พบผลลัพธ์ทั้งหมด 54 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3400/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีหมั้นและการส่งเรื่องให้ประธานศาลฎีกาชี้ขาด
ในระหว่างพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น (ศาลแพ่งกรุงเทพใต้) จำเลยทั้งสามยื่นคำร้องว่า คำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องเกี่ยวกับการผิดสัญญาหมั้นตามบทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. ฟ้องโจทก์จึงไม่อยู่ในอำนาจของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ขอให้ศาลวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมาย ดังนี้ ศาลชั้นต้นชอบที่จะปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 12 ซึ่งบัญญัติว่า ในกรณีที่มีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลยุติธรรมอื่นไม่ว่าจะเกิดปัญหาขึ้นในศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลยุติธรรมอื่นให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด ที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ไปโดยมิได้ดำเนินการดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้และเมื่อคดีนี้ขึ้นมาสู่ศาลฎีกา ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรส่งสำนวนคดีนี้ไปให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดตามบทกฎหมายดังกล่าวต่อไป เมื่อประธานศาลฎีกาได้วินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวแล้ว หากคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้น (ศาลแพ่งกรุงเทพใต้) ก็ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 15 แต่ถ้าคดีอยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นก็ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3400/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีผิดสัญญาหมั้น - ศาลชั้นต้นต้องส่งเรื่องให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยก่อนพิพากษา
ในระหว่างพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นจำเลยยื่นคำร้องว่า คำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องเกี่ยวกับการผิดสัญญาหมั้นตามบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฟ้องโจทก์จึงไม่อยู่ในอำนาจของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ดังนี้ ศาลชั้นต้นชอบที่จะปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 12 ซึ่งบัญญัติว่า ในกรณีที่มีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลยุติธรรมอื่นให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด ที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ไปโดยมิได้ดำเนินการดังกล่าว จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาให้ส่งสำนวนไปให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3245/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินจากคดียาเสพติด: ต้องมีมูลความผิดฐานจำหน่ายหรือครอบครองเพื่อจำหน่ายเท่านั้น
โจทก์ฟ้องจำเลยข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและเสพเมทแอมเฟตามีน แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาลงโทษจำเลยข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและเสพเมทแอมเฟตามีน ยกฟ้องข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายคดีถึงที่สุด โดยที่ พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 3 ให้บทนิยามคำว่า "ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หมายความว่า การผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติด และให้หมายความรวมถึงการสมคบ สนับสนุน ช่วยเหลือ หรือพยายามกระทำความผิดดังกล่าวด้วย" มาตรา 27 วรรคหนึ่ง "...เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ก็ให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องเพื่อขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินนั้น..." และมาตรา 29 วรรคหนึ่ง "บรรดาทรัพย์สินซึ่งพนักงานอัยการได้ยื่นคำร้องต่อศาลตามมาตรา 27 วรรคหนึ่ง นั้น ให้ศาลไต่ส่วนหากคดีมีมูลว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้ศาลริบทรัพย์สินนั้น..." การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าจำเลยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและเสพเมทแอมเฟตามีน จึงมิได้อยู่ในความหมายของคำว่า "ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด" ตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ ในอันที่จะขอให้ริบเงิน 130,000 บาท ของกลาง ตามมาตรา 29 วรรคหนึ่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวได้ ดังนั้น ผู้ร้องจึงไม่อาจยื่นคำร้องขอให้ริบเงิน 130,000 บาท ของกลางให้ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 29, 31 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2845/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรอนสิทธิจากคำพิพากษาเพิกถอนนิติกรรมซื้อขาย ผู้ขายต้องรับผิดชำระราคาคืน
การที่ศาลฎีกาในคดีก่อนพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการฝากขายที่ดินและนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทอันมีผลให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทกลับคืนไปยังเจ้าของที่แท้จริง กรณีเช่นนี้ถือได้ว่าเจ้าของที่ดินพิพาทที่แท้จริงมารบกวนสิทธิของโจทก์ทั้งสองผู้ซื้อให้จำต้องคืนที่ดินพิพาทให้แก่เจ้าของที่ดินที่แท้จริงตามคำพิพากษาศาลฎีกา โจทก์ทั้งสองจึงถูกรอนสิทธิซึ่งจำเลยผู้ขายมีหน้าที่ต้องรับผิดในผลแห่งการรอนสิทธินั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 475 เมื่อที่ดินพิพาทได้หลุดไปจากโจทก์ทั้งสองผู้ซื้อ จำเลยผู้ขายจึงต้องรับผิดชำระราคาที่ดินพิพาทคืนให้แก่โจทก์ทั้งสองตามมาตรา 479 ดังนั้น ค่าเสียหายที่จำเลยต้องรับผิดคือราคาที่ดินพิพาทที่โจทก์ทั้งสองได้ชำระแก่จำเลยไปแล้วอันเป็นค่าเสียหายโดยตรงที่โจทก์ทั้งสองเสียหายไปจริง แต่ในส่วนค่าเสียหายที่เกิดจากการไม่สามารถขายที่ดินพิพาทได้นั้น เป็นเพียงการคาดคะเนของโจทก์ทั้งสองเอง หาใช่ค่าเสียหายโดยตรงที่โจทก์ทั้งสองต้องเสียหายไปตามความจริงไม่ ทั้งนี้ โจทก์ทั้งสองได้เกิดสิทธิเรียกร้องในเงินค่าที่ดินพิพาทเอาจากจำเลยนับแต่วันที่โจทก์ทั้งสองทราบคำพิพากษาศาลฎีกา จำเลยจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยนับแต่วันดังกล่าว อนึ่งจำเลยให้การต่อสู้คดีไว้เฉพาะเรื่องขาดอายุความฟ้องร้องเรื่องการรอนสิทธิเท่านั้น การกล่าวอ้างเรื่องขาดอายุความฐานลาภมิควรได้ขึ้นในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นเรื่องที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2845/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรอนสิทธิจากการเพิกถอนนิติกรรมซื้อขาย และสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ขาย
ศาลฎีกาพิพากษาให้เพิกถอนการขายฝากที่ดินพิพาทระหว่าง ฉ. กับจำเลยเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2516 และการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2531 อันมีผลให้โจทก์ต้องส่งมอบที่ดินพิพาทคืนให้แก่ ฉ. เจ้าของที่ดินพิพาทที่แท้จริง ทำให้โจทก์ทั้งสองไม่อาจครอบครองใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยปกติสุขเพราะ ฉ. มาก่อการรบกวนขัดสิทธิของโจทก์ แม้จำเลยจะได้จดทะเบียนรับซื้อฝากโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน แต่โจทก์ก็รับซื้อที่ดินพิพาทไว้โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนเช่นกัน ดังนั้น เมื่อโจทก์ได้คืนพิพาทให้แก่เจ้าของที่แท้จริงไปแล้วตามคำพิพากษาศาลฎีกา โจทก์จึงถูกรอนสิทธิซึ่งจำเลยผู้ขายมีหน้าที่ต้องรับผิดในผลแห่งการรอนสิทธินั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 475
ที่ดินพิพาทได้หลุดไปจากโจทก์เพราะการรอนสิทธิ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระราคาที่ดินพิพาทคืนให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 479 ค่าเสียหายที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์คือราคาค่าที่ดินพิพาทที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยไปแล้ว อันเป็นค่าเสียหายโดยตรงที่โจทก์เสียหายไปจริง ส่วนการที่โจทก์ไม่สามารถขายที่ดินพิพาทให้บุคคลภายนอกได้เป็นเพียงการคาดคะเนของโจทก์จึงมิใช่ค่าเสียหายโดยตรงที่ต้องเสียหายไปตามความจริง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้โจทก์
จำเลยให้การต่อสู้คดีไว้เฉพาะขาดอายุความเรื่องการรอนสิทธิเท่านั้น การกล่างอ้างเรื่องขาดอายุความฐานลาภมิควรได้ขึ้นในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นเรื่องที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่ดินพิพาทได้หลุดไปจากโจทก์เพราะการรอนสิทธิ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระราคาที่ดินพิพาทคืนให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 479 ค่าเสียหายที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์คือราคาค่าที่ดินพิพาทที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยไปแล้ว อันเป็นค่าเสียหายโดยตรงที่โจทก์เสียหายไปจริง ส่วนการที่โจทก์ไม่สามารถขายที่ดินพิพาทให้บุคคลภายนอกได้เป็นเพียงการคาดคะเนของโจทก์จึงมิใช่ค่าเสียหายโดยตรงที่ต้องเสียหายไปตามความจริง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้โจทก์
จำเลยให้การต่อสู้คดีไว้เฉพาะขาดอายุความเรื่องการรอนสิทธิเท่านั้น การกล่างอ้างเรื่องขาดอายุความฐานลาภมิควรได้ขึ้นในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นเรื่องที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2376/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์: การครอบครองแทนผู้อื่นไม่ทำให้ได้กรรมสิทธิ์
คดีนี้ผู้ร้องร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องโดยการครอบครองปรปักษ์ ผู้คัดค้านที่ 1 คัดค้านว่าที่ดินพิพาทมีบางส่วนเป็นของผู้คัดค้านที่ 1 โดยการครอบครองปรปักษ์ ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่าที่ดินที่ผู้ร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์นั้นเป็นของผู้คัดค้านที่ 1 โดยการครอบครองปรปักษ์บางส่วนหรือไม่ ซึ่งศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยแล้วว่า ผู้คัดค้านที่ 1 อยู่ในที่ดินในฐานะผู้อาศัยเท่านั้น จึงพิพากษายกคำร้องของผู้คัดค้านที่ 1 และศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืน ดังนั้น การที่ผู้คัดค้านที่ 1 อุทธรณ์ว่าผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทอื่น ผู้ร้องจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์นั้นเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่ เป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วในศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยในเรื่องนี้จึงชอบแล้ว
ผู้ร้องอนุญาตให้ผู้คัดค้านที่ 1 ปลูกบ้านอยู่ในที่ดินพิพาทเพราะเห็นว่าผู้คัดค้านที่ 1 ไม่มีที่ดินอยู่อาศัย และในขณะอาศัยอยู่ผู้คัดค้านที่ 1 ไม่ได้แสดงออกหรือมีการบอกกล่าวเปลี่ยนแปลงลักษณะแห่งการยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทต่อผู้ร้องว่าจะยึดถือเพื่อตนเองแต่อย่างใด การครอบครองที่ดินพิพาทของผู้คัดค้านที่ 1 จึงเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทแทนผู้ร้องเท่านั้น แม้ผู้คัดค้านที่ 1 จะครอบครองนานเท่าใดก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
ผู้ร้องอนุญาตให้ผู้คัดค้านที่ 1 ปลูกบ้านอยู่ในที่ดินพิพาทเพราะเห็นว่าผู้คัดค้านที่ 1 ไม่มีที่ดินอยู่อาศัย และในขณะอาศัยอยู่ผู้คัดค้านที่ 1 ไม่ได้แสดงออกหรือมีการบอกกล่าวเปลี่ยนแปลงลักษณะแห่งการยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทต่อผู้ร้องว่าจะยึดถือเพื่อตนเองแต่อย่างใด การครอบครองที่ดินพิพาทของผู้คัดค้านที่ 1 จึงเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทแทนผู้ร้องเท่านั้น แม้ผู้คัดค้านที่ 1 จะครอบครองนานเท่าใดก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2361/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำพิพากษาคดีอาญาฐานบุกรุกต่อคดีแพ่งเรียกร้องค่าเสียหายและการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
ในคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดฐานบุกรุกนั้น ข้อวินิจฉัยที่ว่าที่ดินพิพาทที่จำเลยเข้ามาสร้างบ้านสองชั้นเป็นของโจทก์หรือไม่ เป็นปัญหาโดยตรงในการวินิจฉัยคดีส่วนอาญา ดังนั้น ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาซึ่งถึงที่สุดแล้วดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 โดยต้องฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ จะให้ฟังว่าเป็นของจำเลยหรือเป็นลำห้วยสาธารณประโยชน์หรือออกโฉนดที่ดินทับลำห้วยสาธารณประโยชน์มิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2176/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องคดีเกี่ยวกับยาเสพติด การคำนวณน้ำหนักบริสุทธิ์ไม่จำเป็นต้องระบุในฟ้อง หากปริมาณยาเสพติดไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องระบุ
พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 15 วรรคหนึ่งและ 65 วรรคหนึ่ง มิได้มีการระบุถึงการคำนวณน้ำหนักบริสุทธิ์ของเมทแอมเฟตามีนไว้แต่อย่างใดส่วนตามมาตรา 67 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวระบุแต่เพียงว่า "ผู้ใดมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภท 1 มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่ถึง 20 กรัม โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 15 ต้องระวางโทษ..." คดีนี้น้ำหนักของเมทแอมเฟตามีนของกลางมีน้ำหนักเพียง 5.14 กรัม ซึ่งเป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่าหากคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ก็คงไม่ถึง 20 กรัม อย่างแน่นอน ดังนั้น การที่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องถึงน้ำหนักที่คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ของเมทแอมเฟตามีนของกลางก็ไม่เป็นการไม่ครบองค์ประกอบแห่งความผิดตามกฎหมายแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2105/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรถบรรทุกมีหน้าที่ควบคุมการบรรทุกน้ำหนัก แม้มีประกาศข้อบังคับแล้ว หากปล่อยปละละเลยถือว่ารู้เห็นเป็นใจ
ผู้ร้องเป็นบริษัทที่ประกอบกิจการขนส่ง และมีรถบรรทุกไว้บริการลูกค้าประมาณ 10 คัน การที่ผู้ร้องได้ออกประกาศข้อบังคับให้ลูกจ้างถือปฏิบัติการบรรทุกน้ำหนักตามกำหนดนั้น ถือเป็นเรื่องภายในของผู้ร้อง แต่ผู้ร้องยังจะต้องมีหน้าที่ตรวจตราโดยหาวิธีการอื่นมาควบคุมมิให้มีการบรรทุกเกินอีกด้วย มิใช่เพียงแต่ปิดประกาศข้อบังคับให้ลูกจ้างทราบแล้วปล่อยให้ลูกจ้างขับรถไปบรรทุกโดยไม่มีการควบคุมอีกชั้นหนึ่งย่อมเป็นช่องทางให้มีการบรรทุกเกินกำหนดได้โดยง่าย ซึ่งผู้ร้องย่อมทราบเรื่องนี้เป็นอย่างดี ดังนั้น การที่ผู้ร้องปล่อยปละละเลยจนจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างขับรถยนต์บรรทุกของผู้ร้องไปบรรทุกเกินกำหนด ย่อมถือได้ว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดของจำเลยด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1814/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเงินสดที่เกี่ยวเนื่องกับคดียาเสพติด: ไม่เป็นการฟ้องซ้ำเมื่อประเด็นต่างกัน
คดีนี้มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยว่า เงินสดของกลางจำนวน 116,600 บาท เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษของผู้คัดค้านทั้งสองตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ และให้ริบเงินสดดังกล่าวตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดหรือไม่ แต่ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1815/2544 ของศาลชั้นต้นคดีก่อน มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยว่าเงินสดของกลางเป็นทรัพย์สินที่ได้ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด หรือได้มาโดยได้กระทำความผิดในคดีดังกล่าวที่ต้องริบให้ตกเป็นของแผ่นดินตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ และ ป.วิ.อ. หรือไม่ เห็นได้ว่า ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยในคดีอาญาดังกล่าวและคดีตามคำร้องคดีนี้แตกต่างกัน การพิจารณาคดีนี้จึงไม่เป็นการฟ้องซ้ำหรือร้องซ้ำกับคดีอาญาดังกล่าว
เงินสดของกลางจำนวน 116,600 บาท เป็นของผู้คัดค้านทั้งสองที่มีอยู่หรือได้มาเกินกว่าฐานะหรือความสามารถในการประกอบอาชีพหรือกิจกรรมอย่างอื่นโดยสุจริตและผู้คัดค้านทั้งสองเป็นผู้เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ทรัพย์สินดังกล่าวจึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่า เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด เมื่อผู้คัดค้านทั้งสองไม่อาจพิสูจน์หักล้างได้ จึงต้องริบเงินสดจำนวนดังกล่าวให้ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดตามความในมาตรา 29 และมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ
เงินสดของกลางจำนวน 116,600 บาท เป็นของผู้คัดค้านทั้งสองที่มีอยู่หรือได้มาเกินกว่าฐานะหรือความสามารถในการประกอบอาชีพหรือกิจกรรมอย่างอื่นโดยสุจริตและผู้คัดค้านทั้งสองเป็นผู้เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ทรัพย์สินดังกล่าวจึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่า เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด เมื่อผู้คัดค้านทั้งสองไม่อาจพิสูจน์หักล้างได้ จึงต้องริบเงินสดจำนวนดังกล่าวให้ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดตามความในมาตรา 29 และมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ