พบผลลัพธ์ทั้งหมด 229 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2906/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าโรงงานที่เป็นโมฆะเนื่องจากขัดต่อกฎหมายโรงงานเมื่อเจ้าของโรงงานถูกพิทักษ์ทรัพย์
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัท ก. โจทก์ ให้จำเลยที่ 1 เช่าโรงงานของบริษัทก. โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันการชำระค่าเช่าและค่าเสียหาย กรณีต้องถือว่าบริษัทก. เลิกประกอบกิจการโรงงานในวันที่ให้เช่าแล้วตามพระราชบัญญัติโรงงานฯมาตรา 31 วรรคหนึ่ง และในวันเดียวกันนั้นใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานของบริษัทก. ก็เป็นอันสิ้นอายุลงตามมาตรา 16 ด้วย ซึ่งการต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานต้องกระทำโดยผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานและต้องกระทำก่อนที่ใบอนุญาตสิ้นอายุตามมาตรา 17 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อสัญญาเช่ากำหนดให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ดำเนินการต่อใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานในนามของบริษัท ก. และใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานของบริษัท ก. สิ้นอายุลงแล้ว จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาเช่าได้เพราะขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมาย ข้อสัญญาเช่าดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้ง โดยกฎหมายย่อมเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 จำเลยที่ 1 มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาจำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2906/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าเป็นโมฆะเมื่อข้อกำหนดขัดต่อกฎหมายโรงงาน ทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบค่าเสียหาย
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัท ก. โจทก์ให้จำเลยเช่าโรงงานแล้วต้องถือว่าบริษัท ก. เลิกประกอบกิจการโรงงานในวันที่ให้เช่าตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 มาตรา 31 วรรคหนึ่ง และในวันเดียวกันนั้นใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานของบริษัท ก. ก็เป็นอันสิ้นอายุลงตามมาตรา 16 ดังนั้น เมื่อการต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานต้องกระทำโดยผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานและต้องทำการก่อนวันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุตามมาตรา 17 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาเช่าข้อ 8 ที่กำหนดให้จำเลยดำเนินการต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการในนามบริษัท ก. ได้ เพราะขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว สัญญาเช่าข้อ 8 จึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายย่อมเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ทำให้สัญญาเช่าเฉพาะข้อ 8 ตกเป็นโมฆะทั้งสิ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 จำเลยจึงไม่ผิดสัญญาที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1111/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะข้าราชการทหาร vs. ทหารกองประจำการ และผลต่อการลงโทษตามกฎหมายยาเสพติด
ข้าราชการ หมายถึง บุคคลซึ่งรับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือนข้าราชการ ทหารจึงเป็นข้าราชการด้วย ซึ่งการเป็นข้าราชการทหารต้องเป็นไปตาม พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหารฯ และพระราชบัญญัติข้าราชการทหารฯ เท่านั้น โดยมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหารฯ กำหนดให้ "ข้าราชการทหาร"หมายความว่า ทหารประจำการและข้าราชการกลาโหมพลเรือนที่บรรจุในตำแหน่งอัตราทหาร ส่วน "ทหารประจำการ" พระราชบัญญัติรับราชการทหารฯ มาตรา 4(8) หมายถึง ทหารซึ่งรับราชการตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด ซึ่งไม่ใช่ทหารกองประจำการ โดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหารฯ ให้"ทหารกองประจำการ" หมายถึง ทหารกองประจำการตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารและพระราชบัญญัติรับราชการทหารฯมาตรา 4(3)"ทหารกองประจำการ" หมายความว่า ผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนกองประจำการและได้เข้ารับราชการในกองประจำการจนกว่าจะได้ปลดฉะนั้น ทหารกองประจำการจึงไม่ใช่ทหารประจำการ ไม่ใช่ข้าราชการทหารและไม่ได้เป็นข้าราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหารฯเมื่อจำเลยที่ 2 เป็นทหารกองประจำการจึงไม่เป็นข้าราชการ ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ระวางโทษจำเลยที่ 2 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100 ในความผิดฐานจำหน่ายยาเสพติดให้โทษเป็นสามเท่านั้นจึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1111/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะ 'ทหารกองประจำการ' ไม่เป็น 'ข้าราชการ' จึงไม่ถูกลงโทษตามอัตราโทษทวีคูณในคดีจำหน่ายยาเสพติด
"ข้าราชการ" หมายถึง บุคคลซึ่งรับราชการ โดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือน ข้าราชการทหารจึงเป็นข้าราชการ
ตำแหน่งใดเป็นข้าราชการทหารต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 และ พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ. 2497 เท่านั้น
ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 มาตรา 4 บัญญัติว่า "ข้าราชการทหาร" หมายความว่า ทหารประจำการและข้าราชการกลาโหมพลเรือนที่บรรจุในตำแหน่งอัตราทหาร ส่วนคำว่า "ทหารประจำการ" พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา 4 (8) ให้ความหมายว่า หมายถึง ทหารซึ่งรับราชการตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด ซึ่งไม่ใช่ทหารกองประจำการ โดย พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 ให้ความหมาย "ทหารกองประจำการ" ว่าหมายถึง ทหารกองประจำการตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร และพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา 4 (3) "ทหารกองประจำการ" หมายความว่า ผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนกองประจำการและได้เข้ารับราชการในกองประจำการจนกว่าจะได้ปลด ฉะนั้น ทหารกองประจำการจึงไม่ใช่ทหารประจำการ ไม่ใช่ข้าราชการทหาร และไม่ได้เป็นข้าราชการตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521
จำเลยที่ 2 เป็นทหารกองประจำการ จึงไม่เป็นข้าราชการ ระวางโทษเป็นสามเท่าตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100 ในความผิดฐานจำหน่ายยาเสพติดให้โทษจึงใช้กับจำเลยที่ 2 ไม่ได้
ตำแหน่งใดเป็นข้าราชการทหารต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 และ พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ. 2497 เท่านั้น
ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 มาตรา 4 บัญญัติว่า "ข้าราชการทหาร" หมายความว่า ทหารประจำการและข้าราชการกลาโหมพลเรือนที่บรรจุในตำแหน่งอัตราทหาร ส่วนคำว่า "ทหารประจำการ" พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา 4 (8) ให้ความหมายว่า หมายถึง ทหารซึ่งรับราชการตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด ซึ่งไม่ใช่ทหารกองประจำการ โดย พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 ให้ความหมาย "ทหารกองประจำการ" ว่าหมายถึง ทหารกองประจำการตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร และพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา 4 (3) "ทหารกองประจำการ" หมายความว่า ผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนกองประจำการและได้เข้ารับราชการในกองประจำการจนกว่าจะได้ปลด ฉะนั้น ทหารกองประจำการจึงไม่ใช่ทหารประจำการ ไม่ใช่ข้าราชการทหาร และไม่ได้เป็นข้าราชการตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521
จำเลยที่ 2 เป็นทหารกองประจำการ จึงไม่เป็นข้าราชการ ระวางโทษเป็นสามเท่าตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100 ในความผิดฐานจำหน่ายยาเสพติดให้โทษจึงใช้กับจำเลยที่ 2 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1111/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะ 'ข้าราชการ' ของทหารกองประจำการ และผลต่อการลงโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ
"ข้าราชการ" หมายถึง บุคคลซึ่งรับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือน ข้าราชการทหารจึงเป็นข้าราชการด้วย อย่างไรเป็นข้าราชการทหารต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 และพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 เท่านั้น ซึ่งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 มาตรา 4 บัญญัติว่า "ข้าราชการทหาร" หมายความว่า ทหารประจำการและข้าราชการกลาโหมพลเรือนที่บรรจุในตำแหน่งอัตราทหาร ส่วนคำว่า "ทหารประจำการ" พระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา 4(8) ให้ความหมายว่า ทหารซึ่งรับราชการตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด ซึ่งไม่ใช่ทหารกองประจำการ โดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 ให้ความหมาย"ทหารกองประจำการ" ว่า ทหารกองประจำการตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารและพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา 4(3)"ทหารกองประจำการ" หมายความว่า ผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนกองประจำการและได้เข้ารับราชการในกองประจำการจนกว่าจะได้ปลดทหารกองประจำการจึงไม่ใช่ทหารประจำการ ไม่ใช่ข้าราชการทหารและไม่ได้เป็นข้าราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 ดังนั้น ทหารกองประจำการจึงไม่ใช่ข้าราชการตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522มาตรา 100
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 518/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งต่อความเสียหายของสินค้า การยกเว้นความรับผิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเป็นโมฆะ
สัญญาจ้างขนย้ายเครื่องใช้สำนักงานที่กำหนดว่าโจทก์ไม่ต้องรับผิดในความเสียหายอันเกิดจากความบกพร่องของพนักงานถือว่าเป็นความตกลงยกเว้นความรับผิดของโจทก์ แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์ความตกลงที่ทำไว้ล่วงหน้าเพื่อยกเว้นมิให้โจทก์ต้องรับผิดเพื่อความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของตนดังกล่าวจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 373 โจทก์ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลย
เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ได้รับความเสียหายต้องป้อนถ่ายข้อมูลใหม่แม้ผู้ป้อนถ่ายข้อมูลที่ถูกกลบเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ขนย้ายจะเป็นพนักงานประจำของจำเลย แต่การกระทำดังกล่าวเนื่องจากผลการกระทำของโจทก์ที่ทำให้จำเลยเสียหายเป็นแรงงานของพนักงานนั้นไป จำเลยจึงเรียกให้โจทก์ชำระค่าเสียหายส่วนนี้ตามสัญญาจ้างขนย้ายเครื่องใช้สำนักงานระหว่างโจทก์จำเลยได้
เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ได้รับความเสียหายต้องป้อนถ่ายข้อมูลใหม่แม้ผู้ป้อนถ่ายข้อมูลที่ถูกกลบเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ขนย้ายจะเป็นพนักงานประจำของจำเลย แต่การกระทำดังกล่าวเนื่องจากผลการกระทำของโจทก์ที่ทำให้จำเลยเสียหายเป็นแรงงานของพนักงานนั้นไป จำเลยจึงเรียกให้โจทก์ชำระค่าเสียหายส่วนนี้ตามสัญญาจ้างขนย้ายเครื่องใช้สำนักงานระหว่างโจทก์จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 518/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อในการขนย้ายทำให้เกิดความเสียหาย สัญญาละเว้นความรับผิดเป็นโมฆะ
ตามสัญญาจ้างขนย้ายเครื่องคอมพิวเตอร์กำหนดให้โจทก์ต้องบรรจุเครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช้วัสดุกันกระแทกพิเศษและขนย้ายด้วยความระมัดระวังตามความเหมาะสมของลักษณะงาน แต่โจทก์ขนย้ายเครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวโดยใช้รถเข็นสองล้อไม่ใช้กระดาษรองกันกระแทกพิเศษและลากรถเข็นนั้นลงและขึ้นบันได ทำให้เกิดการกระทบกระเทือนเป็นการกระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลซึ่งประกอบอาชีพเช่นโจทก์จักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ โจทก์อาจใช้ความระมัดระวังเช่นนั้นได้ แต่โจทก์ไม่กระทำ ดังนี้ แม้จะมีข้อกำหนดในสัญญาจ้างว่าโจทก์ไม่ต้องรับผิดในความเสียหายอันเกิดจากความบกพร่องของพนักงานและความเสียหายของเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งถือเป็นความตกลงยกเว้นความรับผิดของโจทก์ก็ตาม แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์ ความตกลงที่ทำไว้ดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 373
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 446/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระค่าโฆษณาที่ไม่ครบถ้วนตามสัญญา แม้บกพร่องเล็กน้อยก็ถือว่างานเสร็จสมบูรณ์
โจทก์ลงโฆษณาสินค้าของจำเลยทางโทรทัศน์ตามสัญญาที่จำเลยจ้างโจทก์โฆษณาสินค้าในรายการคอนเสิร์ตเลข 9 เป็นเวลา 1 นาที 45 วินาที ขาดไป 15 วินาที ดังนั้นงานที่โจทก์ทำส่วนใหญ่ จึงสมบูรณ์มีความบกพร่องเพียงเล็กน้อย ถือได้ว่าโจทก์ได้ทำงานที่จ้างให้จำเลยเสร็จแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9519/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 กรณีข้อเท็จจริงใหม่ที่มิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลล่าง
ปัญหาที่โจทก์จะยกขึ้นฎีกาเพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง มีได้แต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายเท่านั้น
ฎีกาโจทก์เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก แม้โจทก์จะอ้างว่าไม่สามารถยกปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์เพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ ก็ไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นในชั้นฎีกาได้ตามมาตรา 249 วรรคสอง ข้อเท็จจริงต้องฟังตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการพิจารณาตามมาตรา 243 (2) ประกอบ มาตรา 247 จึงไม่มีเหตุที่จะต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาใหม่
ฎีกาโจทก์เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก แม้โจทก์จะอ้างว่าไม่สามารถยกปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์เพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ ก็ไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นในชั้นฎีกาได้ตามมาตรา 249 วรรคสอง ข้อเท็จจริงต้องฟังตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการพิจารณาตามมาตรา 243 (2) ประกอบ มาตรา 247 จึงไม่มีเหตุที่จะต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9519/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 249 วรรคแรก กรณีข้อเท็จจริงใหม่ที่มิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลล่าง แม้มีเหตุจำเป็นก็ไม่อาจใช้ข้อ ยกเว้นมาตรา 249 วรรคสองได้
ปัญหาที่โจทก์จะยกขึ้นฎีกาเพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสองมิได้แต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายเท่านั้น