พบผลลัพธ์ทั้งหมด 441 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1890/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทายาทขอพิจารณาคดีใหม่หลังจำเลยมรณะ: คดีขาดนัดพิจารณาไม่ตัดสิทธิ
ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา เป็นการพิจารณา โดยการขาดนัด หากจำเลยไม่มรณะก็ย่อมมีสิทธิขอให้พิจารณาใหม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 ซึ่งคดียังไม่ถึงที่สุดตามมาตรา 147 การขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะตาม มาตรา 42 และ 43 นั้น แม้ในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาก็ขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะได้ ส่วนที่มาตรา 42 บัญญัติว่า ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลได้มรณะเสียก่อนศาลพิพากษาคดีให้ศาลเลื่อนการนั่งพิจารณาไปจนกว่าทายาทของผู้มรณะจะได้เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะนั้น เป็นกรณีที่ศาลให้เลื่อนการนั่งพิจารณาไปถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลได้มรณะเสียก่อนศาลพิพากษาคดีหากคู่ความมรณะภายหลังศาลพิพากษาคดีแล้วก็ไม่มีกรณีที่จะต้องเลื่อนการนั่งพิจารณา ในระหว่างนี้หากคดียังไม่ถึงที่สุดทายาทของผู้มรณะก็ยังคงมีสิทธิขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะได้ มิใช่ว่าเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้วสิทธิขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะสิ้นไปด้วย คดีนี้โจทก์ฟ้องขอมีชื่อเป็นเจ้าของทรัพย์สินร่วมกับจำเลย หากทรัพย์สินที่โจทก์ฟ้องขอมีชื่อเป็นเจ้าของร่วมเป็นของจำเลยแต่ผู้เดียวทรัพย์สินดังกล่าวทั้งหมดย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทของจำเลย จึงเป็นกรณีสิทธิในทรัพย์สินมิใช่สิทธิเฉพาะตัว ผู้ร้องอ้างว่าเป็นทายาทของจำเลยร้องขอเข้ามาแทนที่จำเลยเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตน ผู้ร้องย่อมมีสิทธิร้องขอให้พิจารณาใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1890/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทายาทขอพิจารณาคดีใหม่หลังจำเลยเสียชีวิต แม้ศาลตัดสินแล้ว คดีไม่ถึงที่สุด
ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยการขาดนัด หากจำเลยไม่มรณะก็ย่อมมีสิทธิขอให้พิจารณาใหม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 ซึ่งคดียังไม่ถึงที่สุดตามมาตรา 147 การขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะตามมาตรา 42 และ 43 นั้น หากคู่ความมรณะภายหลังศาลพิพากษาคดีแล้วก็ไม่มีกรณีที่จะต้องเลื่อนการนั่งพิจารณาในระหว่างนี้หากคดียังไม่ถึงที่สุดทายาทของผู้มรณะก็ยังคงมีสิทธิขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะได้มิใช่ว่าเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้วสิทธิขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะสิ้นไปด้วย คดีนี้โจทก์ฟ้องขอมีชื่อเป็นเจ้าของทรัพย์สินร่วมกับจำเลยหากทรัพย์สินที่โจทก์ฟ้องขอมีชื่อเป็นเจ้าของร่วมเป็นของจำเลยแต่ผู้เดียว ทรัพย์สินดังกล่าวทั้งหมดย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทของจำเลย จึงเป็นกรณีสิทธิในทรัพย์สินมิใช่สิทธิเฉพาะตัว ผู้ร้องอ้างว่าเป็นทายาทของจำเลยร้องขอเข้ามาแทนที่จำเลยเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนผู้ร้องย่อมมีสิทธิร้องขอให้พิจารณาใหม่ได้ ผู้ร้องคัดค้านในคำร้องขอพิจารณาใหม่ว่า ศาลได้พิพากษาคดีไปฝ่ายเดียวโดยจำเลยไม่ทราบ ต่อมาจำเลยถูกฆ่าตาย ผู้ร้องเพิ่งทราบว่าจำเลยถูกโจทก์ฟ้อง ซึ่งหากศาลได้ให้โอกาส ผู้ร้องในการเสนอพยานหลักฐานเพื่อหักล้างคำพยานโจทก์แล้ว คดีย่อมฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทครึ่งหนึ่ง เป็นการคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นว่าไม่ถูกต้อง อย่างไร หากพิจารณาใหม่แล้วศาลอาจพิพากษาให้ผิดแผกแตกต่างไป จากที่ได้พิพากษาไปแล้ว คำร้องขอพิจารณาใหม่จึงชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1423/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีจากสารบบความหลังคู่ความมรณะ และการอุทธรณ์คำสั่งศาล
การที่ศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความในกรณีคู่ความมรณะตามมาตรา 42 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ต้องเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมรณะในระหว่างที่คดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลนั้นเอง เมื่อปรากฏว่าผู้ร้องถึงแก่กรรมระหว่างที่คดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลอุทธรณ์โดยไม่มีผู้อยู่ในฐานะที่จะรับมรดกความแทนและไม่มีคำขอของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขอให้หมายเรียกผู้ใดเข้ามาในคดีจนล่วงเลยกำหนดเวลา 1 ปี ย่อมเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ซึ่งคดีดังกล่าวค้างพิจารณาอยู่ที่จะสั่งจำหน่ายคดี คำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนผู้มรณะไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา แต่เป็นคำสั่งใด ๆ ที่ศาลอุทธรณ์มีอำนาจชี้ขาดได้ตามอำนาจที่มีอยู่และคำสั่งดังกล่าวอยู่ในบังคับของการอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดซึ่งต้องยื่นฎีกาภายในกำหนด 1เดือน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งให้คู่ความฟัง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223,229 ประกอบด้วยมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 931/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีเมื่อคู่ความถึงแก่กรรมระหว่างพิจารณา ศาลต้องเลื่อนการพิจารณาจนกว่าจะมีผู้แทน
โจทก์ได้ถึงแก่กรรมในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ซึ่งศาลชั้นต้นจะต้องเลื่อนการนั่งพิจารณาคดีรวมทั้งการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ออกไปเพื่อดำเนินการให้มีผู้เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ก่อน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42การที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1ไปในวันดังกล่าว โดยยังไม่มีผู้เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 931/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินการเมื่อคู่ความถึงแก่กรรมระหว่างพิจารณาคดี ศาลต้องเลื่อนการพิจารณาเพื่อหาผู้แทน
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ถึงแก่กรรมในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ศาลชั้นต้นต้องเลื่อนการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ออกไปเพื่อดำเนินการให้มีผู้เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1ไปโดยยังไม่มีผู้เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 74/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตให้เข้าเป็นคู่ความแทนผู้มรณะเกินกำหนด ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจ
ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 โจทก์ที่ 1มรณะ หลังจากโจทก์ที่ 1 มรณะเกินกว่า 1 ปี จำเลยที่ 1ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์ที่ 1 ต่อมาบ.จึงยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ที่ 1 แต่การเข้าเป็นคู่ความแทนที่คู่ความผู้มรณะนั้น แม้จะร้องขอเข้ามาเมื่อเกินกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นมรณะก็ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 ประกอบด้วยมาตรา 132(3) ก็ให้อยู่ในอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ก็ได้แล้วแต่จะพิจารณาเห็นสมควรที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำสั่งอนุญาตให้ บ.เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ที่ 1 ผู้มรณะ โดยไม่จำหน่ายคดีโจทก์ที่ 1จึงเป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 34/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับสิทธิฟ้องคดีอาญาเมื่อจำเลยถึงแก่ความตาย และผลกระทบต่อการดำเนินคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่อง
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาและคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญาการพิจารณาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา เมื่อจำเลยที่ 4ถึงแก่ความตาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปเมื่อศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีของจำเลยที่ 4 จากสารบบความแล้วศาลจะพิพากษาส่วนอาญาเกี่ยวกับจำเลยที่ 4 ไม่ได้ การเรียกผู้จัดการมรดกของจำเลยที่ 4 เข้ามาเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 4เฉพาะคดีส่วนแพ่งก็ไม่อาจฟังข้อเท็จจริงในคำพิพากษาส่วนอาญาเกี่ยวกับจำเลยอื่นมาฟังในคดีส่วนแพ่งของจำเลยที่ 4 ได้การเรียกผู้จัดการมรดกของจำเลยที่ 4 เข้ามาเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 4 จึงไม่เป็นการสะดวกแก่การพิจารณา ศาลย่อม ไม่อนุญาตให้เรียกผู้จัดการมรดกของจำเลยที่ 4 เข้ามาเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 34/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับคดีอาญาหลังจำเลยเสียชีวิต และผลกระทบต่อคดีแพ่งเกี่ยวเนื่อง
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งห้าเป็นคดีอาญาและคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา การพิจารณาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46เมื่อจำเลยที่ 4 ถึงแก่ความตาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ตามมาตรา 39(1) เมื่อศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีของจำเลยที่ 4 จากสารบบความแล้ว ศาลจะพิพากษาส่วนอาญาเกี่ยวกับจำเลยที่ 4 ไม่ได้ การเรียกผู้จัดการมรดกของจำเลยที่ 4 เข้ามาเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 4 เฉพาะคดีส่วนแพ่งก็ไม่อาจนำข้อเท็จจริงในคำพิพากษาส่วนอาญาเกี่ยวกับจำเลยอื่นมาฟังในคดีส่วนแพ่งของจำเลยที่ 4 ได้ การเรียกผู้จัดการมรดกของ จำเลยที่ 4 เข้ามาเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 4 จึงไม่เป็นการสะดวก แก่การพิจารณาพิพากษา ศาลชั้นต้นไม่เรียกทายาทจำเลยที่ 4 เข้ามา ในคดีจึงชอบแล้ว ส่วนที่โจทก์ขอให้สั่งให้โจทก์แยกฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และผู้จัดการมรดกของจำเลยที่ 4 เป็นคดีใหม่นั้น เป็น เรื่องที่โจทก์ต้องไปร้องขอต่อศาลชั้นต้น จะขอขึ้นมา ในชั้นอุทธรณ์ฎีกาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3905/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีออกจากสารบบความเมื่อผู้ร้องเสียชีวิตและไม่มีผู้ดำเนินการแทน
ผู้ร้องได้มรณะในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ทายาทของผู้ร้องไม่ประสงค์จะขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้ร้อง และโจทก์ไม่ประสงค์ให้ศาลหมายเรียกทายาทผู้ร้องเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้ร้อง จึงให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6044/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้าแทนที่คู่ความมรณะในคดีร้องขัดทรัพย์เมื่อเจ้าหนี้ถอนการยึดทรัพย์แล้ว คดีไม่มีประโยชน์อีกต่อไป
โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยได้ถอนการยึดที่ดินที่ร้องขัดทรัพย์แล้ว การพิจารณาคดีร้องขอเข้าแทนที่ผู้มรณะชั้นร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องไม่เป็นประโยชน์อีกต่อไป จึงให้จำหน่ายคดีจากสารบบความ