พบผลลัพธ์ทั้งหมด 441 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3718/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกเป็นสิทธิเฉพาะตัว สิ้นสุดเมื่อผู้ร้องถึงแก่กรรม ไม่ตกทอดไปยังทายาท
การร้องขอให้ศาลแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ยื่นคำร้องเมื่อผู้ยื่นคำร้องถึงแก่ความตายสิทธินั้นก็ย่อมระงับไปไม่ตกทอดไปยังทายาทจ. ซึ่งเป็นทายาทผู้ร้องไม่อาจเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้ร้องได้จ. จึงเป็นบุคคลนอกคดีไม่มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค1ที่สั่งยกคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนของจ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2433/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีบุกรุกที่ดิน: อุทธรณ์ต้องห้าม เหตุจำนวนทุนทรัพย์ไม่เกิน 5 หมื่น และสิทธิฟ้องตกทอดสู่ทายาท
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้ออกไปจากที่ดินของโจทก์ตามที่จำเลยแต่ละคนบุกรุกและให้ชำระค่าเสียหายแยกต่างหากจากกันมิได้ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันบุกรุกที่ดินของโจทก์ในลักษณะที่จำเลยทั้งสามรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วมจำเลยแต่ละคนก็ให้การและฟ้องแย้งสู้คดีต่อโจทก์ตามส่วนของที่ดินที่จำเลยแต่ละคนครอบครองแม้โจทก์จะฟ้องจำเลยทั้งสามรวมกันมาในคดีเดียวกันและเสียค่าขึ้นศาลรวมกันมาคดีสำหรับจำเลยคนใดจะอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้หรือไม่ต้องแยกพิจารณาจำนวนทุนทรัพย์ตามที่จำเลยแต่ละคนพิพาทกับโจทก์เมื่อที่ดินพิพาทมีราคาไร่ละ3,000บาทคดีของจำเลยแต่ละคนจึงมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคหนึ่ง โจทก์ได้รับการจัดสรรที่ดินตามพระราชบัญญัติจัดสรรที่ดินเพื่อการครองชีพพ.ศ.2511เมื่อโจทก์ถึงแก่ความตายที่ดินพิพาทย่อมตกทอดเป็นมรดกไปยังทายาทของโจทก์ตามมาตรา12แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวสิทธิในการฟ้องคดีนี้ของโจทก์จึงหาใช่เป็นเรื่องเฉพาะตัวของโจทก์แต่อย่างใดไม่หากเป็นคดีที่ทายาทจะรับมรดกความของโจทก์ซึ่งถึงแก่ความตายได้เมื่อ ว. เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ย่อมเป็นทายาทของโจทก์ผู้มรณะมีสิทธิเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ผู้มรณะได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2433/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ต้องห้าม – จำนวนทุนทรัพย์ไม่เกิน 5 หมื่น – การเป็นทายาทรับสิทธิฟ้อง
โจทก์มิได้ฟ้องว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันบุกรุกที่ดินของโจทก์ในลักษณะที่จำเลยทั้งสามต้องรับผิดต่อโจทก์อย่าง ลูกหนี้ร่วม แม้จะฟ้องรวมกันและเสีย ค่าขึ้นศาลรวมกันมาในคดีเดียวกันแต่คดีสำหรับจำเลยคนใดจะอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้หรือไม่ต้องแยกพิจารณาจำนวน ทุนทรัพย์ตามที่จำเลยแต่ละคนพิพาทกับโจทก์เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ตามคดีของจำเลยแต่ละคนไม่เกินห้าหมื่นบาทจึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เมื่อโจทก์ถึงแก่ความตายที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์ได้รับการจัดสรรตามพระราชบัญญัติจัดสรรที่ดินเพื่อการครองชีพพ.ศ.2511ย่อมตกทอดเป็น มรดกไปยัง ทายาทของโจทก์ตามมาตรา12สิทธิในการ ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสามออกจากที่พิพาทหาใช่เป็นเรื่อง เฉพาะตัวของโจทก์ไม่ อ.ซึ่งเป็น บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ย่อมเป็น ทายาทมีสิทธิเข้าเป็น คู่ความแทนที่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2433/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีบุกรุกที่ดินและข้อจำกัดด้านทุนทรัพย์ รวมถึงการรับช่วงสิทธิจากผู้ตาย
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้ออกไปจากที่ดินของโจทก์ตามที่จำเลยแต่ละคนบุกรุกและให้ชำระค่าเสียหายแยกต่างหากจากกัน มิได้ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันบุกรุกที่ดินของโจทก์ในลักษณะที่จำเลยทั้งสามรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม จำเลยแต่ละคนก็ให้การและฟ้องแย้งสู้คดีต่อโจทก์ตามส่วนของที่ดินที่จำเลยแต่ละคนครอบครอง แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยทั้งสามรวมกันมาในคดีเดียวกันและเสียค่าขึ้นศาลรวมกันมา คดีสำหรับจำเลยคนใดจะอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้หรือไม่ ต้องแยกพิจารณาจำนวนทุนทรัพย์ตามที่จำเลยแต่ละคนพิพาทกับโจทก์ เมื่อที่ดินพิพาทมีราคาไร่ละ 3,000 บาท คดีของจำเลยแต่ละคนจึงมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
โจทก์ได้รับการจัดสรรที่ดินตาม พ.ร.บ.จัดสรรที่ดินเพื่อการ-ครองชีพ พ.ศ. 2511 เมื่อโจทก์ถึงแก่ความตายที่ดินพิพาทย่อมตกทอดเป็นมรดกไปยังทายาทของโจทก์ตามมาตรา 12 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว สิทธิในการฟ้องคดีนี้ของโจทก์จึงหาใช่เป็นเรื่องเฉพาะตัวของโจทก์แต่อย่างใดไม่ หากเป็นคดีที่ทายาทจะรับมรดกความของโจทก์ซึ่งถึงแก่ความตายได้เมื่อ ว. เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ย่อมเป็นทายาทของโจทก์ผู้มรณะมีสิทธิเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ผู้มรณะได้
โจทก์ได้รับการจัดสรรที่ดินตาม พ.ร.บ.จัดสรรที่ดินเพื่อการ-ครองชีพ พ.ศ. 2511 เมื่อโจทก์ถึงแก่ความตายที่ดินพิพาทย่อมตกทอดเป็นมรดกไปยังทายาทของโจทก์ตามมาตรา 12 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว สิทธิในการฟ้องคดีนี้ของโจทก์จึงหาใช่เป็นเรื่องเฉพาะตัวของโจทก์แต่อย่างใดไม่ หากเป็นคดีที่ทายาทจะรับมรดกความของโจทก์ซึ่งถึงแก่ความตายได้เมื่อ ว. เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ย่อมเป็นทายาทของโจทก์ผู้มรณะมีสิทธิเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ผู้มรณะได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2164/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดของคดีหย่าและแบ่งสินสมรสเมื่อคู่สมรสเสียชีวิตระหว่างการพิจารณาคดี
คดีฟ้องหย่าและแบ่งสินสมรสเป็นสิทธิเฉพาะตัว เมื่อโจทก์ตายก่อนคดีถึงที่สุดเนื่องจากมีการขอพิจารณาใหม่ ซึ่งมีผลให้การสมรสสิ้นสุดลงเสียก่อนที่คำพิพากษาให้หย่าและแบ่งสินสมรสจะถึงที่สุด จึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาคดีต่อไป ศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1575/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเข้าเป็นคู่ความแทนผู้มรณะในคดีที่ยังไม่ถึงที่สุด และการยอมรับคำร้องของผู้ร้อง
โจทก์ถึงแก่ความตายภายหลังวันที่ศาลอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แต่ยังไม่พ้นเวลายื่นฎีกาและคดีสามารถฎีกาต่อไปได้คดีจึงยังไม่เป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา147วรรคสองถือว่าเป็นคดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลระหว่างฎีกาผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ผู้มรณะได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา42วรรคแรก แม้ผู้ร้องจะมิได้เรียงคำร้องเองก็ตามแต่ผู้ร้องก็ลงชื่อในช่องผู้ร้องและช่องผู้เรียงด้วยตนเองแสดงว่าผู้ร้องยอมรับเอาคำร้องเป็นของตนโดยชอบถือว่าผู้ร้องเป็นผู้เรียงโดยนิตินัยแล้วคำร้องของผู้ร้องไม่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติทนายความพ.ศ.2528มาตรา33
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1575/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเข้าเป็นคู่ความแทนผู้มรณะ และการลงลายมือชื่อในคำร้อง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้มรณะในขณะที่คดียังไม่พ้นเวลาที่โจทก์จะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ซึ่งพิพากษายกฟ้องโจทก์ ประกอบกับคดียังสามารถฎีกาต่อไปได้ คดีจึงยังไม่เป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 147 วรรคสอง ถือได้ว่าคดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลฎีกา ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ผู้มรณะได้ตามมาตรา 42 วรรคแรก
ผู้ร้องไม่ได้เรียงคำร้องเอง แต่ก็ได้ลงลายมือชื่อในช่องผู้ร้องและช่องผู้เรียงด้วยตนเอง แสดงว่าผู้ร้องยอมรับเอาคำร้องซึ่งผู้อื่นเรียบเรียงว่าเป็นของตนโดยชอบ การลงลายมือชื่อในฐานะเป็นผู้เรียงถือได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้เรียงโดยนิตินัยแล้ว คำร้องของผู้ร้องไม่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติทนายความ
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ไม่ถูกต้อง เพราะในชั้นนี้เป็นกรณีพิพาทระหว่างผู้ร้องกับจำเลยเท่านั้น ทั้งผู้ร้องเป็นผู้แก้อุทธรณ์ หาใช่โจทก์ไม่
ผู้ร้องไม่ได้เรียงคำร้องเอง แต่ก็ได้ลงลายมือชื่อในช่องผู้ร้องและช่องผู้เรียงด้วยตนเอง แสดงว่าผู้ร้องยอมรับเอาคำร้องซึ่งผู้อื่นเรียบเรียงว่าเป็นของตนโดยชอบ การลงลายมือชื่อในฐานะเป็นผู้เรียงถือได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้เรียงโดยนิตินัยแล้ว คำร้องของผู้ร้องไม่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติทนายความ
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ไม่ถูกต้อง เพราะในชั้นนี้เป็นกรณีพิพาทระหว่างผู้ร้องกับจำเลยเท่านั้น ทั้งผู้ร้องเป็นผู้แก้อุทธรณ์ หาใช่โจทก์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1180/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอาศัยระงับเมื่อตาย แต่สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายทางแพ่งอาจตกทอดเป็นมรดกได้ หากทายาทไม่เข้ามาเป็นคู่ความคดีอาจจำหน่ายได้
แม้สิทธิอาศัยเป็นสิทธิเฉพาะตัวเมื่อโจทก์ผู้ได้รับสิทธิอาศัยถึงแก่ความตายสิทธิอาศัยเป็นอันระงับลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1404แต่คำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้โจทก์มีสิทธิได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากจำเลยนอกเหนือจากที่ให้ขับไล่นั้นมีลักษณะเป็นทรัพย์สินที่อาจเป็นมรดกตกทอดให้แก่ทายาทของโจทก์ได้ตามมาตรา1599มิใช่สิทธิเฉพาะตัวอันทำให้ความมรณะของคู่ความฝ่ายโจทก์ยังให้คดีไม่มีประโยชน์ต่อไปแต่เมื่อล่วงเลยกำหนดเวลา1ปีหลังจากโจทก์ถึงแก่ความตายแล้วทายาทหรือผู้จัดการทรัพย์มรดกหรือบุคคลอื่นใดที่ปกครองทรัพย์มรดกของโจทก์มิได้เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ทั้งจำเลยและจำเลยร่วมก็มิได้มีคำขอให้ศาลเรียกบุคคลดังกล่าวเข้ามาเป็นคู่ความแทนการที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งจำหน่ายคดีจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา42วรรคสองประกอบมาตรา132(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6810/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินในช่วงระยะเวลาห้ามโอนตามพ.ร.บ.จัดสรรที่ดินเป็นโมฆะ
ที่ดินที่เจ้าของกรรมสิทธิ์ได้มาตามพระราชบัญญัติจัดสรรที่ดินเพื่อการครองชีพพ.ศ.2511นั้นภายในกำหนดเวลาห้าปีนับแต่วันได้รับโอนที่ดินผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะโอนที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นไม่ได้นอกจากตกทอดโดยทางมรดกหรือโอนไปยังสหกรณ์ที่ตนเป็นสมาชิกอยู่แล้วแต่กรณีและที่ดินประเภทนี้ก็ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีการที่โจทก์กับจำเลยทำสัญญาอันมีผลเป็นการโอนสิทธิในที่พิพาทโดยส่งมอบการครอบครองให้แก่กันภายในกำหนดระยะเวลาห้ามโอนตามกฎหมายแม้จะเป็นสัญญาจะซื้อขาย และโจทก์กับจำเลยมีเจตนาจะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทกันภายหลังเมื่อครบกำหนดเวลาห้ามโอนตามกฎหมายแล้วก็ตามก็เป็นกรรมสิทธิ์ที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งตามกฎหมายสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา113(เดิม),140(ใหม่) จำเลยฎีกาว่าคดีเกี่ยวกับที่ดินอันเป็นที่ทำกินของประชาชนซึ่งมีราคาสูงขึ้นผู้ทำสัญญาจะขายมักจะบ่ายเบี่ยงไม่ยอมขายทำให้เกิดความไม่ชอบธรรมสังคมศาลชอบที่จะหยิบยกเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นวินิจฉัยนั้นเป็นฎีกาที่มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และมิได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6810/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินช่วงห้ามโอนเป็นโมฆะ แม้เจตนาจดทะเบียนภายหลัง
ที่ดินที่เจ้าของกรรมสิทธิ์ได้มาตามพระราชบัญญัติจัดสรรที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 นั้น ภายในกำหนดเวลาห้าปีนับแต่วันได้รับโอนที่ดิน ผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะโอนที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นไม่ได้ นอกจากตกทอดโดยทางมรดกหรือโอนไปยังสหกรณ์ที่ตนเป็นสมาชิกอยู่แล้วแต่กรณี และที่ดินประเภทนี้ก็ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี การที่โจทก์กับจำเลยทำสัญญาอันมีผลเป็นการโอนสิทธิในที่พิพาทโดยส่งมอบการครอบครองให้แก่กัน ภายในกำหนดระยะเวลาห้ามโอนตามกฎหมาย แม้จะเป็นสัญญาจะซื้อขาย และโจทก์กับจำเลยมีเจตนาจะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทกันภายหลังเมื่อครบกำหนดเวลาห้ามโอนตามกฎหมายแล้วก็ตามก็เป็นกรรมสิทธิ์ที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งตามกฎหมาย สัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113(เดิม),140(ใหม่) จำเลยฎีกาว่าคดีเกี่ยวกับที่ดินอันเป็นที่ทำกินของประชาชนซึ่งมีราคาสูงขึ้น ผู้ทำสัญญาจะขายมักจะบ่ายเบี่ยงไม่ยอมขายทำให้เกิดความไม่ชอบธรรมสังคม ศาลชอบที่จะหยิบยกเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นวินิจฉัยนั้น เป็นฎีกาที่มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และมิได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก