช่เมื่อขายสินค้าได้แล้ว ลักษณะการประกอบกิจการเช่นนี้จึงเป็นการซื้อขายตามธรรมดา ส่วนลดที่โจทก์ให้แก่ลูกค้าขายปลีกหรือผู้จำหน่ายอิสระจึงเป็นเงินได้จากการประกอบธุรกิจตามมาตรา 40 (8) แห่ง ป.รัษฎากรฯ มิใช่เป็นเงินได้ที่ได้รับทำงานให้โจทก์ตามมาตรา 40 (2) โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
เมื่อส่วนลดที่โจทก์หักออกจากราคาสินค้าไม่ใช่ค่าจ้างหรือเงินได้จากการรับทำงานให้ตามมาตรา 40 (2) แห่ง ป.รัษฎากรฯ จึงต้องถือว่าส่วนลดดังกล่าวเป็นส่วนลดตามปกติในทางการค้า การที่โจทก์ออกใบกำกับภาษีโดยหักส่วนลดออกจากราคาสินค้าไว้ในใบกำกับภาษีในแต่ละครั้งที่ออก ส่วนลดดังกล่าวจึงไม่ถือว่าเป็นมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 วรรคสาม (1) การที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มโดยหักส่วนลดออกจากราคาสินค้าจึงถูกต้องแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4878/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ส่วนลดการค้าไม่ใช่ค่าจ้าง – ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย และหักออกจากฐานภาษีมูลค่าเพิ่มได้
ในการประกอบกิจการของโจทก์ โจทก์ขายสินค้าให้แก่ลูกค้าขายปลีกโดยหักส่วนลดให้ทันทีและส่งมอบกรรมสิทธิ์ในสินค้าให้ลูกค้าไป ลูกค้าของโจทก์จะต้องชำระราคาตามเวลาที่โจทก์กำหนดมิใช่เมื่อขายสินค้าได้แล้ว ลักษณะการประกอบกิจการเช่นนี้จึงเป็นการซื้อขายตามธรรมดา ส่วนลดที่โจทก์ให้แก่ลูกค้าขายปลีกจึงเป็นเงินได้จากการประกอบธุรกิจตาม ป. รัษฎากร มาตรา 40 (8) มิใช่เงินได้ที่ได้รับจากการรับทำงานให้โจทก์ตามมาตรา 40 (2) โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50
โจทก์ขายสินค้าให้แก่ลูกค้าขายปลีกโดยหักส่วนลดในทันทีและออกใบกำกับภาษีโดยหักส่วนลดออกจากราคาสินค้าแสดงให้เห็นไว้ชัดแจ้งแล้ว ส่วนลดดังกล่าวจึงไม่ถือเป็นมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 วรรคสาม (1) แห่ง ป. รัษฎากร โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มโดยหักส่วนลดออกจากราคาสินค้าถูกต้องแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4356/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แก้ไขโทษคดียาเสพติดและไม่ริบเงินจากการขายยา เหตุเงินไม่ใช่ของกลางที่ได้จากการกระทำผิดโดยตรง
เงินของกลางจำนวน 6,000 บาท ที่โจทก์ขอให้ริบ โจทก์กล่าวในคำฟ้องว่าเป็นทรัพย์ที่จำเลยได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนก่อนถูกจับกุมก่อนหน้านี้ เงินจำนวนดังกล่าวจึงมิใช่วัตถุซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 102 และไม่ใช่ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่า ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยกระทำความผิดซึ่งหมายถึงเฉพาะความผิดที่ได้กระทำในคดีนี้ตาม ป.อ. มาตรา 32, 33 (2)
โจทก์บรรยายฟ้องความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจำนวน 10,000 เม็ด และระบุคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 322.86 กรัม ส่วนความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นจำนวนเดียวกับฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายระบุจำนวน 2,000 เม็ด แต่ไม่ระบุสารบริสุทธิ์ จึงต้องด้วย พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 66 วรรคหนึ่ง จะคำนวณเทียบเคียงว่าเมทแอมเฟตามีน 10,000 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 322.86 กรัม จำนวน 2,000 เม็ด จึงคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ไม่น้อยกว่า 64 กรัม เพื่อเป็นความผิดตามมาตรา 66 วรรคสอง หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4261/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโต้แย้งกรรมสิทธิ์ในคดีขับไล่และการห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง
จำเลยให้การว่า บ้านพิพาทบิดามารดาจำเลยปลูกสร้างขึ้น จำเลยอยู่ในบ้านดังกล่าวโดยอาศัยสิทธิของบิดามารดา ถือไม่ได้ว่าจำเลยต่อสู้กรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาท จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ต่อมาศาลชั้นต้นวินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์บ้านพิพาทในฐานะผู้ให้เช่าชอบที่จะได้รับประโยชน์ในบ้านพิพาท เมื่อครบกำหนดตามสัญญาเช่าโจทก์บอกเลิกการเช่าโดยชอบแล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายได้ เมื่อคดีนี้โจทก์ในฐานะผู้ให้เช่าฟ้องขับไล่จำเลยในฐานะผู้เช่าให้ออกจากบ้านพิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์อันมีค่าเช่าได้ในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยอยู่ในบ้านพิพาทโดยอาศัยสิทธิครอบครองของบิดามารดาจำเลยบ้านพิพาทเป็นของจำเลยและสัญญาเช่าปลอม ล้วนแต่เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงทั้งสิ้น จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4261/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีไม่มีทุนทรัพย์: การโต้แย้งกรรมสิทธิ์และการพิสูจน์สิทธิครอบครอง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านพิพาท จำเลยให้การว่าบ้านพิพาทบิดามารดาจำเลยปลูกสร้างขึ้น จำเลยอยู่ในบ้านดังกล่าวโดยอาศัยสิทธิของบิดามารดา ถือไม่ได้ว่าจำเลยต่อสู้กรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาท จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ เมื่อบ้านพิพาทที่จำเลยเช่ามีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสอง ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยอยู่ในบ้านพิพาทโดยอาศัยสิทธิครอบครองของบิดามารดาจำเลย บ้านพิพาทเป็นของจำเลยและสัญญาเช่าปลอมนั้น ล้วนเป็นอุทธรณ์ที่โต้เถียงในข้อเท็จจริงทั้งสิ้น จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4001-4002/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: การยึดถือเพื่อตน แม้ยังไม่ได้จดทะเบียน โอนสิทธิให้ผู้รับโอนไม่ได้
จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่โจทก์ที่ 1 แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โดยยอมให้โจทก์ที่ 1 เข้าครอบครองที่ดินพิพาท และจำเลยที่ 1 ไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทนับเป็นการสละเจตนาครอบครองและไม่ยึดถือที่ดินพิพาทต่อไป การที่โจทก์ที่ 1 ครอบครองต่อมาและชำระภาษีบำรุงท้องที่มาตลอดจึงเป็นการยึดถือโดยเจตนาจะยึดเพื่อตน โจทก์ที่ 1 ย่อมได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท แม้ต่อมาจำเลยที่ 1 จะทำนิติกรรมจดทะเบียนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 และมีชื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทก็เป็นเพียงข้อสันนิษฐานเบื้องต้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373 การที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายและจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ในขณะที่จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแล้ว แม้จะมีชื่อจำเลยที่ 2 ในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในฐานะผู้รับโอน ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท
เมื่อคดีทั้งสองสำนวนศาลชั้นต้นสั่งให้รวมพิจารณาเป็นคดีเดียวกัน แต่ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์โดยไม่แยกเป็นรายสำนวนนั้นไม่ถูกต้อง เพราะจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นคู่ความในสำนวนแรก และโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้เป็นคู่ความในสำนวนหลัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3428/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: กรณีพฤติการณ์พิเศษและการแก้ไขข้อบกพร่องการแต่งตั้งทนาย
ส. ทนายจำเลยเคยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ก่อนครบกำหนดอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้น 2 ครั้ง ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตทั้งสองครั้งมาแล้ว ต่อมาเมื่อ ส. ต้องไปปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา จึงมอบหมายให้ ท. เป็นทนายว่าความแทนจำนวนหลายคดี จำเลยเคยไปพบ ท. เพื่อปรึกษาคดี 2 ครั้ง โดย ท. เข้าใจผิดว่าได้รับแต่งตั้งเป็นทนายความของจำเลยแล้ว แสดงว่าจำเลยมีเจตนาแต่งตั้ง ท. เป็นทนายความของจำเลยมาตั้งแต่ก่อนหน้า ท. ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ ต่อมาจำเลยยื่นใบแต่งทนายความฉบับใหม่ให้ ท. เป็นทนายความของจำเลย และศาลชั้นต้นได้รับใบแต่งทนายความฉบับใหม่ไว้แล้ว ถือว่าจำเลยได้แก้ไขข้อบกพร่องที่ไม่ถูกต้องนั้นแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3400/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีผิดสัญญาหมั้นและการวินิจฉัยอำนาจระหว่างศาลแพ่งกับศาลเยาวชนและครอบครัว
ในระหว่างพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นจำเลยทั้งสามยื่นคำร้องว่า คำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องเกี่ยวกับการผิดสัญญาหมั้นตามบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฟ้องโจทก์จึงไม่อยู่ในอำนาจของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ขอให้ศาลวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมาย ดังนี้ ศาลชั้นต้นชอบที่จะปฏิบัติตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 12 ซึ่งบัญญัติว่า ในกรณีที่มีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลยุติธรรมอื่นไม่ว่าจะเกิดปัญหาขึ้นในศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลยุติธรรมอื่นให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด ที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ไปโดยมิได้ดำเนินการดังกล่าว จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ และเมื่อคดีนี้ขึ้นมาสู่ศาลฎีกา ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรส่งสำนวนคดีนี้ไปให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดตามบทกฎหมายดังกล่าวต่อไป เมื่อประธานศาลฎีกาได้วินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวแล้ว หากคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้น (ศาลแพ่งกรุงเทพใต้) ก็ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 15 แต่ถ้าคดีอยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นก็ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป
of 6