พบผลลัพธ์ทั้งหมด 89 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5996/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าตอบแทนพิเศษจากสัญญาจ้างแรงงาน เริ่มนับแต่วันที่บังคับสิทธิได้ ไม่ใช่วันลาออก
ป.พ.พ.มาตรา 193/12 บัญญัติว่า "อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ถ้าเป็นสิทธิเรียกร้องให้งดเว้นการกระทำอย่างใด ให้เริ่มนับแต่เวลาแรกที่ฝ่าฝืนกระทำการนั้น" เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ตกลงด้วยวาจากับโจทก์ว่า หากโจทก์สามารถตรวจสอบพบการทุจริตและนำเงินที่ทุจริตกลับคืนมาเป็นของจำเลยที่ 1 โจทก์จะได้รับค่าตอบแทนพิเศษ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ตรวจสอบพบการทุจริตและเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ฟ้องธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กระทั่งวันที่ 31 มีนาคม 2546 จำเลยที่ 1 ได้รับคืนจำนวน 9,403,007.63 บาท ตามเงื่อนไขในการตกลงด้วยวาจาจึงอาจบังคับสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าตอบแทนพิเศษให้นับแต่นั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12 หาใช่นับแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2544 อันเป็นวันที่โจทก์ลาออกจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ไม่ และเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างประจำฟ้องเรียกค่าตอบแทนพิเศษคิดเป็นร้อยละของผลงานที่ทำได้ จึงเป็นการเรียกร้องค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานโดยคำนวณตามผลงานที่ทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงานอันเป็นค่าจ้าง จึงเป็นสิทธิเรียกร้องที่มีกำหนดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (9) โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลแรงงานกลางเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2547 จึงยังไม่พ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่ 31 มีนาคม 2546 อันเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5979/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลาพักร้อนสะสมของลูกจ้างที่ทำงานเกิน 1 ปี และผลของการไม่โต้แย้งคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน
โจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 ในเดือนกรกฎาคม 2536 การทำงานในหนึ่งปีแรกจึงครบในเดือนกรกฎาคม 2537 และมีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีนับแต่เมื่อครบหนึ่งปีนับแต่เริ่มทำงานและในปีถัดมาทุกปี ปีละหกวันทำงานตลอดมาจนถึงช่วงปีสุดท้ายคือตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2546 ถึงเดือนกรกฎาคม 2547 ซึ่งจำเลยที่ 2 เลิกจ้างโจทก์ ในช่วงปีสุดท้ายนี้โจทก์จึงมิสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีหกวันทำงานตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน แต่เมื่อในปี 2546 โจทก์ไม่ได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีและพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี 2546 ทั้งหกวันแก่โจทก์แล้วโดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดไม่พอใจคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานส่วนนี้แล้วนำคดีไปสู่ศาลภายในสามสิบวันนับแต่ทราบคำสั่ง คำสั่งในส่วนนี้จึงเป็นที่สุด เมื่อศาลแรงงานกลางเห็นว่า นับแต่ต้นปี 2547 จนถึงเดือนกรกฎาคม 2547 โจทก์จึงมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีอีกเพียงสี่วันทำงาน และโจทก์ได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีในปี 2547 แล้วสองวัน จึงกำหนดให้จำเลยที่ 2 จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี 2547 แก่โจทก์อีกเพียงสองวันตามส่วนของวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่โจทก์พึงมีสิทธิตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 67 จึงชอบแล้ว และกรณีนี้โจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 เกินกว่าหนึ่งปี มิใช่กรณีทำงานยังไม่ครบหนึ่งปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5979/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลาพักร้อนสะสมของลูกจ้างที่ทำงานครบหนึ่งปี และการจ่ายค่าจ้างสำหรับวันลาพักร้อนที่ไม่ได้ใช้
จำเลยที่ 2 กำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่าลูกจ้างที่ทำงานครบหนึ่งปีมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้หกวันโดยไม่มีการสะสมในปีถัดไป เมื่อโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 6 ในเดือนกรกฎาคม 2536 การทำงานในหนึ่งปีแรกจึงครบในเดือนกรกฎาคม 2537 และมีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปี นับแต่เมื่อครบหนึ่งปี นับแต่เริ่มทำงานและในปีถัดมาทุกปี ปีละหกวันทำงานตลอดมาจนถึงช่วงปีสุดท้าย คือ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2546 ถึงเดือนกรกฎาคม 2547 ซึ่งจำเลยที่ 2 เลิกจ้างโจทก์ในช่วงปีสุดท้ายนี้ โจทก์จึงมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีหกวันทำงานตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน แต่เมื่อปรากฏว่า ในปี 2546 โจทก์ไม่ได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี และพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี 2546 ทั้งหกวันแก่โจทก์แล้วโดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดไม่พอใจคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานส่วนนี้แล้วนำคดีไปสู่ศาลภายในสามสิบวันนับแต่ทราบคำสั่ง คำสั่งในส่วนนี้จึงเป็นที่สุด เมื่อศาลแรงงานกลางเห็นว่า นับแต่ต้นปี 2547 จนถึงเดือนกรกฎาคม 2547 โจทก์มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีอีกเพียงสี่วันทำงาน และโจทก์ได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีในปี 2547 แล้วสองวัน จึงกำหนดให้จำเลยที่ 2 จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี 2547 แก่โจทก์อีกเพียงสองวันตามส่วนของวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่โจทก์พึงมีสิทธิตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 67 จึงชอบแล้ว และกรณีนี้โจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 เกินกว่าหนึ่งปี มิใช่กรณีทำงานยังไม่ครบหนึ่งปีตามอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5591/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีทุจริตต่อหน้าที่ โดยการรับสินบนจากตัวแทนขาย ทำให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงนายจ้าง
อ. ลูกจ้างของโจทก์มีหน้าที่รับผิดชอบซ่อมแซมเครื่องจักร และบางครั้งสามารถสืบเสาะราคาอุปกรณ์เครื่องจักรเสนอผู้บังคับบัญชาพิจารณาจัดซื้อ โดยพิจารณาสินค้าจากตัวแทนขายต่าง ๆ การที่ อ. นัดหมายตัวแทนขายรับประทานอาหารและเรียกเงินเป็นค่าตอบแทนในการอำนวยความสะดวกติดต่อซื้อขายอะไหล่เครื่องยนต์ แม้ว่าการสืบเสาะราคาอุปกรณ์เครื่องจักรที่จะซื้อจะไม่ใช่หน้าที่โดยตรงของ อ. ก็ตาม แต่ อ. ก็ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวด้วยและได้เรียกรับเงินจากตัวแทนขายอันเป็นบุคคลภายนอกในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง จึงเป็นการแสวงหาประโยชน์ให้แก่ตนเองโดยอาศัยโอกาสในการทำงานกับโจทก์ เป็นการประพฤติชั่ว โกง ไม่ซื่อสัตย์ ทำให้บุคคลภายนอกขาดความเชื่อถือและส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงทางทำมาหาได้ของโจทก์โดยตรง จึงเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5591/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีทุจริตต่อหน้าที่ และการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ ซึ่งเป็นเหตุร้ายแรงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
อ. เรียกเงินจาก ผ. เป็นค่าตอบแทนในการอำนวยความสะดวกติดต่อซื้อขายอะไหล่เครื่องยนต์ โดย อ. มีหน้าที่รับผิดชอบซ่อมแซมเครื่องจักร และบางครั้งสามารถสืบเสาะราคาอุปกรณ์เครื่องจักรที่จะซื้อเสนอผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณาจัดซื้อ แม้ว่าการสืบเสาะราคาอุปกรณ์เครื่องจักรที่จะซื้อจะไม่ใช่หน้าที่โดยตรงของ อ. ก็ตาม แต่ อ. ก็ได้ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวด้วย จึงเป็นการแสวงหาประโยชน์ให้แก่ตนเองโดยอาศัยโอกาสในการทำงานกับโจทก์เป็นการประพฤติชั่ว โกง ไม่ซื่อสัตย์ ทำให้บุคคลภายนอกขาดความเชื่อถือและส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงทางทำมาหาได้ของโจทก์โดยตรง จึงเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (1) และการกระทำดังกล่าวยังเป็นความผิดตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ และเป็นความผิดร้ายแรง ซึ่งกำหนดให้ลงโทษเพียงการไล่ออกขั้นตอนเดียว เมื่อ อ. กระทำความผิดต่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าว จึงเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรงตามมาตรา 119 (4) โจทก์มีสิทธิเลิกจ้าง อ. ลูกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5345/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าตรวจรักษาแพทย์อิสระมิใช่ค่าจ้างตามพรบ.ประกันสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างโรงพยาบาลและแพทย์จึงไม่เป็นนายจ้าง-ลูกจ้าง
เงินค่าตรวจรักษาที่โจทก์จ่ายให้แก่แพทย์ประจำสถานพยาบาลของโจทก์มีลักษณะเป็นเงินที่ผู้เข้ารับการรักษาจ่ายให้แก่แพทย์ที่ตรวจรักษา โดยแพทย์ใช้สถานที่ของสถานพยาบาลของโจทก์ โดยไม่มีวันและเวลาทำงานปกติ และโจทก์รับเงินดังกล่าวไว้แทนแล้วจ่ายคืนให้แก่แพทย์ที่ตรวจรักษาในภายหลังโดยหักเงินไว้ส่วนหนึ่งตามสัญญาการให้ใช้สถานที่ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมอิสระ จึงมิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานหรือผลงานที่ลูกจ้างได้ทำสำหรับระยะเวลาทำงานปกติของวันทำงาน และมิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาซึ่งลูกจ้างมิได้ทำงาน เงินค่าตรวจรักษาจึงมิใช่ค่าจ้างที่โจทก์จะต้องจ่ายเงินสมทบเพิ่มและเมื่อเงินค่าตรวจรักษามิใช่ค่าจ้างแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับแพทย์ประจำสถานพยาบาลของโจทก์ในส่วนของเงินค่าตรวจรักษาจึงมิใช่ผู้ที่รับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างและมิใช่ผู้ซึ่งทำงานให้นายจ้างโดยรับค่าจ้างตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5345/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าตรวจรักษาทางการแพทย์ไม่ถือเป็นค่าจ้างตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม เนื่องจากเป็นรายได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ
พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 5 บัญญัติว่า "ลูกจ้าง" หมายความว่า ผู้ซึ่งทำงานให้นายจ้างโดยได้รับค่าจ้างไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร "นายจ้าง" หมายความว่า ผู้ซึ่งรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้าง และ "ค่าจ้าง" หมายความว่า เงินทุกประเภทที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าตอบแทนการทำงานในวันและเวลาทำงานปกติ ไม่ว่าจะคำนวณตามระยะเวลาหรือคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ และให้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้ในวันหยุดและวันลาซึ่งลูกจ้างไม่ได้ทำงานด้วย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะกำหนดคำนวณ หรือจ่ายในลักษณะใดหรือโดยวิธีการใด และไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร คำว่า ค่าจ้างตามพระราชบัญญัตินี้จึงมีสาระสำคัญ 3 ประการ คือ ประการแรก ค่าจ้างต้องเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าตอบแทนการทำงาน ประการที่สอง เงินที่จ่ายดังกล่าวนายจ้างให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานหรือผลงานที่ลูกจ้างทำได้สำหรับระยะเวลาทำงานปกติของวันทำงาน และประการที่สาม ให้หมายความรวมถึง เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาซึ่งลูกจ้างมิได้ทำงานด้วย
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า แพทย์ประจำสถานพยาบาลของโจทก์ไม่ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเหมือนกับพนักงานอื่น ไม่ต้องลงเวลาทำงาน จะมาทำงานตามที่แพทย์สะดวกซึ่งแพทย์จะเป็นผู้กำหนดเอง สามารถหยุดงานได้โดยไม่ต้องแจ้งให้สถานพยาบาลทราบล่วงหน้า หากไม่มาปฏิบัติหน้าที่ก็ไม่ถือว่ามีความผิด การทำงานของแพทย์ประจำสถานพยาบาลของโจทก์จึงไม่มีวันและเวลาทำงานปกติ อีกทั้งเงินค่าตรวจรักษาที่เรียกเก็บจากผู้เข้ารับการรักษา แพทย์ผู้ตรวจจะเป็นผู้กำหนดเองว่าเรียกจำนวนเท่าใด โจทก์จะเป็นผู้เก็บรักษาไว้โดยแพทย์จะได้รับค่าตรวจตามจำนวนเปอร์เซนต์ที่ตกลงกับโจทก์และโจทก์จะมอบให้แพทย์ผู้ตรวจรักษาภายในวันที่ 1 ถึงวันที่ 5 ของเดือนถัดไป เงินดังกล่าวจึงเป็นเงินที่แพทย์ประจำสถานพยาบาลของโจทก์ได้รับจากผู้เข้ารับการรักษาโดยใช้สถานพยาบาลของโจทก์เป็นที่ตรวจรักษาตามสัญญาการให้ใช้สถานที่ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมอิสระ ดังนั้น แม้เงินค่าตรวจรักษาจะเป็นเงินที่โจทก์จ่ายให้แก่แพทย์ประจำสถานพยาบาลของโจทก์เพื่อตอบแทนการทำงานตามหลักเกณฑ์ประการแรก แต่เงินดังกล่าวมีลักษณะเป็นเงินที่ผู้เข้ารับการรักษาจ่ายให้แก่แพทย์ที่ตรวจรักษา โดยแพทย์ใช้สถานที่ของสถานพยาบาลของโจทก์โดยไม่มีวันและเวลาทำงานปกติ และโจทก์รับเงินดังกล่าวไว้แทน แล้วจ่ายคืนให้แก่แพทย์ที่ตรวจรักษาในภายหลังโดยหักเงินไว้ส่วนหนึ่งตามสัญญาการให้ใช้สถานที่ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมอิสระ เป็นเงินที่แพทย์ได้รับมาจากการประกอบวิชาชีพอิสระ จึงมิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานหรือผลงานที่ลูกจ้างทำได้สำหรับระยะเวลาทำงานปกติของวันทำงานตามหลักเกณฑ์ประการที่สอง และมิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาซึ่งลูกจ้างมิได้ทำงานตามหลักเกณฑ์ประการที่สาม เงินค่าตรวจรักษาจึงมิใช่ค่าจ้างที่โจทก์จะต้องจ่ายเงินสมทบเพิ่มแต่อย่างใด เมื่อเงินค่าตรวจรักษามิใช่ค่าจ้างแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับแพทย์ประจำสถานพยาบาลของโจทก์ในส่วนของเงินค่าตรวจรักษา จึงมิใช่ผู้ที่รับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้าง และมิใช่ผู้ซึ่งทำงานให้นายจ้างโดยได้รับค่าจ้างตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของจำเลยเฉพาะในส่วนที่วินิจฉัยให้โจทก์จ่ายเงินสมทบเพิ่มเติมในส่วนของค่าแพทย์นั้นชอบแล้ว
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า แพทย์ประจำสถานพยาบาลของโจทก์ไม่ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเหมือนกับพนักงานอื่น ไม่ต้องลงเวลาทำงาน จะมาทำงานตามที่แพทย์สะดวกซึ่งแพทย์จะเป็นผู้กำหนดเอง สามารถหยุดงานได้โดยไม่ต้องแจ้งให้สถานพยาบาลทราบล่วงหน้า หากไม่มาปฏิบัติหน้าที่ก็ไม่ถือว่ามีความผิด การทำงานของแพทย์ประจำสถานพยาบาลของโจทก์จึงไม่มีวันและเวลาทำงานปกติ อีกทั้งเงินค่าตรวจรักษาที่เรียกเก็บจากผู้เข้ารับการรักษา แพทย์ผู้ตรวจจะเป็นผู้กำหนดเองว่าเรียกจำนวนเท่าใด โจทก์จะเป็นผู้เก็บรักษาไว้โดยแพทย์จะได้รับค่าตรวจตามจำนวนเปอร์เซนต์ที่ตกลงกับโจทก์และโจทก์จะมอบให้แพทย์ผู้ตรวจรักษาภายในวันที่ 1 ถึงวันที่ 5 ของเดือนถัดไป เงินดังกล่าวจึงเป็นเงินที่แพทย์ประจำสถานพยาบาลของโจทก์ได้รับจากผู้เข้ารับการรักษาโดยใช้สถานพยาบาลของโจทก์เป็นที่ตรวจรักษาตามสัญญาการให้ใช้สถานที่ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมอิสระ ดังนั้น แม้เงินค่าตรวจรักษาจะเป็นเงินที่โจทก์จ่ายให้แก่แพทย์ประจำสถานพยาบาลของโจทก์เพื่อตอบแทนการทำงานตามหลักเกณฑ์ประการแรก แต่เงินดังกล่าวมีลักษณะเป็นเงินที่ผู้เข้ารับการรักษาจ่ายให้แก่แพทย์ที่ตรวจรักษา โดยแพทย์ใช้สถานที่ของสถานพยาบาลของโจทก์โดยไม่มีวันและเวลาทำงานปกติ และโจทก์รับเงินดังกล่าวไว้แทน แล้วจ่ายคืนให้แก่แพทย์ที่ตรวจรักษาในภายหลังโดยหักเงินไว้ส่วนหนึ่งตามสัญญาการให้ใช้สถานที่ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมอิสระ เป็นเงินที่แพทย์ได้รับมาจากการประกอบวิชาชีพอิสระ จึงมิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานหรือผลงานที่ลูกจ้างทำได้สำหรับระยะเวลาทำงานปกติของวันทำงานตามหลักเกณฑ์ประการที่สอง และมิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาซึ่งลูกจ้างมิได้ทำงานตามหลักเกณฑ์ประการที่สาม เงินค่าตรวจรักษาจึงมิใช่ค่าจ้างที่โจทก์จะต้องจ่ายเงินสมทบเพิ่มแต่อย่างใด เมื่อเงินค่าตรวจรักษามิใช่ค่าจ้างแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับแพทย์ประจำสถานพยาบาลของโจทก์ในส่วนของเงินค่าตรวจรักษา จึงมิใช่ผู้ที่รับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้าง และมิใช่ผู้ซึ่งทำงานให้นายจ้างโดยได้รับค่าจ้างตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของจำเลยเฉพาะในส่วนที่วินิจฉัยให้โจทก์จ่ายเงินสมทบเพิ่มเติมในส่วนของค่าแพทย์นั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5345/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าตรวจรักษาทางการแพทย์ไม่ใช่ค่าจ้างตาม พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ หากแพทย์ทำงานอิสระและไม่มีวันเวลาทำงานปกติ
คำว่า ค่าจ้าง ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ มาตรา 5 มีสาระสำคัญ 3 ประการ คือ ประการแรก ค่าจ้างต้องเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าตอบแทนการทำงาน ประการที่สอง เงินที่จ่ายดังกล่าวนายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานหรือผลงานที่ลูกจ้างทำได้สำหรับระยะเวลาทำงานปกติของวันทำงาน และประการที่สาม ให้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาซึ่งลูกจ้างมิได้ทำงานด้วย ดังนั้น แม้เงินค่าตรวจรักษาจะเป็นเงินที่โจทก์จ่ายให้แก่แพทย์ประจำสถานพยาบาลของโจทก์เพื่อตอบแทนการทำงานตามหลักเกณฑ์ประการแรก แต่เงินดังกล่าวมีลักษณะเป็นเงินที่ผู้เข้ารับการรักษาจ่ายให้แก่แพทย์ที่ตรวจรักษา โดยแพทย์ใช้สถานที่ของสถานพยาบาลของโจทก์โดยไม่มีวันและเวลาทำงานปกติ และโจทก์รับเงินดังกล่าวไว้แทน แล้วจ่ายคืนให้แก่แพทย์ที่ตรวจรักษาในภายหลังโดยหักเงินไว้ส่วนหนึ่งตามสัญญาการให้ใช้สถานที่ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมอิสระ เงินค่าตรวจรักษาดังกล่าวจึงเป็นเงินที่แพทย์ได้รับมาจากการประกอบวิชาชีพอิสระ มิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานหรือผลงานที่ลูกจ้างทำได้สำหรับระยะเวลาทำงานปกติของวันทำงานตามหลักเกณฑ์ ประการที่สอง และมิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาซึ่งลูกจ้างมิได้ทำงานตามหลักเกณฑ์ประการที่สาม และเมื่อเงินค่าตรวจรักษามิใช่ค่าจ้างแล้วความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับแพทย์ประจำสถานพยานบาลของโจทก์ในส่วนของเงินค่าตรวจรักษาจึงมิใช่ผู้ที่รับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างและมิใช่ผู้ซึ่งทำงานให้นายจ้างโดยรับค่าจ้างตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4888/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องหลังให้การแล้ว ศาลต้องฟังจำเลยก่อนห้ามอนุญาตทันที
ในคดีที่จำเลยยื่นคำให้การแล้ว เมื่อโจทก์ขอถอนฟ้อง ป.วิ.พ. มาตรา 175 วรรคสอง (1) กำหนดให้ศาลฟังว่าจำเลยจะยินยอมให้โจทก์ถอนฟ้องหรือจะคัดค้านประการใด เพื่อประโยชน์ที่ศาลจะได้นำมาประกอบการพิจารณาสั่งตามที่เห็นสมควรดังที่กฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้นั้นต่อไป หากศาลยังมิได้ฟังจำเลยก่อนย่อมต้องห้ามตามกฎหมายไม่ให้ศาลสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง ดังนั้นการที่โจทก์ขอถอนฟ้องเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2547 ภายหลังจำเลยให้การต่อสู้คดีและศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องและจำหน่ายคดีจากสารบบความในวันเดียวกันนั้น โดยปรากฏว่าจำเลยได้รับสำเนาคำร้องขอถอนฟ้องในวันที่ 22 ธันวาคม 2547 โดยไม่มีโอกาสได้คัดค้านหรือไม่คัดค้านในการที่โจทก์ถอนฟ้อง การที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องไปก่อนที่จะได้ฟังจำเลยเช่นนี้ จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 175 วรรคสอง (1) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4535/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งนายจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และสิทธิของลูกจ้าง
เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือถึงกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลย ขอให้จำเลยส่งเงินเดือนของ ส. ให้ตามคำสั่งอายัด โจทก์ซึ่งมีตำแหน่งเป็นผู้จัดการทั่วไปของบริษัทย่อมมีหน้าที่จัดการกิจการภายในของบริษัท จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ต้องปฏิบัติตามคำสั่งอายัดดังกล่าว แต่จำเลยกลับมีคำสั่งไม่ให้โจทก์ส่งเงินตามคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดี โดยให้โจทก์ทำหนังสือลงนามแจ้งว่า ส. ไม่ได้ทำงานในบริษัทจำเลย เพื่อปฏิเสธไม่ส่งเงินตามคำสั่งอายัดอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย คำสั่งของจำเลยจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรมต่อโจทก์ การที่โจทก์ไม่ทำตามคำสั่งจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (4) ทั้งมิใช่การจงใจขัดคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 และการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุดังกล่าวยังเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 อีกด้วย จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์