พบผลลัพธ์ทั้งหมด 733 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4532/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างแรงงานไม่ระงับด้วยการตายของนายจ้าง หากหน่วยงานยังดำเนินอยู่ และอำนาจฟ้องเกิดขึ้นเมื่อมีการยุบหน่วยงาน
ว. จ้างโจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างในหน่วยวิคตอรี่ของบริษัท อ. แม้ต่อมา ว. จะถึงแก่ความตาย แต่หน่วยวิคตอรี่ก็ยังคงสามารถดำรงอยู่และบริการลูกค้าของบริษัท อ. ต่อไปได้โดยมิได้ยุบไปในทันทีที่ ว. ถึงแก่ความตาย สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับ ว. จึงหามีสาระสำคัญอยู่ที่ตัว ว. ผู้เป็นนายจ้างไม่ แม้ ว. จะถึงแก่ความตาย สัญญาจ้างแรงงานดังกล่าวก็ไม่ระงับสิ้นไป
สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับ ว. ระบุว่า "ข้าพเจ้า (นาย ว.) ในฐานะนายจ้างยินดีจ่ายเงินสะสมในบัญชีของข้าพเจ้า บัญชีฝากประจำธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาสุรวงศ์ บัญชีเลขที่ 125 - 2 - 10103 - 8 ให้แก่ ส. (โจทก์) ในฐานะลูกจ้างครึ่งหนึ่ง เมื่อข้าพเจ้ามีความประสงค์ยุบหน่วยวิคตอรี่และหรือเมื่อข้าพเจ้าถึงแก่กรรม ขอมอบให้ ส. (โจทก์) มีสิทธิยุบหน่วยวิคตอรี่ตามที่เห็นสมควร" ดังนั้น สิทธิของโจทก์ที่จะพึงได้รับเงินสะสมจากบัญชีเงินฝากดังกล่าวของ ว. ครึ่งหนึ่งก็ต่อเมื่อมีการยุบหน่วยวิคตอรี่แล้ว เมื่อโจทก์ฟ้องทายาทโดยธรรมของ ว. ให้แบ่งเงินฝากของ ว. ก่อนที่จะมีการยุบหน่วยวิคตอรี่ ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โจทก์จึงยังไม่ถูกโต้แย้งสิทธิที่จะเรียกร้องเงินดังกล่าว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับ ว. ระบุว่า "ข้าพเจ้า (นาย ว.) ในฐานะนายจ้างยินดีจ่ายเงินสะสมในบัญชีของข้าพเจ้า บัญชีฝากประจำธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาสุรวงศ์ บัญชีเลขที่ 125 - 2 - 10103 - 8 ให้แก่ ส. (โจทก์) ในฐานะลูกจ้างครึ่งหนึ่ง เมื่อข้าพเจ้ามีความประสงค์ยุบหน่วยวิคตอรี่และหรือเมื่อข้าพเจ้าถึงแก่กรรม ขอมอบให้ ส. (โจทก์) มีสิทธิยุบหน่วยวิคตอรี่ตามที่เห็นสมควร" ดังนั้น สิทธิของโจทก์ที่จะพึงได้รับเงินสะสมจากบัญชีเงินฝากดังกล่าวของ ว. ครึ่งหนึ่งก็ต่อเมื่อมีการยุบหน่วยวิคตอรี่แล้ว เมื่อโจทก์ฟ้องทายาทโดยธรรมของ ว. ให้แบ่งเงินฝากของ ว. ก่อนที่จะมีการยุบหน่วยวิคตอรี่ ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โจทก์จึงยังไม่ถูกโต้แย้งสิทธิที่จะเรียกร้องเงินดังกล่าว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4532/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องเงินสะสมจากสัญญาจ้างแรงงานหลังนายจ้างเสียชีวิต สิทธิเกิดขึ้นเมื่อยุบหน่วยงาน
ว. จ้างโจทก์ให้ทำงานในหน่วยวิคตอรี่ของบริษัท อ. โดยโจทก์ได้รับค่าจ้างเดือนละ 10,000 บาท ตามสัญญาจ้างงานมีข้อความว่า เมื่อ ว. ถึงแก่ความตายขอมอบให้โจทก์มีสิทธิยุบหน่วยวิคตอรี่ตามที่เห็นสมควร ทั้งบริษัท อ. ยังคงให้สิทธิแก่ทายาทโดยธรรมของ ว. ที่จะเข้ารับช่วงบริหารงานในหน่วยวิคตอรี่ต่อไปในกรณีที่ ว. ซึ่งเป็นหัวหน้าหน่วยวิคตอรี่ถึงแก่ความตาย ภายหลังจาก ว. ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2543 จำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมของ ว. ได้มีหนังสือขอให้ทางบริษัท อ. จัดสรรเงินเดือนของโจทก์ตั้งแต่เดือนมกราคม 2543 ถึงเดือนมกราคม 2545 รวม 25 เดือน เป็นเงิน 250,000 บาท และเงินเดือนประจำทุกวันสิ้นเดือน 10,000 บาท ให้แก่โจทก์ แม้ ว. จะถึงแก่ความตาย หน่วยวิคตอรี่ก็ยังคงสามารถดำรงอยู่และบริการลูกค้าของบริษัท อ. ต่อไปได้ มิใช่ว่าต้องยุบไปในทันทีที่ ว. ถึงแก่ความตาย สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับ ว. จึงหามีสาระสำคัญอยู่ที่ตัว ว. ผู้เป็นนายจ้างไม่ แม้ ว. จะถึงแก่ความตายก็ไม่ระงับสิ้นไป
ตามสัญญาจ้างงานระบุว่า "ข้าพเจ้า ว. ในฐานะนายจ้างยินดีจ่ายเงินสะสมในบัญชีของข้าพเจ้า ให้แก่ พ. (โจทก์) ในฐานะลูกจ้างครึ่งหนึ่ง เมื่อข้าพเจ้ามีความประสงค์ยุบหน่วยวิคตอรี่และหรือเมื่อข้าพเจ้าถึงแก่กรรมขอมอบให้ พ. มีสิทธิยุบหน่วยวิคตอรี่ตามที่เห็นสมควร" ตามข้อสัญญาดังกล่าว สิทธิของโจทก์ที่จะพึงได้รับเงินสะสมจากบัญชีเงินฝากดังกล่าวครึ่งหนึ่งก็ต่อเมื่อมีการยุบหน่วยวิคตอรี่แล้วนั่นเอง เมื่อบริษัท อ. สั่งให้ยุบหน่วยวิคตอรี่ลงตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2545 เป็นต้นไป แต่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมของ ว. แบ่งเงินฝากของ ว. เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2545 ก่อนที่จะมีการยุบหน่วยวิคตอรี่ขณะที่โจทก์ฟ้องโจทก์จึงยังไม่ถูกโต้แย้งสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยมอบผลประโยชน์เงินสะสมตามสัญญาจ้างงาน
ตามสัญญาจ้างงานระบุว่า "ข้าพเจ้า ว. ในฐานะนายจ้างยินดีจ่ายเงินสะสมในบัญชีของข้าพเจ้า ให้แก่ พ. (โจทก์) ในฐานะลูกจ้างครึ่งหนึ่ง เมื่อข้าพเจ้ามีความประสงค์ยุบหน่วยวิคตอรี่และหรือเมื่อข้าพเจ้าถึงแก่กรรมขอมอบให้ พ. มีสิทธิยุบหน่วยวิคตอรี่ตามที่เห็นสมควร" ตามข้อสัญญาดังกล่าว สิทธิของโจทก์ที่จะพึงได้รับเงินสะสมจากบัญชีเงินฝากดังกล่าวครึ่งหนึ่งก็ต่อเมื่อมีการยุบหน่วยวิคตอรี่แล้วนั่นเอง เมื่อบริษัท อ. สั่งให้ยุบหน่วยวิคตอรี่ลงตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2545 เป็นต้นไป แต่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมของ ว. แบ่งเงินฝากของ ว. เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2545 ก่อนที่จะมีการยุบหน่วยวิคตอรี่ขณะที่โจทก์ฟ้องโจทก์จึงยังไม่ถูกโต้แย้งสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยมอบผลประโยชน์เงินสะสมตามสัญญาจ้างงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4362/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ศาลพิพากษาให้รับกลับเข้าทำงานและชดใช้ค่าเสียหายได้ แม้ไม่ได้ทำงานในช่วงเวลาที่ถูกเลิกจ้าง
จำเลยมีคำสั่งปลดโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างออกจากงาน ถือว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว การที่โจทก์ใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยต่อคณะกรรมการการสื่อสารแห่งประเทศไทยและคณะกรรมการ ฯ ยังมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ ก็ไม่เป็นข้อจำกัดสิทธิมิให้โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาล
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ให้อำนาจศาลแรงงานพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานหรือชดใช้ค่าเสียหายตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้เท่านั้น จะพิพากษาให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายในระหว่างลูกจ้างถูกพักงานและถูกเลิกจ้างจนถึงเวลาที่นายจ้างรับกลับเข้าทำงานไม่ได้ แต่การที่โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวเป็นขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามสัญญาจ้างแรงงานตาม ป.พ.พ. มาตรา 575 เมื่อจำเลยผิดสัญญาจ้างแรงงานโดยเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรมเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายที่ไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้าง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าเสียหายดังกล่าวจากจำเลยแม้โจทก์จะไม่ได้ทำงานให้เลย
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ให้อำนาจศาลแรงงานพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานหรือชดใช้ค่าเสียหายตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้เท่านั้น จะพิพากษาให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายในระหว่างลูกจ้างถูกพักงานและถูกเลิกจ้างจนถึงเวลาที่นายจ้างรับกลับเข้าทำงานไม่ได้ แต่การที่โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวเป็นขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามสัญญาจ้างแรงงานตาม ป.พ.พ. มาตรา 575 เมื่อจำเลยผิดสัญญาจ้างแรงงานโดยเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรมเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายที่ไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้าง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าเสียหายดังกล่าวจากจำเลยแม้โจทก์จะไม่ได้ทำงานให้เลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4362/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแรงงานและการชดใช้ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
จำเลยมีคำสั่งปลดโจทก์ออกจากงานโดยให้มีผลนับแต่วันที่ 16 มีนาคม 2542 ถือได้ว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว การที่โจทก์ใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยต่อคณะกรรมการการสื่อสารแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการฯ ยังมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ ก็หามีข้อจำกัดสิทธิมิให้โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลไม่ จึงถือว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องชอบด้วยกฎหมายแล้ว
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ให้อำนาจศาลแรงงานพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานหรือชดใช้ค่าเสียหายตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้เท่านั้น จะพิพากษาให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายในระหว่างลูกจ้างถูกพักงานและถูกเลิกจ้างจนถึงเวลาที่นายจ้างรับกลับเข้าทำงานไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตาม การที่โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวเป็นการขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามสัญญาจ้างแรงงานตาม ป.พ.พ. มาตรา 575 เมื่อจำเลยผิดสัญญาจ้างแรงงานโดยเลิกจ้างโจทก์อย่างไม่เป็นธรรม เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายที่ไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้าง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าเสียหายดังกล่าวจากจำเลยแม้โจทก์จะไม่ได้ทำงานให้จำเลยก็ตาม
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ให้อำนาจศาลแรงงานพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานหรือชดใช้ค่าเสียหายตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้เท่านั้น จะพิพากษาให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายในระหว่างลูกจ้างถูกพักงานและถูกเลิกจ้างจนถึงเวลาที่นายจ้างรับกลับเข้าทำงานไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตาม การที่โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวเป็นการขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามสัญญาจ้างแรงงานตาม ป.พ.พ. มาตรา 575 เมื่อจำเลยผิดสัญญาจ้างแรงงานโดยเลิกจ้างโจทก์อย่างไม่เป็นธรรม เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายที่ไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้าง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าเสียหายดังกล่าวจากจำเลยแม้โจทก์จะไม่ได้ทำงานให้จำเลยก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3531/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการอุทธรณ์ต้องอยู่ในประเด็นที่ท้ากัน, การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุชอบด้วยกฎหมาย
คู่ความท้ากันให้ศาลแรงงานวินิจฉัยเฉพาะข้อบังคับของการรถไฟแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 3.5 ว่าจำเลยมีอำนาจลงโทษโจทก์ตามข้อบังคับดังกล่าวหรือไม่ และศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า จำเลยไม่มีสิทธิไล่โจทก์ออกจากงานและต้องแพ้คดีโจทก์ไปตามคำท้า ดังนั้นการที่จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยมีสิทธิไล่โจทก์ออกจากงานได้แม้โจทก์จะพ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐไปแล้วก็ดี จำเลยสั่งให้โจทก์ออกจากงานด้วยเกษียณอายุเพราะสำคัญผิดก็ดี ล้วนเป็นเรื่องที่อยู่นอกเหนือคำท้าทั้งสิ้น จึงเป็นอุทธรณ์ในเรื่องนอกประเด็น ถือว่าเป็นเรื่องที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลาง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
จำเลยให้โจทก์ออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุ มิได้สั่งให้โจทก์ออกจากงานไว้ก่อนเพื่อรอผลการสอบสวนพิจารณาตามข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 3.5 ข้อ 6 ทวิ การที่จำเลยให้โจทก์ออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุถือเป็นการเลิกจ้าง สัญญาจ้างแรงงานจึงสิ้นสุดทันที และการแสดงเจตนาเลิกสัญญานี้ไม่อาจถอนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 386 วรรคสอง ประกอบกับข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 3.5 ก็มิได้ให้อำนาจจำเลยที่จะสั่งลงโทษไล่ออกแก่ผู้ที่พ้นจากการเป็นเจ้าพนักงานไปแล้วได้ จำเลยจึงไม่อาจสั่งลงโทษโจทก์ซึ่งพ้นจากการเป็นเจ้าพนักงานของจำเลยไปแล้วให้ออกจากงานได้
จำเลยให้โจทก์ออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุ มิได้สั่งให้โจทก์ออกจากงานไว้ก่อนเพื่อรอผลการสอบสวนพิจารณาตามข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 3.5 ข้อ 6 ทวิ การที่จำเลยให้โจทก์ออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุถือเป็นการเลิกจ้าง สัญญาจ้างแรงงานจึงสิ้นสุดทันที และการแสดงเจตนาเลิกสัญญานี้ไม่อาจถอนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 386 วรรคสอง ประกอบกับข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 3.5 ก็มิได้ให้อำนาจจำเลยที่จะสั่งลงโทษไล่ออกแก่ผู้ที่พ้นจากการเป็นเจ้าพนักงานไปแล้วได้ จำเลยจึงไม่อาจสั่งลงโทษโจทก์ซึ่งพ้นจากการเป็นเจ้าพนักงานของจำเลยไปแล้วให้ออกจากงานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3531/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเพราะเกษียณอายุ ไม่สามารถนำข้อบังคับมาลงโทษไล่ออกได้ ศาลยืนตามคำท้า
โจทก์และจำเลยท้ากันให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยเฉพาะข้อบังคับของการรถไฟแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 3.5 ว่าจำเลยมีอำนาจลงโทษโจทก์หรือไม่ ศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยว่า จำเลยไม่มีสิทธิไล่โจทก์ออกจากงานตามข้อบังคับและต้องแพ้คดีโจทก์ไปตามคำท้า ดังนั้นการที่จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยมีสิทธิไล่โจทก์ออกจากงานได้แม้โจทก์จะพ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่รัฐไปแล้ว เพราะโจทก์ต้องอยู่ภายใต้บังคับ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงการราชการ พ.ศ.2518 ก็ดี ที่ว่าจำเลยสั่งให้โจทก์ออกจากงานด้วยเหตุเกษียณอายุเป็นเพราะจำเลยไม่ทราบว่า โจทก์ถูกคณะกรรมการ ป.ป.ป. สอบสวน จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์เพราะสำคัญผิดก็ดี ล้วนเป็นเรื่องที่อยู่นอกเหนือคำท้าทั้งสิ้น ถือว่าเป็นเรื่องที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
จำเลยให้โจทก์ออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุ มิได้สั่งให้โจทก์ออกจากงานไว้ก่อนเพื่อรอผลการสอบสวนพิจารณาตามข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 3.5 ข้อ 6 ทวิ การที่จำเลยให้โจทก์ออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุถือเป็นการเลิกจ้าง สัญญาจ้างแรงงานจึงสิ้นสุดทันที และการแสดงเจตนาเลิกสัญญานี้ไม่อาจถอนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 386 วรรคสอง ประกอบกับข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 3.5 ก็มิได้ให้อำนาจจำเลยที่จะสั่งลงโทษไล่ออกแก่ผู้ที่พ้นจากการเป็นเจ้าพนักงานไปแล้วได้ จำเลยจึงไม่อาจสั่งลงโทษโจทก์ซึ่งพ้นจากการเป็นพนักงานของจำเลยไปแล้วให้ออกจากงานได้
จำเลยแพ้คดีตามคำท้าและค่าเสียหายเป็นเงินที่โจทก์เรียกร้องมาในคำฟ้อง ศาลแรงงานกลางชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินค่าเสียหายตามคำฟ้องของโจทก์ได้
จำเลยให้โจทก์ออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุ มิได้สั่งให้โจทก์ออกจากงานไว้ก่อนเพื่อรอผลการสอบสวนพิจารณาตามข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 3.5 ข้อ 6 ทวิ การที่จำเลยให้โจทก์ออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุถือเป็นการเลิกจ้าง สัญญาจ้างแรงงานจึงสิ้นสุดทันที และการแสดงเจตนาเลิกสัญญานี้ไม่อาจถอนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 386 วรรคสอง ประกอบกับข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 3.5 ก็มิได้ให้อำนาจจำเลยที่จะสั่งลงโทษไล่ออกแก่ผู้ที่พ้นจากการเป็นเจ้าพนักงานไปแล้วได้ จำเลยจึงไม่อาจสั่งลงโทษโจทก์ซึ่งพ้นจากการเป็นพนักงานของจำเลยไปแล้วให้ออกจากงานได้
จำเลยแพ้คดีตามคำท้าและค่าเสียหายเป็นเงินที่โจทก์เรียกร้องมาในคำฟ้อง ศาลแรงงานกลางชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินค่าเสียหายตามคำฟ้องของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3368/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกร้องเงินบำเหน็จ, ค่าจ้างวันหยุดพักผ่อน, และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า: กรอบระยะเวลาและเงื่อนไขการผิดนัด
ตามระเบียบข้อบังคับของนายจ้างกำหนดให้พนักงานมีหนังสือขอรับเงินบำเหน็จจากนายจ้างภายใน 6 เดือน นับแต่วันออกจากงาน แต่ระเบียบข้อบังคับดังกล่าวมิได้มีข้อจำกัดตัดสิทธิพนักงานที่ไม่ทำหนังสือแสดงความประสงค์ขอรับเงินบำเหน็จภายในกำหนด การที่โจทก์ทำหนังสือเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินบำเหน็จเมื่อพ้นกำหนด 6 เดือน จำเลยไม่ชำระ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์ย่อมเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินบำเหน็จแก่โจทก์ได้
ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45 เป็นสินจ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (9) มีอายุความ 2 ปี หาใช่ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 ไม่
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เงินค้ำประกันการทำงาน และเงินบำเหน็จ มิใช่เงินที่จะต้องจ่ายทันทีเมื่อมีการเลิกจ้างเช่นเดียวกับค่าชดเชยซึ่งเป็นผลตามกฎหมายอันเกิดสิทธิบังคับให้ชำระหนี้ทันที แต่ผู้มีสิทธิในเงินดังกล่าวจะต้องทวงถามก่อน เมื่อไม่ชำระจึงตกเป็นผู้ผิดนัดเมื่อทวงถาม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคหนึ่ง หาใช่นับแต่วันเลิกจ้างไม่
ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45 เป็นสินจ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (9) มีอายุความ 2 ปี หาใช่ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 ไม่
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เงินค้ำประกันการทำงาน และเงินบำเหน็จ มิใช่เงินที่จะต้องจ่ายทันทีเมื่อมีการเลิกจ้างเช่นเดียวกับค่าชดเชยซึ่งเป็นผลตามกฎหมายอันเกิดสิทธิบังคับให้ชำระหนี้ทันที แต่ผู้มีสิทธิในเงินดังกล่าวจะต้องทวงถามก่อน เมื่อไม่ชำระจึงตกเป็นผู้ผิดนัดเมื่อทวงถาม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคหนึ่ง หาใช่นับแต่วันเลิกจ้างไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3366/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างรัฐวิสาหกิจฐานทุจริตหน้าที่ ศาลยืนตามคำสั่งเลิกจ้าง ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ขณะที่ ล. พนักงานทำความสะอาดภายในเครื่องบินจัดกระเป๋าหลังเก้าอี้ที่นั่งผู้โดยสารพบเครื่องเล่นซีดีที่ผู้โดยสารลืมทิ้งไว้ แต่ไม่ได้แจ้งส่งคืนตามระเบียบ แม้ถูกทวงถามก็ไม่ยอมบอกกล่าวแก่ผู้ค้นหา กลับนำเครื่องเล่นซีดีไปซุกซ่อนไว้ในถุงเก็บขยะที่ตนเป็นผู้ครอบครองดูแลอยู่ พฤติการณ์เช่นนี้เป็นการไม่ซื่อตรงต่อหน้าที่โดยมีเจตนาจะนำเครื่องเล่นซีดีดังกล่าวเก็บซุกซ่อนแล้วนำไปเป็นประโยชน์ส่วนตนต่อไป การกระทำของ ล. จึงเป็นการกระทำทุจริตต่อหน้าที่อันเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มีโทษถึงขั้นไล่ออก การที่โจทก์เลิกจ้าง ล. จึงมิใช่การกระทำอันไม่เป็นธรรมตามมาตรา 37 โจทก์มีอำนาจเลิกจ้าง ล. ได้ตามมาตรา 37 (1) แห่ง พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ
คดีนี้ศาลแรงงานกลางได้มีคำพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ที่ 5/2546 ลงวันที่ 6 สิงหาคม 2546 และให้โจทก์เลิกจ้าง ล. ตามที่โจทก์ได้มีคำสั่งเลิกจ้างไว้แล้ว ผลแห่งคดีคือโจทก์ชนะคดีนี้ เพราะฉะนั้นข้ออุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า ตามคำร้องของ ล. ที่ยื่นต่อจำเลยทั้งสิบห้านั้นไม่เข้าข่ายมาตรา 37 และ ล. ไม่ใช่สมาชิกของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทยซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง ล. จึงไม่ใช่ผู้เสียหายอันจะยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์จำเลยได้ คณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ย่อมไม่มีอำนาจรับคำร้องของ ล. ไว้พิจารณา ถึงแม้จะวินิจฉัยไปก็ไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลง จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
คดีนี้ศาลแรงงานกลางได้มีคำพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ที่ 5/2546 ลงวันที่ 6 สิงหาคม 2546 และให้โจทก์เลิกจ้าง ล. ตามที่โจทก์ได้มีคำสั่งเลิกจ้างไว้แล้ว ผลแห่งคดีคือโจทก์ชนะคดีนี้ เพราะฉะนั้นข้ออุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า ตามคำร้องของ ล. ที่ยื่นต่อจำเลยทั้งสิบห้านั้นไม่เข้าข่ายมาตรา 37 และ ล. ไม่ใช่สมาชิกของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทยซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง ล. จึงไม่ใช่ผู้เสียหายอันจะยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์จำเลยได้ คณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ย่อมไม่มีอำนาจรับคำร้องของ ล. ไว้พิจารณา ถึงแม้จะวินิจฉัยไปก็ไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลง จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3365/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงาน: การวินิจฉัยอำนาจพิจารณาคดีแรงงานต้องโดยอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลาง
คดีนี้จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานภาค 9 เพราะมูลคดีตามฟ้องมิได้เป็นกรณีที่จำเลยประพฤติผิดสัญญาจ้างดังฟ้อง คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงสงขลา เท่ากับจำเลยให้การต่อสู้คดีว่าศาลแรงงานภาค 9 ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ กรณีจึงเกิดปัญหาขึ้นในศาลแรงงานภาค 9 ว่า คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานภาค 9 หรือไม่ ชอบที่ศาลแรงงานภาค 9 จะต้องส่งสำนวนให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางเป็นผู้วินิจฉัยก่อนว่า คดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานภาค 9 หรือไม่ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 9 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3283/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความของสิทธิเรียกร้องจากการซื้อขายและการอายัดทรัพย์เพื่อบังคับคดี การสะดุดหยุดของอายุความ
โจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยในค่าสินค้างวดที่ค้างชำระที่มีอยู่ต่อผู้คัดค้านแทนจำเลย เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2540 ซึ่งยังอยู่ภายในกำหนดเวลา 2 ปี นับแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2540 อันเป็นวันที่จำเลยมีสิทธิเรียกร้องเอาเงินค่าสินค้าส่วนที่เหลือ ย่อมมีผลให้อายุความสะดุดหยุดลงนับแต่นั้นเป็นต้นมา
ศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษาวันที่ 20 ตุลาคม 2541 ให้โจทก์ชนะคดี คำสั่งอายัดชั่วคราวที่สั่งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2540 ย่อมมีผลใช้บังคับต่อไปเท่าที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 260 (2) และโจทก์ก็ได้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินค่าสินค้าแก่ผู้คัดค้านแล้วเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2542 ซึ่งยังไม่พ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่ 6 สิงหาคม 2540 สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1)
สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่มีแก่ผู้คัดค้านคือค่าสินค้างวดที่ 3 จำนวนร้อยละ 10 ของราคา เมื่อคำนวณเป็นจำนวนเท่าไรหากไม่ถึงจำนวนที่อายัด ผู้คัดค้านก็รับผิดไม่เกินจำนวนดังกล่าว ดังนั้น แม้เดิมโจทก์ขออายัดชั่วคราวเป็นเงิน 760,000 บาท ต่อมาเจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งอายัดเป็นเงิน 954,810 บาท โดยนำยอดหนี้ของจำเลยทั้งหมดรวมอยู่ด้วย ก็ไม่เป็นเหตุให้คำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษาวันที่ 20 ตุลาคม 2541 ให้โจทก์ชนะคดี คำสั่งอายัดชั่วคราวที่สั่งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2540 ย่อมมีผลใช้บังคับต่อไปเท่าที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 260 (2) และโจทก์ก็ได้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินค่าสินค้าแก่ผู้คัดค้านแล้วเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2542 ซึ่งยังไม่พ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่ 6 สิงหาคม 2540 สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1)
สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่มีแก่ผู้คัดค้านคือค่าสินค้างวดที่ 3 จำนวนร้อยละ 10 ของราคา เมื่อคำนวณเป็นจำนวนเท่าไรหากไม่ถึงจำนวนที่อายัด ผู้คัดค้านก็รับผิดไม่เกินจำนวนดังกล่าว ดังนั้น แม้เดิมโจทก์ขออายัดชั่วคราวเป็นเงิน 760,000 บาท ต่อมาเจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งอายัดเป็นเงิน 954,810 บาท โดยนำยอดหนี้ของจำเลยทั้งหมดรวมอยู่ด้วย ก็ไม่เป็นเหตุให้คำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ชอบด้วยกฎหมาย