คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชุติมา จงสงวน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 89 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8645/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการพิจารณาอุทธรณ์ตามคำฟ้อง: ศาลอุทธรณ์พิจารณาเฉพาะประเด็นที่จำเลยขอให้แก้ตามคำฟ้องอุทธรณ์
คดีมีประเด็นข้อพิพาท 4 ประเด็น ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยแพ้ในประเด็นที่ 1 ถึงที่ 3 และชนะในประเด็นที่ 4 จำเลยอุทธรณ์โดยบรรยายฟ้องอุทธรณ์เกี่ยวกับสามประเด็นที่แพ้ แต่มีคำขอท้ายอุทธรณ์เพียงขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้ประเด็นที่ 2 เพียงประเด็นเดียว นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แสดงว่าจำเลยไม่ประสงค์ที่จะขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาพิพากษาในประเด็นที่ 1 และที่ 3 อุทธรณ์ของจำเลยเป็นคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 ซึ่งมาตรา 142 ประกอบมาตรา 246 ห้ามมิให้ศาลพิพากษาหรือทำคำสั่งให้สิ่งใด ๆ เกินกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในประเด็นที่ 2 เพียงข้อเดียว โดยมิได้วินิจฉัยประเด็นข้ออื่นจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8645/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการอุทธรณ์จำกัด ศาลอุทธรณ์ชอบที่วินิจฉัยเฉพาะประเด็นที่จำเลยขอให้แก้ไข
คดีมีประเด็นข้อพิพาท 4 ประเด็น ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยแพ้ในประเด็นที่ 1 ถึงที่ 3 และชนะในประเด็นที่ 4 จำเลยอุทธรณ์โดยบรรยายฟ้องอุทธรณ์เกี่ยวกับสามประเด็นที่แพ้ แต่มีคำขอท้ายอุทธรณ์เพียงขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้ประเด็นที่ 2 เพียงประเด็นเดียว นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แสดงว่าจำเลยไม่ประสงค์ที่จะขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาพิพากษาในประเด็นที่ 1 และที่ 3 อุทธรณ์ของจำเลยเป็นคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 ซึ่งมาตรา 142 ประกอบมาตรา 246 ห้ามมิให้ศาลพิพากษาหรือทำคำสั่งให้สิ่งใด ๆ เกินกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในประเด็นที่ 2 เพียงข้อเดียว โดยมิได้วินิจฉัยประเด็นข้ออื่นจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8097/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรส: การได้มาซึ่งทรัพย์สินระหว่างสมรสโดยการซื้อร่วมและยกให้โดยเสน่หา การพิจารณาตามกฎหมายที่ใช้บังคับ ณ ขณะได้มา
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์และจำเลยเป็นสามีและภริยากันได้ร่วมกับ ฉ. ซื้อที่ดินพิพาทโดยใส่ชื่อ ฉ. เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว ต่อมา ฉ. ได้โอนที่ดินใส่ชื่อจำเลยแต่ผู้เดียว ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรส จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทโจทก์และจำเลยไม่ได้ร่วมกันซื้อ แต่ ฉ. เป็นผู้ซื้อแต่เพียงผู้เดียว ต่อมาได้ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยโดยเสน่หา จึงเป็นสินส่วนตัวของจำเลย ดังนั้น ประเด็นที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัว และจำเลยได้มาโดยการซื้อร่วมกับโจทก์หรือได้รับการยกให้โดยเสน่หาจาก ฉ. จึงเป็นข้อที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วตั้งแต่ศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทจำเลยรับโอนมาจาก ฉ. โดยเสน่หาและเป็นสินสมรส จึงมิใช่เป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8097/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรส: การโอนที่ดินโดยเสน่หา และการซื้อร่วมกัน ถือเป็นประเด็นที่ศาลวินิจฉัยได้
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์และจำเลยเป็นสามีและภริยากันได้ร่วมกับนายฉายซื้อที่ดินพิพาท โดยใส่ชื่อนายฉายเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว ต่อมานายฉายได้โอนที่ดินใส่ชื่อจำเลยแต่ผู้เดียว ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรส จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทโจทก์และจำเลยไม่ได้ร่วมกันซื้อ แต่นายฉายเป็นผู้ซื้อแต่เพียงผู้เดียว และภายหลังต่อมาได้ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยโดยเสน่หา จึงเป็นสินส่วนตัวของจำเลย ดังนั้น ประเด็นที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัวและจำเลยได้มาโดยการซื้อร่วมกับโจทก์หรือได้รับการยกให้โดยเสน่หาจากนายฉาย จึงเป็นข้อที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วตั้งแต่ศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า ที่ดินพิพาทจำเลยรับโอนมาจากนายฉายโดยเสน่หาและเป็นสินสมรสจึงมิใช่เป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8009/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการนับระยะเวลาฝึกอบรมต่อเนื่องสำหรับเด็กและเยาวชนตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ
ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 104 (2) บัญญัติให้ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวมีอำนาจใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษทางอาญา โดยเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึกอบรมตามเวลาที่ศาลกำหนดแต่ต้องไม่เกินกว่าเด็กหรือเยาวชนนั้นมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์ บทบัญญัติดังกล่าวไม่ได้ห้ามเรื่องการนับระยะเวลาฝึกอบรมต่อเนื่องกัน กรณีจึงเป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจว่าสมควรจะให้นับระยะเวลาฝึกอบรมต่อเนื่องกับระยะเวลาฝึกอบรมของคดีอื่นหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้โดยคำนึงถึงสวัสดิภาพและอนาคตของเด็กหรือเยาวชนซึ่งควรได้รับการฝึกอบรมสั่งสอนและสงเคราะห์ให้กลับตัวเป็นพลเมืองดีและให้เหมาะสมกับตัวเด็กหรือเยาวชนเป็นคน ๆ ไป ตามมาตรา 82 ของกฎหมายดังกล่าว เมื่อศาลชั้นต้นเห็นสมควรจะให้จำเลยที่ 1 ฝึกอบรมต่อเนื่องกับการฝึกอบรมในคดีอาญาอีกคดีหนึ่งของศาลชั้นต้นแล้วก็มีอำนาจที่จะพิพากษาหรือมีคำสั่งได้โดยการฝึกอบรมต้องไม่ให้ระยะเวลาเกินกว่าจำเลยที่ 1 มีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6746/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายบ้านค้างชำระ & ล่าช้า ผู้ขายต้องคืนเงินดาวน์ หากไม่พร้อมโอนกรรมสิทธิ์
สัญญาจะซื้อจะขายบ้านพร้อมที่ดินระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนและล่วงเลยเวลาการชำระหนี้มาประมาณครึ่งปีแล้ว โดยโจทก์มิได้ชำระเงินดาวน์ให้ครบถ้วนตามสัญญา ส่วนจำเลยก็มิได้ก่อสร้างบ้านให้แล้วเสร็จในกำหนดที่ตกลงเช่นกัน หนี้ที่จำเลยทวงถามเป็นเงินดาวน์งวดสุดท้ายเพียง 29,500 บาท ซึ่งโจทก์ชำระมาแล้วถึง 642,000 บาท คงเหลือเพียงการโอนกรรมสิทธิ์กันและชำระเงินที่เหลือทั้งหมดโดยวิธีกู้เงินจากธนาคารเท่านั้น ดังนั้น หนังสือบอกกล่าวของจำเลยที่ทวงถามให้โจทก์ชำระหนี้เงินดาวน์งวดสุดท้ายเพื่อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญานั้น จำเลยจะต้องขอปฏิบัติการชำระหนี้ต่อโจทก์ด้วยว่าจำเลยพร้อมที่จะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านให้แก่โจทก์แล้ว เมื่อจำเลยมิได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้ด้วย โจท์ก่จะไม่ยอมชำระหนี้นั้นก็ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 369 เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาภายหลังจากจำเลยเคยบอกเลิกสัญญามาแล้ว เท่ากับต่างฝ่ายต่างมีเจตนาเลิกสัญญาต่อกัน สัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเป็นอันเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายกลับคืนสู่ฐานะที่เป็นอยู่เดิม จำเลยต้องคืนเงินดาวน์ที่โจทก์ชำระแล้วทั้งหมดแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 391

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6255/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ตัวตนจำเลยเพื่อการนับโทษต่อ จำเลยให้การรับสารภาพความผิดตามฟ้อง ไม่ถือเป็นการรับสารภาพว่าเป็นบุคคลเดียวกันกับจำเลยในคดีอื่น
ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 1 เป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงต่างหากจากข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดและเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์มีหน้าที่นำสืบให้ปรากฏ คดีนี้จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพเพียงว่าได้กระทำความผิดตามฟ้องเท่านั้น มิได้ให้การรับด้วยว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในที่คดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบให้ปรากฏเช่นนั้น ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ จะนับโทษจำเลยที่ 1 ต่อจากโทษจำเลยในคดีดังกล่าวหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6255/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ตัวตนจำเลยเพื่อประโยชน์ในการนับโทษ: โจทก์มีหน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงต่างหาก
ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 1 เป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยที่ 2 ในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 1668/2546 คดีหมายเลขแดงที่ 1846/2546 ของศาลชั้นต้น เป็นข้อเท็จจริงต่างหากจากข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิด และเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์มีหน้าที่นำสืบให้ปรากฏ คดีนี้ จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพเพียงว่าได้กระทำความผิดตามฟ้องเท่านั้น มิได้ให้การรับด้วยว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยที่ 2 ในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ โจทก์ก็ไม่ได้นำสืบให้ปรากฏเช่นนั้น ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยที่ 2 ในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5387/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษต่อจากคดีที่ยังไม่ถึงที่สุด ศาลฎีกาวินิจฉัยว่านับโทษได้หากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาลงโทษแล้ว
การนับโทษต่อจากสำนวนคดีเรื่องใดจะต้องปรากฏว่าคดีเรื่องนั้นศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยไว้ก่อนแล้ว เมื่อศาลพิพากษาคดีเรื่องหลังจึงจะนับโทษต่อจากกำหนดโทษในสำนวนคดีเรื่องก่อนได้ เมื่อปรากฏจากคำฟ้องฎีกาของจำเลยที่ 2 แจ้งชัดแล้วว่าคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษจำเลยต่อนั้น ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำเลยแม้ว่าคดีดังกล่าวที่โจทก์ขอให้นับโทษจำเลยต่อจะยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ยังไม่ถึงที่สุดดังที่จำเลยที่ 2 กล่าวอ้างก็ตาม แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์จำเลยจึงยังคงต้องถูกบังคับตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวอยู่ การที่คดียังไม่ถึงที่สุดจึงไม่ใช่เหตุที่จะนำมานับโทษจำเลยต่อไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4291/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดระยะเวลาส่งตัวเยาวชนเข้าสถานพินิจต้องไม่เกินอายุ 24 ปีบริบูรณ์ ตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ
การเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมยังสถานพินิจตามเวลาที่ศาลกำหนดตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 104 (2) ต้องไม่เกินกว่าที่เด็กหรือเยาวชนนั้นมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์ เว้นแต่กรณีที่ศาลมีคำสั่งตามวรรคสุดท้ายของมาตรา 104 ซึ่งตามบทบัญญัติของกฎหมายจะต้องระบุให้ชัดเจนในคำพิพากษาด้วยว่าเมื่อจำเลยมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์แล้วให้ส่งตัวจำเลยไปจำคุกไว้ในเรือนจำตามเวลาที่ศาลกำหนดด้วย คดีนี้จำเลยเกิดวันที่ 25 พฤษภาคม 2525 แต่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาจำเลยจะมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์วันที่ 24 พฤษภาคม 2549 ดังนั้น กำหนดเวลาในการฝึกและอบรมตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 ที่พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ส่งตัวจำเลยไปควบคุมเพื่อฝึกอบรมขั้นต่ำ 3 ปี ขั้นสูง 3 ปี 10 เดือน จึงเกินกว่าที่จำเลยมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์ ขัดต่อบทบัญญัติกฎหมายข้างต้น ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้
of 9