พบผลลัพธ์ทั้งหมด 229 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 922/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การฟ้องแย่งครอบครองต้องมีการยึดถือครอบครองก่อน มิใช่แค่การรังวัดเพื่อออกโฉนด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดินพิพาทมีชื่อจำเลยเป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์แต่โจทก์ได้แย่งการครอบครองและเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา การที่จำเลยนำเจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดเพื่อออกโฉนดที่ดินพิพาทโดยที่จำเลยยังไม่ได้เข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินพิพาท ดังนั้น ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าจำเลยแย่งสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทจึงยังไม่เกิด โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแต่อย่างใด ทั้งในการพิพากษาคดีศาลจะต้องพิพากษาตามคำขอของโจทก์ ซึ่งตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์มิได้ขอให้ศาลห้ามมิให้จำเลยออกโฉนดที่ดินพิพาท แต่กลับขอให้จำเลยจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อผู้มีสิทธิครอบครองการทำประโยชน์เป็นชื่อของโจทก์ จึงไม่มีกรณีจะพิพากษาให้ตามคำขอของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 922/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การฟ้องแย่งครอบครองต้องมีการยึดถือครอบครองจริง การพิพากษาต้องเป็นไปตามคำขอ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยรบกวนการครอบครองโดยนำเจ้าพนักงานที่ดินไปทำการรังวัดออกโฉนด ขอให้พิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทและให้จำเลยจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทจากชื่อจำเลยเป็นชื่อโจทก์ ตามคำฟ้องโจทก์ดังกล่าว โจทก์เป็นฝ่ายครอบครองที่ดินพิพาท ดังนั้น เพียงแต่การที่จำเลยนำพนักงานเจ้าหน้าที่ไปรังวัดออกโฉนดที่ดินพิพาทโดยที่จำเลยไม่ได้เข้าไปยึดถือครอบครอง ข้ออ้างในการที่จำเลยแย่งการครอบที่ดินพิพาทยังไม่เกิด ทั้งตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์มิได้ขอให้ศาลขจัดข้อที่โจทก์อ้างว่าถูกจำเลยโต้แย้งสิทธิ คือมิได้ขอให้ห้ามมิให้จำเลยออกโฉนดที่ดินพิพาท เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายครอบครองที่ดินพิพาทโดยที่จำเลยไม่ได้เข้าไปแย่งการครอบครอง โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 922/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การฟ้องขอให้ศาลพิพากษาเรื่องสิทธิครอบครองเมื่อยังไม่มีการแย่งการครอบครองเป็นเหตุไม่มีสิทธิฟ้อง
คำฟ้องของโจทก์อ้างว่าโจทก์เป็นฝ่ายครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมา ดังนั้นเพียงแต่จำเลยนำพนักงานเจ้าหน้าที่ไปรังวัดออกโฉนดที่ดินพิพาทโดยที่จำเลยไม่ได้เข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทข้ออ้างในการที่จำเลยแย่งสิทธิครอบครองจึงยังไม่เกิด ทั้งคำขอท้ายฟ้อง มิได้ขอให้ศาลขจัดข้อที่โจทก์อ้างว่าถูกจำเลยโต้แย้งสิทธิ คือมิได้ขอให้ห้ามมิให้จำเลยออกโฉนดที่ดินพิพาท เมื่อโจทก์อ้างว่าโจทก์เป็นฝ่ายครอบครองโดยที่จำเลยยังไม่ได้เข้าไปแย่งการครอบครอง โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 595/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องอุทธรณ์และการแจ้งผลการส่งหมายนัด: ความรับผิดของจำเลยในการดำเนินการตามคำสั่งศาล
จำเลยที่ 2 และที่ 3 ยื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2544 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2544 ว่า "รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 สำเนาให้โจทก์ โดยให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 นำส่งใน 5 วัน หากส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 15 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์" และมีข้อความประทับไว้ด้วยว่า "ให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 9 เมษายน 2544 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว" และทนายจำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อไว้ข้างล่างข้อความดังกล่าว จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งในอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 โดยชอบแล้วตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2544 ต่อมาวันที่ 13 พฤษภาคม 2544 เจ้าพนักงานศาลนำหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ไปส่งให้แก่โจทก์ไม่ได้ แต่จำเลยที่ 2 ไม่ได้แถลงต่อศาลชั้นต้นเพื่อดำเนินการต่อไปภายในเวลา 15 วัน ตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดจึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174(2) ประกอบมาตรา 246
จำเลยที่ 3 ไม่ได้ลงลายมือชื่อรับทราบข้อกำหนดและวันนัดดังกล่าวไว้ ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้ทราบ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งในอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 เมื่อศาลชั้นต้นมิได้แจ้งผลการส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 3 ทราบ จำเลยที่ 3 ย่อมไม่ทราบถึงผลการส่งหมายดังกล่าว การที่จำเลยที่ 3 มิได้ยื่นคำแถลงให้ดำเนินการ ต่อไป จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246
จำเลยที่ 3 ไม่ได้ลงลายมือชื่อรับทราบข้อกำหนดและวันนัดดังกล่าวไว้ ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้ทราบ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งในอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 เมื่อศาลชั้นต้นมิได้แจ้งผลการส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 3 ทราบ จำเลยที่ 3 ย่อมไม่ทราบถึงผลการส่งหมายดังกล่าว การที่จำเลยที่ 3 มิได้ยื่นคำแถลงให้ดำเนินการ ต่อไป จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 400/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดสัญญาซื้อขาย ไม่ใช่ละเมิด: การส่งมอบสินค้าชำรุดไม่เข้าข่ายความรับผิดทางละเมิด
โจทก์ตกลงซื้อโต๊ะนักเรียนพร้อมเก้าอี้จากจำเลย การที่จำเลยส่งมอบโต๊ะนักเรียนพร้อมเก้าอี้ชำรุดบกพร่อง เป็นกรณีที่จำเลยผิดสัญญาซื้อขาย มิใช่เป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อโดยผิดกฎหมายต่อบุคคลอื่นเป็นเหตุให้เขาเสียหาย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 399/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับเหมาและผู้ตายจากความประมาท กรณีถนนก่อสร้างและไม่มีเครื่องหมายเตือน
ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46กรณีไม่มีทางที่จะขยายไปถึงความเห็นของพนักงานสอบสวนให้เป็นการผูกมัดศาลที่พิพากษาคดีส่วนแพ่งในภายหลัง ความเห็นของพนักงานสอบสวนไม่ใช่คำพิพากษาคดีส่วนอาญา ฉะนั้น ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งจึงไม่จำต้องถือตาม
ห้างฯ จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างสะพาน มีหน้าที่ต้องติดตั้งเครื่องหมายแสดงให้เห็นชัดเจนเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ถนนตลอดเวลา แต่กลับละเลยไม่ติดตั้งเครื่องหมายดังกล่าว ถือว่าจำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง แม้ผู้ตายจะขับรถจักรยานยนต์ด้วยความเร็วสูง แต่หากมีเครื่องหมายเตือนเชื่อว่าผู้ตายสามารถเห็นและชะลอความเร็วของรถได้ทันและจะไม่ชนท่อระบายน้ำคอนกรีต เหตุที่เกิดขึ้นจึงเป็นเพราะความประมาทของจำเลยที่ 1 มากกว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกันรับผิดในผลแห่งละเมิดและชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ผู้เป็นทายาทของผู้ตาย ซึ่งค่าเสียหายที่โจทก์ควรจะได้มากน้อยเพียงใดนั้นต้องอาศัยพฤติการณ์แห่งกรณีดังกล่าวเป็นประมาณตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 442 ประกอบด้วยมาตรา 223 เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองเป็นเงิน 265,000 บาท แต่เหตุละเมิดเกิดจากความประมาทของผู้ตายด้วย และจำเลยทั้งสองประมาทมากกว่าการกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์จำนวน 68,333.33 บาท จึงเหมาะสมแล้ว
ห้างฯ จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างสะพาน มีหน้าที่ต้องติดตั้งเครื่องหมายแสดงให้เห็นชัดเจนเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ถนนตลอดเวลา แต่กลับละเลยไม่ติดตั้งเครื่องหมายดังกล่าว ถือว่าจำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง แม้ผู้ตายจะขับรถจักรยานยนต์ด้วยความเร็วสูง แต่หากมีเครื่องหมายเตือนเชื่อว่าผู้ตายสามารถเห็นและชะลอความเร็วของรถได้ทันและจะไม่ชนท่อระบายน้ำคอนกรีต เหตุที่เกิดขึ้นจึงเป็นเพราะความประมาทของจำเลยที่ 1 มากกว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกันรับผิดในผลแห่งละเมิดและชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ผู้เป็นทายาทของผู้ตาย ซึ่งค่าเสียหายที่โจทก์ควรจะได้มากน้อยเพียงใดนั้นต้องอาศัยพฤติการณ์แห่งกรณีดังกล่าวเป็นประมาณตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 442 ประกอบด้วยมาตรา 223 เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองเป็นเงิน 265,000 บาท แต่เหตุละเมิดเกิดจากความประมาทของผู้ตายด้วย และจำเลยทั้งสองประมาทมากกว่าการกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์จำนวน 68,333.33 บาท จึงเหมาะสมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 286/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงอาการขู่เข็ญโดยไม่ต้องมีคำพูด ถือเป็นองค์ประกอบความผิดฐานชิงทรัพย์ได้
แม้จำเลยจะมิได้พูดจาข่มขู่หรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายแต่พฤติการณ์ของจำเลยที่เดินเข้าหาผู้เสียหายจนทำให้ผู้เสียหายเกิดความกลัวจนต้องดึงสร้อยคอทองคำโยนทิ้ง บ่งบอกให้เห็นว่าจำเลยแสดงอาการขู่เข็ญผู้เสียหายแล้วโดยไม่จำต้องพิจารณาว่าจำเลยจะได้พูดจาขู่เข็ญผู้เสียหายหรือไม่ และเมื่อผู้เสียหายโยนสร้อยคอทองคำทิ้งเพื่อมิให้จำเลยแย่งเอาไปได้ จำเลยยังใช้มีดปลายแหลมจ่อที่หน้าอกผู้เสียหายอีก กรณีถือได้ว่าเป็นการขู่เข็ญผู้เสียหายมิให้ขัดขืนต่อการที่จำเลยจะลักเอาสร้อยคำทองคำและเป็นการขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายแล้วการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 339 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5120/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความและการชำระหนี้บางส่วนหลังขาดอายุความ ไม่ทำให้สะดุดหยุดอายุความ
เมื่อสิทธิเรียกร้องขาดอายุความประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/10และ 193/28 ให้จำเลยมีสิทธิที่จะปฏิเสธการชำระหนี้ได้ เมื่อจำเลยไม่ใช้สิทธินั้นโดยชำระหนี้บางส่วนแก่โจทก์ จึงมีผลเพียงว่า จำเลยจะเรียกเงินที่ชำระไปแล้วคืนไม่ได้เท่านั้นส่วนการรับสภาพหนี้ด้วยการชำระหนี้บางส่วนที่จะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(1) จะต้องกระทำก่อนที่หนี้นั้นจะขาดอายุความ ดังนั้น การชำระหนี้ของจำเลยภายหลังที่สิทธิเรียกร้องของโจทก์ขาดอายุความแล้ว จึงไม่ใช่การรับสภาพหนี้ ไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4589/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับคดีอาญาเนื่องจากจำเลยถึงแก่ความตาย และอำนาจศาลฎีกาในการวินิจฉัยโดยไม่ต้องย้อนสำนวน
ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 9 เรือนจำกลางบางขวางแจ้งว่าจำเลยที่ 4 ถึงแก่ความตาย แต่ศาลชั้นต้นมิได้แจ้งให้ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ทราบเพื่อมีคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (1) การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 4 จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาใหม่ เมื่อจำเลยที่ 4 ถึงแก่ความตาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4189/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องเพิ่มจำนวนทุนทรัพย์ต้องยื่นก่อนวันสืบพยาน หากทราบราคาที่ดินเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นแล้วถือเป็นเหตุที่ควรทราบ
คดีไม่มีการชี้สองสถาน โจทก์จะต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน เว้นแต่มีเหตุอันสมควรไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 180 เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทอันเป็นเวลาล่วงเลยมาถึงยี่สิบปี วิญญูชนทั่วไปย่อมทราบดีว่าราคาที่ดินต้องเปลี่ยนแปลงสูงขึ้น ซึ่งโจทก์อาจกำหนดจำนวนทุนทรัพย์ตามราคาในขณะยื่นฟ้องได้อยู่แล้ว ดังนั้น ที่โจทก์ฎีกาว่า ขณะยื่นฟ้องโจทก์ไม่ทราบว่าราคาที่ดินสูงขึ้นกว่าวันที่โจทก์ซื้อที่ดินก็ดี หรือโจทก์เพิ่งคิดได้ก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาว่าราคาที่ดินเพิ่มสูงขึ้นก็ดี ล้วนเป็นกรณีที่ไม่อาจถือได้ว่ามีเหตุอันสมควรที่โจทก์ไม่อาจยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องได้ก่อนวันสืบพยาน