คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 42

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 441 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7700/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทายาทผู้ถือหุ้นฟ้องเพิกถอนมติที่ประชุมบริษัทหลังผู้ฟ้องมรณะ
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามในฐานะเป็นกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 และในฐานะโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 อีกด้วย เมื่อโจทก์มรณะ ผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทของโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะได้กรรมสิทธิ์ในหุ้นของโจทก์ และตาม ป.พ.พ. มาตรา 1195 บัญญัติให้ผู้ถือหุ้นฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนมติที่ประชุมของบริษัทในกรณีเช่นนี้ได้ กรณีจึงไม่ใช่โจทก์ฟ้องอันมีลักษณะเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวของโจทก์ ผู้ร้องจึงมีสิทธิเข้ามาเป็นคู่ความแทนโจทก์ที่มรณะได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเฉพาะตัวในการจัดการมรดก: ทายาทไม่สามารถรับมรดกความแทนคู่ความที่ถึงแก่ความตาย
การขอตั้งผู้จัดการมรดก ตลอดจนการคัดค้านการขอตั้งผู้จัดการมรดกไม่เป็นคดีที่ทายาทจะรับมรดกความของคู่ความที่ถึงแก่ความตายได้ เพราะการขอเป็นผู้จัดการมรดกก็ดี การคัดค้านการขอตั้งผู้จัดการมรดกก็ดี ถือได้ว่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวของทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียแต่ละคน จึงไม่มีเหตุที่จะอนุญาตให้ ก. เข้ามาเป็นคู่ความแทนผู้คัดค้านซึ่งถึงแก่ความตายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 604/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าเป็นเจ้าหนี้แทนผู้ตายหลังมีคำพิพากษา: สิทธิการรับมรดกและการบังคับคดี
คำฟ้องของโจทก์เป็นการฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ น. เพื่อให้แบ่งทรัพย์มรดกและขอให้ถอดถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกของ น. อันเป็นการพิพาทในฐานะจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของ น. ซึ่งต้องแบ่งปันทรัพย์มรดกของ น. ให้แก่โจทก์ หาได้พิพาทกันในฐานะส่วนตัวไม่ ดังนั้นการที่ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิของโจทก์จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้ฟ้องมารดาซึ่งเป็นบุพการีของตน กรณีจึงไม่ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1562
แม้ผู้ร้องจะไม่อาจเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ได้เพราะคดีถึงที่สุดในศาลชั้นต้นก่อนแล้วก็ตาม แต่การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ก็เพื่อมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ ซึ่งโจทก์มีสิทธิได้รับจากจำเลยในฐานะจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของ น. และโจทก์มีสิทธิดังกล่าวก่อนที่จะถึงแก่กรรม เมื่อโจทก์ถึงแก่กรรมจึงตกทอดแก่ผู้ร้อง ผู้ร้องอยู่ในฐานะเป็นผู้รับมรดกของโจทก์และเป็นผู้รับพินัยกรรมย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 และมาตรา 1600 จึงมีสิทธิที่จะเข้าเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์และดำเนินการบังคับคดีต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6162/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการเป็นผู้จัดการมรดกหลังการถึงแก่กรรมของคู่ความเดิม และการพิจารณาคำคัดค้านจากผู้มีส่วนได้เสีย
ว. ยื่นคำร้องขอให้ตั้ง ว. เป็นผู้จัดการมรดกของ ช. ผู้ตาย การที่ ว. ถึงแก่ความตายจึงไม่เป็นประโยชน์ที่จะพิจารณาคดีต่อไปเพราะเป็นสิทธิเฉพาะตัวของ ว. ไม่ใช่คดีที่ทายาทหรือผู้อื่นจะร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะได้ ทั้งศาลชั้นต้นได้ยกคำร้องของ พ. ที่ร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ ว. และจำหน่ายคดีของ พ. ออกจากสารบบความแล้ว พ. จึงเป็นบุคคลภายนอกคดี และศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำพิพากษาชี้ขาดในประเด็นตามคำร้องของ พ. ดังนี้ คำคัดค้านของ พ. ที่ยื่นคัดค้านผู้ร้องที่ 1 ว่าไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกและขอให้ตั้ง พ. เป็นผู้จัดการมรดก เนื่องจาก พ. เป็นบุตรของ ว. ภริยาของผู้ตาย ทั้ง ว. ถึงแก่ความตายแล้ว พ. เป็นผู้จัดการมรดก ผู้ตายจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดก และมีความเหมาะสมมากกว่าผู้ร้องที่ 1 คำคัดค้านของ พ. ที่ยื่นมาภายหลังเป็นการยื่นตามสิทธิของตนเอง ซึ่งมีสิทธิทำได้ จึงมิใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำคัดค้านของผู้ร้องขอที่ 1 ที่ 2 และให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนคำคัดค้านของผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 ใหม่ กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงเริ่มต้นใหม่ด้วยการไต่สวนคำคัดค้านของผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 ที่ขอให้ตั้งผู้ร้องที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ ช. ดังนั้น ก่อนที่ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนคำคัดค้านของผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 พ. ซึ่งเป็นบุตรของ ว. ภริยาของ ช. เป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกย่อมมีสิทธิยื่นคำคัดค้านและขอให้ศาลรับคำคัดค้านของตนไว้พิจารณาได้ ทั้งเป็นอำนาจของศาลที่จะพิจารณาว่าผู้ใดในระหว่างผู้ร้องที่ 1 และ พ. เป็นผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกของ ช. การดำเนินกระบวนของศาลชั้นต้นจึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่เกินกว่าคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3488/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีหลังจำเลยเสียชีวิต: ผลต่อความชอบด้วยกฎหมายของการอ่านคำพิพากษา
จำเลยถึงแก่กรรมในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 5 ศาลชั้นต้นต้องส่งคำร้องขอให้หมายเรียกทายาทเข้ามาเป็นคู่ความแทนจำเลยผู้มรณะไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 5 เพื่อพิจารณาสั่ง แต่ศาลชั้นต้นมิได้ส่งคำร้องไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 5 จนกระทั่งศาลอุทธรณ์ภาค 5 ทำคำพิพากษาเสร็จแล้วส่งมาให้ศาลชั้นต้นอ่านจึงถือไม่ได้ว่าศาลอุทธรณ์ภาค 5 ทราบเรื่องจำเลยมรณะอันจะทำให้การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลอุทธรณ์ภาค 5 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่การที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ไปโดยทราบแล้วว่าจำเลยมรณะและยังไม่มีผู้เข้าเป็นคู่ความแทนเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้เพิกถอนการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 แล้วให้ศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 เพื่อดำเนินการตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42 ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2915/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลฎีกาพิจารณาคำขอเรียกทายาทเป็นคู่ความหลังจำเลยมรณะ และการพิจารณาเมื่อพ้นกำหนด 1 ปีตาม ป.วิ.พ.
จำเลยมรณะในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จึงเป็นอำนาจของศาลฎีกาที่จะพิจารณาและมีคำสั่งเกี่ยวกับคำขอของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42 และ 43 การที่ศาลชั้นต้นนัดไต่สวนคำขอของโจทก์จึงถือว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่ศาลชั้นต้นทำแทนศาลฎีกาเท่านั้น หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่พอใจคำสั่งของศาลชั้นต้น ก็หามีสิทธิที่จะอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ไม่ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ผู้คัดค้านเลื่อนการไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้รวลรวมถ้อยคำสำนวนส่งศาลฎีกา ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวไปยังศาลอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นเช่นว่านี้จึงเป็นการไม่ชอบ แม้ผู้คัดค้านฎีกาต่อมาก็ต้องถือว่าฎีกาของผู้คัดค้านเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วยมาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ป.วิ.พ. มาตรา 42 วรรคสอง มิใช่เป็นบทบังคับศาลให้ต้องจำหน่ายคดีเสมอไป และตราบใดที่ศาลยังมิได้สั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งก็มีสิทธิขอให้เรียกบุคคลตามที่กฎหมายกำหนดไว้นั้นเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่คู่ความมรณะได้แม้จะพ้นกำหนดเวลาหนึ่งปีแล้วก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2915/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาคำขอเรียกทายาทเป็นคู่ความแทนผู้มรณะ และผลของการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น
เมื่อจำเลยตายในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จึงเป็นอำนาจของศาลฎีกาที่จะพิจารณาและมีคำสั่งเกี่ยวกับคำขอของโจทก์ที่ขอให้เรียกทายาทของคู่ความผู้มรณะหรือผู้จัดการทรัพย์มรดกของผู้มรณะหรือบุคคลอื่นใดที่ปกครองทรัพย์มรดกไว้ เข้ามาเป็นคู่ความแทนผู้มรณะตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42 และ 43 การที่ศาลชั้นต้นนัดไต่สวนคำขอให้เรียกผู้คัดค้านเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลยของโจทก์ จึงถือว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่ศาลชั้นต้นทำแทนศาลฎีกาเท่านั้น หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่พอใจคำสั่งของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ทำแทนศาลฎีกาเช่นนี้ ก็หามีสิทธิที่จะอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ไม่ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ผู้คัดค้านเลื่อนการไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้รวบรวมถ้อยคำสำนวนส่งศาลฎีกา ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวไปยังศาลอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นเช่นว่านี้จึงเป็นการไม่ชอบ แม้ผู้คัดค้านฎีกาต่อมาก็ถือว่าเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2018/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเป็นคู่ความในคดีมรดก: การรับมรดกสิทธิเฉพาะตัว และการจำหน่ายคดีเมื่อคู่ความถึงแก่กรรม
การขอตั้งผู้จัดการมรดกตลอดจนการคัดค้านการขอตั้งผู้จัดการมรดก ไม่เป็นคดีที่ทายาทจะรับมรดกความของคู่ความที่ถึงแก่กรรมได้ เพราะการขอเป็นผู้จัดการมรดกตลอดจนการคัดค้านถือได้ว่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวของทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียแต่ละคน เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 ถึงแก่กรรม น. จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทน การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ น. เข้ามาเป็นคู่ความแทน และศาลอุทธรณ์ภาค 5 มิได้แก้ไข จึงเป็นการไม่ชอบ คดีไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาผู้คัดค้านที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 465/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่เสียชีวิตระหว่างพิจารณาคดี: บทบาทศาลและคุณสมบัติผู้ร้อง
จำเลยถึงแก่กรรมขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 6 ย่อมเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 6 ที่จะมีคำสั่งเกี่ยวกับการเข้าเป็นคู่ความแทนที่ เมื่อ บ. ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลย ศาลชั้นต้นจะต้องทำการไต่สวนให้ได้ความว่าผู้ร้องเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยจริงหรือไม่ แล้วส่งคำร้องดังกล่าวไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 6 เพื่อพิจารณาสั่ง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จึงไม่ชอบ ให้ยกคำสั่งของศาลชั้นต้น แต่เนื่องจากคดีนี้ได้ขึ้นสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว จึงเห็นสมควรสั่งคำร้องของผู้ร้องดังกล่าวไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 สั่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 465/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท: การพิสูจน์การครอบครองทำประโยชน์ต่อเนื่องและการแย่งการครอบครอง
จำเลยถึงแก่กรรมขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 6 ย่อมเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 6 ที่จะมีคำสั่งเกี่ยวกับการเข้าเป็นคู่ความแทนที่ เมื่อ บ. ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลย ศาลชั้นต้นจะต้องทำการไต่สวนให้ได้ความว่าผู้ร้องเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยจริงหรือไม่แล้วส่งคำร้องดังกล่าวไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 6 เพื่อพิจารณาสั่ง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จึงไม่ชอบ
of 45