คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 733 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3283/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความของสิทธิเรียกร้องจากการซื้อขายและการอายัดทรัพย์เพื่อบังคับคดี การสะดุดหยุดของอายุความ
โจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยในค่าสินค้างวดที่ค้างชำระที่มีอยู่ต่อผู้คัดค้านแทนจำเลย เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2540 ซึ่งยังอยู่ภายในกำหนดเวลา 2 ปี นับแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2540 อันเป็นวันที่จำเลยมีสิทธิเรียกร้องเอาเงินค่าสินค้าส่วนที่เหลือ ย่อมมีผลให้อายุความสะดุดหยุดลงนับแต่นั้นเป็นต้นมา
ศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษาวันที่ 20 ตุลาคม 2541 ให้โจทก์ชนะคดี คำสั่งอายัดชั่วคราวที่สั่งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2540 ย่อมมีผลใช้บังคับต่อไปเท่าที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 260 (2) และโจทก์ก็ได้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินค่าสินค้าแก่ผู้คัดค้านแล้วเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2542 ซึ่งยังไม่พ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่ 6 สิงหาคม 2540 สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1)
สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่มีแก่ผู้คัดค้านคือค่าสินค้างวดที่ 3 จำนวนร้อยละ 10 ของราคา เมื่อคำนวณเป็นจำนวนเท่าไรหากไม่ถึงจำนวนที่อายัด ผู้คัดค้านก็รับผิดไม่เกินจำนวนดังกล่าว ดังนั้น แม้เดิมโจทก์ขออายัดชั่วคราวเป็นเงิน 760,000 บาท ต่อมาเจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งอายัดเป็นเงิน 954,810 บาท โดยนำยอดหนี้ของจำเลยทั้งหมดรวมอยู่ด้วย ก็ไม่เป็นเหตุให้คำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3168/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การกระทำผิดระเบียบบริษัทเป็นเหตุเลิกจ้างได้ อุทธรณ์เรื่องกระบวนการสอบสวนไม่กระทบผลคำพิพากษา
โจทก์กับพวกพาผู้หญิงไทยสองคนซึ่งใช้หนังสือเดินทางของบุคคลอื่นเพื่อเข้าประเทศญี่ปุ่น แต่เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองญี่ปุ่นไม่อนุญาตให้โจทก์กับ ส. และผู้หญิงไทยทั้งสองคนเข้าประเทศญี่ปุ่น เป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนระเบียบบริหารงานบุคคลของบริษัทจำเลยว่าด้วยการบริหารงานบุคคล การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต่อโจทก์ ดังนั้น ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าการเลิกจ้างดังกล่าวคณะกรรมการสอบสวนความผิดทางวินัยมิได้ดำเนินการสอบสวนให้แล้วเสร็จและรายงานผลการสอบสวนต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อพิจารณาวินิจฉัยและสั่งการต่อไปภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ประธานกรรมการสอบสวนได้รับทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน หรือมิได้ขอขยายเวลาสอบสวนตามระเบียบบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ว่าด้วยการบริหารงานบุคคลข้อ 17.4 หรือคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มิได้ดำเนินการพิจารณาและ/หรือสอบสวนและพิจารณาให้แล้วเสร็จ แล้วรายงานต่อกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ภายใน 45 วัน นับแต่วันที่ประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้รับอุทธรณ์และมิได้ขออนุมัติขยายระยะเวลาพิจารณาตามระเบียบดังกล่าวข้อ 24.3 ก็ย่อมไม่มีผลทำให้คำวินิจฉัยในเรื่องการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ เปลี่ยนแปลงไปอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3167/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยไม่ติดใจสืบพยาน ศาลพิพากษาตามพยานโจทก์ ไม่ใช่ขาดนัดพิจารณา จึงขอพิจารณาคดีใหม่ไม่ได้
ข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์เป็นฝ่ายนำสืบพยานก่อน เมื่อสืบพยานโจทก์เสร็จ ศาลแรงงานกลางได้เลื่อนไปสืบพยานจำเลยนัดหน้า เมื่อถึงกำหนดนัด ทนายโจทก์มาศาล ส่วนจำเลยทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องและไม่มีพยานจำเลยมาศาล ศาลแรงงานกลางจึงถือว่าจำเลยไม่ติดใจสืบพยานและมีคำพิพากษาไปในวันดังกล่าว กรณีนี้จึงไม่ใช่กรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดหรือขาดนัดพิจารณาแพ้คดี แต่เป็นกรณีที่ศาลได้พิพากษาชี้ขาดไปตามรูปเรื่องที่ปรากฏในคำฟ้องคำให้การและพยานโจทก์ ดังนี้ จำเลยจึงไม่อาจขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ จำเลยชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3128/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงาน: ต้องส่งเรื่องให้ อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยก่อนหากมีข้อโต้แย้งเรื่องอำนาจศาล
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 9 วรรคสอง บัญญัติว่า ในกรณีมีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ ไม่ว่าจะเกิดปัญหาขึ้นในศาลแรงงานหรือศาลอื่น ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางเป็นผู้วินิจฉัย คำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางให้เป็นที่สุด คดีนี้จำเลยที่ 2 ซึ่งถูกโจทก์ฟ้องให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันการปฏิบัติงานของจำเลยที่ 1 ได้ยกข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การว่าคดีนี้ไม่อยู่ในอำนาจของศาลแรงงานกลางเป็นประเด็นข้อพิพาทมาแต่ต้น กรณีนี้จึงมีปัญหาเกิดขึ้นว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ ซึ่งตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 9 วรรคสอง บัญญัติให้เป็นอำนาจของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางที่จะวินิจฉัยแต่เพียงผู้เดียว ศาลแรงงานกลางซึ่งรับฟ้องคดีนี้ไม่มีอำนาจวินิจฉัยเสียเองว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานกลางโดยไม่ส่งปัญหาดังกล่าวไปให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยเสียก่อน จึงเป็นการไม่ชอบ แม้คดีนี้จำเลยที่ 1 ไม่ได้อุทธรณ์ ทั้งจำเลยที่ 1 ไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ว่าคดีนี้ไม่อยู่ในอำนาจของศาลแรงงานก็ตาม แต่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินคืนแก่โจทก์ อันเป็นการชำระหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้อุทธรณ์เพียงผู้เดียว ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) มาตรา 246 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2993/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์คดีแรงงานต้องมีเหตุจำเป็น การยื่นอุทธรณ์ต้องยื่นต่อศาลแรงงานกลางเท่านั้น
โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตขยายระยะเวลาอุทธรณ์ แต่เหตุผลตามคำร้องไม่ใช่เหตุจำเป็นอันสมควรอนุญาตให้ขยายระยะเวลาโจทก์อุทธรณ์ แต่อุทธรณ์ของโจทก์เป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลแรงงานกลางว่าสมควรอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์แก่โจทก์อีกหรือไม่ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคสอง บัญญัติว่า "การอุทธรณ์นั้นให้ทำเป็นหนังสือยื่นต่อศาลแรงงานกลางอันเป็นศาลที่มีคำพิพากษา ไม่อาจจะยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2993/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ต้องยื่นต่อศาลแรงงานชั้นต้นตามกฎหมาย และการขยายเวลาอุทธรณ์ต้องมีเหตุผลอันสมควร
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคสอง บัญญัติว่า " การอุทธรณ์นั้นให้ทำเป็นหนังสือยื่นต่อศาลแรงงานซึ่งมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง..." จากบทบัญญัติดังกล่าวเห็นได้ว่าโจทก์จะต้องยื่นอุทธรณ์ต่อศาลแรงงานกลาง อันเป็นศาลที่มีคำพิพากษาคดีนี้ ไม่อาจยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2991-2992/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมของพนักงานรัฐวิสาหกิจ ศาลสั่งให้ชดใช้ค่าเสียหายได้ แม้ไม่ใช่ลูกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
แม้คดีจะยังไม่ถึงที่สุดแต่ศาลแรงงานกลางก็ได้วินิจฉัยไว้แล้วว่าโจทก์มิได้กระทำความผิดหรือบกพร่องต่อหน้าที่ตามข้อกล่าวหาที่จำเลยอ้างเป็นเหตุแห่งการออกคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ เมื่อคำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางยังมิได้ถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับ หรือให้งดเสีย จึงมีผลผูกพันจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 31 จึงต้องถือว่ากรณีปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้กระทำความผิด จำเลยจึงต้องจ่ายค่าจ้างในระหว่างพักงานให้แก่โจทก์ ตามข้อบังคับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคว่าด้วยระเบียบพนักงาน พ.ศ.2517 ข้อ 52 (1)
ส่วนที่จำเลยทั้งสิบห้าอุทธรณ์ว่า ลูกจ้างที่จะได้รับการคุ้มครองจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 จะต้องเป็นลูกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ จำเลยที่ 1 เป็นรัฐวิสาหกิจ โจทก์เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ มีความสัมพันธ์กันภายใต้ พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ ไม่ใช่นายจ้างลูกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ จึงไม่อาจนำ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 มาใช้บังคับได้ และกรณีที่จะถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามมาตราดังกล่าว จะต้องเป็นกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยอ้างว่าลูกจ้างกระทำความผิดตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 (1) ถึง (5) ข้อใดข้อหนึ่ง แต่ลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิด จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะบกพร่องต่อหน้าที่ไม่ได้เลิกจ้างโดยอ้างเหตุว่าโจทก์กระทำความผิดดังกล่าวจะถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมไม่ได้ เห็นว่า พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 บัญญัติว่า "การพิจารณาคดีในกรณีนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าการเลิกจ้างลูกจ้างผู้นั้นไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง ศาลแรงงานอาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างผู้นั้นกลับเข้าทำงานต่อไปในอัตราค่าจ้างที่ได้รับในขณะที่เลิกจ้าง ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าลูกจ้างกับนายจ้างไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ ให้ศาลแรงงานกำหนดจำนวนค่าเสียหายให้นายจ้างชดใช้ให้แทน..." บทบัญญัติดังกล่าวเป็นบทบัญญัติคุ้มครองลูกจ้างเพื่อมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม โดยให้อำนาจศาลแรงงานที่พิจารณาคดีเลิกจ้างมีอำนาจใช้ดุลพินิจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน หรือให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ลูกจ้างแทนการรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานทุกคดี รวมทั้งคดีที่นายจ้างเป็นรัฐวิสาหกิจ มิได้จำกัดอยู่เฉพาะแต่คดีที่นายจ้างเป็นเอกชนหรือคู่กรณีเป็นนายจ้างลูกจ้างกันตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ เท่านั้น คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้กระทำความผิด ขอให้บังคับจำเลยทั้งสิบห้ารับโจทก์กลับเข้าทำงานและชดใช้เงินต่าง ๆ เป็นคดีที่ต้องพิจารณาในกรณีนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ศาลแรงงานกลางจึงนำ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 มาใช้บังคับได้ และการที่จะพิจารณาว่าการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม อันเป็นเหตุให้นายจ้างต้องรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานหรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ลูกจ้างตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 หรือไม่ ต้องพิจารณาที่เหตุแห่งการเลิกจ้างว่ามีเหตุจริงหรือไม่ และเหตุนั้นเป็นเหตุสมควรที่นายจ้างจะเลิกจ้างหรือไม่ ซึ่งเหตุดังกล่าวอาจเป็นเหตุที่เกิดขึ้นจากการกระทำของลูกจ้าง หรือเหตุอื่น ที่ไม่ใช่ความผิดของลูกจ้างก็ได้ ส่วนการเลิกจ้างที่นายจ้างซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยจะต้องปรากฏว่าลูกจ้างได้กระทำความผิดตามที่บัญญัติไว้ในระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 46 (1) ถึง (6) ข้อใดข้อหนึ่ง เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์มิได้กระทำความผิดหรือบกพร่องต่อหน้าที่ดังที่จำเลยอ้างเป็นเหตุแห่งการเลิกจ้าง จึงเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุสมควร อันเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
สำหรับคดีสำนวนแรกซึ่งศาลแรงงานกลางพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 1 ที่สั่งพักงานโจทก์ และให้โจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิมนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏในคดีสำนวนหลังว่าโจทก์มีอายุพ้นเกณฑ์ที่จะเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 แล้ว จึงไม่อาจให้โจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิมต่อไปได้ และศาลแรงงานกลางได้พิพากษากำหนดจำนวนค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ให้จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ที่ 6 ที่ 7 ที่ 9 ที่ 10 และที่ 12 ถึงที่ 15 ชดใช้แทนการรับโจทก์กลับเข้าทำงานครอบคลุมถึงความเสียหายของโจทก์ตั้งแต่วันที่โจทก์ถูกจำเลยที่ 1 สั่งพักงานจนถึงวันเลิกจ้างด้วยแล้ว จึงไม่จำต้องพิจารณาว่าคำสั่งพักงานของจำเลยที่ 1 เป็นคำสั่งที่ชอบหรือไม่ มีเหตุที่จะเพิกถอนและให้โจทก์กลับเข้าทำงานตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางหรือไม่ เพราะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่โจกท์ ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ชอบที่จะให้จำหน่ายคดีสำนวนแรกเสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2633/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางสัญญาและละเมิดของลูกจ้าง-นายจ้าง รวมถึงการค้ำประกันความเสียหาย และอายุความของหนี้
คดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลแรงงานกลางเป็นคดีอันเกิดแต่มูลละเมิดระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานหาใช่เป็นคดีละเมิดอย่างเดียวไม่ เพราะโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นนายจ้างลูกจ้างมีข้อมูลพันตามสัญญาจ้างแรงงานต่อกัน นอกจากจำเลยที่ 1 ทำละเมิดต่อโจทก์แล้วยังฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอันเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานด้วย และหนังสือรับรองและค้ำประกันของจำเลยที่ 2 ถือเป็นข้อผูกพันของจำเลยที่ 2 ที่มีต่อโจทก์จึงหมายถึงจำเลยที่ 2 ค้ำประกันความรับผิดของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาจ้างแรงงาน สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2431-2432/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งพักงานพนักงานที่ไม่ชอบด้วยข้อบังคับ และอำนาจฟ้องเพิกถอนคำสั่งทางวินัย
การที่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงหรือมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนความผิดทางวินัยแก่โจทก์ ยังไม่เป็นการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ใด ๆ ของโจทก์ในฐานะพนักงานของจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว
คำสั่งของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ที่สั่งพักงานโจทก์ เป็นคำสั่งที่ใช้อำนาจตามข้อบังคับที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย และคำสั่งดังกล่าวมีผลกระทบถึงโจทก์โดยตรง ดังนั้น หากคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบ โจทก์ยื่นฟ้องขอให้เพิกถอนได้
ข้อบังคับกำหนดไว้ว่า เมื่อพนักงานหรือลูกจ้างผู้ใดถูกกล่าวหาและถูกสอบสวนว่ากระทำผิด หรือถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดอาญา หรือถูกฟ้องคดีอาญา ถ้าผู้บังคับบัญชาของโจทก์คือจำเลยที่ 2 เห็นว่า หากให้โจทก์คงอยู่ในหน้าที่จะเป็นการเสียหายแก่ธนาคารจำเลยที่ 1 ก็ให้พิจารณาสั่งพักงานโดยต้องเสนอขออนุมัติคณะกรรมการของจำเลยที่ 1 ก่อน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนความผิดทางวินัย ถูกดำเนินคดีอาญา และโจทก์กระทำการขัดขวางหรือยับยั้งการสอบสวนข้อเท็จจริง หรือการสอบสวนความผิดทางวินัย เป็นอุปสรรคต่อการสอบสวน เป็นกรณีที่หากให้โจทก์คงอยู่ในหน้าที่จะเป็นการเสียหายแก่ธนาคาร การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ในขณะนั้นโดยได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการของจำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้พักงานโจทก์เพื่อรอฟังผลการสอบสวนทางวินัย จึงชอบด้วยกฎหมายและข้อบังคับของจำเลยที่ 1 แล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2269/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ค่าชดเชย และฐานคำนวณค่าจ้าง รวมถึงเงินชดเชยอัตราแลกเปลี่ยน
โจทก์จำเลยทำสัญญาจ้างกันไว้ 4 ฉบับ กำหนดระยะเวลาจ้างติดต่อกัน สัญญาจ้างแต่ละฉบับกำหนดเงินเดือนค่าจ้างของโจทก์ไว้เป็นเงินบาท แต่สัญญาฉบับแรกมิได้มีข้อตกลงเกี่ยวกับเงินชดเชยอัตราแลกเปลี่ยน เพิ่งจะมีขึ้นในฉบับที่ 2 ถึงฉบับที่ 4 ความว่า เงินเดือนของโจทก์ตามที่กำหนดไว้ต้องมีการปรับยอดประจำเดือนทุกเดือนในวันที่ 25 ของแต่ละเดือนเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินสกุลบาทและสกุลเหรียญสหรัฐ โดยให้นำเงินเดือนของโจทก์ร้อยละ 50 ซึ่งถือว่ามีอัตราแลกเปลี่ยน 29 บาทต่อ 1 เหรียญสหรัฐมาปรับยอดตามอัตราแลกเปลี่ยนหรืออัตราซื้อขายกลาง เงินชดเชยอัตราแลกเปลี่ยนที่โจทก์จะได้รับในแต่ละเดือนจึงไม่ครอบคลุมถึงเงินเดือนของโจทก์ทั้งหมด และมีจำนวนไม่แน่นอนผันแปรไปตามอัตราแลกเปลี่ยนหรืออัตราซื้อขายกลางในวันที่มีการปรับยอด เดือนใดที่อัตราแลกเปลี่ยนหรืออัตราซื้อขายกลางมีค่าเท่ากับหรือน้อยกว่า 29 บาทต่อ 1 เหรียญสหรัฐโจทก์ก็จะไม่ได้รับเงินชดเชยอัตราแลกเปลี่ยน เงินชดเชยอัตราแลกเปลี่ยนจึงไม่ใช่เงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์เพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานตามปกติ ส่วนเงินค่าเช่าบ้านแม้จะเป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ทุกเดือนมีจำนวนแน่นอนและจ่ายโดยไม่มีเงื่อนไข แต่จำเลยก็จ่ายให้แก่ลูกจ้างของจำเลยที่เป็นชาวต่างประเทศต้องเดินทางมาทำงานในประเทศไทย ทำให้ต้องเปลี่ยนแปลงสถานที่พักอาศัยไปจากที่เคยอยู่เดิมเช่นเดียวกับโจทก์ทุกคน อันเป็นสวัสดิการอย่างหนึ่งที่จำเลยจัดให้แก่ลูกจ้างที่เป็นชาวต่างประเทศเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการทำงานไม่ใช่เงินที่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานตามปกติเช่นกัน และการจ่ายเงินทั้งสองประเภทดังกล่าวไม่มีลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงการจ่ายค้าจ้าง จึงไม่ใช่ค่าจ้าง
จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยจ่ายเงินอื่นที่โจทก์มีสิทธิได้รับไปแล้วเมื่อจำเลยเลิกจ้าง แม้ในที่สุดศาลแรงงานกลางจะวินิจฉัยว่าไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างก็มีเหตุที่จำเลยจะเข้าใจว่าจำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้าง เพราะเมื่อจำเลยได้ทราบจากการชี้แนะของศาลในระหว่างการพิจารณาคดี จำเลยก็ได้นำค่าชดเชยที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามกฎหมายมาวางไว้ต่อศาลและขอให้โจทก์รับไป พฤติการณ์ดังกล่าวถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจไม่จ่ายค่าชดเชยให้โจทก์โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร อันจะทำให้จำเลยต้องเสียเงินเพิ่มให้แก่โจทก์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 9 วรรคสอง
การพิจารณาว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมอันเป็นเหตุให้นายจ้างต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ลูกจ้างตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 หรือไม่ ต้องพิจารณาที่เหตุแห่งการเลิกจ้างว่ามีเหตุจริงหรือไม่และเหตุนั้นเป็นเหตุสมควรที่นายจ้างจะเลิกจ้างหรือไม่ โดยไม่คำนึงว่านายจ้างมีสิทธิที่จะเลิกจ้างได้หรือไม่ ไม่ว่าสิทธินั้นจะเป็นสิทธิที่เกิดจากบทบัญญัติของกฎหมายหรือข้อตกลงในสัญญาจ้าง ปรากฏตามหนังสือเลิกจ้างว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะจำเลยหมดความจำเป็นที่จะต้องมีขั้นตอนในการควบคุมดูแลโครงการก่อสร้างและออกแบบโครงสร้างใต้ดินตามโครงการรถไฟฟ้ามหานครระยะแรกส่วนเหนือช่วงห้วยขวางถึงบางซื่ออย่างที่จำเลยดำเนินการอยู่ในปี 2545 ต่อไปแล้ว ในปี 2546 จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ เหตุดังกล่าวแม้จะมีอยู่จริงก็ไม่เป็นเหตุสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ เพราะโครงการก่อสร้างและออกแบบโครงสร้างใต้ดินตามโครงการรถไฟฟ้ามหานครระยะแรกส่วนเหนือช่วงห้วยขวางถึงบางซื่อที่จำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งผู้จัดการพาณิชย์แล้ว จำเลยยังรับจ้างการประปานครหลวงก่อสร้างอุโมงค์ส่งน้ำจากโรงงานผลิตน้ำบางเขนถึงถนนงามวงศ์วานและประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในประเทศไทยอยู่ด้วย จำเลยจึงยังมีงานอื่นที่จะให้โจทก์ทำต่อไป เมื่อไม่ปรากฏว่างานดังกล่าวเป็นงานที่โจทก์ไม่สามารถจะทำได้จึงไม่มีเหตุจำเป็นที่จำเลยจะต้องเลิกจ้างโจทก์ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
of 74