พบผลลัพธ์ทั้งหมด 441 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับข้อเท็จจริงตามคำท้าในคดีพิพาทที่ดิน และผลผูกพันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84(1)
โจทก์ฎีกา ความปรากฏต่อศาลฎีกาว่า จำเลยที่ 2 ถึงแก่ความตายพ้นกำหนดหนึ่งปีแล้วไม่ปรากฏว่าผู้ใดมีคำขอเข้าเป็นคู่ความแทน หรือคู่ความฝ่ายใดมีคำขอให้ศาลหมายเรียกผู้ใดเข้าเป็นคู่ความแทนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42 จึงให้จำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 2 เสียจากสารบบความของศาลฎีกา
ก่อนชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ทำแผนที่พิพาทโดยให้เจ้าพนักงานที่ดินระบุรายละเอียดเกี่ยวกับแนวเขต ที่ดินพิพาท รวมทั้งสิ่งปลูกสร้างหรือสิ่งเพาะปลูกบนดินรวมทั้งสิ่งอื่นใดตามที่เจ้าพนักงานที่ดินเห็นสมควร เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาคดี เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินทำแผนที่พิพาทเสร็จแล้ว ศาลได้ให้คู่ความทั้งสองฝ่ายตรวจดู ต่างรับรองว่าแผนที่พิพาทถูกต้องและอ้างเป็นพยานร่วมกันและคู่ความได้ท้ากันว่า ให้ถือเอาคำเบิกความของ ส. เจ้าพนักงานที่ดินผู้จำลอง แผนที่พิพาทเป็นข้อแพ้ชนะในคดี หาก ส. นำแผนที่พิพาทเปรียบเทียบกับรูปจำลองแผนที่ของที่ดินซึ่งโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แล้ว ส. เห็นว่าหรือน่าเชื่อว่าเส้นแนวเขตตามแผนที่พิพาทส่วนที่โจทก์นำชี้หรือส่วนที่จำเลยนำชี้เส้นแนวเขตไหนน่าจะเป็นเขตที่ถูกต้องคู่ความยอมรับตามนั้น หากเส้นแนวเขตที่โจทก์นำชี้ถูกต้อง จำเลยยอมแพ้คดี หากส่วนที่จำเลยนำชี้ถูกต้องโจทก์ยอมแพ้คดีและคู่ความต่างแถลงสละประเด็นข้อพิพาททั้งหมด ต่อมา ส. เบิกความต่อศาลว่าน่าเชื่อว่า เส้นแนวเขตตามแผนที่พิพาทส่วนที่จำเลยนำชี้น่าจะเป็นแนวเขตที่ถูกต้อง การที่โจทก์จำเลยตกลงท้ากันให้ถือเอาคำเบิกความของ ส. เป็นข้อแพ้ชนะในคดีถือว่าเป็นการยอมรับข้อเท็จจริงที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้างตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84 (1) โดยมี เงื่อนไขว่าต้องมีการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งอย่างใดเสียก่อน ถ้าผลแห่งการดำเนินกระบวนพิจารณานั้นเป็นประโยชน์ต่อคู่ความฝ่ายใด อีกฝ่ายหนึ่งก็ต้องยอมรับข้อเท็จจริงตามข้ออ้างของอีกฝ่ายหนึ่งนั้นทั้งหมด เมื่อ ส. เบิกความว่าน่าเชื่อว่าเส้นแนวเขตของแผนที่พิพาทส่วนที่จำเลยชี้น่าจะเป็นเส้นแนวเขตที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขของคำท้า ทุกประการ โจทก์จึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี
ก่อนชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ทำแผนที่พิพาทโดยให้เจ้าพนักงานที่ดินระบุรายละเอียดเกี่ยวกับแนวเขต ที่ดินพิพาท รวมทั้งสิ่งปลูกสร้างหรือสิ่งเพาะปลูกบนดินรวมทั้งสิ่งอื่นใดตามที่เจ้าพนักงานที่ดินเห็นสมควร เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาคดี เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินทำแผนที่พิพาทเสร็จแล้ว ศาลได้ให้คู่ความทั้งสองฝ่ายตรวจดู ต่างรับรองว่าแผนที่พิพาทถูกต้องและอ้างเป็นพยานร่วมกันและคู่ความได้ท้ากันว่า ให้ถือเอาคำเบิกความของ ส. เจ้าพนักงานที่ดินผู้จำลอง แผนที่พิพาทเป็นข้อแพ้ชนะในคดี หาก ส. นำแผนที่พิพาทเปรียบเทียบกับรูปจำลองแผนที่ของที่ดินซึ่งโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แล้ว ส. เห็นว่าหรือน่าเชื่อว่าเส้นแนวเขตตามแผนที่พิพาทส่วนที่โจทก์นำชี้หรือส่วนที่จำเลยนำชี้เส้นแนวเขตไหนน่าจะเป็นเขตที่ถูกต้องคู่ความยอมรับตามนั้น หากเส้นแนวเขตที่โจทก์นำชี้ถูกต้อง จำเลยยอมแพ้คดี หากส่วนที่จำเลยนำชี้ถูกต้องโจทก์ยอมแพ้คดีและคู่ความต่างแถลงสละประเด็นข้อพิพาททั้งหมด ต่อมา ส. เบิกความต่อศาลว่าน่าเชื่อว่า เส้นแนวเขตตามแผนที่พิพาทส่วนที่จำเลยนำชี้น่าจะเป็นแนวเขตที่ถูกต้อง การที่โจทก์จำเลยตกลงท้ากันให้ถือเอาคำเบิกความของ ส. เป็นข้อแพ้ชนะในคดีถือว่าเป็นการยอมรับข้อเท็จจริงที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้างตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84 (1) โดยมี เงื่อนไขว่าต้องมีการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งอย่างใดเสียก่อน ถ้าผลแห่งการดำเนินกระบวนพิจารณานั้นเป็นประโยชน์ต่อคู่ความฝ่ายใด อีกฝ่ายหนึ่งก็ต้องยอมรับข้อเท็จจริงตามข้ออ้างของอีกฝ่ายหนึ่งนั้นทั้งหมด เมื่อ ส. เบิกความว่าน่าเชื่อว่าเส้นแนวเขตของแผนที่พิพาทส่วนที่จำเลยชี้น่าจะเป็นเส้นแนวเขตที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขของคำท้า ทุกประการ โจทก์จึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8149/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่มรณะ และผลของการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ว. ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยผู้มรณะ โจทก์ไม่คัดค้าน ศาลอุทธรณ์จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ต่อเมื่อมีบุคคลเข้าแทนที่ผู้มรณะก่อน และจะต้องมีคำสั่งในการที่จะเข้ามาเป็นคู่ความ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42 , 44 การที่ศาลอุทธรณ์มิได้มีคำสั่งเรื่องการขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่และพิพากษาคดีไปจึงไม่ชอบ แต่เนื่องจากคดีนี้ได้ขึ้นสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรสั่งคำร้องขอเข้าเป็นผู้แทนจำเลยไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์สั่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7442/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมรณะของคู่ความระหว่างพิจารณาคดี ศาลต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม.42 ก่อนมีคำพิพากษา
จำเลยที่ 2 ถึงแก่กรรมระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์และปรากฏตามรายงานเจ้าหน้าที่ว่าส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แก่จำเลยที่ 2 ไม่ได้เนื่องจากจำเลยที่ 2 ถึงแก่กรรมแสดงว่าศาลชั้นต้นทราบว่าจำเลยที่ 2 ถึงแก่กรรมตั้งแต่ก่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ที่จะต้องมีคำสั่งเกี่ยวกับการมรณะของคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 ดังนั้น ศาลชั้นต้นจึงต้องเลื่อนการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วส่งสำนวนพร้อมคำพิพากษาคืนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อสั่งเกี่ยวกับความมรณะของจำเลยที่ 2 แล้วมีคำพิพากษาใหม่ต่อไป การที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 1 เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 2รวมทั้งมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาฎีกาแก่จำเลยที่ 2 และมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 2 ล้วนเป็นคำสั่งและการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7442/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีหลังคู่ความถึงแก่กรรม: ศาลต้องดำเนินการตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42 เพื่อให้ถูกต้อง
จำเลยที่ 2 ถึงแก่กรรมระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ เจ้าหน้าที่ส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แก่จำเลยที่ 2 ไม่ได้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแจ้งนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แก่ทนายความของจำเลยที่ 2 แสดงว่าศาลชั้นต้นได้ทราบว่า จำเลยที่ 2 ถึงแก่กรรมตั้งแต่ก่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ที่จะต้องมีคำสั่งเกี่ยวกับการมรณะของคู่ความ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42 กรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นต้องเลื่อนการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แล้วส่งถ้อยคำสำนวนพร้อมคำพิพากษาคืนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาสั่งเกี่ยวกับความมรณะของจำเลยที่ 2 แล้ว มีคำพิพากษาใหม่ต่อไป การที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 1 เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 2 รวมทั้งมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาฎีกาแก่จำเลยที่ 2 จึงล้วนเป็นคำสั่งและการดำเนินกระบวนพิจารณา ที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ศาลล่างทั้งสองดำเนินกระบวนพิจารณาและมีคำสั่งให้ถูกต้องก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 594/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกเฉยต่อคำสั่งศาลในการดำเนินคดีอุทธรณ์ ส่งผลให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีได้
โจทก์ยื่นอุทธรณ์และขอให้มีหนังสือไปยังศาลจังหวัดสงขลาเพื่อจัดส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลย ต่อมาโจทก์แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าส่งสำเนาอุทธรณ์ไม่ได้ ขอสืบหาภูมิลำเนา ศาลชั้นต้นสั่งว่า "อนุญาตให้สืบหาภูมิลำเนาได้ภายในวันที่ 20 มกราคม 2542" วันที่ 6 มกราคม2542 โจทก์ยื่นคำร้องว่า จำเลยตาย ขอตรวจสอบทายาทหรือผู้จัดการมรดก หรือผู้ปกครองทรัพย์มรดก และสืบว่ามีทรัพย์มรดกหรือไม่แล้วจะขอให้เรียกเข้ามาแทนที่จำเลย หรือกรณีที่จำเลยไม่มีทรัพย์มรดกโจทก์จะถอนอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งว่า "อนุญาตถึงวันที่ 7 กุมภาพันธ์2542" คำสั่งดังกล่าวไม่เป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 42 แต่เป็นดุลพินิจที่จะสั่งได้เพื่อให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปโดยรวดเร็ว โจทก์มีหน้าที่ต้องดำเนินการ การที่โจทก์ไม่ดำเนินการจึงถือว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดอันเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตามมาตรา 174(2) ประกอบด้วยมาตรา 246 และตามมาตรา 132(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 594/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องอุทธรณ์เนื่องจากไม่ดำเนินการตามคำสั่งศาลภายในกำหนด และการจำหน่ายคดีออกจากสารบบ
โจทก์ยื่นอุทธรณ์และขอให้ศาลชั้นต้นมีหนังสือไปยังศาลจังหวัดสงขลาเพื่อจัดส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลย ต่อมาโจทก์แถลงต่อศาลชั้นต้นว่า ส่งสำเนาอุทธรณ์ไม่ได้ ขอสืบหาภูมิลำเนา ศาลชั้นต้นสั่งว่า "อนุญาตให้สืบหาภูมิลำเนาได้ภายในวันที่ 20 มกราคม 2542" วันที่ 6 มกราคม 2542 โจทก์ยื่นคำร้องว่า จำเลยตาย ขอตรวจสอบทายาทหรือผู้จัดการมรดก หรือผู้ปกครองทรัพย์มรดก และสืบว่ามีทรัพย์มรดกหรือไม่แล้วจะขอให้เรียกเข้ามาแทนที่จำเลย หรือกรณีที่จำเลยไม่มีทรัพย์มรดกโจทก์จะถอนอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งว่า "อนุญาตถึงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2542" คำสั่งดังกล่าวไม่เป็นการขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 42 แต่เป็นดุลพินิจที่จะสั่งได้เพื่อให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปโดยรวดเร็ว โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการ การที่โจทก์ไม่ดำเนินการ ถือว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดอันเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบด้วยมาตรา 246 และตามมาตรา 132 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5051/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้ามาเป็นคู่ความแทนผู้มรณะระหว่างการพิจารณาคดี ศาลต้องมีคำสั่งก่อนพิพากษา
โจทก์ถึงแก่ความตายก่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1ต้องถือว่า โจทก์ถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลอุทธรณ์ภาค 1 คดีจะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ก็ต่อเมื่อมีบุคคลเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะและศาลจะต้องมีคำสั่งในการที่จะเข้ามาเป็นคู่ความแทนตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 42 และ 44 ก่อนการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาคดีไปโดยที่ยังมิได้ดำเนินการดังกล่าวนั้นเป็นการมิได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการพิจารณาตามมาตรา 243(2) ประกอบมาตรา 247 เป็นการไม่ชอบ
การที่โจทก์ถึงแก่ความตายขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ย่อมเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 1ที่จะมีคำสั่งเกี่ยวกับการเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ กรณีมิใช่เรื่องที่โจทก์ถึงแก่ความตายระหว่างรอยื่นฎีกา ศาลชั้นต้นจึงไม่อาจมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ได้
การที่โจทก์ถึงแก่ความตายขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ย่อมเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 1ที่จะมีคำสั่งเกี่ยวกับการเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ กรณีมิใช่เรื่องที่โจทก์ถึงแก่ความตายระหว่างรอยื่นฎีกา ศาลชั้นต้นจึงไม่อาจมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3320/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินการกรณีจำเลยถึงแก่ความตายระหว่างพิจารณา: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจสั่งการเข้าเป็นคู่ความแทนที่
เมื่อจำเลยที่ 1 ตายขณะคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ย่อมเป็นอำนาจของศาลดังกล่าวที่จะสั่งคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ ศาลชั้นต้นจะต้องเลื่อนอ่านคำพิพากษาและไต่สวนให้ได้ความจริง แล้วส่งคำร้องพร้อมสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 2 เพื่อสั่ง การที่ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตการเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่เอง แล้วอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ให้คู่ความฟัง จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2228/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินที่ขัดต่อกฎหมายห้ามโอน และผลกระทบต่อสิทธิครอบครองของผู้รับโอน
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์แล้ว คดีจึงอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ ย.เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 1 ผู้มรณะได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าวจึงไม่ชอบ แต่เมื่อศาลชั้นต้นสอบข้อเท็จจริงแล้วฟังว่า ย.เป็นทายาทของจำเลยที่ 1 ผู้มรณะ และจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตายแล้วจริง ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งตั้ง ย.เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 1 ผู้มรณะต่อไป
จำเลยที่ 1 ขายที่ดินที่พิพาทให้แก่ ค.ในระยะเวลาห้ามโอนภายใน 10 ปี ตามกฎหมาย แม้ตามสัญญาซื้อขายจะมีข้อความระบุว่า จำเลยที่ 1พร้อมจะโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อในเมื่อผู้ซื้อเรียกร้องได้ทุกเวลา และมีข้อความว่าจำเลยที่ 1 ได้มอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ให้แก่ผู้ซื้อแล้วก็ตามแต่ก็เห็นได้ว่าสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวระหว่าง ค.กับจำเลยที่ 1 ทั้งสองฝ่ายมุ่งประสงค์ที่จะโอนสิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าวพร้อมหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินนั้น (น.ส.3 ก.) ให้แก่กัน ข้อความดังกล่าวระบุไว้ก็เพื่อหลีกเลี่ยงข้อกำหนดห้ามโอน นิติกรรมการซื้อขายที่ดินตามคำฟ้องระหว่าง ค.กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ตกเป็นโมฆะตามป.พ.พ.มาตรา 150 ย่อมไม่มีผลบังคับ จึงต้องถือว่า ค.ครอบครองที่ดินพิพาทแทนจำเลยที่ 1 อยู่ตลอดเวลา แม้ ค.จะครอบครองที่ดินดังกล่าวมานานเพียงใด ก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง ดังนั้น แม้โจทก์จะซื้อที่ดินพิพาทจาก ค.และรับโอนการครอบครองที่ดินดังกล่าวมาเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา 10 ปี ที่กฎหมายห้ามโอนแล้วก็ตาม แต่เมื่อค.ผู้โอนไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินนั้น โจทก์ผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิดีไปกว่าสิทธิที่ ค.ผู้โอนมีอยู่ โจทก์จึงไม่ได้สิทธิครอบครองในที่ดินตามคำฟ้อง และต้องฟังว่าโจทก์ครอบครองที่ดินดังกล่าวแทนจำเลยที่ 1
โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทแทนจำเลยที่ 1 ตลอดมาและโจทก์มิได้บรรยายในคำฟ้องให้ปรากฏว่าโจทก์ได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือครอบครองโดยบอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 คำฟ้องของโจทก์จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าว
จำเลยที่ 1 ขายที่ดินที่พิพาทให้แก่ ค.ในระยะเวลาห้ามโอนภายใน 10 ปี ตามกฎหมาย แม้ตามสัญญาซื้อขายจะมีข้อความระบุว่า จำเลยที่ 1พร้อมจะโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อในเมื่อผู้ซื้อเรียกร้องได้ทุกเวลา และมีข้อความว่าจำเลยที่ 1 ได้มอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ให้แก่ผู้ซื้อแล้วก็ตามแต่ก็เห็นได้ว่าสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวระหว่าง ค.กับจำเลยที่ 1 ทั้งสองฝ่ายมุ่งประสงค์ที่จะโอนสิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าวพร้อมหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินนั้น (น.ส.3 ก.) ให้แก่กัน ข้อความดังกล่าวระบุไว้ก็เพื่อหลีกเลี่ยงข้อกำหนดห้ามโอน นิติกรรมการซื้อขายที่ดินตามคำฟ้องระหว่าง ค.กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ตกเป็นโมฆะตามป.พ.พ.มาตรา 150 ย่อมไม่มีผลบังคับ จึงต้องถือว่า ค.ครอบครองที่ดินพิพาทแทนจำเลยที่ 1 อยู่ตลอดเวลา แม้ ค.จะครอบครองที่ดินดังกล่าวมานานเพียงใด ก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง ดังนั้น แม้โจทก์จะซื้อที่ดินพิพาทจาก ค.และรับโอนการครอบครองที่ดินดังกล่าวมาเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา 10 ปี ที่กฎหมายห้ามโอนแล้วก็ตาม แต่เมื่อค.ผู้โอนไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินนั้น โจทก์ผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิดีไปกว่าสิทธิที่ ค.ผู้โอนมีอยู่ โจทก์จึงไม่ได้สิทธิครอบครองในที่ดินตามคำฟ้อง และต้องฟังว่าโจทก์ครอบครองที่ดินดังกล่าวแทนจำเลยที่ 1
โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทแทนจำเลยที่ 1 ตลอดมาและโจทก์มิได้บรรยายในคำฟ้องให้ปรากฏว่าโจทก์ได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือครอบครองโดยบอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 คำฟ้องของโจทก์จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2228/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินช่วงเวลาห้ามโอนเป็นโมฆะ ผู้รับโอนไม่มีสิทธิแม้จะครอบครองภายหลัง
ก่อนยื่นคำแก้ฎีกาของโจทก์ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับไว้แล้ว จำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ ศาลชั้นต้นออกหมายเรียกย. ภริยาจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นทายาทของจำเลยที่ 1 และมีภูมิลำเนาแห่งเดียวกันกับจำเลยที่ 1 เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 1 ผู้มรณะทนายจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทนายของย.แถลงรับว่าย.เป็นทายาทของจำเลยที่ 1 จริง และขอยื่นคำแก้ฎีกาต่อไปศาลชั้นต้นอนุญาตให้ย.เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 1ผู้มรณะ ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์แล้วคดีจึงอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ศาลชั้นต้นย่อมไม่มีอำนาจสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ย.เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 1 ผู้มรณะได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าวจึงไม่ชอบแต่เมื่อศาลชั้นต้นสอบทนายจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นทนายของย.แล้วฟังข้อเท็จจริงว่าย. เป็นทายาทของจำเลยที่ 1 ผู้มรณะ และจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตายแล้วทั้งโจทก์ก็เป็นฝ่ายที่ขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายเรียก ย.ซึ่งเป็นทายาทของจำเลยที่ 1 เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 1 ผู้มรณะเองโดยไม่คัดค้านการเข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 1 ดังกล่าว ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งตั้งย. เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 1 ผู้มรณะต่อไป ขณะที่จำเลยที่ 1 ขายที่ดินที่พิพาทให้แก่ค. ที่ดินดังกล่าวยังอยู่ในระยะเวลาห้ามโอนภายใน 10 ปี ตามกฎหมายแม้ตามสัญญาซื้อขายจะมีข้อความระบุว่า จำเลยที่ 1พร้อมจะโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อในเมื่อผู้ซื้อเรียกร้องได้ทุกเวลา และมีข้อความว่าจำเลยที่ 1 ได้มอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.)ให้แก่ผู้ซื้อแล้วก็ตาม แต่ก็เห็นได้ว่าสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวระหว่าง ค.กับจำเลยที่ 1ทั้งสองฝ่ายมุ่งประสงค์ที่จะโอนสิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าวพร้อมหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินนั้น (น.ส.3 ก.)ให้แก่กัน ข้อความที่ระบุดังกล่าวระบุไว้เพื่อ หลีกเลี่ยงข้อกำหนดห้ามโอนดังกล่าวข้างต้นเท่านั้น นิติกรรมการซื้อขายที่ดินตามคำฟ้องระหว่างค.กับจำเลยที่ 1จึงเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดย กฎหมาย ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150 ย่อมไม่มีผลบังคับ จึงต้องถือว่า ค.ครอบครองที่ดินพิพาทแทนจำเลยที่ 1 อยู่ตลอดเวลา แม้ค. จะครอบครองที่ดินดังกล่าวมานานเพียงใด ก็ไม่ได้สิทธิครอบครองดังนั้น แม้โจทก์จะซื้อที่ดินพิพาทจากค. และรับโอนการครอบครองที่ดินดังกล่าวมาเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา 10 ปี ที่กฎหมายห้ามโอนแล้วก็ตาม แต่เมื่อค. ผู้โอนไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินนั้นโจทก์ผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิดีไปกว่า สิทธิที่ค.ผู้โอนมีอยู่ โจทก์จึงไม่ได้สิทธิครอบครองในที่ดินตามคำฟ้อง และต้องฟังว่าโจทก์ครอบครองที่ดินดังกล่าว แทนจำเลยที่ 1 โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทแทนจำเลยที่ 1 ตลอดมาและโจทก์มิได้บรรยายในคำฟ้องให้ปรากฏว่าโจทก์ได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือครอบครองโดยบอกกล่าว ไปยังจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 คำฟ้องของโจทก์จึง ไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าว