คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.ที่ดิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 483 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2148/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องคดีแผ้วถางป่า: เพียงระบุเนื้อที่และที่ตั้งก็เพียงพอ หากจำเลยเข้าใจได้
โจทก์บรรยายฟ้องมีใจความสำคัญว่า จำเลยบังอาจแผ้วถางป่าและเข้ายึดถือครอบครองที่ดินของรัฐในป่าห้วยอีเลิง ตำบลกุสุมาลย์อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร มีจำนวนเนื้อที่ 2 ไร่ โดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน ฯลฯ นั้น เป็นการบรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับที่ดินที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดพอสมควรที่จำเลยจะเข้าใจได้ดีแล้วว่าเป็นที่ดินของรัฐในป่าห้วยอีเลิงจำนวนเนื้อที่ 2 ไร่ หาจำเป็นที่จะต้องระบุความกว้างยาวและทิศไหนจดอะไรไม่ เพราะได้ระบุจำนวนเนื้อที่ที่จำเลยทำการแผ้วถางยึดถือครอบครองแล้วฟ้องของโจทก์จึงสมบูรณ์ถูกต้องตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1889/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินจากการยื่นขอประทานบัตรทำเหมืองแร่ยังไม่สมบูรณ์ การฟ้องต้องแสดงเหตุถูกโต้แย้งสิทธิ
การที่เจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการรังวัด ไต่สวนสอบสวนที่ดินที่โจทก์ยื่นคำร้องขอประทานบัตรทำเหมืองแร่นั้น ไม่ได้ทำให้โจทก์เกิดสิทธิครอบครองหรือสิทธิอื่นในที่ดินแปลงนั้นแต่อย่างใด เมื่อฟ้องของโจทก์ไม่ได้แสดงว่าสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายของโจทก์ ถูกโต้แย้งจากจำเลยแล้วโจทก์ก็ไม่ชอบที่จะนำคดีมาสู่ศาล หรือฟ้องขอให้บังคับจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1889/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินจากการขอประทานบัตรทำเหมืองแร่: การรังวัดสอบสวนยังไม่ก่อให้เกิดสิทธิจนกว่าจะได้รับประทานบัตร
การที่เจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการรังวัด ไต่สวนสอบสวนที่ดินที่โจทก์ยื่นคำร้องขอประทานบัตรทำเหมืองแร่นั้น ไม่ได้ทำให้โจทก์เกิดสิทธิครอบครองหรือสิทธิอื่นในที่ดินแปลงนั้นแต่อย่างใด เมื่อฟ้องของโจทก์ไม่ได้แสดงว่าสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายของโจทก์ ถูกโต้แย้งจากจำเลยแล้วโจทก์ก็ไม่ชอบที่จะนำคดีมาสู่ศาล หรือฟ้องขอให้บังคับจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 872/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินมือเปล่าและสาธารณสมบัติ: การพิสูจน์กรรมสิทธิ์และการยกอายุความ
ใบเหยียบย่ำเป็นเพียงพยานว่า ผู้รับใบเหยียบย่ำได้จับจองที่พิพาทตั้งแต่วันดังกล่าวในใบเหยียบย่ำ และมีกำหนดอายุเพียง 2 ปีเท่านั้น ผู้รับใบเหยียบย่ำไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินรายพิพาท ส่วนการขึ้นทะเบียนราชพัสดุ ก็ไม่เป็นหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์เช่นกัน เมื่อที่ดินรายพิพาทไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ จึงเป็นที่ดินมือเปล่า
จำเลยที่ 1 (กรมทางหลวงแผ่นดิน) ขอจับจองที่พิพาทและได้รับใบเหยียบย่ำเช่นเดียวกับเอกชนที่จับจองที่ดินธรรมดาไม่ปรากฏว่าได้ใช้ประโยชน์อะไรนอกจากปลูกอาคารรับรองไว้หลังเดียวในเนื้อที่อันกว้างขวาง เฉพาะที่พิพาทมิได้เกี่ยวข้องในการก่อสร้างอาคารรับรองอยู่เหนือที่พิพาทประมาณ 40 เมตร มีบ้านเรือนราษฎรถึง 35 หลังปลูกในเขตที่จำเลยอ้างว่าเป็นของจำเลย ไม่ได้ความว่ามีการสงวนไว้หรือมีการใช้ที่แปลงนี้เพื่อสาธารณประโยชน์ ดังนี้ ที่พิพาทหาใช่สาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่ เพราะมิใช่เป็นที่ซึ่งใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน โจทก์ย่อมยกอายุความขึ้นต่อสู้ได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1306

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 872/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินมือเปล่าและสาธารณสมบัติ: การพิสูจน์กรรมสิทธิ์และการใช้ประโยชน์
ใบเหยียบย่ำเป็นเพียงพยานว่าผู้รับใบเหยียบย่ำได้จับจองที่พิพาทตั้งแต่วันดังกล่าวในใบเหยียบย่ำ และมีกำหนดอายุเพียง 2 ปีเท่านั้น. ผู้รับใบเหยียบย่ำไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินรายพิพาท. ส่วนการขึ้นทะเบียนราชพัสดุ ก็ไม่เป็นหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์เช่นกัน. เมื่อที่ดินรายพิพาทไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ. จึงเป็นที่ดินมือเปล่า.
จำเลยที่ 1(กรมทางหลวงแผ่นดิน) ขอจับจองที่พิพาทและได้รับใบเหยียบย่ำเช่นเดียวกับเอกชนที่จับจองที่ดินธรรมดาไม่ปรากฏว่าได้ใช้ประโยชน์อะไรนอกจากปลูกอาคารรับรองไว้หลังเดียวในเนื้อที่อันกว้างขวาง. เฉพาะที่พิพาทมิได้เกี่ยวข้องในการก่อสร้างอาคารรับรองอยู่เหนือที่พิพาทประมาณ40 เมตร. มีบ้านเรือนราษฏรถึง 35 หลังปลูกในเขตที่จำเลยอ้างว่าเป็นของจำเลย. ไม่ได้ความว่ามีการสงวนไว้หรือมีการใช้ที่แปลงนี้เพื่อสาธารณประโยชน์. ดังนี้ ที่พิพาทหาใช่สาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่. เพราะมิใช่เป็นที่ซึ่งใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน. โจทก์ย่อมยกอายุความขึ้นต่อสู้ได้. ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1306.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 872/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินมือเปล่า - สาธารณสมบัติ - อายุความ: การพิสูจน์กรรมสิทธิ์และการยกอายุความในที่ดิน
ใบเหยียบย่ำเป็นเพียงพยานว่าผู้รับใบเหยียบย่ำได้จับจองที่พิพาทตั้งแต่วันดังกล่าวในใบเหยียบย่ำ และมีกำหนดอายุเพียง 2 ปีเท่านั้นผู้รับใบเหยียบย่ำไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินรายพิพาทส่วนการขึ้นทะเบียนราชพัสดุ ก็ไม่เป็นหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์เช่นกันเมื่อที่ดินรายพิพาทไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ จึงเป็นที่ดินมือเปล่า
จำเลยที่ 1(กรมทางหลวงแผ่นดิน) ขอจับจองที่พิพาทและได้รับใบเหยียบย่ำเช่นเดียวกับเอกชนที่จับจองที่ดินธรรมดาไม่ปรากฏว่าได้ใช้ประโยชน์อะไรนอกจากปลูกอาคารรับรองไว้หลังเดียวในเนื้อที่อันกว้างขวางเฉพาะที่พิพาทมิได้เกี่ยวข้องในการก่อสร้างอาคารรับรองอยู่เหนือที่พิพาทประมาณ40 เมตร มีบ้านเรือนราษฏรถึง 35 หลังปลูกในเขตที่จำเลยอ้างว่าเป็นของจำเลยไม่ได้ความว่ามีการสงวนไว้หรือมีการใช้ที่แปลงนี้เพื่อสาธารณประโยชน์ดังนี้ ที่พิพาทหาใช่สาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่เพราะมิใช่เป็นที่ซึ่งใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันโจทก์ย่อมยกอายุความขึ้นต่อสู้ได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1306

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 475/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คนต่างด้าวรับมรดก/พินัยกรรม: สัญญาประนีประนอมมีผลผูกพันหากมีสิทธิขออนุญาตถือครองที่ดินได้
ถ้าคนต่างด้าวผู้รับพินัยกรรมมีสิทธิหรือมีทางที่จะขออนุญาตถือที่ดินได้ พินัยกรรมก็ไม่เป็นโมฆะ
โจทก์จำเลยต่างเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก และได้ทำสัญญาประนีประนอมกันว่าจำเลยจะโอนที่ดินให้โจทก์ตามส่วนในพินัยกรรมเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยผู้รับผิด จึงบังคับตามสัญญาได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750 ส่วนโจทก์ที่เป็นคนต่างด้าวก็ให้ไปจัดการตามประมวลกฎหมายที่ดินก่อน (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 475/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คนต่างด้าวรับมรดก/พินัยกรรม: สัญญาประนีประนอมผูกพันได้หากมีสิทธิขออนุญาตถือครองที่ดิน
ถ้าคนต่างด้าวผู้รับพินัยกรรมมีสิทธิหรือมีทางที่จะขออนุญาตถือที่ดินได้ พินัยกรรมก็ไม่เป็นโมฆะ
โจทก์จำเลยต่างเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก และได้ทำสัญญาประนีประนอมกันว่าจำเลยจะโอนที่ดินให้โจทก์ตามส่วนในพินัยกรรมเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยผู้รับผิด จึงบังคับตามสัญญาได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750 ส่วนโจทก์ที่เป็นคนต่างด้าวก็ให้ไปจัดการตามประมวลกฎหมายที่ดินก่อน
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 475/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คนต่างด้าวรับมรดก/พินัยกรรม: สัญญาประนีประนอมมีผลบังคับใช้ได้ หากมีสิทธิขออนุญาตถือครองที่ดินได้
ถ้าคนต่างด้าวผู้รับพินัยกรรมมีสิทธิหรือมีทางที่จะขออนุญาตถือที่ดินได้. พินัยกรรมก็ไม่เป็นโมฆะ.
โจทก์จำเลยต่างเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก. และได้ทำสัญญาประนีประนอมกันว่าจำเลยจะโอนที่ดินให้โจทก์ตามส่วนในพินัยกรรมเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยผู้รับผิด. จึงบังคับตามสัญญาได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750. ส่วนโจทก์ที่เป็นคนต่างด้าวก็ให้ไปจัดการตามประมวลกฎหมายที่ดินก่อน.(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2511).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 428/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินแม้ตื้นเขินก็ยังคงเป็นของรัฐ เอกชนไม่มีสิทธิครอบครองหรือโอน
ลำคลองอันเป็นทางน้ำที่ประชาชนใช้สัญจรไปมาร่วมกัน.เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304. แม้ลำคลองนั้นได้ตื้นเขินขึ้นโดยธรรมชาติ. ไม่มีสภาพเป็นลำคลองมาประมาณ 30 ปีเศษ. และไม่มีราษฎรได้ใช้ประโยชน์ก็ตาม. แต่ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพลำคลองนั้นจากการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 วรรคสอง และทางราชการยังถือเป็นที่หลวงหวงห้ามลำคลองนั้นจึงยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน. จะโอนแก่กันมิได้. และจะยกอายุความขึ้นต่อสู้แผ่นดินก็ไม่ได้. ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305,1306.
of 49