คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 42

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 441 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6810/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดินจัดสรรภายในระยะห้ามโอนเป็นโมฆะ แม้เจตนาจะจดทะเบียนภายหลัง
ที่ดินที่เจ้าของกรรมสิทธิ์ได้มาตาม พ.ร.บ. จัดสรรที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 นั้น ภายในกำหนดเวลาห้าปีนับแต่วันได้รับโอนที่ดิน ผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะโอนที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นไม่ได้ นอกจากตกทอดโดยทางมรดกหรือโอนไปยังสหกรณ์ที่ตนเป็นสมาชิกอยู่แล้วแต่กรณี และที่ดินประเภทนี้ก็ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี การที่โจทก์กับจำเลยทำสัญญาอันมีผลเป็นการโอนสิทธิในที่พิพาทโดยส่งมอบการครอบครองให้แก่กัน ภายในกำหนดระยะเวลาห้ามโอนตามกฎหมาย แม้จะเป็นสัญญาจะซื้อขาย และโจทก์กับจำเลยมีเจตนาจะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทกันภายหลังเมื่อครบกำหนดเวลาห้ามโอนตามกฎหมายแล้วก็ตามก็เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งตามกฎหมาย สัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 113 (เดิม),140 (ใหม่)
จำเลยฎีกาว่าคดีเกี่ยวกับที่ดินอันเป็นที่ทำกินของประชาชนซึ่งมีราคาสูงขึ้น ผู้ทำสัญญาจะขายมักจะบ่ายเบี่ยงไม่ยอมขาย ทำให้เกิดความไม่ชอบธรรมในสังคม ศาลชอบที่จะหยิบยกเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นวินิจฉัยนั้น เป็นฎีกาที่มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และมิได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5852/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกล้างโมฆียะกรรมสัญญาประกันชีวิตหลังต่ออายุ และผลผูกพันตามเงื่อนไขที่จำเลยกำหนด
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยแล้ว แม้ยังมิได้ส่งสำนวนไปยังศาลฎีกา คดีก็ย่อมอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลฎีกาศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งอนุญาตให้ ช. เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้มรณะ คำสั่งอนุญาตของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาชอบที่จะเพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วมีคำสั่งอนุญาตให้ ช.ทายาทของโจทก์เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้มรณะได้ ระยะเวลาบอกล้างโมฆียะกรรมไม่ใช่อายุความ จึงไม่อยู่ในบังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 191(เดิม) ที่จะย่นเข้าไม่ได้ เมื่อจำเลยผู้รับประกันชีวิตสมัครใจยอมลดระยะเวลาในการบอกล้างโมฆียะกรรมจากกำหนด 5 ปี นับแต่วันทำสัญญาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 865 วรรคสอง ลงมาเป็นกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่จำเลยอนุมัติให้ต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิต จำเลยจึงต้องผูกพันตามนั้น ตามคำร้องขอต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิตมีข้อความว่าหลังจากครบ 2 ปี นับแต่วันที่จำเลยอนุมัติให้ต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิตจำเลยไม่มีสิทธิโต้แย้งหรือบอกเลิกข้อผูกพันในกรมธรรม์ฉบับนี้แต่ประการใด ซึ่งข้อความดังกล่าวผูกพันจำเลย เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้อนุมัติให้ต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิต เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน2527 จำเลยจึงต้องบอกล้างเสียในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2529 ฉะนั้นเมื่อจำเลยเพิ่งบอกล้างเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2530 จึงเป็นการมิได้บอกล้างโมฆียะกรรมเสียภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน2527 จำเลยจึงต้องผูกพันตามกรมธรรม์ประกันชีวิตดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5852/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลและการบอกล้างโมฆียะกรรมสัญญาประกันภัย: ผลของการลดระยะเวลาบอกล้างโดยจำเลย
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยแล้ว แม้ยังมิได้ส่งสำนวนไปยังศาลฎีกา คดีก็ย่อมอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลฎีกา ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งอนุญาตให้ ช.เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้มรณะ คำสั่งอนุญาตของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาชอบที่จะเพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วมีคำสั่งอนุญาตให้ ช.ทายาทของโจทก์เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้มรณะได้
ระยะเวลาบอกล้างโมฆียะกรรมไม่ใช่อายุความ จึงไม่อยู่ในบังคับ ป.พ.พ. มาตรา 191 (เดิม) ที่จะย่นเข้าไม่ได้ เมื่อจำเลยผู้รับประกันชีวิตสมัครใจยอมลดระยะเวลาในการบอกล้างโมฆียะกรรมจากกำหนด 5 ปี นับแต่วันทำสัญญาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 865 วรรคสอง ลงมาเป็นกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่จำเลยอนุมัติให้ต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิต จำเลยจึงต้องผูกพันตามนั้น
ตามคำร้องขอต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิตมีข้อความว่าหลังจากครบ 2 ปี นับแต่วันที่จำเลยอนุมัติให้ต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิต จำเลยไม่มีสิทธิโต้แย้งหรือบอกเลิกข้อผูกพันในกรมธรรม์ฉบับนี้แต่ประการใด ซึ่งข้อความดังกล่าวผูกพันจำเลย เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้อนุมัติให้ต่ออายุกรมธรรม์ประกันชีวิตเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2527 จำเลยจึงต้องบอกล้างเสียในวันที่ 9 พฤศจิกายน2529 ฉะนั้น เมื่อจำเลยเพิ่งบอกล้างเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2530 จึงเป็นการมิได้บอกล้างโมฆียะกรรมเสียภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2527จำเลยจึงต้องผูกพันตามกรมธรรม์ประกันชีวิตดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5845/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีเนื่องจากผู้จัดการมรดกไม่เข้ามาดำเนินคดีแทนทายาทภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย
จ. ผู้จัดการมรดกของ ฉ. ฟ้องจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาที่จำเลยทำไว้กับ ฉ. ผู้ตาย จำเลยฎีกา ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จ. ถึงแก่กรรม มีผู้ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ จ. ศาลฎีกายกคำร้อง และไม่ปรากฏว่าทายาทหรือผู้จัดการมรดกหรือบุคคลอื่นใดที่ปกครองทรัพย์มรดกของ ฉ. ยื่นคำขอเข้ามาเป็นคู่ความแทน จำเลยก็มิได้ยื่นคำขอให้ศาลมีหมายเรียกบุคคลดังกล่าวเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ภายในกำหนดเวลา 1 ปีนับแต่ความปรากฏแก่ศาล ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5845/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีเนื่องจากผู้จัดการมรดกถึงแก่กรรมและไม่มีผู้ดำเนินการแทน
จ. ผู้จัดการมรดกของ ฉ. ฟ้องจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาที่จำเลยทำไว้กับ ฉ.ผู้ตาย จำเลยฎีกา ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จ.ถึงแก่กรรม มีผู้ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ จ. ศาลฎีกายกคำร้อง และไม่ปรากฏว่าทายาทหรือผู้จัดการมรดกหรือบุคคลอื่นใดที่ปกครองทรัพย์มรดกของ ฉ. ยื่นคำขอเข้ามาเป็นคู่ความแทน จำเลยก็มิได้ยื่นคำขอให้ศาลมีหมายเรียกบุคคลดังกล่าวเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ภายในกำหนดเวลา 1 ปี นับแต่ความปรากฏแก่ศาล ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5485/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกล้างสัญญาให้ระหว่างสมรสและผลกระทบต่อทายาท
การที่จำเลยอ้างอิงพินัยกรรมแนบท้ายคำร้องเพื่อสืบเป็นพยานในชั้นอุทธรณ์ โดยมิได้ระบุไว้ในบัญชีระบุพยาน เป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา88 จึงรับฟังไม่ได้ และกรณีไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือที่จำเลยไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายใด ๆ ขึ้นกล่าวอ้างในศาลชั้นต้นเพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง ศาลอุทธรณ์จะมีคำสั่งหรือไม่ก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนไป ฎีกาของจำเลยที่ว่าศาลอุทธรณ์ไม่สั่งคำร้องจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่เคยทำสัญญายกที่ดินตามฟ้องให้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าสัญญาให้ของโจทก์เป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา และการที่โจทก์ตอบทนายจำเลยถามค้านว่า จำเลยได้โอนหุ้นบริษัท บ.รถยนต์ พันธบัตรรัฐบาลและให้เงินสดแก่โจทก์ แล้วโจทก์โอนที่ดินให้จำเลยเป็นการอำพรางสัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยานั้น เป็นเพียงการรับว่าจำเลยเคยให้ทรัพย์สินแก่โจทก์ เป็นการตอบข้อเท็จจริงนอกประเด็น ฎีกาจำเลยที่ว่า สัญญาให้ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นนิติกรรมอำพรางโดยนิติกรรมที่แท้จริงคือสัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา จึงมิใช่เรื่องที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์เป็นผู้ยกที่ดินให้จำเลยผู้เป็นภริยาระหว่างสมรส โจทก์มีสิทธิบอกล้างสัญญาระหว่างสมรสในเวลาใดก็ได้ระหว่างที่เป็นสามีภริยากันอยู่ โจทก์มีหนังสือบอกล้างไปถึงจำเลยเป็นการบอกล้างโดยชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 1469 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 ซึ่งใช้บังคับในขณะนั้นแล้ว
แม้สิทธิบอกล้างจะเป็นสิทธิเฉพาะตัว แต่เมื่อมีการบอกล้างโดยชอบก่อนที่โจทก์จะถึงแก่กรรมแล้วจึงไม่เป็นสิทธิเฉพาะตัวอีกต่อไปและย่อมตกทอดไปยังทายาทของโจทก์ด้วย ทายาทของโจทก์จึงเข้าเป็นคู่ความแทนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5485/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบอกล้างสัญญาให้ระหว่างสมรส, การบอกล้างโดยชอบ, และการตกทอดของสิทธิสู่ทายาท
การที่จำเลยอ้างอิงพินัยกรรมแนบท้ายคำร้องเพื่อสืบเป็นพยานในชั้นอุทธรณ์ โดยมิได้ระบุไว้ในบัญชีระบุพยาน เป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 จึงรับฟังไม่ได้และกรณีไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือที่จำเลยไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายใด ๆ ขึ้นกล่าวอ้างในศาลชั้นต้นเพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคสอง ศาลอุทธรณ์จะมีคำสั่งหรือไม่ก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนไป ฎีกาของจำเลยที่ว่าศาลอุทธรณ์ไม่สั่งคำร้องจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่เคยทำสัญญายกที่ดินตามฟ้องให้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าสัญญาให้ของโจทก์เป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา และการที่โจทก์ตอบทนายจำเลยถามค้านว่า จำเลยได้โอนหุ้นบริษัทบ. รถยนต์ พันธบัตรรัฐบาลและให้เงินสดแก่โจทก์ แล้วโจทก์โอนที่ดินให้จำเลยเป็นการอำพรางสัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยานั้น เป็นเพียงการรับว่าจำเลยเคยให้ทรัพย์สินแก่โจทก์ เป็นการตอบข้อเท็จจริงนอกประเด็น ฎีกาจำเลยที่ว่า สัญญาให้ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นนิติกรรมอำพรางโดยนิติกรรมที่แท้จริงคือสัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา จึงมิใช่เรื่องที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์เป็นผู้ยกที่ดินให้จำเลยผู้เป็นภริยาระหว่างสมรสโจทก์มีสิทธิบอกล้างสัญญาระหว่างสมรสในเวลาใดก็ได้ระหว่างที่เป็นสามีภริยากันอยู่ โจทก์มีหนังสือบอกล้างไปถึงจำเลยเป็นการบอกล้างโดยชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1469ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ซึ่งใช้บังคับในขณะนั้นแล้ว แม้สิทธิบอกล้างจะเป็นสิทธิเฉพาะตัว แต่เมื่อมีการบอกล้างโดยชอบก่อนที่โจทก์จะถึงแก่กรรมแล้วจึงไม่เป็นสิทธิเฉพาะตัวอีกต่อไปและย่อมตกทอดไปยังทายาทของโจทก์ด้วย ทายาทของโจทก์จึงเข้าเป็นคู่ความแทนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5241/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความหลังตัวความถึงแก่กรรม: ปกปักรักษาประโยชน์จนกว่าจะมีผู้แทน
การที่คู่ความแต่งตั้งทนายความให้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 นั้นเป็นการแต่งตั้งตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 15ว่าด้วยตัวแทน เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นตัวการถึงแก่กรรม สัญญาตัวแทนย่อมระงับไปทนายโจทก์คงมีอำนาจและหน้าที่จัดการดำเนินคดีเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ของโจทก์ต่อไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 828 จนกว่าทายาทหรือผู้แทนของโจทก์จะอาจเข้ามาปกปักรักษาประโยชน์ของโจทก์ อำนาจทนายโจทก์หาได้หมดสิ้นไปทันทีเมื่อโจทก์ถึงแก่กรรมไม่ ทนายโจทก์มีอำนาจลงนามเป็นผู้ฎีกาแทนโจทก์ได้แต่เมื่อครบกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ที่ปรากฏต่อศาลว่าโจทก์ถึงแก่กรรมแล้ว ไม่มีผู้ใดยื่นคำขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์จึงให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5241/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความหลังคู่ความถึงแก่กรรม: ปกปักรักษาประโยชน์จนกว่าจะมีผู้สืบสิทธิ
การที่คู่ความแต่งตั้งทนายความให้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 60 นั้น เป็นการแต่งตั้งตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 15 ว่าด้วยตัวแทนเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นตัวการถึงแก่กรรม สัญญาตัวแทนย่อมระงับไปทนายโจทก์คงมีอำนาจและหน้าที่จัดการดำเนินคดีเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ของโจทก์ต่อไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 828 จนกว่าทายาทหรือผู้แทนของโจทก์จะอาจเข้ามาปกปักรักษาประโยชน์ของโจทก์ อำนาจทนายโจทก์หาได้หมดสิ้นไปทันทีเมื่อโจทก์ถึงแก่กรรมไม่ ทนายโจทก์มีอำนาจลงนามเป็นผู้ฎีกาแทนโจทก์ได้ แต่เมื่อครบกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ที่ปรากฎต่อศาลว่าโจทก์ถึงแก่กรรมแล้วไม่มีผู้ใดยื่นคำขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ จึงให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 42

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5241/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายหลังตัวการถึงแก่กรรม: สัญญาตัวแทนระงับ แต่ทนายยังปกปักรักษาประโยชน์ได้จนกว่าจะมีผู้แทน
การที่คู่ความแต่งตั้งทนายความให้ว่าความและดำเนินกระบวน-พิจารณาแทนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 60 นั้น เป็นการแต่งตั้งตัวแทนตาม ป.พ.พ.ลักษณะ 15 ว่าด้วยตัวแทน เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นตัวการถึงแก่กรรม สัญญาตัวแทนย่อมระงับไป ทนายโจทก์คงมีอำนาจและหน้าที่จัดการดำเนินคดีเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ของโจทก์ต่อไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 828 จนกว่าทายาทหรือผู้แทนของโจทก์จะอาจเข้ามาปกปักรักษาประโยชน์ของโจทก์ อำนาจทนายโจทก์หาได้หมดสิ้นไปทันทีเมื่อโจทก์ถึงแก่กรรมไม่ ทนายโจทก์มีอำนาจลงนามเป็นผู้ฎีกาแทนโจทก์ได้ แต่เมื่อครบกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ที่ปรากฏต่อศาลว่าโจทก์ถึงแก่กรรมแล้วไม่มีผู้ใดยื่นคำขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ จึงให้จำหน่ายคดีออกจากสารรบบความศาลฎีกาตามป.วิ.พ. มาตรา 42
of 45