พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1092/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีอาญาหลังศาลอ่านคำพิพากษาถึงที่สุด และผลของการชำระหนี้หลังคำพิพากษา
เมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์จะถอนฟ้องไม่ได้ แม้จำเลยจะใช้เงินตามเช็คให้แก่โจทก์จนครบถ้วนแล้ว แต่เป็นการใช้เงินภายหลังวันที่คำพิพากษาถึงที่สุด คดีอาญาจึงไม่เลิกกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5305/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดตาม พ.ร.บ.มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไม่ระงับ แม้ศาลศุลกากรจะงดฟ้องคดีศุลกากร เนื่องจากเป็นคนละกรรม
ปัญหาว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยทั้งสามในความผิดตาม พ.ร.บ.มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.2511 เป็นอันระงับไปแล้วหรือไม่ แม้จำเลยทั้งสามจะมิได้ยกขึ้นอ้างในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง แต่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยทั้งสามจึงยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้
ความผิดฐานร่วมกันลักลอบนำหลอดไฟฟ้าฟลูออเรสเซนต์ที่ยังมิได้เสียภาษีและมิได้ผ่านศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักร หรือร่วมกันช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใด ๆ ซึ่งหลอดไฟฟ้าดังกล่าวโดยรู้อยู่ว่าเป็นของที่ลักลอบหนีศุลกากรตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27, 27 ทวิ และความผิดฐานร่วมกันนำหลอดไฟฟ้าฟลูออเรสเซนต์ดังกล่าวที่เป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐานเข้ามาเพื่อจำหน่ายในราชอาณาจักรโดยไม่ได้แสดงหลักฐานให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบและโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการตาม พ.ร.บ.มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.2511 มาตรา 21 และ 48 แต่ละฐานแยกออกจากกันได้ชัดเจนทั้งในแง่เจตนาในการกระทำ สภาพและลักษณะของการกระทำความผิดสำเร็จลง ตลอดจนบัญญัติกฎหมายที่บัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ต่างบทมาตรากัน จึงเป็นการกระทำความผิดคนละกรรมต่างกัน หาใช่เป็นความผิดกรรมเดียวกันไม่ ดังนั้น แม้ว่าความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรซึ่งจำเลยทั้งสามได้ทำความตกลงและอธิบดีกรมศุลกากรได้งดการฟ้องร้องจำเลยทั้งสามตามมาตรา 102 และสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (3) ดังที่จำเลยทั้งสามอ้าง แต่ก็ไม่ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยทั้งสามในความผิดตาม พ.ร.บ.มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.2511 ซึ่งเป็นความผิดต่างกรรมกันเป็นอันระงับไปด้วยแต่อย่างใด
ความผิดฐานร่วมกันลักลอบนำหลอดไฟฟ้าฟลูออเรสเซนต์ที่ยังมิได้เสียภาษีและมิได้ผ่านศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักร หรือร่วมกันช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใด ๆ ซึ่งหลอดไฟฟ้าดังกล่าวโดยรู้อยู่ว่าเป็นของที่ลักลอบหนีศุลกากรตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27, 27 ทวิ และความผิดฐานร่วมกันนำหลอดไฟฟ้าฟลูออเรสเซนต์ดังกล่าวที่เป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐานเข้ามาเพื่อจำหน่ายในราชอาณาจักรโดยไม่ได้แสดงหลักฐานให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบและโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการตาม พ.ร.บ.มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.2511 มาตรา 21 และ 48 แต่ละฐานแยกออกจากกันได้ชัดเจนทั้งในแง่เจตนาในการกระทำ สภาพและลักษณะของการกระทำความผิดสำเร็จลง ตลอดจนบัญญัติกฎหมายที่บัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ต่างบทมาตรากัน จึงเป็นการกระทำความผิดคนละกรรมต่างกัน หาใช่เป็นความผิดกรรมเดียวกันไม่ ดังนั้น แม้ว่าความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรซึ่งจำเลยทั้งสามได้ทำความตกลงและอธิบดีกรมศุลกากรได้งดการฟ้องร้องจำเลยทั้งสามตามมาตรา 102 และสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (3) ดังที่จำเลยทั้งสามอ้าง แต่ก็ไม่ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยทั้งสามในความผิดตาม พ.ร.บ.มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.2511 ซึ่งเป็นความผิดต่างกรรมกันเป็นอันระงับไปด้วยแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4054/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีเช็คเลิกกันเมื่อหนี้สิ้นสุดก่อนมีคำพิพากษา และการชำระหนี้ในคดีแพ่งทำให้คดีอาญาขาดอายุความ
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 7 บัญญัติว่า "ถ้าผู้กระทำความผิดตามมาตรา 4 ได้ใช้เงินตามเช็คแก่ผู้ทรงเช็ค หรือแก่ธนาคารภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้ออกเช็คได้รับหนังสือบอกกล่าวจากผู้ทรงเช็คว่า ธนาคารไม่ใช้เงินตามเช็คนั้น หรือหนี้ที่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 4 ได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นสุดผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด ให้ถือว่าคดีเลิกกันตาม ป.วิ.อ." แม้จำเลยทั้งสองจะได้ใช้เงินตามเช็คแก่โจทก์ร่วมไปครบถ้วนแล้วในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ แต่ก็มิใช่การใช้เงินตามเช็คแก่ผู้ทรงเช็คภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้ออกเช็คได้รับหนังสือบอกกล่าวผู้ทรงเช็คว่าธนาคารไม่ใช้เงินตามเช็คนั้น อันเป็นเหตุให้ถือว่าคดีเลิกกันตาม ป.วิ.อ. เหตุที่จะถือว่าคดีเลิกกันคงมีเพียงว่าหนี้ที่จำเลยทั้งสองได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดหรือไม่ ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาจำเลยทั้งสองยื่นคำแถลงว่า ระหว่างการพิจารณาคดีของศาลอุทธรณ์จำเลยทั้งสองได้นำเงินตามเช็คพิพาทวางไว้ต่อศาลชั้นต้นครบถ้วนแล้ว แต่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าจำเลยทั้งสองชำระแต่ต้นเงินตามเช็คพิพาทเท่านั้น จำเลยทั้งสองยังไม่แสดงหลักฐานว่าได้ชำระดอกเบี้ยตามเช็คพิพาทด้วย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงยังไม่ระงับ ระหว่างพิจารณาคดีนี้ในศาลชั้นต้น โจทก์ร่วมได้นำเช็คพิพาททั้งสามฉบับคดีนี้กับเช็คคดีอื่น ฟ้องจำเลยที่ 1 คดีนี้เป็นคดีแพ่งต่อศาลแพ่งธนบุรี คดีดังกล่าวโจทก์ได้บังคับคดีและได้รับเงินตามคำพิพากษาไปครบถ้วนแล้ว หนี้ตามเช็คพิพาทจึงสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด ศาลฎีกาได้นัดพร้อมสอบโจทก์ โจทก์ร่วมและจำเลยทั้งสองแล้ว ฟังได้ว่าโจทก์ร่วมได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลแพ่งธนบุรีให้ชำระหนี้ตามเช็ค 5 ฉบับ ซึ่งรวมเช็คพิพาทคดีนี้ 3 ฉบับ โดยมูลหนี้เกิดจากจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าพื้นที่บริเวณที่เป็นผนังด้านนอกอาคาร บ. ของโจทก์ร่วมศาลแพ่งธนบุรีพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินตามเช็คทั้ง 5 ฉบับ พร้อมดอกเบี้ยและค่าฤชาธรรมเนียม ต่อมามีการบังคับคดีจำเลยที่ 1 ได้วางเงินชำระหนี้ตามหมายบังคับคดีจนครบถ้วนแล้ว โจทก์ร่วมก็มิได้คัดค้านว่ายังมีหนี้ดังกล่าวเหลืออยู่ ดังนั้น จึงถือได้ว่าหนี้ที่จำเลยทั้งสองได้ออกเช็คพิพาทคดีนี้เพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด จึงถือว่าคดีเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 7 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องตามเช็คย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 960/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาฉ้อโกง แม้ชำระเงินบางส่วน แต่ยังไม่ครบตามเช็คทั้งสองฉบับ ถือเป็นความผิด 2 กระทง
จำเลยออกเช็ค 2 ฉบับ สั่งจ่ายเงินเพื่อชำระค่าเช่าซื้อรถแทรกเตอร์ให้แก่ผู้เสียหาย แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินทั้งสองฉบับและจำเลยถูกฟ้องในความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ แม้ เงินที่ผู้เสียหายได้รับไปจากจำเลยในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นจะเป็นจำนวนมากกว่าจำนวนเงินในเช็คฉบับแรกก็ตาม แต่ก็ยังไม่พอเพียงต่อการชำระหนี้ค่าเช่าซื้อรถแทรกเตอร์ ทั้งหมดที่จำเลยออกเช็คทั้ง 2 ฉบับที่พิพาทเพื่อชำระหนี้แก่ ผู้เสียหาย เมื่อหนี้ดังกล่าวยังมีผลผูกพันจำเลย ทั้งตาม ข้อตกลงที่ผู้เสียหายกับจำเลยร่วมกันแถลงต่อศาลชั้นต้นระบุ ว่า จำเลยต้องชำระเงินให้ครบถ้วนตามเช็คทั้ง 2 ฉบับผู้เสียหายจึงจะถอนคำร้องทุกข์ให้ และไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายกับจำเลยได้เปลี่ยนแปลงข้อตกลงให้คดีตามเช็คฉบับหนึ่งฉบับใดเลิกกันไปก่อนได้ คดีตามเช็คฉบับแรกจึงยังไม่เลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 การออกเช็คของจำเลยจึงเป็นความผิด 2 กระทง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1724/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้แทนและการแปลงหนี้ใหม่ทำให้สิทธิฟ้องคดีอาญาตามเช็คระงับ
ตามสัญญาชำระหนี้แทนซึ่ง อ. ตกลงขอเข้ามาชำระหนี้ตามเช็คพิพาทแทนจำเลยโดยจ่ายเช็คให้โจทก์3ฉบับมีข้อความอันเป็นสาระสำคัญว่าเมื่อ อ. ได้ผ่านเช็คทั้งหมดให้แล้วโจทก์จะไปถอนฟ้องคดีให้แก่จำเลยทันทีดังนั้นการที่ อ.จะต้องชำระเงินตามเช็คทั้ง3ฉบับจึงเป็นเงื่อนไขในการที่โจทก์จะถอนฟ้องคดีอาญาให้แก่จำเลยและตามสัญญาชำระหนี้แทนก็ไม่มีข้อความตอนใดที่แสดงว่าโจทก์ตกลงสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยในทันทีเมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าเช็คทั้ง3ฉบับที่ อ. ชำระให้โจทก์ไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้จึงมีผลว่าโจทก์ไม่ผูกพันที่จะต้องถอนฟ้องกรณีถือไม่ได้ว่าเป็นการยอมความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(2) การที่โจทก์กับ อ. ตกลงทำสัญญาชำระหนี้แทนสั่งจ่ายเช็ค3ฉบับมอบให้โจทก์เป็นการชำระหนี้แทนเช็คพิพาทถือได้ว่ามีหนี้ใหม่เกิดขึ้นตามเช็คทั้ง3ฉบับอันเป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา349มีผลให้หนี้ตามเช็คพิพาทซึ่งเป็น หนี้เดิม ระงับไปมูลหนี้ที่จำเลยออกเช็คพิพาทจึงสิ้นผลผูกพันแม้สัญญาชำระหนี้แทนจะมีเงื่อนไขให้โจทก์ถอนฟ้องคดีอาญาเมื่อเช็คทั้ง3ฉบับเรียกเก็บเงินได้แล้วก็เป็นเงื่อนไขที่เกี่ยวกับการถอนฟ้องอันเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39เท่านั้นหามีผลทำให้การตกลงดังกล่าวไม่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ไปไม่ดังนั้นคดีอาญาจึงเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯมาตรา7สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 618/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีเช็คเลิกกันหลังประนีประนอมยอมความ สิทธิฟ้องอาญาโจทก์ระงับ
มูลหนี้ตามเช็คคดีนี้โจทก์ได้นำไปฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีแพ่งให้ชดใช้เงินแล้วโจทก์และจำเลยทั้งสองได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลได้พิพากษาคดีตามยอมถึงที่สุดแล้วผลของการประนีประนอมยอมความดังกล่าวย่อมทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไปและทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตนดังที่บัญญัติไว้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา852ดังนั้นหนี้ที่จำเลยทั้งสองได้ออกเช็คตามฟ้องเพื่อใช้เงินนั้นจึงเป็นอันสิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดคดีจึงเป็นอันเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534มาตรา7สิทธิของโจทก์ในการนำคดีมาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 618/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการประนีประนอมยอมความทำให้หนี้เช็คระงับ สิทธิฟ้องย่อมระงับตามกฎหมาย
มูลหนี้ตามเช็คคดีนี้โจทก์ได้นำไปฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีแพ่งให้ชดใช้เงินแล้ว โจทก์และจำเลยทั้งสองได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลได้พิพากษาคดีตามยอมถึงที่สุดแล้ว ผลของการประนีประนอมยอมความดังกล่าวย่อมทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไปและทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตนดังที่บัญญัติไว้ ป.พ.พ. มาตรา852 ดังนั้น หนี้ที่จำเลยทั้งสองได้ออกเช็คตามฟ้องเพื่อใช้เงินนั้นจึงเป็นอันสิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 สิทธิของโจทก์ในการนำคดีมาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5315/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ใหม่ทำให้หนี้ตามเช็คระงับ การฟ้องคดีอาญาจึงสิ้นสุด
เช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ จำเลยออกให้โจทก์ชำระหนี้ค่าซื้อรถยนต์กระบะของโจทก์ ซึ่งโจทก์ได้โอนทะเบียนรถยนต์คันดังกล่าวให้จำเลยไปแล้ว โดยจำเลยยังมิได้ชำระราคารถยนต์กระบะตามเช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ ให้โจทก์ การที่โจทก์จำเลยได้ตกลงกันภายหลังที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ว่า ให้จำเลยเอาหนี้ตามเช็คทั้งหมด รวมทั้งเช็คพิพาท 4 ฉบับด้วยมารวมกันแล้วให้จำเลยทำหนังสือสัญญากู้ยืมเงินโจทก์จำนวน 4,000,000 บาท โดยมีข้อความระบุว่า ผู้กู้ได้ยืมเงินสดจากผู้ให้กู้เป็นจำนวน 4,000,000 บาท ได้จ่ายเช็คของธนาคารมอบให้ไว้กับผู้ให้กู้ เมื่อถึงกำหนดให้เข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บวันนี้ผู้กู้ได้มอบเช็คดังกล่าวข้างต้นให้กับผู้ให้กู้ไว้เป็นที่เรียบร้อยในวันทำสัญญา ถือว่าได้ทำสัญญาเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ เป็นการแปลงหนี้ใหม่ หนี้ตามเช็คพิพาทเป็นอันระงับไป มูลหนี้ที่จำเลยออกเช็คพิพาทจึงสิ้นผลผูกพัน คดีเป็นอันเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 7 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 วรรคแรกและสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์เป็นอันระงับไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1907/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คไม่มีมูลหนี้เนื่องจากสัญญาเลิกกันโดยปริยาย สิทธิฟ้องอาญาจึงระงับ
จำเลยที่ 1 ออกเช็คตามฟ้องให้โจทก์เป็นมัดจำในการว่าจ้างช่วงให้โจทก์ทำเฟอร์นิเจอร์แก่ อ. เช็คตามฟ้องจึงมีมูลหนี้ แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทำงานตามสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1ไปแล้วหรือไม่เพียงใด อ. ก็ได้ตกลงว่าจ้างโจทก์ทำเฟอร์นิเจอร์แก่ อ. เสียเอง ซึ่งจำเลยที่ 1 มิได้ทักท้วงอย่างใด ถือได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้เลิกสัญญากันโดยปริยาย เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทำงานตามสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1 แล้วหรือไม่ และฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงต้องคืนมัดจำแก่จำเลยที่ 1หนี้ที่จำเลยที่ 1 ได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินจึงสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด ซึ่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และเป็นกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังเป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดมากกว่าพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 5 ที่ใช้ในการกระทำความผิดจึงต้องใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 7 บังคับแก่กรณีนี้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3โดยถือว่าคดีเลิกกัน สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5865/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้หลังฟ้องคดีเช็ค: คดีเลิกกันตามกฎหมายเช็คและสิทธิฟ้องอาญาเป็นอันระงับ
คดีความผิดต่อ พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา เมื่อจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว หนี้ตามสัญญากู้ยืมเป็นอันระงับไป มูลหนี้ที่จำเลยออกเช็คพิพาทจึงสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีเป็นอันเลิกกันตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 7 และสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์เป็นอันระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39(3).