พบผลลัพธ์ทั้งหมด 483 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการซื้อที่ดินของคนต่างด้าว: ต้องมีสนธิสัญญาและได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ หากไม่มีสัญญา สัญญาซื้อขายเป็นโมฆะ
พ.ร.บ.ที่ดินในส่วนที่เกี่ยวกับคนต่างด้าว 2486 มาตรา 5, 6 คนต่างด้าวจะเข้าถือกรรมสิทธิในที่ดินได้ ก็ต่อเมื่อมีสนธิสัญญาบัญญัติให้ไว้ และแม้จะมีสนธิสัญญาเช่นว่านั้นก็ตาม แต่การได้มาจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขและข้อกำหนด ทั้งต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย แต่ถ้าไม่มีสนธิสัญญาให้มีกรรมสิทธิในที่ดินได้ คนต่างด้าวนั้นก็ไม่มีสิทธิจะได้มาซึ่งที่ดินและแม้จะขออนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ๆ ก็ไม่มีอำนาจอนุญาตได้.
โจทก์เป็นคนจีนทำสัญญาซื้อที่ดินจากจำเลย ในเวลาที่จะต้องโอนที่ดินตามสัญญานั้น ประเทศจีนยังไม่ได้ประกาศใช้สนธิสัญญากับประเทศไทย โจทก์จึงไม่มีทางได้กรรมสิทธิในที่ดินตามสัญญาได้ สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยตกเป็นโมฆะตาม ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา 113 จำเลยไม่ใช่ฝ่ายผิดสัญญาและไม่ต้องชดใช้เบี้ยปรับ แต่จำเลยควรคืนมัดจำให้โจทก์.
(อ้างฎีกา 188/2492)
โจทก์เป็นคนจีนทำสัญญาซื้อที่ดินจากจำเลย ในเวลาที่จะต้องโอนที่ดินตามสัญญานั้น ประเทศจีนยังไม่ได้ประกาศใช้สนธิสัญญากับประเทศไทย โจทก์จึงไม่มีทางได้กรรมสิทธิในที่ดินตามสัญญาได้ สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยตกเป็นโมฆะตาม ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา 113 จำเลยไม่ใช่ฝ่ายผิดสัญญาและไม่ต้องชดใช้เบี้ยปรับ แต่จำเลยควรคืนมัดจำให้โจทก์.
(อ้างฎีกา 188/2492)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของคนต่างด้าวตาม พ.ร.บ.ที่ดิน 2486 ต้องมีสนธิสัญญาคุ้มครองและได้รับอนุญาต
พ.ร.บ.ที่ดินในส่วนที่เกี่ยวกับคนต่างด้าว 2486 มาตรา 5,6 คนต่างด้าวจะเข้าถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้ ก็ต่อเมื่อมีสนธิสัญญาบัญญัติให้ไว้ และแม้จะมีสนธิสัญญาเช่นว่านั้นก็ตาม แต่การได้มาจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขและข้อกำหนด ทั้งต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย แต่ถ้าไม่มีสนธิสัญญาให้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้ คนต่างด้าวนั้นก็ไม่มีสิทธิจะได้มาซึ่งที่ดิน และแม้จะขออนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ก็ไม่มีอำนาจอนุญาตได้
โจทก์เป็นคนจีนทำสัญญาซื้อที่ดินจากจำเลย ในเวลาที่จะต้องโอนที่ดินตามสัญญานั้น ประเทศจีนยังไม่ได้ประกาศใช้สนธิสัญญากับประเทศไทยโจทก์จึงไม่มีทางได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินตามสัญญาได้ สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยตกเป็นโมฆะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 จำเลยไม่ใช่ฝ่ายผิดสัญญาและไม่ต้องชดใช้เบี้ยปรับ แต่จำเลยควรคืนมัดจำให้โจทก์ (อ้างฎีกาที่ 188/2492)
โจทก์เป็นคนจีนทำสัญญาซื้อที่ดินจากจำเลย ในเวลาที่จะต้องโอนที่ดินตามสัญญานั้น ประเทศจีนยังไม่ได้ประกาศใช้สนธิสัญญากับประเทศไทยโจทก์จึงไม่มีทางได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินตามสัญญาได้ สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยตกเป็นโมฆะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 จำเลยไม่ใช่ฝ่ายผิดสัญญาและไม่ต้องชดใช้เบี้ยปรับ แต่จำเลยควรคืนมัดจำให้โจทก์ (อ้างฎีกาที่ 188/2492)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1089/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ของหมั้นต้องมีการมอบทรัพย์สิน หากชายตายก่อนสมรส หญิงไม่ต้องคืนของหมั้นที่มอบไว้แล้ว โฉนดที่วางเป็นประกันหนี้ที่ไม่มีอยู่จริง ย่อมต้องคืน
ของหมั้นต้องเป็นทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายได้ให้แก่ฝ่ายหญิงไว้แล้ว ถ้าให้ทรัพย์สินไว้ส่วนหนึ่ง และสัญญาว่า จะนำมามอบให้ในวันหลังอีก ก็คงเป็นของหมั้นเฉพาะส่วนที่ให้ไว้แล้ว ส่วนที่ยังไม่ได้มอบให้ไม่เป็นของหมั้น ฉะนั้นในกรณีที่ชายตาย ของหมั้นที่มอบไว้ย่อมตกแก่หญิง แต่หญิงจะฟ้องเรียกทรัพย์ที่ฝ่ายชายสัญญาจะมอบให้อีกนั้นไม่ได้
ถ้าฝ่ายชายได้มอบของหมั้นให้บ้างแล้ว และสัญญาว่าจะนำของหมั้นที่ยังขาดมามอบให้อีก ถ้าฝ่ายชายไม่นำมามอบให้ตามที่ตกลงกัน ฝ่ายหญิงจะปฏิเสธไม่ยอมสมรส โดยถือว่าฝ่ายชายผิดสัญญาหมั้นก็ได้
เอาโฉนดไปวางเป็นประกันหนี้ แต่ตามกฎหมายไม่มีหนี้ที่จะเรียกร้องจากกันได้ เจ้าของโฉนดก็ย่อมฟ้องเรียกโฉนดคืนได้
ถ้าฝ่ายชายได้มอบของหมั้นให้บ้างแล้ว และสัญญาว่าจะนำของหมั้นที่ยังขาดมามอบให้อีก ถ้าฝ่ายชายไม่นำมามอบให้ตามที่ตกลงกัน ฝ่ายหญิงจะปฏิเสธไม่ยอมสมรส โดยถือว่าฝ่ายชายผิดสัญญาหมั้นก็ได้
เอาโฉนดไปวางเป็นประกันหนี้ แต่ตามกฎหมายไม่มีหนี้ที่จะเรียกร้องจากกันได้ เจ้าของโฉนดก็ย่อมฟ้องเรียกโฉนดคืนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1044/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามสัญญาจำนา/ขายฝากก่อน ป.ม.แพ่งฯ: ดูจากกิริยาการปฏิบัติของคู่สัญญา
สัญญาจำนาที่นาทำกันเมื่อ พ.ศ. 2467 เป็นเวลาก่อนประกาศใช้ ป.ม.แพ่งฯ บรรพ 3 กรณีต้องบังคับตาม พ.ร.บ.การขายฝากและจำนำที่ดิน ร.ศ. 115 และประกาศเรื่องจำนำและขายฝาก ร.ศ. 118
คดีเรื่องจำนา (จำนอง) หรือขายฝากที่ดิน (ก่อน ป.ม.แพ่งฯ บรรพ 3 )นั้นให้ดูกิริยาที่คู่สัญญาประพฤติต่อกันว่าเป็นจำนำหรือขายฝาก แม้ในสัญญาจะมีข้อความเป็นอย่างอื่น ก็ต้องถือตามกิริยาที่ประพฤติต่อกัน
(อ้างฎีกาที่ 22 ร.ศ. 117, ที่ 25 ร.ศ. 123, 467/2487,81/2469, 790/2469)
โจทก์ได้มอบที่ดินให้จำเลยทำกินต่างดอกเบี้ยมาตั้งแต่ พ.ศ. 2470 อันเป็นการปฏิบัติตามสัญญาจำนำที่ทำกันขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2467 จึงเป็นกิริยาการขายฝาก เมื่อไม่ไถ่ภายใน 10 ปี ที่นาก็หลุดเป็นสิทธิแก่จำเลยตามลักษณะขายฝาก โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอไถ่ได้.
(อ้างฎีกาที่ 760/2469)
คดีเรื่องจำนา (จำนอง) หรือขายฝากที่ดิน (ก่อน ป.ม.แพ่งฯ บรรพ 3 )นั้นให้ดูกิริยาที่คู่สัญญาประพฤติต่อกันว่าเป็นจำนำหรือขายฝาก แม้ในสัญญาจะมีข้อความเป็นอย่างอื่น ก็ต้องถือตามกิริยาที่ประพฤติต่อกัน
(อ้างฎีกาที่ 22 ร.ศ. 117, ที่ 25 ร.ศ. 123, 467/2487,81/2469, 790/2469)
โจทก์ได้มอบที่ดินให้จำเลยทำกินต่างดอกเบี้ยมาตั้งแต่ พ.ศ. 2470 อันเป็นการปฏิบัติตามสัญญาจำนำที่ทำกันขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2467 จึงเป็นกิริยาการขายฝาก เมื่อไม่ไถ่ภายใน 10 ปี ที่นาก็หลุดเป็นสิทธิแก่จำเลยตามลักษณะขายฝาก โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอไถ่ได้.
(อ้างฎีกาที่ 760/2469)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1032/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินมือเปล่าโดยตัวแทนและการครอบครองปรปักษ์
จำเลยเป็นเจ้าของที่ดินมือเปล่าร่วมกับ อ. จำเลยได้เชิด อ.เป็นตัวแทนให้ฟ้องคดีและขายนารายนี้ให้แก่โจทก์ และจำเลยปล่อยให้โจทก์ครอบครองโดยสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเกินกว่า 1 ปี โจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิในที่ดินนั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 973/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องร้องเกี่ยวกับที่ดินที่ตกเป็นของทายาท โดยอ้างสัญญาต่างตอบแทน มิใช่การบังคับตามสัญญาหลังมรณะ
โจทก์ฟ้องว่า ช.บิดาโจทก์จำเลยได้เอาที่ดินเนื้อที่ 19 ไร่เศษมาตีเป็นทองคำหมั้นให้แก่ ข. 6 ไร่ในเวลาที่โจทก์กับ ข.สมรสกัน และกองทุนให้โจทก์กับ ข. อีก 4 ไร่ รวมเป็น 10 ไร่ โจทก์กับ ข.มีบุตรคนหนึ่ง ข.ตาย ที่ 10 ไร่จึงตกได้แก่โจทก์และบุตร จึงขอให้ศาลแสดงว่าโจทก์มีกรรมสิทธิในที่นา 10 ไร่ ห้ามมิให้จำเลยเกี่ยวข้อง ดังนี้ ต้องแปลฟ้องโจทก์ว่า โจทก์มิได้ฟ้องขอให้บังคับจำเลยในฐานะผู้รับมฤดก ช. ให้โอนที่ให้แก่โจทก์ตามสัญญาที่ ช.ทำไว้กับโจทก์และ ข. แต่ฟ้องโดยถือว่าที่ตกเป็นของ ข. และโจทก์แล้ว 10 ไร่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 859/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเอาทรัพย์สินชำระหนี้โมฆะเมื่อไม่มีทางจดทะเบียนได้ ทำให้จำเลยไม่มีสิทธิในที่ดิน
โจทก์ทำสัญญากู้ยืมเงินและที่ดินให้จำเลยทำกินต่างดอกเบี้ยและตอนท้ายแห่งสัญญามีข้อความว่า ถ้าพ้น 2 เดือนไม่นำเงินมาชำระ ยอมให้ที่เป็นสิทธินั้น เป็นลักษณะแห่งการให้เอาทรัพย์สินชำระหนี้เงินกู้ ตาม ป.ม.แพ่งฯ มาตรา 656 ข้อสัญญานี้ย่อมเป็นโมฆะตามมาตรา 656 วรรค 3 เมื่อปรากฎว่า ที่พิพาทไม่มีโฉนดก็ไม่มีทางจะไปจดทะเบียน จำเลยไม่มีสิทธิจะยึดที่ดินของโจทก์ไว้ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 858/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการสืบสิทธิในมรดก หากผู้ครอบครองแสดงตนเป็นเจ้าของและผู้สืบสิทธิไม่ฟ้องร้องเป็นเวลาเกิน 10 ปี
โจทก์อ้างว่า ป.ครอบครองที่ดินไว้แทนโจทก์ แต่ ป.ได้ตายมา 10 ปีกว่าแล้ว ข้อที่ว่า ป.ปกครองแทนหรือไม่ ต่างนำสืบโต้เถียงกัน และจำเลยนำสืบว่า จำเลยปกครองเป็นของจำเลยตลอดมา ดังนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 857/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกและสิทธิในที่ดินร่วมกัน: การไม่เข้าร่วมของผู้รับมรดก
โจทก์ 3 คนกับ ม. ได้รับมฤดกกึ่งหนึ่งของที่พิพาท อีกกึ่งหนึ่งเป็นของจำเลย เมื่อโจทก์ 3 คนฟ้องขอแบ่ง โดย ม. มิได้เข้ามาเป็นโจทก์ หรือร้องขอรับส่วนของตนในคดี ศาลก็พิพากษาแบ่งให้โจทก์ตามส่วนที่โจทก์ควรจะได้ คือ 3 ใน 8 ส่วน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 853/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเอาทรัพย์สินชำระหนี้: เงื่อนไขการขาดกันในสัญญากู้เงินเป็นโมฆะ หากมิได้ตกลงให้โอนกรรมสิทธิ์
ทำสัญญากู้เงินแล้วมอบที่ดินให้ยึดถือไว้เป็นประกันในสัญญามีข้อความว่า ถ้า 2 เดือนไม่นำเงินมาให้เป็นอันว่า ที่ดินที่กล่าวข้างบนนี้ขาดกัน เงื่อนไขตอนหลังนี้เป็นลักษณะแห่งการเอาทรัพย์สินเป็นการชำระหนี้แทนเงินที่กู้ยืม ตาม ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา 656 ข้อสัญญาย่อมเป็นโมฆะตามมาตรา 656 วรรค 3 ส่วนที่จะให้แปลสัญญาว่า เมื่อไม่ชำระหนี้ผู้กู้จะโอนที่ดินให้เป็นการชำระหนี้แทนตัวเงินกู้นั้น โจทก์ต้องนำสืบให้เห็นเจตนาของคู่กรณีว่ามีดังนั้น.