พบผลลัพธ์ทั้งหมด 89 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4287/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากเด็กเพื่ออนาจาร: การกระทำโดยหลอกลวงและขัดต่ออำนาจปกครองของบิดามารดา
คำว่า "พราก" หมายความว่า พาไปหรือแยกเด็กออกไปจากอำนาจปกครองดูแล ทำให้อำนาจปกครองดูแลของบิดามารดาเด็กถูกรบกวนหรือถูกกระทบกระเทือนโดยบิดามารดาเด็กไม่รู้เห็นยินยอมด้วย อันเป็นการล่วงละเมิดอำนาจปกครองของบิดามารดาเด็ก จำเลยมิได้พาผู้เสียหายกับเด็กหญิง ก. ซึ่งกำลังเล่นกันอยู่ที่บ้านจำเลยไปที่เตาเผาถ่านในป่าละเมาะในลักษณะเดียวกันกับที่จำเลยเคยพาผู้เสียหายออกจากบ้านจำเลยไปด้วยกันในครั้งก่อนๆ ที่บิดามารดาผู้เสียหายไม่เคยทักท้วงว่ากล่าว เพราะเมื่อถึงเตาเผาถ่านแล้วจำเลยให้เด็กหญิง ก.แต่ผู้เดียวลงไปเล่นในหลุมเผาถ่านแล้วหลอกลวงโดยชักชวนผู้เสียหายว่าจะพาไปหาผลไม้ป่ารับประทาน เมื่อถึงที่เกิดเหตุบริเวณกกไม้หลังเตาเผาถ่านจำเลยกลับถอดกางเกงผู้เสียหายออกและกระทำอนาจารผู้เสียหาย การที่จำเลยพาผู้เสียหายจากเตาเผาถ่านไปกระทำอนาจารยังที่เกิดเหตุ จึงเป็นการล่วงละเมิดอำนาจปกครองของบิดามารดาและเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควรอันเป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 317ิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4287/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากเด็กเพื่อกระทำอนาจาร: การล่วงละเมิดอำนาจปกครองและการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควร
คำว่า "พราก" หมายความว่าพาไปหรือแยกเด็กออกไปจากอำนาจปกครองดูแล ทำให้อำนาจปกครองดูแลของบิดามารดาเด็กถูกรบกวนหรือถูกกระทบกระเทือนโดยบิดามารดาเด็กไม่รู้เห็นยินยอมด้วย อันเป็นการล่วงละเมิดอำนาจปกครองของบิดามารดาเด็ก จำเลยมิได้พาผู้เสียหายกับเด็กหญิง ก. ซึ่งกำลังเล่นกันอยู่ที่บ้านจำเลยไปที่เตาเผาถ่านในป่าละเมาะในลักษณะเดียวกันกับที่จำเลยเคยพาผู้เสียหายออกจากบ้านจำเลยไปด้วยกันในครั้งก่อน ๆ ที่บิดามารดาผู้เสียหายไม่เคยทักท้วงว่ากล่าว เพราะเมื่อถึงเตาเผาถ่านแล้วจำเลยให้เด็กหญิง ก. แต่ผู้เดียวลงไปเล่นในหลุมเผาถ่านแล้วหลอกลวงโดยชักชวนผู้เสียหายว่าจะพาไปหาผลไม้ป่ารับประทาน เมื่อถึงที่เกิดเหตุบริเวณกกไม้หลังเตาเผาถ่าน จำเลยกลับถอดกางเกงผู้เสียหายออกและกระทำอนาจารผู้เสียหาย การที่จำเลยพาผู้เสียหายจากเตาเผาถ่านไปกระทำอนาจารยังที่เกิดเหตุ จึงเป็นการล่วงละเมิดอำนาจปกครองของบิดามารดาและเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควร อันเป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 317
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4239/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: การพาเด็กเพื่ออนาจารและข่มขืนกระทำชำเราต่อเนื่องกัน
การที่จำเลยจับข้อมือพาผู้เสียหายที่ไปหาเพื่อนใกล้กับบ้านจำเลย โดยจำเลยบอกผู้เสียหายว่าจะพาไปส่งบ้านผู้เสียหายซึ่งอยู่ห่างบ้านจำเลย 50 ถึง 80 เมตร ขณะเกิดเหตุเป็นเวลา 19 นาฬิกา เริ่มจะค่ำมืดแล้ว และผู้เสียหายเป็นเด็กหญิงอายุเพียง 10 ปีเศษ จำเลยเห็นโอกาสที่ไม่มีผู้ใดพบเห็นขณะที่จำเลยพบผู้เสียหายและสามารถจะพาผู้เสียหายไปตามลำพังได้ จึงเกิดเถยจิตมีเจตนาที่จะกระทำชำเราผู้เสียหามาแต่แรกเป็นสำคัญจึงพาไปยังบ้านร้าง และได้กระทำชำเราผู้เสียหายในบ้านร้างดังกล่าว การพาไปและการกระทำชำเราได้กระทำต่อเนื่องเชื่อมโยงแต่วาระเดียวกันไม่ขาดตอน การกระทำของจำเลยซึ่งเป็นความผิดฐานพาเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจารและกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบสามปี จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท มิใช่เป็นความผิดหลายกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3720/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสและขอบเขตพินัยกรรม: การแบ่งทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรส และการที่พินัยกรรมเกินสิทธิ
โจทก์ได้ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างมาระหว่างสมรส ทรัพย์พิพาทจึงเป็นสินสมรสที่โจทก์และ ข มีสิทธิคนละครึ่งหนึ่ง เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ให้ความยินยอมด้วย ข. จึงไม่มีสิทธิทำพินัยกรรมยกทรัพย์พิพาทเกินกว่าส่วนของตนให้แก่จำเลยทั้งสองได้
เมื่อทรัพย์พิพาทส่วนที่โจทก์ฟ้องขอแบ่งเป็นสินสมรสไม่ใช่ทรัพย์มรดกจึงไม่อยู่ในอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754
เมื่อทรัพย์พิพาทส่วนที่โจทก์ฟ้องขอแบ่งเป็นสินสมรสไม่ใช่ทรัพย์มรดกจึงไม่อยู่ในอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3718/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเป็นผู้จัดการมรดกของภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายและผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก
ผู้ร้องเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย แม้จะแยกกันอยู่ แต่เมื่อยังมิได้หย่าขาดจากกันตามกฎหมาย ก็ไม่สิ้นสิทธิโดยธรรมในการสืบมรดกของผู้ตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1628 ผู้ร้องจึงเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย
ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 ไม่จำต้องมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายโดยเป็นทายาทโดยตรงของผู้ตาย เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 อยู่กินฉันสามีภริยากับผู้ตายเป็นเวลานานถึง 10 ปีเศษ จนกระทั่งผู้ตายถึงแก่ความตาย มีทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันถือได้ว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินของผู้ตาย ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดกได้
ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 ไม่จำต้องมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายโดยเป็นทายาทโดยตรงของผู้ตาย เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 อยู่กินฉันสามีภริยากับผู้ตายเป็นเวลานานถึง 10 ปีเศษ จนกระทั่งผู้ตายถึงแก่ความตาย มีทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันถือได้ว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินของผู้ตาย ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3040/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเลิกกันแล้ว การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการก่อสร้าง และการหักกลบลบหนี้จากค่าเสียหายฐานละเมิด
คดีก่อนจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินฟ้องขับไล่โจทก์คดีนี้ซึ่งเป็นผู้ก่อสร้างตึกแถวและเรียกค่าเสียหายเนื่องจากโจทก์คดีนี้ผิดสัญญาไม่ยอมส่งมอบตึกแถวแก่จำเลยทั้งสองตามสัญญา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า สัญญาเลิกกัน คู่ความต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม โดยโจทก์ต้องคืนที่ดินพร้อมตึกแถวซึ่งถือว่าเป็นส่วนควบตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งสองในคดีนี้ โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินและตึกแถวต่อไป ส่วนค่าเสียหายนั้น เนื่องจากได้ตกลงเลิกสัญญากันแล้วโจทก์จึงไม่มีหน้าที่ส่งมอบตึกแถว จำเลยทั้งสองจึงเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้ไม่ได้ พิพากษาให้ขับไล่โจทก์คดีนี้ออกจากที่ดินและตึกแถว ดังนั้น ผลของคำพิพากษาในคดีก่อนย่อมผูกพันโจทก์คดีนี้ โจทก์คดีนี้จึงไม่มีสิทธิอยู่ในที่ดินและตึกแถวนับแต่วันที่อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนคือวันที่ 12 ตุลาคม 2537 ให้โจทก์คดีนี้ฟัง การที่โจทก์คดีนี้คงอยู่ต่อมาจนถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2538 จึงเป็นละเมิด ดังนั้น ที่จำเลยทั้งสองฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดในช่วงระยะเวลาดังกล่าวจนกว่าจะขนย้ายทรัพย์สินออกจากที่ดินและตึกแถว จึงเป็นการฟ้องแย้งเพื่อให้บังคับตามสิทธิที่เกิดจากผลของคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อน ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน
โจทก์ก่อสร้างตึกแถวตามสัญญา ต่อมาจำเลยทั้งสองบอกเลิกสัญญาก่อสร้างตึกแถวและสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวเลิกกันเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2528 ดังนั้น โจทก์จึงควรได้ค่าก่อสร้างตึกแถวเพียงเท่าที่ก่อสร้างจนถึงวันที่ 13 กรกฎาคม 2528 ซึ่งเป็นเวลาหลังจากตกลงกัน 6 เดือน หลังจากนั้นโจทก์ยังก่อสร้างตึกแถวอีก 3 เดือน จำเลยทั้งสองจึงต้องร่วมรับผิดใช้ค่าก่อสร้างตึกแถวพิพาทจำนวน 3 ห้องให้แก่โจทก์เนื่องจากเป็นการงานอันได้กระทำให้ตาม ป.พ.พ. 391 วรรคสาม แต่เมื่อจำเลยทั้งสองฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดในช่วงระยะเวลาที่โจทก์ยังคงอยู่ในที่ดินและตึกพิพาทต่อมา ศาลย่อมมีอำนาจนำค่าเสียหายส่วนนี้มาหักกลบลบหนี้กับจำนวนค่าก่อสร้างตึกแถวจำนวน 3 ห้อง
โจทก์ก่อสร้างตึกแถวตามสัญญา ต่อมาจำเลยทั้งสองบอกเลิกสัญญาก่อสร้างตึกแถวและสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวเลิกกันเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2528 ดังนั้น โจทก์จึงควรได้ค่าก่อสร้างตึกแถวเพียงเท่าที่ก่อสร้างจนถึงวันที่ 13 กรกฎาคม 2528 ซึ่งเป็นเวลาหลังจากตกลงกัน 6 เดือน หลังจากนั้นโจทก์ยังก่อสร้างตึกแถวอีก 3 เดือน จำเลยทั้งสองจึงต้องร่วมรับผิดใช้ค่าก่อสร้างตึกแถวพิพาทจำนวน 3 ห้องให้แก่โจทก์เนื่องจากเป็นการงานอันได้กระทำให้ตาม ป.พ.พ. 391 วรรคสาม แต่เมื่อจำเลยทั้งสองฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดในช่วงระยะเวลาที่โจทก์ยังคงอยู่ในที่ดินและตึกพิพาทต่อมา ศาลย่อมมีอำนาจนำค่าเสียหายส่วนนี้มาหักกลบลบหนี้กับจำนวนค่าก่อสร้างตึกแถวจำนวน 3 ห้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3040/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาก่อสร้างและสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน ผลกระทบต่อสิทธิครอบครอง ค่าเสียหาย และการหักกลบลบหนี้
คดีก่อนจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินฟ้องขับไล่โจทก์คดีนี้ซึ่งเป็นผู้ก่อสร้างตึกแถวและเรียกค่าเสียหาย เนื่องจากโจทก์คดีนี้ผิดสัญญาไม่ยอมส่งมอบตึกแถวแก่จำเลยทั้งสองตามสัญญา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า สัญญาเลิกกันคู่ความต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม โดยโจทก์ต้องคืนที่ดินพร้อมตึกแถวซึ่งถือว่าเป็นส่วนควบตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งสองในคดีนี้โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินและตึกแถวต่อไป ส่วนค่าเสียหายนั้นเนื่องจากได้ตกลงเลิกสัญญากันแล้วโจทก์จึงไม่มีหน้าที่ส่งมอบตึกแถว จำเลยทั้งสองจึงเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้ไม่ได้ พิพากษาให้ขับไล่โจทก์คดีนี้ออกจากที่ดินและตึกแถว ดังนั้นผลของคำพิพากษาในคดีก่อนย่อมผูกพันโจทก์คดีนี้ โจทก์คดีนี้จึงไม่มีสิทธิอยู่ในที่ดินและตึกแถวนับแต่วันที่อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนคือวันที่ 12 ตุลาคม 2537 ให้โจทก์คดีนี้ฟัง การที่โจทก์คดีนี้คงอยู่ต่อมาจนถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2538 จึงเป็นละเมิด ดังนั้นที่จำเลยทั้งสองฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดใน ช่วงระยะเวลาดังกล่าวจนกว่าจะขนย้ายทรัพย์สินออกจากที่ดินและตึกแถวจึงเป็นการฟ้องแย้งเพื่อให้บังคับตามสิทธิที่เกิดจากผลของคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อน ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน
โจทก์ก่อสร้างตึกแถวตามสัญญา ต่อมาจำเลยทั้งสองบอกเลิกสัญญาก่อสร้างตึกแถวและสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวเลิกกันเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2528 ดังนั้น โจทก์จึงควรได้ค่าก่อสร้างตึกแถวเพียงเท่าที่ก่อสร้างจนถึงวันที่ 13 กรกฎาคม 2528 ซึ่งเป็นเวลาหลังจากตกลงกัน 6 เดือน หลังจากนั้นโจทก์ยังก่อสร้างตึกแถวอีก 3 เดือนจำเลยทั้งสองจึงต้องร่วมรับผิดใช้ค่าก่อสร้างตึกแถวพิพาทจำนวน 3 ห้องให้แก่โจทก์เนื่องจากเป็นการงานอันได้กระทำให้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสาม แต่เมื่อจำเลยทั้งสองฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดในช่วงระยะเวลาที่โจทก์ยังคงอยู่ในที่ดินและตึกพิพาทต่อมา จึงเห็นสมควรนำค่าเสียหายส่วนนี้มาหักกลบลบหนี้กับจำนวนค่าก่อสร้างตึกแถวจำนวน 3 ห้อง
โจทก์ก่อสร้างตึกแถวตามสัญญา ต่อมาจำเลยทั้งสองบอกเลิกสัญญาก่อสร้างตึกแถวและสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวเลิกกันเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2528 ดังนั้น โจทก์จึงควรได้ค่าก่อสร้างตึกแถวเพียงเท่าที่ก่อสร้างจนถึงวันที่ 13 กรกฎาคม 2528 ซึ่งเป็นเวลาหลังจากตกลงกัน 6 เดือน หลังจากนั้นโจทก์ยังก่อสร้างตึกแถวอีก 3 เดือนจำเลยทั้งสองจึงต้องร่วมรับผิดใช้ค่าก่อสร้างตึกแถวพิพาทจำนวน 3 ห้องให้แก่โจทก์เนื่องจากเป็นการงานอันได้กระทำให้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสาม แต่เมื่อจำเลยทั้งสองฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดในช่วงระยะเวลาที่โจทก์ยังคงอยู่ในที่ดินและตึกพิพาทต่อมา จึงเห็นสมควรนำค่าเสียหายส่วนนี้มาหักกลบลบหนี้กับจำนวนค่าก่อสร้างตึกแถวจำนวน 3 ห้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2696/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจัดการศพของผู้เปลี่ยนศาสนา: ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้องขอจัดการศพตามศาสนาที่ผู้ตายนับถือ
จำเลยที่ 1 อยู่กินเป็นสามีภริยากับผู้ตายมานานกว่า 10 ปี โดยผู้ตายเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายจำเลยที่ 1 เป็นธุระจัดการทำศพโดยทำพิธีศพของผู้ตายตามแบบพิธีที่ผู้ตายนับถือซึ่งถูกต้องสมควรแก่จารีตประเพณีท้องถิ่น นับว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอต่อศาลให้ตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการทำศพของผู้ตายได้ หากเห็นว่าโจทก์ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกมากที่สุด อันมีอำนาจหน้าที่จัดการทำศพของผู้ตายไม่สมควรเป็นผู้จัดการทำศพได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1649 วรรคสอง ดังนั้น เมื่อศพผู้ตายได้มีการจัดการฝังแล้วตามหลักศาสนาอิสลามที่ผู้ตายนับถือ จึงหมดความจำเป็นที่จะนำศพผู้ตายขึ้นมาจัดการทำศพ โจทก์ไม่มีอำนาจเรียกให้ส่งมอบศพผู้ตายให้แก่โจทก์เพื่อจัดการทำศพอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2696/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจัดการศพของผู้เปลี่ยนศาสนา: ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้องขอจัดการศพตามศาสนาที่เปลี่ยนไปได้
จำเลยที่ 1 มิได้เป็นทายาทของผู้ตายและไม่มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการทำศพผู้ตาย แต่จำเลยที่ 1 อยู่กินฉันสามีภริยากับผู้ตายมานานกว่า 10 ปี โดยผู้ตายนั้นมานับถือศาสนาอิสลามเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 นับได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอต่อศาลให้ตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการทำศพผู้ตายได้ หากจำเลยที่ 1 เห็นว่าโจทก์ซึ่งเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายและเป็นทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกมากที่สุด อันมีอำนาจหน้าที่จัดการทำศพของผู้ตายไม่สมควรเป็นผู้จัดการทำศพตาม ป.พ.พ. มาตรา 1649 วรรคสอง การที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การต่อสู้คดีพอถือได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องขอตามบทกฎหมายดังกล่าว ดังนั้น เมื่อศพผู้ตายได้มีการจัดการฝังแล้วตามหลักศาสนาอิสลามที่ผู้ตายนับถือจึงหมดความจำเป็นที่จะนำศพผู้ตายขึ้นมาจัดการทำศพ โจทก์ไม่มีอำนาจเรียกให้ส่งมอบศพผู้ตายให้แก่โจทก์เพื่อจัดการทำศพอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2696/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจัดการศพของผู้มีส่วนได้เสียทางศาสนา: กรณีผู้ตายเปลี่ยนศาสนาและมีพิธีศพตามหลักศาสนาใหม่
ผู้ตายได้อยู่กินเป็นภริยาจำเลยที่ 1 เป็นเวลา 10 กว่าปี และเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามนับแต่นั้น จนถึงแก่ความตายเมื่อกลางปี 2540 ขณะมีอายุ 65 ปี จำเลยที่ 1 ได้ทำพิธีศพของผู้ตายตามประเพณีที่ผู้ตายนับถือ แม้จำเลยที่ 1 มิได้เป็นทายาทของผู้ตายและไม่มีอำนาจหน้าที่ในการจัดทำศพผู้ตาย แต่จำเลยที่ 1 อยู่กินเป็นสามีภริยากับผู้ตายมานานกว่า 10 ปี นับได้ว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอต่อศาลให้ตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการทำศพผู้ตายได้ หากเห็นว่าโจทก์ซึ่งเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายและเป็นทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกมากที่สุดอันมีอำนาจหน้าที่จัดการทำศพของผู้ตายไม่สมควรเป็นผู้จัดการทำศพได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1649 วรรคสอง การที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การต่อสู้คดีพอถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องขอตามบทกฎหมายดังกล่าว แต่เมื่อศพผู้ตายได้มีการฝังแล้วตามหลักศาสนาอิสลาม จึงหมดความจำเป็นที่จะนำศพผู้ตายขึ้นมาจัดการทำศพ โจทก์ไม่มีอำนาจเรียกให้ส่งมอบศพผู้ตายให้แก่โจทก์เพื่อจัดการทำศพอีก