คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชุติมา จงสงวน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 89 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4166/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิง แม้ไม่สำเร็จเนื่องจากขนาดทางกายภาพของเด็ก
ตามพฤติการณ์จำเลยนับแต่จูงผู้เสียหายไปที่ที่นอน ถอดกางเกงผู้เสียหายออกและใช้อวัยวะเพศของจำเลยยัดใส่อวัยวะเพศของผู้เสียหาย ผู้เสียหายเจ็บแต่ร้องไม่ออกเพราะจำเลยใช้มือบีบคอไว้ ซึ่งจำเลยทำอยู่นาน ผู้เสียหายเจ็บจนกระทั่งมีน้ำสีขาวออกมาจากอวัยวะเพศของจำเลย อากัปกิริยาเช่นนี้ของจำเลยเห็นได้ชัดเจนว่า จำเลยเจตนาชำเราผู้เสียหาย และได้ลงมือกระทำชำเราแล้ว แต่ที่การกระทำไม่บรรลุผลเป็นเพราะอวัยวะเพศของผู้เสียหายมีขนาดเล็กเนื่องจากเป็นเด็กหญิงอายุเพียง 8 ปี เป็นเหตุให้จำเลยไม่สามารถสอดใส่อวัยวะเพศของตนล่วงล้ำเข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหายได้ จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย
การกระทำที่ไม่สามารถบรรลุได้อย่างแน่แท้ตาม ป.อ. มาตรา 81 ต้องเป็นกรณีเกี่ยวกับปัจจัยหรือวัตถุซึ่งซึ่งใช้ในการกระทำผิดไม่สามารถจะกระทำให้บรรลุผลได้อย่างแน่แท้ เช่นหญิงไม่มีช่องคลอดผิดปกติมาแต่กำเนิด ซึ่งอย่างไรๆ อวัยวะเพศชายก็ไม่สามารถจะสอดใส่เข้าไปในอวัยวะเพศของหญิงดังกล่าวได้ แต่สำหรับในกรณีของจำเลยที่ไม่สามารถจะสอดใส่อวัยวะเพศของตนเข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหายมิได้เกิดจากความผิดปกติที่ช่องคลอดของผู้เสียหาย แต่เป็นเพราะอวัยวะเพศของผู้เสียหายมีขนาดเล็กตามธรรมชาติในวัยเด็กเล็กที่มีอายุเพียง 8 ปี การกระทำของจำเลยจึงไม่ใช่กรณีที่ปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำผิดไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ตามความหมายในมาตรา 81

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4166/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามข่มขืนกระทำชำเรา แม้ไม่สำเร็จเนื่องจากขนาดร่างกายของผู้เสียหาย
พฤติการณ์ของจำเลยนับแต่จูงผู้เสียหายไปที่ที่นอน ถอดกางเกงผู้เสียหายออกและใช้อวัยวะเพศของจำเลยยัดใส่อวัยวะเพศของผู้เสียหาย ผู้เสียหายเจ็บแต่ร้องไม่ออกเพราะจำเลยใช้มือบีบคอไว้ ซึ่งจำเลยทำอยู่นาน ผู้เสียหายเจ็บจนกระทั่งมีน้ำสีขาวออกมาจากอวัยวะเพศของจำเลย อากัปกิริยาเช่นนี้ของจำเลยเห็นได้ชัดเจนว่าจำเลยเจตนาชำเราผู้เสียหาย และได้ลงมือกระทำชำเราแล้ว แต่ที่การกระทำไม่บรรลุผลเป็นเพราะอวัยวะเพศของผู้เสียหายมีขนาดเล็กเนื่องจากเป็นเด็กหญิงอายุเพียง 8 ปี เป็นเหตุให้จำเลยไม่สามารถสอดใส่อวัยวะเพศของตนล่วงล้ำเข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหายได้ จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย หาใช่เจตนาเพียงกระทำอนาจารไม่
การพยายามกระทำชำเราที่ไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ตาม ป.อ. มาตรา 81 ต้องเป็นกรณีที่เกี่ยวกับปัจจัยหรือวัตถุซึ่งใช้ในการกระทำผิดไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ เช่น หญิงไม่มีช่องคลอด ผิดปกติมาแต่กำเนิด ซึ่งอย่างไร ๆ อวัยวะเพศชายก็ไม่สามารถสอดใส่อวัยวะเพศของตนเข้าไปในอวัยวะเพศของหญิงดังกล่าวได้ แต่สำหรับในกรณีของจำเลยที่ไม่สามารถสอดใส่อวัยวะเพศของตนเข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหาย มิได้เกิดจากความผิดปกติที่ช่องคลอดของผู้เสียหาย แต่เป็นเพราะอวัยวะเพศของผู้เสียหายมีขนาดเล็กตามธรรมชาติในวัยเด็กเล็กที่มีอายุเพียง 8 ปี การกระทำของจำเลยจึงไม่ใช่กรณีที่ปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำผิดไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ตามความหมายในมาตรา 81

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3764/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกหมายจับแทนการแจ้งนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 กรณีจำเลยย้ายที่อยู่หลังศาลชั้นต้นพิพากษา ศาลฎีกาเพิกถอนคำพิพากษาลับหลัง
ศาลชั้นต้นไม่แจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 แก่จำเลยที่ 2 เพราะส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยที่ 2 ไม่ได้เนื่องจากรื้อบ้านไปแล้ว โดยเห็นว่ามีพฤติการณ์หลบหนี ให้ออกหมายจับจำเลยที่ 2 มาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 เมื่อปรากฏว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลยที่ 2 และปรับโทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ จำเลยที่ 2 ชำระค่าปรับจึงเป็นการปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นครบถ้วนไม่มีเหตุที่จำเลยที่ 2 จะหลบหนีเพื่อไม่ให้ถูกลงโทษตามกฎหมาย ดังนั้นการที่จำเลยที่ 2 ย้ายบ้านไม่น่าจะเป็นเหตุให้สงสัยว่าจำเลยที่ 2 หลบหนี ทั้งจำเลยที่ 2 และครอบครัวจำเป็นต้องออกจากบ้านพักเลขที่ดังกล่าวตามคำสั่งของทางราชการ แต่ยังคงอาศัยอยู่ในบริเวณนั้นโดยเปิดเผยไม่ได้ปกปิดซ่อนเร้นที่จะแสดงให้เห็นว่ามีเจตนาจะหลบหนี ที่ศาลชั้นต้นออกหมายจับจำเลยที่ 2 และอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ลับหลังจำเลยที่ 2 จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาชอบที่จะเพิกถอนเสียตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3451/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตาย และทำร้ายร่างกายผู้อื่น ศาลพิจารณาความผิดฐานฆ่าและทำร้ายร่างกายเป็นกรรมต่างกัน
จำเลยและผู้ตายทะเลาะวิวาทกันเนื่องจากผู้ตายชวน บ. ซึ่งช่วยจำเลยทำสวนไปทำงานที่อื่น เมื่อต่อสู้กันจำเลยใช้มีดอีโต้ฟันผู้ตายจนล้มลงแล้วฟันผู้ตายหลายครั้ง จนผู้ตายถึงแก่ความตาย ผู้เสียหายเข้าไปจะช่วยผู้ตาย จำเลยใช้มีดฟันหน้าผู้เสียหาย 1 ครั้ง แล้ววิ่งหลบหนีไป การกระทำดังกล่าวจึงไม่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย และการที่จำเลยใช้มีดฟันผู้เสียหายที่เข้าไปจะช่วยเหลือผู้ตาย เป็นการกระทำต่างกรรมและต่างเจตนากับการฆ่าผู้ตาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิด 2 กรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2680/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าเมื่อผู้เช่าผิดสัญญา และผลของการบอกเลิกสัญญา
ป.พ.พ. มาตรา 560 วรรคสอง เป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับในกรณีที่คู่สัญญาไม่ได้มีข้อตกลงเรื่องการบอกเลิกสัญญาเช่ากันไว้เป็นอย่างอื่น เมื่อสัญญาเช่าระบุให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าได้ทันทีในกรณีโจทก์กระทำผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดและโจทก์กระทำผิดสัญญาแล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงบอกเลิกสัญญาเช่าได้ทันทีโดยไม่จำต้องบอกกล่าวให้โจทก์ชำระค่าเช่าก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2349/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ล้มละลายของโจทก์ไม่ทำให้คดีอาญาที่ฟ้องไว้ระงับ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินคดีแทนได้
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 22 ถึงมาตรา 25 เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์โจทก์แล้ว กฎหมายบัญญัติห้ามมิให้โจทก์กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของตน โดยให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้มีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์ รวมทั้งการดำเนินคดีฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์เท่านั้น และถึงแม้โจทก์สิ้นสภาพบุคคลและเป็นคดีความผิดอันยอมความกันได้ก็ตาม ก็หาได้มีกฎหมายบัญญัติว่าในคดีอาญานั้น เมื่อโจทก์สิ้นสภาพบุคคลหรือตายแล้วให้คดีอาญาระงับไปไม่ คงมีแต่คดีอาญาเลิกกันและสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 37 และมาตรา 39 กับคดีเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 7 เท่านั้น คดีนี้เป็นคดีอาญาอยู่ระหว่างรออ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คำพิพากษาของศาลชั้นต้นยังอยู่จะนำ ป.วิ.พ. มาตรา 132 (3) มาใช้บังคับมิได้ เมื่อโจทก์มิได้ถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้องหรือยอมความกันหรือมีเหตุทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ และจำเลยทั้งสองมิได้นำเงินตามจำนวนในเช็คมาชำระภายในสามสิบวัน นับแต่ได้รับหนังสือจากผู้ทรงว่าธนาคารไม่ใช้เงินตามเช็คหรือมูลหนี้ที่ออกเช็คสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด จำเลยทั้งสองจะขอให้ศาลจำหน่ายคดีหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2349/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีอาญาไม่ระงับเมื่อโจทก์ล้มละลาย สิทธิฟ้องยังคงอยู่หากยังไม่ถอนฟ้องหรือยอมความ
โจทก์เป็นนิติบุคคลฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ แล้วโจทก์ถูกศาลพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและพิพากษาให้ล้มละลาย แม้จะถือว่าโจทก์สิ้นสภาพบุคคลก็หาได้มีกฎหมายบัญญัติว่า ในคดีอาญานั้นเมื่อโจทก์สิ้นสภาพบุคคลหรือตายแล้ว ให้คดีอาญาระงับไปคงมีแต่คดีอาญาเลิกกันและสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 37 และมาตรา 39 กับคดีอาญาเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 เท่านั้น คดีนี้เป็นคดีอาญาอยู่ระหว่างรอการอ่าน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คำพิพากษาของศาลชั้นต้นยังมีผลบังคับอยู่ จะนำ ป.วิ.พ. มาตรา 132 (3) มาใช้บังคับมิได้ เมื่อโจทก์มิได้ถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้อง หรือยอมความ หรือมีเหตุทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ และจำเลยทั้งสอง มิได้นำเงินตามจำนวนในเช็คมาชำระภายในสามสิบวันนับแต่ได้รับหนังสือจากผู้ทรงว่าธนาคารไม่ใช้เงินตามเช็คหรือมูลหนี้ที่ออกเช็คสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด จำเลยทั้งสองจะขอให้ศาลจำหน่ายคดีหาได้ไม่
สำหรับปัญหาการส่งสำเนาฎีกาให้แก่โจทก์กรณีที่โจทก์ไม่มีตัวตน หรือไม่มีผู้เข้าดำเนินคดีแทนนั้น ป.วิ.อ. มาตรา 201 ประกอบมาตรา 216 ก็ได้บัญญัติแนวทางปฏิบัติไว้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2220/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: ศาลอุทธรณ์แก้โทษลดลง ไม่เกิน 5 ปี ห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม, 277 วรรคแรก เรียงกระทงลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 91 ฐานพรากเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปี จำคุก 5 ปี ฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปี จำคุก 4 ปี รวมจำคุก 9 ปี เพิ่มโทษจำเลยหนึ่งในสามตาม ป.อ. มาตรา 92 รวมจำคุก 12 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้องคงลงโทษจำคุกจำเลยรวม 2 กระทงเช่นเดิม เพียงแต่ให้ยกคำขอที่ให้เพิ่มโทษ โจทก์มิได้ฎีกาในข้อที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ไม่เพิ่มโทษ จึงมีผลเท่ากับว่าศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในเรื่องไม่เพิ่มโทษซึ่งเป็นการแก้ไขเล็กน้อย และยังคงให้ลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยฎีกาว่าไม่ได้กระทำผิดทั้งสองฐานความผิดจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2110/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิด: การรับรู้ตัวผู้กระทำละเมิดและวันที่เริ่มนับอายุความ
โจทก์มีคำสั่งสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ 2193/2537 ลงวันที่ 3 พฤษภาคม 2537 เรื่องการมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดปฏิบัติราชการแทน (ด้านคดี) มีข้อความว่า อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 38 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ปลัดกระทรวงสาธารณสุขจึงออกคำสั่งมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงสาธารณสุขในฐานะหัวหน้าส่วนราชการของสำนักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุขในการแจ้งความเพื่อดำเนินคดีในทางแพ่งและอาญา เมื่อเกิดการทุจริตหรือเสียหายแก่ทรัพย์สินของสำนักงาน ปลัดกระทรวงสาธารณสุขที่เกิดขึ้นในจังหวัดนั้น คำสั่งดังกล่าวเป็นเพียงการออกคำสั่งมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งความเพื่อดำเนินคดีแทนโจทก์ เป็นการมอบอำนาจเฉพาะการแจ้งความเท่านั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดมิใช่เป็นตัวแทนของโจทก์ในเรื่องอื่น ๆ ด้วย การที่รองผู้ว่าราชการจังหวัดรักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัด ลงชื่อรับทราบรายงานการสอบสวนของคณะกรรมการการสอบสวนเพื่อพิจารณาหาตัวผู้รับผิดทางแพ่ง จึงไม่ใช่การลงชื่อในฐานะตัวแทนของโจทก์และถือไม่ได้ว่าโจทก์รู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดในวันดังกล่าว
รถยนต์ของโจทก์ถูกจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 กระทำละเมิดในทางการที่จ้าง เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2539 ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นมีคำสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนหาผู้รับผิดในทางแพ่ง ต่อมาวันที่ 12 กรกฎาคม 2539 คณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งได้ทำรายงานการสอบสวนเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นว่า จำเลยทั้งสองเป็นผู้รับผิดชอบในทางแพ่ง ซึ่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นรักษาราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นรับทราบรายงานเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2539 ต่อมาจังหวัดขอนแก่นส่งรายงานการสอบสวนไปให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งรองปลัดกระทรวงสาธารณสุขรักษาการแทนปลัดกระทรวงสาธารณสุขลงชื่อ รับทราบเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2539 จึงถือได้ว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2539 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2540 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1445/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีไว้เพื่อจำหน่ายและจำหน่ายยาเสพติดเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน แม้ต่อเนื่องกัน
การมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเป็นความผิดซึ่งอาศัยเจตนาในการกระทำความผิดแยกต่างหากจากกันได้ แม้เมทแอมเฟตามีนที่จำหน่ายไปจะเป็นส่วนหนึ่งของเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยที่ 1 มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และจำเลยที่ 1 ได้จำหน่ายไปในเวลาที่ต่อเนื่องกันก็ตาม แต่การกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาแยกการมีเมทแอมเฟตามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายต่างหากจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตั้งแต่จำเลยที่ 1 จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่ผู้ล่อซื้อแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตาม ป.อ. มาตรา 91
of 9