คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510 ม. 4

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบแร่จากการทำเหมืองโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้ไม่มีการฟ้องร้องอาญา
มาตรา 154 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดเหตุ บัญญัติว่า บรรดาแร่ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ สัตว์พาหนะ ยานพาหนะ หรือเครื่องจักรกลใด ๆ ที่บุคคลได้มาหรือได้ใช้ในการกระทำความผิด หรือมีไว้เนื่องในการกระทำความผิด หรือได้ใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดตามมาตรา 132 ทวิ ฯลฯ มาตรา 135 ฯลฯ มาตรา 148 ฯลฯ ให้ริบเสียทั้งสิ้นไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ โดยมาตรา 135 เป็นบทลงโทษในความผิดฐานทำเหมืองแร่โดยไม่ได้รับอนุญาตประทานบัตรหรือประทานบัตรชั่วคราว และมาตรา 148 เป็นบทลงโทษในความผิดฐานมีแร่ไว้ในครอบครองเกินสองกิโลกรัม เมื่อผู้คัดค้านไม่ได้รับประทานบัตรหรือประทานบัตรชั่วคราวในการทำเหมืองแร่ แต่ผู้คัดค้านทำการขุดดินและดินนั้นเป็นแร่ ซึ่งเป็นการทำเหมืองตามคำนิยามในมาตรา 4 ถือได้ว่ามีการกระทำความผิดฐานทำเหมืองแร่โดยไม่ได้รับอนุญาตประทานบัตรหรือประทานบัตรชั่วคราวเกิดขึ้นแล้ว ประกอบกับแร่ของกลางที่ขุดขึ้นมามีน้ำหนักเกินกว่าปริมาณที่กฎหมายกำหนด ผู้ใดจะครอบครองแร่ดังกล่าวได้จะต้องได้รับอนุญาตหรือมีเหตุยกเว้นตามกฎหมาย เมื่อไม่มีผู้ใดได้รับอนุญาตให้ครอบครองและไม่มีเหตุยกเว้นตามกฎหมาย แร่ของกลางจึงเป็นแร่ที่ได้มาหรือได้ใช้ในการกระทำความผิดหรือมีไว้เนื่องในการกระทำความผิดอันพึงต้องริบเสียทั้งสิ้นตามบทบัญญัติมาตรา 154 วรรคหนึ่ง สำหรับกรณีที่ผู้ร้องมีคำสั่งไม่ฟ้องผู้คัดค้านเนื่องด้วยขาดเจตนาในการกระทำความผิดนั้น หาได้กระทบถึงสิทธิการร้องขอให้ริบแร่ของกลางของผู้ร้อง เพราะการริบทรัพย์ตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว ริบได้โดยไม่จำต้องฟ้องหรือลงโทษผู้ใดเป็นผู้กระทำผิดมาด้วย ทั้งริบได้โดยไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8403/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขุดหินในเขตประทานบัตร: ไม่ใช่ลักทรัพย์ แต่เป็นการละเมิดสิทธิและบุกรุก
หิน 2,000 ลูกบาศก์เมตร ตามบัญชีทรัพย์ถูกประทุษร้ายเป็นหินที่ประเมินจากความเสียหายจากหินที่ถูกคนร้ายขุดขึ้นมา มิใช่หินที่โจทก์ร่วมขุดขึ้นมากองไว้แต่อย่างใด หินจำนวนดังกล่าวจึงเป็นหินแกรนิตที่มีอยู่ตามธรรมชาติและเป็นทรัพย์ที่ไม่มีเจ้าของแต่บุคคลอาจได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยการเข้ายึดถือเอา การที่บริษัท ก โจทก์ร่วมได้รับประทานบัตรในการทำเหมืองแร่เป็นการผูกขาดจากรัฐ โจทก์ร่วมจึงมีสิทธิเพียงว่า ถ้าจะขุดหินแกรนิตจากพื้นดินที่ได้รับประทานบัตรก็ย่อมมีสิทธิที่จะเข้าถือเอาได้โดยไม่มีการหวงห้ามเสมือนบุคคลที่ไม่ได้รับประทานบัตร แต่จะมีกรรมสิทธิ์ในหินแกรนิตได้จะต้องมีการเข้ายึดถือเอาอีกชั้นหนึ่งก่อน เมื่อโจทก์ร่วมยังมิได้เข้ายึดถือ ถือเอาหินแกรนิตในเขตประทานบัตรตาม ป.พ.พ. มาตรา 1318 โจทก์ร่วมจึงมิได้เป็นเจ้าของหินแกรนิต การที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 เข้าขุดหินแกรนิตซึ่งฝังอยู่ในดินโดยจำเลยที่ 4 ซึ่งมีที่ดินอยู่ใกล้กับเขตประทานบัตรของโจทก์ร่วมเป็นผู้ขายหินแกรนิตให้กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นเพียงการละเมิดสิทธิของโจทก์ร่วมตามประทานบัตรที่จะเข้ายึดถือเอาหินแกรนิตในเขตประทานบัตรเท่านั้น มิใช่เป็นการลักเอาทรัพย์ซึ่งเป็นหินแกรนิตของโจทก์ร่วมแต่อย่างใด
พื้นที่เกิดเหตุเป็นเขตประทานบัตร ผู้มีสิทธิขุดหินคือผู้ขอประทานบัตรและผู้รับช่วงประทานบัตร แม้ขณะเกิดเหตุจะอยู่ในช่วงขออนุญาตหยุดทำเหมืองแร่ก็ตาม แต่บุคคลที่เข้าไปในเขตประทานบัตรได้ก็คือบุคคลที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ซึ่งแสดงว่าโจทก์ร่วมยังมีเจตนาที่จะยึดถือครอบครองที่ดินในเขตประทานบัตรอยู่ตลอดเวลาที่มีการอนุญาตให้หยุดทำการเหมืองแร่ การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 เข้าไปขุดตักหินแกรนิตในเขตประทานบัตร ของโจทก์ร่วมโดยไม่ได้รับอนุญาตจนเป็นเหตุให้บริเวณดังกล่าวได้รับความเสียหายมีลักษณะเป็นหลุมบ่อกระจายอยู่โดยรอบเนื้อที่ประมาณ 8 ไร่ 2 งาน ย่อมเป็นความผิดฐานร่วมกันบุกรุกเข้าไปกระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปกติสุขตาม ป.อ. มาตรา 362 และฐานร่วมกันบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐ กระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการทำลายป่า ทั้งยังมีความผิดฐานเข้าไปทำลายหรือทำให้เสื่อมสภาพพื้นที่ในเขตประทานบัตรตาม พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510 มาตรา 12, 133 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 290/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำในความผิดกรรมเดียว แม้ฐานความผิดต่างกัน สิทธิฟ้องระงับตามกฎหมาย
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยข้อหาบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินทำเลเลี้ยงสัตว์ อันเป็นที่ดินของรัฐซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน โดยเข้าไประเบิดย่อยหินในที่ดินดังกล่าว โดยไม่มีสิทธิครอบครองและมิได้รับอนุญาตกับข้อหาละเว้นไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ ที่สั่งให้หยุดการระเบิดย่อยหินในที่ดินและออกไปจากที่ดินดังกล่าว จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้อง คดีถึงที่สุด ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาทำเหมืองโดยใช้เครื่องมือทำการระเบิดและย่อยหิน โดยมิได้รับประทานบัตรจากพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อความผิดฐานบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐในคดีก่อนกับความผิดคดีนี้ ระยะเวลาที่เกิดเหตุ สถานที่เกิดเหตุและการกระทำของจำเลยเป็นครั้งเดียวกัน แม้ฐานความผิดจะต่างกันก็เป็นความผิดกรรมเดียว ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องจำเลยในการกระทำความผิดดังกล่าวจนศาลพิพากษาลงโทษคดีถึงที่สุดไปแล้วสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(4) โจทก์มาฟ้องจำเลยอีกแม้จะอ้างบทลงโทษตามพระราชบัญญัติแร่ฯ ก็เป็นการฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 935/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินและสิทธิประทานบัตรทำเหมืองแร่เป็นสิทธิแยกต่างหาก การสิ้นสุดประทานบัตรไม่ทำให้สิทธิครอบครองเดิมสิ้นสุด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของและผู้ครอบครองที่ดินเนื้อที่ประมาณ 1,000 ไร่ ซึ่งรวมทั้งที่ดินพิพาทด้วย โดยโจทก์ซื้อสิทธิในกิจการเหมืองแร่และสิทธิในการครอบครองที่ดินจากบริษัท ซ. และโจทก์ได้ครอบครองทำประโยชน์เพื่อตนเองมาโดยตลอด ตามคำฟ้องโจทก์นอกจากจะกล่าวอ้างว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในการทำเหมืองแร่โดยรับโอนสิทธิตามประทานบัตรแล้ว ยังได้กล่าวอ้างมาด้วยว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยซื้อหรือรับโอนมาจากเจ้าของที่ดินเดิมอีกด้วย สิทธิตามประทานบัตรซึ่งเป็นสิทธิในการทำเหมืองแร่นั้นเป็นสิทธิที่จะต้องบังคับตาม พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510 อันแตกต่างกับสิทธิครอบครองในที่ดิน ซึ่งต้องบังคับตาม ป.พ.พ. จึงเป็นสิทธิคนละส่วนแยกต่างหากจากกันได้ หาใช่ว่าหากผู้ใดมีสิทธิตามประทานบัตรแล้วจะไม่อาจมีสิทธิครอบครองในที่ดินตามประทานบัตรนั้นได้เลยไม่ มิฉะนั้นจะมีผลเป็นว่า ผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินแปลงใดโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แต่เดิมแล้ว หากต่อมาได้รับอนุญาตให้ทำเหมืองแร่ในที่ดินแปลงดังกล่าวจะทำให้สิทธิครอบครองซึ่งมีอยู่แต่เดิมก่อนแล้วต้องหมดสิ้นไปด้วย โจทก์จึงสามารถมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินที่อยู่ในเขตประทานบัตรการทำเหมืองแร่ได้
โจทก์ได้ยึดถือครอบครองทำเหมืองแร่และปลูกต้นไม้ในที่ดินที่พิพาทมาโดยตลอดแม้เจ้าของที่ดินเดิมได้แจ้งแก่นายอำเภอให้ทราบว่า เจ้าของที่ดินเดิมแต่ละคนที่ยื่นแบบแจ้งการครอบครองไว้แล้ว ได้โอนสิทธิครอบครองในที่ดินแต่ละรายให้แก่ผู้อื่นไป ซึ่งหากจะถือว่าข้อความดังกล่าวเป็นการสละสิทธิครอบครองก็เป็นการสละสิทธิครอบครอง เพราะได้โอนสิทธิครอบครองของตนไปให้บุคคลอื่นโดยผู้โอนมิได้ยึดถือครอบครองเพื่อตนเองอีกต่อไป หาใช่ว่าเป็นการสละสิทธิครอบครองอันจะมีผลทำให้ที่ดินดังกล่าวกลับกลายสภาพเป็นที่รกร้างว่างเปล่าแต่อย่างใดไม่ ทั้งการที่เจ้าของที่ดินเหล่านี้สละสิทธิครอบครองในที่ดินของตนก็เพื่อโอนให้บริษัท อ.เพื่อนำไปขอประทานบัตร ที่ดินพิพาทและบริเวณที่ดินตามประทานบัตรของโจทก์ซึ่งรับโอนมาจากบริษัท ซ. ผู้รับโอนมาจากบริษัท อ. อีกต่อหนึ่ง จึงมิใช่ที่ว่างเปล่าตาม พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510 และเมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ผู้มีสิทธิครอบครองได้โอนการครอบครองติดต่อกันมาจนถึงโจทก์ ซึ่งรับโอนมาทั้งสิทธิครอบครองและสิทธิตามประทานบัตรจากบริษัท ซ.และโจทก์ได้ยึดถือครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1367 แม้ประทานบัตรของโจทก์จะหมดอายุไปแล้ว ก็หามีผลทำให้โจทก์สิ้นสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 935/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินและสิทธิทำเหมืองแร่เป็นสิทธิแยกต่างหาก แม้ประทานบัตรหมดอายุ สิทธิครอบครองยังคงอยู่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของและผู้ครอบครองที่ดินเนื้อที่ประมาณ 1,000 ไร่ ซึ่งรวมทั้งที่ดินพิพาทด้วยโดยโจทก์ซื้อสิทธิในกิจการเหมืองแร่และสิทธิในการ ครอบครองที่ดินจากบริษัท ซ. และโจทก์ได้ครอบครองทำประโยชน์เพื่อตนเองมาโดยตลอด ตามคำฟ้องโจทก์นอกจากจะกล่าวอ้างว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิในการทำเหมืองแร่โดยรับโอนสิทธิตาม ประทานบัตรแล้ว ยังได้กล่าวอ้างมาด้วยว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิ ครอบครองที่ดินพิพาทโดยซื้อหรือรับโอนมาจากเจ้าของที่ดินเดิม อีกด้วย สิทธิตามประทานบัตรซึ่งเป็นสิทธิในการทำเหมืองแร่นั้น เป็นสิทธิที่จะต้องบังคับตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 อันแตกต่างกับสิทธิครอบครองในที่ดิน ซึ่งต้องบังคับตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงเป็นสิทธิคนละส่วนแยกต่างหาก จากกันได้ หาใช่ว่าหากผู้ใดมีสิทธิตามประทานบัตรแล้ว จะไม่อาจมีสิทธิครอบครองในที่ดินตามประทานบัตรนั้นได้เลยไม่ มิฉะนั้นจะมีผลเป็นว่า ผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินแปลงใด โดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แต่เดิมแล้ว หากต่อมาได้รับอนุญาต ให้ทำเหมืองแร่ในที่ดินแปลงดังกล่าวจะทำให้สิทธิครอบครอง ซึ่งมีอยู่แต่เดิมก่อนแล้วต้องหมดสิ้นไปด้วย โจทก์จึงสามารถ มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินที่อยู่ในเขต ประทานบัตรการทำเหมืองแร่ได้ โจทก์ได้ยึดถือครอบครองทำเหมืองแร่และปลูกต้นไม้ในที่ดิน ที่พิพาทมาโดยตลอดแม้เจ้าของที่ดินเดิมได้แจ้งแก่นายอำเภอ ให้ทราบว่า เจ้าของที่ดินเดิมแต่ละคนที่ยื่นแบบแจ้งการ ครอบครองไว้แล้ว ได้โอนสิทธิครอบครองในที่ดินแต่ละราย ให้แก่ผู้อื่นไป ซึ่งหากจะถือว่าข้อความดังกล่าวเป็นการ สละสิทธิครอบครองก็เป็นการสละสิทธิครอบครอง เพราะได้ โอนสิทธิครอบครองของตนไปให้บุคคลอื่นโดยผู้โอนมิได้ยึดถือ ครอบครองเพื่อตนเองอีกต่อไป หาใช่ว่าเป็นการสละสิทธิ ครอบครองอันจะมีผลทำให้ที่ดินดังกล่าวกลับกลายสภาพเป็น ที่รกร้างว่างเปล่าแต่อย่างใดไม่ ทั้งการที่เจ้าของที่ดินเหล่านี้สละสิทธิครอบครองในที่ดินของตนก็เพื่อโอนให้บริษัท อ. เพื่อนำไปขอประทานบัตร ที่ดินพิพาทและบริเวณที่ดินตามประทานบัตรของโจทก์ซึ่งรับโอนมาจากบริษัท ซ.ผู้รับโอนมาจากบริษัทอ. อีกต่อหนึ่งจึงมิใช่ที่ว่างเปล่าตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510และเมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ผู้มีสิทธิครอบครองได้โอนการครอบครองติดต่อกันมาจนถึงโจทก์ ซึ่งรับโอนมาทั้งสิทธิครอบครองและสิทธิตามประทานบัตรจากบริษัท ซ.และโจทก์ได้ยึดถือครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา โจทก์จึงเป็น ผู้มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367 แม้ประทานบัตรของโจทก์จะหมดอายุไปแล้ว ก็หามีผลทำให้โจทก์ สิ้นสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 651/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินแยกจากสิทธิประทานบัตรทำเหมืองแร่ แม้ประทานบัตรหมดอายุ สิทธิครอบครองยังคงอยู่
ตามคำฟ้องโจทก์นอกจากจะกล่าวอ้างว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในการทำเหมืองแร่โดยรับโอนสิทธิตามประทานบัตรแล้วยังได้กล่าวอ้างมาด้วยว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยซื้อหรือรับโอนมาจากเจ้าของที่ดินเดิมอีกด้วยดังนี้สิทธิตามประทานบัตรซึ่งเป็นสิทธิในการทำเหมืองแร่นั้นเป็นสิทธิที่จะต้องบังคับตามพระราชบัญญัติแร่พ.ศ.2510อันแตกต่างกับสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทซึ่งต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จึงเป็นสิทธิคนละส่วนแยกต่างหากจากกันได้หาใช่ว่าหากผู้ใดมีสิทธิตามประทานบัตรแล้วจะไม่อาจมีสิทธิครอบครองในที่ดินตามประทานบัตรนั้นได้เลยมิฉะนั้นจะมีผลเป็นว่าผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินแปลงใดโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แต่เดิมแล้วหากต่อมาได้รับอนุญาตให้ทำเหมืองแร่ในที่ดินแปลงดังกล่าวจะทำให้สิทธิครอบครองซึ่งมีอยู่เดิมก่อนแล้วต้องหมดสิ้นไปด้วย ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ผู้มีสิทธิครอบครองได้โอนการครอบครองติดต่อกันมาจนถึงโจทก์ซึ่งรับโอนทั้งสิทธิครอบครองตามประทานบัตรจากบริษัทช. และโจทก์ได้ยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมาโจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1367แม้ประทานบัตรของโจทก์หมดอายุแล้วก็หามีผลทำให้โจทก์สิ้นสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสิทธิคนละส่วนกันแต่อย่างใดไม่การที่จำเลยและบริวารบุกรุกเข้าไปปลูกบ้านในที่ดินพิพาทจึงเป็นการรบกวนการครอบครองอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารให้ออกไปจากที่ดินพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 651/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินและสิทธิประทานบัตรเป็นสิทธิแยกต่างหาก แม้ประทานบัตรหมดอายุ สิทธิครอบครองยังคงอยู่
ตามคำฟ้องโจทก์นอกจากจะกล่าวอ้างว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิในการทำเหมืองแร่โดยรับโอนสิทธิตามประทานบัตรแล้ว ยังได้กล่าวอ้างมาด้วยว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยซื้อหรือรับโอนมาจากเจ้าของที่ดินเดิมอีกด้วย ดังนี้ สิทธิตามประทานบัตรซึ่งเป็นสิทธิในการทำเหมืองแร่นั้น เป็นสิทธิที่จะต้องบังคับตาม พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510 อันแตกต่างกับสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทซึ่งต้องบังคับตาม ป.พ.พ. จึงเป็นสิทธิคนละส่วนแยกต่างหากจากกันได้ หาใช่ว่าหากผู้ใดมีสิทธิตามประทานบัตรแล้ว จะไม่อาจมีสิทธิครอบครองในที่ดินตามประทานบัตรนั้นได้เลย มิฉะนั้นจะมีผลเป็นว่า ผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินแปลงใดโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แต่เดิมแล้ว หากต่อมาได้รับอนุญาตให้ทำเหมืองแร่ในที่ดินแปลงดังกล่าวจะทำให้สิทธิครอบครองซึ่งมีอยู่เดิมก่อนแล้วต้องหมดสิ้นไปด้วย
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ผู้มีสิทธิครอบครองได้โอนการครอบครองติดต่อกันมาจนถึงโจทก์ซึ่งรับโอนทั้งสิทธิครอบครองและสิทธิตามประทานบัตรจากบริษัท ซ. และโจทก์ได้ยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1367 แม้ประทานบัตรของโจทก์หมดอายุแล้วก็หามีผลทำให้โจทก์สิ้นสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสิทธิคนละส่วนกันแต่อย่างใดไม่ การที่จำเลยและบริวารบุกรุกเข้าไปปลูกบ้านในที่ดินพิพาทจึงเป็นการรบกวนการครอบครองอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารให้ออกไปจากที่ดินพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 263/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตกเป็นของแผ่นดินของรถยนต์ที่ใช้ในการขนส่งแร่ผิดกฎหมาย เมื่อเจ้าของไม่แสดงตัวตามประกาศ
พนักงานสอบสวนมิใช่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติแร่พ.ศ. 2510 มาตรา 4 การที่ บ. ผู้เช่าซื้อไปแสดงตัวต่อพนักงานสอบสวนและขอรับรถยนต์พิพาทซึ่งใช้เป็นยานพาหนะกระทำผิดในการบรรทุกแร่ผิดกฎหมายโดยไม่ปรากฏตัวเจ้าของหรือผู้ครอบครองขณะจับกุมคืน จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองได้รู้ตัวเจ้าของหรือผู้ครอบครองรถยนต์พิพาทอันจะเป็นเหตุให้กรมทรัพยากรธรณีจำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจที่จะประกาศหาตัวเจ้าของหรือผู้ครอบครองรถยนต์พิพาท เมื่อการประกาศที่จำเลยที่ 2 กระทำไปชอบด้วยกฎหมายโจทก์ผู้เป็นเจ้าของและ บ. ผู้ครอบครองรถยนต์พิพาทไม่แสดงตัวเพื่อขอรับคืนภายในกำหนดเวลาตามประกาศรถยนต์พิพาท จึงตกเป็นของแผ่นดินตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 15 เบญจ วรรคสามโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกรถยนต์พิพาทคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5812/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในพื้นที่คำขอประทานบัตร: ผู้ยื่นคำขอไม่มีอำนาจฟ้องผู้บุกรุก เนื่องจากสิทธิยังไม่สมบูรณ์และแร่เป็นสมบัติของรัฐ
โจทก์เป็นเพียงผู้ยื่นคำขอประทานบัตรเท่านั้น ซึ่งอธิบดีมีอำนาจสั่งยกคำขอประทานบัตรเสียได้ โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิเข้าไปกระทำการใด ๆ แก่พื้นที่และไม่มีสิทธิครอบครอง แร่ที่มีอยู่ในเขตพื้นที่ตามคำขอยังเป็นสมบัติของรัฐอยู่ ถ้ามีผู้มาขุดแร่ต้องถือว่ารัฐเป็นผู้เสียหายโดยตรง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1989/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานมีแร่ในครอบครองและขนแร่โดยไม่ได้รับอนุญาต แม้แร่เป็นของผู้อื่นก็มีความผิดได้
ปัญหาว่า ของกลางเป็นแร่หรือไม่ เป็นปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยให้การ รับสารภาพว่าของกลางดังกล่าวเป็นแร่ ฎีกาของจำเลยที่ว่าของกลางมิใช่แร่จึงเป็นฎีกาโต้เถียง ข้อเท็จจริงที่ยุติแล้ว ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้ พ.ร.บ. แร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 4 ให้บทนิยามคำว่า"มีแร่ไว้ในครอบครอง หมายความว่า การซื้อ แร่ การมีไว้ การยึดถือหรือการรับไว้ด้วย ประการใดซึ่ง แร่ ทั้งนี้ ไม่ว่าเพื่อตนเองหรือผู้อื่น" มาตรา 105 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดมีแร่ครอบครองแต่ ละชนิดเกินสองกิโลกรัม เว้นแต่ (1) ฯลฯ ถึง 12 ฯลฯ" มาตรา 108บัญญัติว่า ห้ามมิให้ผู้ใดขนแร่ในที่ใด เว้นแต่ (1) ฯลฯ ถึง 10 ฯลฯ"ดังนี้ การที่จำเลยครอบครองแร่โลหะตะกั่ว โดย ไม่ ชอบ ด้วย กฎหมายแม้ว่าแร่จะเป็นของบุคคลอื่น จำเลยย่อมมีความผิดฐาน มีแร่ไว้ในความครอบครองโดย ไม่ได้รับใบอนุญาตกระทงหนึ่ง และที่จำเลยครอบครองแร่โลหะตะกั่ว ของกลางแล้วขนแร่ไปโดย ไม่มีใบอนุญาตขนแร่ดังกล่าวโดย ฝ่าฝืนมาตรา 108 จำเลยย่อมมีความผิดฐาน ขนแร่โลหะตะกั่วตาม มาตรา 148 อีกกระทงหนึ่ง มิใช่เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท.
of 2