พบผลลัพธ์ทั้งหมด 733 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 685/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องในคดีแรงงาน: การนำ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลม และข้อยกเว้นการชี้สองสถาน
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มิได้บัญญัติถึงวิธีการหรือหลักเกณฑ์ในการขอแก้ไขคำฟ้องไว้ จึงต้องนำป.วิ.พ. มาตรา 180 มาใช้บังคับโดยอนุโลมตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
ตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 39 บัญญัติถึงการนัดพิจารณาไว้โดยเฉพาะแล้ว ไม่จำต้องนำเรื่องการชี้สองสถานตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 183 มาใช้บังคับ คดีแรงงานจึงไม่มีการชี้สองสถาน เมื่อไม่มีการชี้สองสถานโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องก่อนวันนัดสืบพยานโจทก์ไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน จึงมีสิทธิที่จะยื่นได้
ตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 39 บัญญัติถึงการนัดพิจารณาไว้โดยเฉพาะแล้ว ไม่จำต้องนำเรื่องการชี้สองสถานตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 183 มาใช้บังคับ คดีแรงงานจึงไม่มีการชี้สองสถาน เมื่อไม่มีการชี้สองสถานโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องก่อนวันนัดสืบพยานโจทก์ไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน จึงมีสิทธิที่จะยื่นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 309/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ: ข้อตกลงที่เกิดจากการเรียกร้อง vs. ข้อบังคับการทำงาน
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 20 บัญญัติว่า "เมื่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับแล้ว ห้ามมิให้นายจ้างทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เว้นแต่สัญญาจ้างแรงงานนั้นเป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่า" ดังนี้ แม้บทบัญญัติดังกล่าวจะใช้คำว่า ห้ามนายจ้างทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง โดยมิได้บัญญัติว่า ต้องเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากข้อเรียกร้องก็ตาม แต่บทบัญญัติมาตรา 20 ดังกล่าวบัญญัติต่อเนื่องจากมาตรา 13 ถึงมาตรา 19 ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการยื่นข้อเรียกร้องเพื่อขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง แล้วมีการเจรจาต่อรองจนตกลงกันได้มีการทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง นายจ้างนำไปจดทะเบียนอันมีผลบังคับทั้งสองฝ่ายแล้วต่อด้วยมาตรา 20 ที่ห้ามนายจ้างทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ดังนั้น ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามมาตรา 20 จึงหมายถึง เฉพาะข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้องเท่านั้น นายจ้างจึงสามารถทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างใหม่ให้ขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มิได้เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้องได้ เมื่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ เป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 108 ซึ่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 10 วรรคสาม บัญญัติให้ในกรณีเป็นที่สงสัยว่าในสถานประกอบกิจการนั้นมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือไม่ ให้ถือว่าข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่นายจ้างต้องจัดให้มีขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตาม พ.ร.บ. นี้ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ก็ไม่ใช่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้อง ดังนั้น โจทก์จึงสามารถทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างที่เข้าทำงานใหม่โดยตกลงจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างสัปดาห์ละ 1 ครั้ง แทนการจ่ายเดือนละ 1 ครั้ง ตามสัญญาจ้างได้ไม่ขัดต่อมาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 309/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตมาตรา 20 พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์: ข้อตกลงสภาพการจ้างที่เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้องเท่านั้น
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 20 ที่ห้ามนายจ้างทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง หมายถึงเฉพาะข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้องเท่านั้น นายจ้างจึงทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างที่เข้าทำงานใหม่โดยตกลงจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างสัปดาห์ละ 1 ครั้ง แทนการจ่ายเดือนละ 1 ครั้ง ที่มิใช่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีแรงงาน: ผลของการรับสภาพหนี้และการสะดุดหยุดของอายุความ
จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เข้าทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของ ส. โดยยอมร่วมรับผิดกับ ส. จำเลยที่ 4 ในฐานะสามีของจำเลยที่ 3 ได้ยินยอมให้จำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันและยอมรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 3 ส. ลูกจ้างโจทก์ได้ยักยอกเงินของโจทก์ และทำหนังสือรับสภาพหนี้กำหนดว่าจะชำระเงินให้แก่โจทก์งวดแรกในวันที่ 5 สิงหาคม 2537 ดังนี้ ความรับผิดของ ส. เป็นความรับผิดตามสัญญาจ้างแรงงานซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 กำหนดเวลานี้เริ่มนับแต่วันเกิดเหตุทุจริตยักยอกเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2536 แต่เมื่อ ส. ทำหนังสือรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ขอผ่อนชำระเงินคืนแก่โจทก์ งวดแรก 200,000 บาท ในวันที่ 5 สิงหาคม 2537 การรับสภาพหนี้ดังกล่าวมีผลให้อายุความสะดุดหยุดลงโดยระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) และมาตรา 193/15 และอายุความที่สะดุดหยุดลงนี้ย่อมมีผลเป็นโทษแก่จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 692 กรณีหาใช่การรับสภาพความรับผิดตามมาตรา 193/35 ซึ่งมีอายุความ 2 ปี ไม่ เมื่อต่อมาปรากฏว่า ส. ไม่ชำระเงินงวดแรกให้แก่โจทก์ในวันที่ 5 สิงหาคม 2537 ตามที่รับสภาพหนี้ไว้ เหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงจึงสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว และเริ่มนับหนึ่งตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม 2537 เป็นต้นไป โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 9 เมษายน 2537 เมื่อนับแต่วันที่ 6 สิงหาคม 2537 ซึ่งเป็นวันที่เริ่มนับอายุความใหม่ยังไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพักงานมิใช่การเลิกจ้าง สิทธิในการได้รับค่าชดเชย
คำฟ้องโจทก์เพียงแต่กล่าวอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ มิได้กล่าวอ้างว่าจำเลยสั่งพักงานตามที่อุทธรณ์มา อุทธรณ์โจทก์จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลาง ทั้งไม่ใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 วรรคสอง การเลิกจ้างจะต้องเป็นการที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปโดยเด็ดขาดโดยไม่จ่ายค่าจ้างให้ด้วย ซึ่งทำให้สภาพความเป็นนายจ้างและลูกจ้างสิ้นสุดลง ไม่ใช่เรื่องการให้ลูกจ้างหยุดงานเพียงชั่วคราว ซึ่งสภาพการเป็นนายจ้างและลูกจ้างยังไม่สิ้นสุดลง การที่จำเลยสั่งพักงานโจทก์จึงเป็นการให้โจทก์หยุดงานชั่วคราว มิใช่จำเลยไม่ให้โจทก์ทำงานต่อไปโดยเด็ดขาด จึงไม่เป็นการเลิกจ้างตามมาตรา 118 วรรคสอง จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยแก่โจทก์
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 วรรคสอง การเลิกจ้างจะต้องเป็นการที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปโดยเด็ดขาดโดยไม่จ่ายค่าจ้างให้ด้วย ซึ่งทำให้สภาพความเป็นนายจ้างและลูกจ้างสิ้นสุดลง ไม่ใช่เรื่องการให้ลูกจ้างหยุดงานเพียงชั่วคราว ซึ่งสภาพการเป็นนายจ้างและลูกจ้างยังไม่สิ้นสุดลง การที่จำเลยสั่งพักงานโจทก์จึงเป็นการให้โจทก์หยุดงานชั่วคราว มิใช่จำเลยไม่ให้โจทก์ทำงานต่อไปโดยเด็ดขาด จึงไม่เป็นการเลิกจ้างตามมาตรา 118 วรรคสอง จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งพักงานลูกจ้างที่ไม่ใช่การเลิกจ้าง สิทธิการเรียกร้องค่าชดเชย
โจทก์เคยกระทำผิดวินัยหลายครั้งและจำเลยได้สั่งพักงานโจทก์โดยในระหว่างที่พักงานนั้นจำเลยได้จ่ายค่าจ้างให้โจทก์มาโดยตลอด ต่อมาโจทก์ถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมและส่งฟ้องต่อศาลแขวงสมุทรปราการในข้อหาเล่นการพนันในวันพิจารณาคดีโจทก์ไม่ได้มาทำงาน วันรุ่งขึ้นโจทก์มาทำงาน ฉ. ผู้จัดการทั่วไปของจำเลยจึงได้สั่งพักงานโจทก์ โดยสั่งในลักษณะเดียวกันกับโจทก์เคยกระทำความผิดอื่นมาก่อนทุกครั้ง โดยไม่ได้มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์แต่อย่างใด ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าการที่จำเลยสั่งพักงานโจทก์เป็นการไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.ว่าคุ้มครองแรงงานฯ นั้น เห็นว่า ตามคำฟ้องโจทก์เพียงแต่การกล่าวอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ โดยมิได้กล่าวอ้างว่าจำเลยสั่งพักงานตามที่อุทธรณ์มาแต่อย่างใด อุทธรณ์โจทก์ประการนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลาง ทั้งไม่ใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
โจทก์ไปทำงานในวันรุ่งขึ้น แต่จำเลยปฏิเสธที่จะให้โจทก์เข้าทำงาน โดยสั่งพักงานโจทก์เป็นเวลานานหลายวันโดยไม่ได้จ่ายค่าจ้างให้ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 118 วรรคสอง ระบุว่า "การเลิกจ้างตามมาตรานี้ หมายความว่า การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด..." นั้น มีความหมายว่า เป็นการที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปโดยเด็ดขาดโดยไม่จ่ายค่าจ้างให้ด้วย ซึ่งสภาพความเป็นนายจ้างและลูกจ้างสิ้นสุดลงไม่ใช่เรื่องการให้ลูกจ้างหยุดงานเพียงชั่วคราวซึ่งสภาพการเป็นนายจ้างและลูกจ้างยังไม่สิ้นสุดลง และลูกจ้างยังมีสิทธิได้รับค่าจ้างถ้านายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างให้ระหว่างให้หยุดงานชั่วคราว ลูกจ้างก็มีสิทธิเรียกเอาได้ แม้การพักงานครั้งก่อนหน้านี้โจทก์ได้รับค่าจ้างระหว่างการพักงาน และในการสั่งพักงานครั้งนี้โจทก์ไม่ได้รับค่าจ้างระหว่างพักงาน แต่ก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์เคยทวงถามค่าจ้างระหว่างการพักงานแล้วจำเลยปฏิเสธไม่จ่ายค่าจ้างแต่อย่างใด กลับปรากฏข้อเท็จจริงว่าภายหลังโจทก์แอบมาขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ทำงานในเวลากลางคืน ถือว่าเป็นเจตนาของโจทก์ที่ไม่ประสงค์จะทำงานกับจำเลยต่อไป ดังนี้ การที่จำเลยสั่งพักงานโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยจึงเป็นการให้โจทก์หยุดงานชั่วคราว สภาพการเป็นนายจ้างและลูกจ้างในระหว่างพักงานยังคงมีอยู่ ไม่ใช่เป็นกรณีจำเลยไม่ให้โจทก์ทำงานต่อไปโดยเด็ดขาด การสั่งพักงานโจทก์จึงไม่เป็นการเลิกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 118 วรรคสอง จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยแก่โจทก์
โจทก์ไปทำงานในวันรุ่งขึ้น แต่จำเลยปฏิเสธที่จะให้โจทก์เข้าทำงาน โดยสั่งพักงานโจทก์เป็นเวลานานหลายวันโดยไม่ได้จ่ายค่าจ้างให้ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 118 วรรคสอง ระบุว่า "การเลิกจ้างตามมาตรานี้ หมายความว่า การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด..." นั้น มีความหมายว่า เป็นการที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปโดยเด็ดขาดโดยไม่จ่ายค่าจ้างให้ด้วย ซึ่งสภาพความเป็นนายจ้างและลูกจ้างสิ้นสุดลงไม่ใช่เรื่องการให้ลูกจ้างหยุดงานเพียงชั่วคราวซึ่งสภาพการเป็นนายจ้างและลูกจ้างยังไม่สิ้นสุดลง และลูกจ้างยังมีสิทธิได้รับค่าจ้างถ้านายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างให้ระหว่างให้หยุดงานชั่วคราว ลูกจ้างก็มีสิทธิเรียกเอาได้ แม้การพักงานครั้งก่อนหน้านี้โจทก์ได้รับค่าจ้างระหว่างการพักงาน และในการสั่งพักงานครั้งนี้โจทก์ไม่ได้รับค่าจ้างระหว่างพักงาน แต่ก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์เคยทวงถามค่าจ้างระหว่างการพักงานแล้วจำเลยปฏิเสธไม่จ่ายค่าจ้างแต่อย่างใด กลับปรากฏข้อเท็จจริงว่าภายหลังโจทก์แอบมาขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ทำงานในเวลากลางคืน ถือว่าเป็นเจตนาของโจทก์ที่ไม่ประสงค์จะทำงานกับจำเลยต่อไป ดังนี้ การที่จำเลยสั่งพักงานโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยจึงเป็นการให้โจทก์หยุดงานชั่วคราว สภาพการเป็นนายจ้างและลูกจ้างในระหว่างพักงานยังคงมีอยู่ ไม่ใช่เป็นกรณีจำเลยไม่ให้โจทก์ทำงานต่อไปโดยเด็ดขาด การสั่งพักงานโจทก์จึงไม่เป็นการเลิกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 118 วรรคสอง จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9008/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบาดเจ็บจากการทำงาน: การป้องกันประโยชน์ให้นายจ้างทำให้เกิดความรับผิดชอบ
เนื่องจากมีพนักงานในแผนกที่ ว. สามีโจทก์เป็นหัวหน้ามาถามโจทก์ว่า ว. อยู่ที่ไหน มีงานให้เซ็นชื่อ โจทก์จึงไปตาม ว. ที่นอนอยู่มุมหลังห้องฉีดพลาสติกที่ติดตั้งเครื่องดูดอากาศให้ไปทำงาน ระหว่างที่โจทก์เดินผ่านเครื่องดูดอากาศ เครื่องดูดอากาศได้ดูดแขนโจทก์เข้าไปเป็นเหตุให้มือซ้ายขาด แม้ว่า ว. หลบเข้าไปนอนจนถึงเวลาทำงานแล้วยังไม่ไปทำงาน แต่โจทก์มิได้ไปตามเนื่องจากกลัวว่า ว. จะถูกนายจ้างลงโทษหรือโจทก์จะไปกระทำเรื่องส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวกับการงาน ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า โจทก์ได้รับอันตรายแก่กายเนื่องจากป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้างนั้น ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9006/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างต้องพิจารณาความร้ายแรงของการกระทำ หากเป็นการกระทำที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรง นายจ้างเลิกจ้างไม่ได้
ตามคำร้องผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างอ้างเหตุขอเลิกจ้างผู้คัดค้านซึ่งเป็นลูกจ้างว่าผู้คัดค้านได้กระทำผิดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานตามคู่มือพนักงานอันเป็นความผิดสถานร้ายแรง ข้อ 22 และข้อ 25 ศาลแรงงานกลางย่อมมีอำนาจวินิจฉัยได้ว่าการกระทำดังกล่าวของผู้คัดค้านเป็นความผิดสถานร้ายแรงหรือไม่ การที่ผู้คัดค้านนั่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ภายในห้องทำงานอันเป็นห้องควบคุมเพื่อคอยรับแจ้งเหตุฉุกเฉินของผู้ร้อง ซึ่งห้องดังกล่าวมีโทรศัพท์สื่อสารภายนอกห้องควบคุมได้ตลอด 24 ชั่วโมง และเป็นห้องกระจกสามารถมองจากภายนอกเข้าไปเห็นภายในห้องได้ อีกทั้งมีสัญญาณเตือนภัยให้รู้สึกตัวได้หากมีเหตุผิดปกติของเครื่องจักรอุปกรณ์ต่าง ๆ ดังนั้น การที่ผู้คัดค้านเพียงนั่งฟุบหลับไปแล้วปล่อยให้ อ. ผู้ใต้บังคับบัญชานั่งฟุบหลับไปด้วยกันเช่นนี้ แม้เป็นการผิดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ข้อ 22 และ ข้อ 25 แต่การฟุบหลับดังกล่าวย่อมไม่อาจก่อให้เกิดเหตุขัดข้องหรือความล่าช้าเมื่อมีการแจ้งเหตุฉุกเฉิน ทั้งการปฏิบัติหน้าที่ของผู้คัดค้านก็มิใช่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะพนักงานรักษาความปลอดภัย การฟุบหลับไปบ้างของผู้คัดค้านและ อ. จึงไม่ถึงกับเป็นความผิดในสถานร้ายแรง จึงยังไม่เป็นเหตุสมควรที่ผู้ร้องจะอ้างเป็นเหตุเลิกจ้างผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9006/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างต้องมีเหตุร้ายแรงตามกฎหมาย ไม่ใช่ตามข้อบังคับบริษัท
ผู้ร้องอ้างเหตุในคำร้องขอเลิกจ้างผู้คัดค้านว่า ผู้คัดค้านกระทำผิดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานสถานร้ายแรง การที่ศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยต่อเนื่องกันไปว่าการกระทำดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นความผิดร้ายแรงอันเป็นเหตุให้ผู้ร้องไม่สามารถเลิกจ้างผู้คัดค้านได้ จึงชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 51 แล้ว
การกระทำความผิดสถานร้ายแรงอันจะนำมาเป็นเหตุเลิกจ้างลูกจ้างของนายจ้างได้ต้องเป็นการกระทำที่เป็นความผิดอันถือว่าร้ายแรงตามกฎหมาย ไม่ใช่ถือเอาตามที่เขียนไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
ผู้คัดค้านกับ อ. ปฏิบัติหน้าที่ในห้องควบคุมเพื่อคอยรับแจ้งเหตุฉุกเฉินซึ่งห้องดังกล่าวเป็นห้องกระจกสามารถมองจากภายนอกเข้าไปเห็นภายในห้องได้ มีโทรศัพท์สื่อสารภายนอกห้องควบคุมได้ตลอดเวลา และมีสัญญาณเตือนภัยให้รู้สึกตัวได้หากมีเหตุผิดปกติของเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ การที่ผู้คัดค้านกับ อ. ซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาฟุบหลับไปด้วยกัน แม้จะผิดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน แต่ไม่อาจเป็นเหตุขัดข้องหรือก่อความล่าช้าเมื่อมีการแจ้งเหตุฉุกเฉิน จึงไม่ถึงกับเป็นความผิดในสถานร้ายแรงที่ผู้ร้องจะอ้างเป็นเหตุเลิกจ้างผู้คัดค้านได้
การกระทำความผิดสถานร้ายแรงอันจะนำมาเป็นเหตุเลิกจ้างลูกจ้างของนายจ้างได้ต้องเป็นการกระทำที่เป็นความผิดอันถือว่าร้ายแรงตามกฎหมาย ไม่ใช่ถือเอาตามที่เขียนไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
ผู้คัดค้านกับ อ. ปฏิบัติหน้าที่ในห้องควบคุมเพื่อคอยรับแจ้งเหตุฉุกเฉินซึ่งห้องดังกล่าวเป็นห้องกระจกสามารถมองจากภายนอกเข้าไปเห็นภายในห้องได้ มีโทรศัพท์สื่อสารภายนอกห้องควบคุมได้ตลอดเวลา และมีสัญญาณเตือนภัยให้รู้สึกตัวได้หากมีเหตุผิดปกติของเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ การที่ผู้คัดค้านกับ อ. ซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาฟุบหลับไปด้วยกัน แม้จะผิดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน แต่ไม่อาจเป็นเหตุขัดข้องหรือก่อความล่าช้าเมื่อมีการแจ้งเหตุฉุกเฉิน จึงไม่ถึงกับเป็นความผิดในสถานร้ายแรงที่ผู้ร้องจะอ้างเป็นเหตุเลิกจ้างผู้คัดค้านได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8247/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลต้องพิจารณาเหตุจำเป็นที่จำเลย/ทนายขอเลื่อนคดีก่อนสั่งขาดนัด หากไม่พิจารณาคำสั่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ทนายจำเลยได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีไว้ก่อนถึงวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ เป็นการแจ้งให้ศาลแรงงานกลางทราบถึงเหตุที่ทนายจำเลยไม่อาจมาศาลตามกำหนดนัด ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 40 วรรคสามแล้ว ไม่ว่าเหตุตามคำร้องนั้นจะมีเหตุสมควรหรือไม่ก็ตาม ศาลแรงงานกลางชอบที่จะสั่งคำร้องขอเลื่อนคดีเสียก่อน แต่ศาลแรงงานกลางมิได้สั่ง กลับสั่งว่าทนายจำเลยและจำเลยไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าว
หลังจากวันนัดพิจารณา จำเลยยื่นคำร้องแถลงให้ศาลแรงงานกลางทราบถึงความจำเป็นที่จำเลยไม่อาจมาศาลตามกำหนดได้ จึงเป็นการยื่นคำแถลงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 41 ศาลแรงงานกลางชอบที่จะพิจารณาถึงเหตุแห่งความจำเป็นที่จำเลยแจ้ง แต่หาได้กระทำไม่ กลับมีคำสั่งว่าจำเลยทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาล จำเลยขาดนัดโดยจงใจให้ยกคำร้อง จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงถือได้ว่าเป็นการที่ศาลแรงงานกลางมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
หลังจากวันนัดพิจารณา จำเลยยื่นคำร้องแถลงให้ศาลแรงงานกลางทราบถึงความจำเป็นที่จำเลยไม่อาจมาศาลตามกำหนดได้ จึงเป็นการยื่นคำแถลงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 41 ศาลแรงงานกลางชอบที่จะพิจารณาถึงเหตุแห่งความจำเป็นที่จำเลยแจ้ง แต่หาได้กระทำไม่ กลับมีคำสั่งว่าจำเลยทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาล จำเลยขาดนัดโดยจงใจให้ยกคำร้อง จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงถือได้ว่าเป็นการที่ศาลแรงงานกลางมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31