คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ธาดา กษิตินนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 229 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4189/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องเพิ่มจำนวนทุนทรัพย์ต้องกระทำก่อนสืบพยาน หากมิได้กระทำก่อนและไม่มีเหตุสมควร ศาลยกคำร้องได้
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทเมื่อปี 2521 ในราคา 30,000 บาท โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เมื่อปี 2541 ซึ่งเป็นเวลาล่วงเลยมาถึงยี่สิบปี วิญญูชนทั่วไปย่อมทราบดีว่าราคาที่ดินต้องเปลี่ยนแปลงสูงขึ้น ซึ่งโจทก์อาจกำหนดจำนวนทุนทรัพย์ตามราคาในขณะยื่นฟ้องได้อยู่แล้ว ข้ออ้างที่ว่า ขณะยื่นฟ้องโจทก์ไม่ทราบว่าราคาที่ดินสูงขึ้นกว่าวันที่โจทก์ซื้อที่ดินก็ดี หรือโจทก์เพิ่งคิดได้ก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาว่าราคาที่ดินเพิ่มสูงขึ้นก็ดี ล้วนเป็นกรณีที่ไม่อาจถือได้ว่ามีเหตุอันสมควรที่โจทก์ไม่อาจยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องได้ก่อนวันสืบพยาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3789/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษสำหรับเจ้าพนักงานกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด: การมีครอบครองเพื่อจำหน่ายไม่ใช่ความผิดตามมาตรา 100
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองตามพ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย กระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย อันเป็นการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดจึงต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นตามพ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10
ตามพ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100 ได้บัญญัติว่า " กรรมการและพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ.นี้หรือข้าราชการหรือพนักงานองค์การและหน่วยงานของรัฐผู้ใด ผลิต จำหน่าย นำเข้าหรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษอันเป็นการกระทำความผิดตามพ.ร.บ.นี้หรือร่วมมือสนับสนุนในการกระทำดังกล่าวไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น " ดังนั้น การกระทำความผิดที่ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าตามบทบัญญัติดังกล่าวต้องเป็นความผิดฐานผลิต จำหน่าย นำเข้าหรือส่งออก หรือร่วมมือสนับสนุนในการกระทำดังกล่าวไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเท่านั้น แต่คดีนี้จำเลยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายทั้งการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายก็มิได้อยู่ในความหมายของคำว่า จำหน่าย ตามมาตรา 4 แต่อย่างใด แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ ก็ไม่อาจระวางโทษเป็นสามเท่าตามพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 100 ได้ ปัญหาดังกล่าวแม้จำเลยไม่ได้ยกเป็นข้อต่อสู้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบ มาตรา 215 และมาตรา 225
ส่วนที่จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษในสถานเบานั้น เนื่องจากจำเลยเป็นผู้ใหญ่บ้าน จึงเป็นเจ้าพนักงานซึ่งพ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 บัญญัติให้ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น และเมทแอมเฟตามีนของกลางมีจำนวนถึง 2,340 เม็ด โทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดจึงเหมาะสมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3789/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษเจ้าพนักงานกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด: การมีเมทแอมเฟตามีนครอบครองเพื่อจำหน่าย ไม่เข้าข่ายโทษสามเท่า
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่พ.ศ. 2457 ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย กระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย อันเป็นการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดจึงต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดพ.ศ. 2534 มาตรา 10
ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100 ได้บัญญัติว่า"กรรมการและพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้หรือข้าราชการหรือพนักงานองค์การและหน่วยงานของรัฐผู้ใด ผลิต จำหน่าย นำเข้าหรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษอันเป็นการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้หรือร่วมมือสนับสนุนในการกระทำดังกล่าวไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น" ดังนั้น การกระทำความผิดที่ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าตามบทบัญญัติดังกล่าวต้องเป็นความผิดฐานผลิต จำหน่าย นำเข้าหรือส่งออก หรือร่วมมือสนับสนุนในการกระทำดังกล่าวไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเท่านั้น แต่คดีนี้จำเลยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายทั้งการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายก็มิได้อยู่ในความหมายของคำว่า จำหน่าย ตามมาตรา 4 แต่อย่างใด แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ ก็ไม่อาจระวางโทษเป็นสามเท่าตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100 ได้ปัญหาดังกล่าวแม้จำเลยไม่ได้ยกเป็นข้อต่อสู้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215และมาตรา 225
ส่วนที่จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษในสถานเบานั้น เนื่องจากจำเลยเป็นผู้ใหญ่บ้านจึงเป็นเจ้าพนักงานซึ่งพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 บัญญัติให้ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น และเมทแอมเฟตามีนของกลางมีจำนวนถึง 2,340 เม็ดโทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดจึงเหมาะสมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3713/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาทุนการศึกษา: การยุติการศึกษาจากคำสั่งสถาบัน ไม่ถือเป็นผิดสัญญา
จำเลยทำสัญญาการรับทุนเพื่อศึกษาในประเทศกับโจทก์ โดยข้อความในสัญญาดังกล่าวจะถือว่าจำเลยผิดสัญญาต่อเมื่อจำเลยเป็นผู้ยุติหรือเลิกการศึกษาเสียเองแต่กรณีตามคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือเป็นผู้ออกคำสั่งให้จำเลยพ้นสภาพการเป็นนักศึกษาตามระเบียบของสถาบัน การยุติหรือเลิกการศึกษาไม่ได้เกิดจากการกระทำของจำเลย จำเลยจึงไม่ผิดสัญญาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3183/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาค้ำประกัน, ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, และการชำระหนี้บางส่วนของผู้กู้
ตามสัญญากู้ฉบับแรก โจทก์มิได้มอบเงินที่กู้ให้แก่จำเลยที่ 1 รับไปในคราวเดียว แต่ให้จำเลยที่ 1 เบิกเป็นคราว ๆ ตามความจำเป็น และคิดดอกเบี้ยตามจำนวนเงินที่โจทก์จ่ายให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นคราวตามวันที่จ่ายจริง มิใช่นับแต่วันทำสัญญากู้เงินทั้งหมด และแม้ต่อมาเมื่อจำเลยที่ 1 มาขอกู้เงินจากโจทก์เพิ่มอีกเป็นครั้งที่ 2 โจทก์ก็จ่ายเงินตามสัญญากู้ให้แก่จำเลยที่ 1 ในลักษณะเดียวกัน ดังนั้นแม้ในสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 5 ที่ 6 และที่ 8 ทำไว้ต่อโจทก์จะมีข้อความในข้อ 1 วรรคสาม ระบุว่า "เนื่องจากการค้ำประกันตามวรรคแรกเป็นประกันหนี้ดังกล่าวข้างต้นในจำนวนหนี้ที่มีอยู่ก่อน หรือในขณะทำสัญญานี้และ/หรือที่จะมีขึ้นใหม่ภายหน้า ผู้ค้ำประกันและธนาคารจึงตกลงกันว่าในกรณีที่ลูกหนี้ได้ชำระหนี้ให้แก่ธนาคารแล้ว ถ้าตราบใดธนาคารยังมิได้มีหนังสือแจ้งว่าผู้ค้ำประกันหมดภาระผูกพันตามสัญญาค้ำประกันฉบับนี้แล้ว ผู้ค้ำประกันและธนาคารตกลงให้ถือว่าสัญญาค้ำประกันรายนี้ยังคงมีผลบังคับอยู่ เมื่อเป็นการค้ำประกันหนี้ที่จะเกิดขึ้นในภายหน้าหรือหนี้ใหม่ของลูกหนี้กับธนาคารต่อไปอีกด้วย" อันแสดงให้เห็นได้ว่า สัญญาค้ำประกันฉบับแรกเป็นการค้ำประกันถึงหนี้ในอนาคตของจำเลยที่ 1 อันมีผลใช้บังคับต่อผู้ค้ำประกันได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 681 วรรคสอง ก็ตาม แต่ลักษณะของสัญญาค้ำประกันดังกล่าวเป็นการค้ำประกันเพื่อกิจการเนื่องกันไปหลายคราวไม่มีจำกัดเวลาเป็นคุณแก่เจ้าหนี้ ซึ่งผู้ค้ำประกันคือ จำเลยที่ 5 และที่ 6 และที่ 8 อาจใช้สิทธิบอกเลิกการค้ำประกันเพื่อคราวอันเป็นอนาคตต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 699 ได้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยที่ 6 และที่ 8 ได้มีหนังสือขอถอนการค้ำประกันหนี้เงินกู้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์แล้ว ก่อนที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ฉบับที่ 2 กับโจทก์ สัญญาค้ำประกันจึงเป็นอันระงับไป ส่วนจำเลยที่ 5 นั้น แม้ว่าจำเลยที่ 5 ได้ลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ไปก่อนที่จำเลยที่ 1 จะทำสัญญากู้เงินจากโจทก์ฉบับที่ 2 แต่จำเลยที่ 5 เพิ่งมีหนังสือบอกเลิกการค้ำประกันเงินกู้จำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ หลังจากที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินฉบับที่ 2 กับโจทก์แล้ว จำเลยที่ 5 จึงยังคงต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันต่อโจทก์ในหนี้ที่เกิดจากการกู้เงินครั้งที่ 2 ของจำเลยที่ 1 แต่เนื่องจากจำเลยที่ 1 ยังค้างชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญากู้เงินฉบับแรกอยู่ จำเลยที่ 6 และที่ 8 ในฐานะค้ำประกันจึงต้องร่วมรับผิดในหนี้ตามสัญญากู้ฉบับแรกพร้อมทั้งดอกเบี้ยตามฟ้องต่อโจทก์
การที่พยานหลักฐานโจทก์ระบุว่าจำเลยที่ 1 ได้ชำระต้นเงินทั้งสองคราวนั้น ย่อมฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 มิได้ค้างชำระดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินต่อโจทก์แล้ว จึงได้นำเงินมาหักจากต้นเงินได้ และแม้ว่าการผ่อนชำระดังกล่าวมิได้ระบุว่าเป็นการชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินฉบับใด ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินฉบับแรก ตาม ป.พ.พ.มาตรา 328 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3183/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันหนี้และผลของการบอกเลิกสัญญาค้ำประกันหลังเกิดหนี้ใหม่ ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดชอบหนี้ก่อนบอกเลิก
สัญญาค้ำประกันตามสัญญากู้เงินฉบับแรกเป็นการค้ำประกันถึงหนี้ในอนาคตของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 681 วรรคสอง แต่ลักษณะของสัญญาค้ำประกันดังกล่าว เป็นการค้ำประกันเพื่อกิจการเนื่องกันไปหลายคราวไม่มีจำกัดเวลาเป็นคุณแก่เจ้าหนี้คือธนาคารโจทก์ ซึ่งผู้ค้ำประกันคือจำเลยที่ 5 ที่ 6 และที่ 8อาจใช้สิทธิบอกเลิกการค้ำประกันเพื่อคราวอันเป็นอนาคตต่อโจทก์ตามมาตรา 699 ได้เมื่อจำเลยที่ 6 และที่ 8 ได้มีหนังสือขอถอนการค้ำประกันหนี้เงินกู้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์แล้ว สัญญาค้ำประกันจึงเป็นอันระงับไป โจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 6 และที่ 8 ในฐานะผู้ค้ำประกันรับผิดตามสัญญากู้เงินฉบับที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 1 ทำกับโจทก์หลังจากวันที่จำเลยที่ 6 และที่ 8 บอกเลิกการค้ำประกันไปแล้วหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3006/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เอกสารสิทธิปลอมและฉ้อโกงโดยการนำใบบันทึกรายการขายปลอมไปขอรับเงินจากธนาคาร
ร้านค้าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เป็นสมาชิกบัตรเครดิตของธนาคาร ผู้เสียหายรับมอบเครื่องรูดบัตรไปใช้ที่ร้านจำเลยที่ 1 ซึ่งในทางปฏิบัติเมื่อมีลูกค้าถือบัตรเครดิตมาซื้อสินค้า จำเลยที่ 2 จะต้องเป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้องของบัตรและของตัวลูกค้าผู้ถือบัตรนั้น ถ้าผู้ถือบัตรเป็นชาวต่างชาติก็ต้องตรวจสอบหนังสือเดินทางด้วย เมื่อเห็นว่าเชื่อถือได้จึงนำบัตรเครดิตเข้าเครื่องรูดบัตร ทำใบบันทึกรายการขายออกมาให้ลูกค้าลงลายมือชื่อรับรองซึ่งต้องเหมือนกับลายมือชื่อตัวอย่างที่ปรากฏบนบัตรเครดิตด้วยและลูกค้านั้นต้องเป็นเจ้าของบัตรที่นำมาใช้เองจะมอบให้คนอื่นนำมาใช้ไม่ได้ การที่จำเลยทั้งสองนำใบบันทึกรายการขาย 26 ใบ ทะยอยส่งไปขอรับเงินจากผู้เสียหายย่อมเป็นการรับรองอยู่ในตัวว่า จำเลยที่ 2 ได้พบลูกค้าผู้นำบัตรเครดิตมาใช้และตรวจสอบความถูกต้องในเบื้องต้นแล้ว จำเลยทั้งสองจะอ้างถึงความไม่รู้ว่าเป็นบัตรเครดิตปลอมและโยนความรับผิดไปให้ผู้เสียหายไม่ได้เพราะเป็นคนละขั้นตอนกันทั้งผู้เสียหายก็ไม่มีโอกาสพบปะลูกค้าผู้ใช้บัตรเครดิตเหมือนจำเลยที่ 2 การที่ลูกค้านำบัตรเครดิตปลอมมาใช้นั้นหากมีปะปนหลงเข้ามานาน ๆ ครั้ง ก็คงไม่ทำให้เข้าใจว่าเป็นการทุจริต แต่การที่จำเลยทั้งสองนำใบบันทึกการขายไปขอรับเงินโดยปะปนไปกับบันทึกรายการขายอื่น ๆ จำนวนมากถึง 26 ฉบับภายในเวลาเพียง 20 กว่าวัน และทำให้ได้รับเงินไปเป็นจำนวนมากนั้นนับว่าเป็นพิรุธ และบัตรเครดิตแต่ละใบผู้ถือบัตรล้วนเป็นชาวต่างชาติทั้งสิ้น ซึ่งเกือบทั้งหมดไม่เคยเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร จึงไม่น่าเชื่อว่าจำเลยที่ 2 จะได้เคยพบกับผู้ถือบัตรและมีการตรวจสอบบัตรยอมให้ซื้อสินค้าไปด้วยความบริสุทธิ์ใจ ประกอบกับใบบันทึกรายการขายทั้ง 26 ฉบับ มีลักษณะผิดปกติเป็นพิรุธ โดยตัวอักษรในใบบันทึกการขายทับกัน และมีรอยต่อเป็นรอยเส้นแบ่งครึ่งระหว่างข้อความส่วนบนที่เป็นชื่อและหมายเลขบัตรเครดิตของผู้ถือบัตรกับข้อความส่วนล่างที่เป็นชื่อร้านค้าคล้ายกับมีการรูดบัตร 2 ครั้ง ยิ่งทำให้เชื่อว่าจำเลยทั้งสองรู้อยู่แล้วว่าใบบันทึกการขายทั้ง 26 ฉบับ เป็นเอกสารสิทธิปลอม แต่ก็ยังนำไปใช้แสดงขอรับเงินจากผู้เสียหายโดยทุจริต จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมและฉ้อโกงทั้งสองฐาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2907/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องและขอบเขตค่าเสียหาย: โจทก์ต้องเป็นผู้เสียหายโดยตรง
ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติตามคำวินิจฉัยของศาลล่างแล้วว่าโจทก์ที่ 1 ไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์ที่ 2 จึงย่อมไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายที่อ้างว่าเกิดแก่ที่ดินที่โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของได้
โจทก์ที่ 1 ทำโครงการก่อสร้างอาคารในที่ดินโจทก์ที่ 1 ในนามบริษัทของโจทก์ที่ 1 ดังนั้น หากจะเกิดความเสียหายก็เป็นความเสียหายที่เกิดแก่โจทก์ที่ 1 หรือบริษัทของโจทก์ที่ 1 ไม่เกี่ยวข้องกับโจทก์ที่ 2 แต่อย่างใด โจทก์ที่ 2 จึงไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดจากการขาดรายได้จากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2906/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าเป็นโมฆะเมื่อข้อกำหนดขัดต่อกฎหมายโรงงาน กรณีผู้เช่าไม่สามารถต่อใบอนุญาตประกอบกิจการได้
เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัท ก. โจทก์ให้จำเลยที่ 1 เช่าโรงงานต้องถือว่าบริษัท ก. เลิกประกอบกิจการโรงงานในวันที่ให้เช่า ตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 มาตรา 31 วรรคหนึ่ง ซึ่งใช้บังคับในขณะนั้น และในวันเดียวกันนั้นใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานของบริษัท ก. ก็เป็นอันสิ้นอายุลง ตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 มาตรา 16 เช่นกัน การต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานต้องกระทำโดยผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานและต้องทำการก่อนวันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 มาตรา 17 วรรคหนึ่ง แต่ตามสัญญาเช่ากำหนดให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ดำเนินการขอต่อใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานในนามของบริษัท ก. และใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานของบริษัท ก. สิ้นอายุลงแล้วในวันทำสัญญาเช่าจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาเช่าดังกล่าวได้ เพราะขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ข้อสัญญาเช่าจึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายย่อมเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ทำให้สัญญาเช่าเฉพาะข้อ 8 ตกเป็นโมฆะทั้งสิ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 จำเลยที่ 1 จึงไม่ผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2906/2545 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าโรงงานเป็นโมฆะเมื่อขัดต่อ พ.ร.บ.โรงงาน และผู้เช่าไม่สามารถต่อใบอนุญาตได้
เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัท ก. โจทก์ให้จำเลยที่ 1 เช่าโรงงานต้องถือว่าบริษัท ก. เลิกประกอบกิจการโรงงานในวันที่ให้เช่า ตาม พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2512 มาตรา 31 วรรคหนึ่ง ซึ่งใช้บังคับในขณะนั้น และในวันเดียวกันนั้นใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานของบริษัท ก. ก็เป็นอันสิ้นอายุลง ตาม พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2512 มาตรา 16 เช่นกัน การต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานต้องกระทำโดยผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานและต้องทำการก่อนวันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุตาม พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2512 มาตรา 17 วรรคหนึ่ง แต่ตามสัญญาเช่ากำหนดให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ดำเนินการขอต่อใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานในนามของบริษัท ก. และใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานของบริษัท ก. สิ้นอายุลงแล้วในวันทำสัญญาเช่า จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาเช่าดังกล่าวได้ เพราะขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ข้อสัญญาเช่าจึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายย่อมเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 150 ทำให้สัญญาเช่าเฉพาะ ข้อ 8 ตกเป็นโมฆะทั้งสิ้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 173 จำเลยที่ 1 จึงไม่ผิดสัญญา
of 23