พบผลลัพธ์ทั้งหมด 229 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9239/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งบรรจุยาเสพติดเพื่อเสพเอง ไม่ถือเป็นความผิดฐานผลิตยาเสพติดให้โทษ
แม้พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 4 บัญญัติว่าการผลิตให้หมายความรวมถึงการแบ่งบรรจุหรือการรวมบรรจุด้วยแต่เมื่อคำนึงถึงโทษฐานผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ซึ่งมาตรา 65 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตเท่ากับโทษฐานนำเข้าหรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1ในขณะที่โทษฐานจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกินหนึ่งร้อยกรัมตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง กำหนดโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีหรือถึงจำคุกตลอดชีวิตและปรับด้วยแล้ว เห็นได้ว่ากฎหมายกำหนดโทษในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตามความร้ายแรงของอันตรายที่จะเกิดขึ้นแก่สังคมอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดโดยการผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1ไม่ว่าด้วยการเพาะ ปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูปหรือสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นการกระทำที่จะเกิดอันตรายแก่สังคมอย่างร้ายแรงเพราะเป็นการเพิ่มความรุนแรงของยาเสพติดให้โทษหรือเป็นการทำให้ยาเสพติดให้โทษนั้นแพร่ระบาดได้ง่ายขึ้น กฎหมายจึงต้องกำหนดโทษสูง เมื่อความมุ่งหมายของกฎหมายเป็นเช่นนี้ คำว่า "การแบ่งบรรจุหรือการรวมบรรจุ"ในมาตรา 4 ดังกล่าว จึงต้องหมายถึงการแบ่งบรรจุหรือการรวมบรรจุที่เป็นอันตรายแก่สังคมอย่างร้ายแรงทำนองเดียวกับการเพาะปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูป หรือสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์
ข้อเท็จจริงที่ยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันแบ่งบรรจุเฮโรอีนของกลาง ซึ่งอาจทำขึ้นเพื่อเก็บไว้เสพเอง การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดฐานผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 จำเลยทั้งสองคงมีความผิดเพียงฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ซึ่งการกระทำความผิดฐานนี้เป็นการกระทำอย่างหนึ่งในความผิดฐานผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1และในความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามที่โจทก์ฟ้อง ศาลย่อมลงโทษจำเลยทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้าย
ข้อเท็จจริงที่ยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันแบ่งบรรจุเฮโรอีนของกลาง ซึ่งอาจทำขึ้นเพื่อเก็บไว้เสพเอง การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดฐานผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 จำเลยทั้งสองคงมีความผิดเพียงฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ซึ่งการกระทำความผิดฐานนี้เป็นการกระทำอย่างหนึ่งในความผิดฐานผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1และในความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามที่โจทก์ฟ้อง ศาลย่อมลงโทษจำเลยทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8995/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสินสมรสโดยไม่ชอบ โจทก์มีสิทธิฟ้องเพิกถอนได้ แม้มีการสมรสซ้อน แต่กฎหมายเดิมยังใช้บังคับ
บ. จดทะเบียนสมรสกับโจทก์เมื่อ 6 ธ.ค. 2501 ต่อมาได้จดทะเบียนสมรสซ้อนกับจำเลยอีกเมื่อ 16 มี.ค. 2505 ป.พ.พ. บรรพ 5 (เดิม) มาตรา 1488 (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่บังคับใช้อยู่ในขณะนั้น บัญญัติว่า บุคคลใดจะอ้างว่าการสมรสเป็นโมฆะหรือโมฆียะไม่ได้ นอกจากศาลพิพากษาว่าเป็นเช่นนั้น เมื่อในขณะที่ บ. ซื้อที่พิพาทยังไม่มีฝ่ายใดฟ้องร้องให้การสมรสระหว่าง บ. กับจำเลยเป็นโมฆะ จึงต้องถือว่าการสมรสระหว่าง บ. กับจำเลยยังชอบอยู่ ดังนั้นที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสเป็นสินสมรสของทั้ง บ. โจทก์ และจำเลย
แม้ บ. จะมีอำนาจจัดการสินสมรสต่อไปตามกฎหมาย แต่การที่ บ. ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยโดยเสน่หา อันมิได้เป็นไปตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีหรือในทางสังคมโดยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480 วรรคสอง อันเป็นบทบัญญัติกฎหมายในขณะที่มีการจดทะเบียนให้ขึ้นใช้บังคับ
แม้ บ. จะมีอำนาจจัดการสินสมรสต่อไปตามกฎหมาย แต่การที่ บ. ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยโดยเสน่หา อันมิได้เป็นไปตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีหรือในทางสังคมโดยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480 วรรคสอง อันเป็นบทบัญญัติกฎหมายในขณะที่มีการจดทะเบียนให้ขึ้นใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8900/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการบังคับคดีและการชำระหนี้: การงดการขายทอดตลาดและการขอเฉลี่ยทรัพย์
โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินของจำเลยทั้งสิบสองแปลงโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีตามตาราง 5 ข้อ 3 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตามมาตรา 149 แต่ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมย่อมตกอยู่แก่คู่ความที่แพ้คดีซึ่งรวมถึงค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีด้วยตามมาตรา 161 วรรคหนึ่งและวรรคสอง เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดี ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมชั้นบังคับคดีย่อมตกอยู่แก่จำเลย เมื่อจำเลยยังไม่ได้ชำระ แม้โจทก์ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาแล้วก็ตาม การบังคับคดีจึงต้องดำเนินต่อไป
โจทก์มิใช่เจ้าหนี้จำนองของจำเลย โจทก์จึงไม่อาจยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 289 ได้ ส่วนหากคำร้องดังกล่าวจะถือเป็นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ตามมาตรา 290 ได้นั้น โจทก์ต้องแสดงให้ศาลเห็นว่าโจทก์ไม่สามารถเอาชำระได้จากทรัพย์สินอื่น ๆ ของจำเลย แต่ตามคำร้องของโจทก์ไม่ได้ความเช่นนั้น จึงถือไม่ได้ว่าคำร้องของโจทก์เป็นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ตามมาตรา 290
โจทก์มิใช่เจ้าหนี้จำนองของจำเลย โจทก์จึงไม่อาจยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 289 ได้ ส่วนหากคำร้องดังกล่าวจะถือเป็นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ตามมาตรา 290 ได้นั้น โจทก์ต้องแสดงให้ศาลเห็นว่าโจทก์ไม่สามารถเอาชำระได้จากทรัพย์สินอื่น ๆ ของจำเลย แต่ตามคำร้องของโจทก์ไม่ได้ความเช่นนั้น จึงถือไม่ได้ว่าคำร้องของโจทก์เป็นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ตามมาตรา 290
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8432/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พลุสะดุดส่องแสงไม่เป็นเครื่องกระสุนปืนตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ แม้มีครอบครองจึงไม่ผิด
พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 4(2) มิได้บัญญัติว่าเครื่องกระสุนปืนมีความหมายถึงพลุแต่ประการใดฉะนั้นพลุสะดุดส่องแสงที่โจทก์ฟ้องจึงไม่นับว่าเป็นเครื่องกระสุนปืน รายงานการตรวจพิสูจน์ของกลางที่ระบุว่าพลุสะดุดส่องแสงของกลางเป็นเครื่องกระสุนปืน เป็นเพียงความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เมื่อกฎหมายมิได้บัญญัติว่าพลุสะดุดส่องแสงเป็นเครื่องกระสุนปืนแล้ว แม้จำเลยจะมีไว้ในครอบครองก็หาเป็นความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนซึ่งนายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7847/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และความผิดฐานพาอาวุธ ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษา
การที่จำเลยกับผู้ตายมีสาเหตุขัดเคืองกันมาก่อนก่อนเกิดเหตุ ถือไม่ได้เสมอไปว่าจะเป็นเหตุให้จำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและไม่ปรากฏตามทางนำสืบของโจทก์ว่า หลังจากที่จำเลยและผู้ตายมีเรื่องขัดเคืองกันในครั้งก่อน แล้วจำเลยมีความอาฆาตคอยติดตามที่จะทำร้ายผู้ตายอีก ทั้งบ้านจำเลยและบ้านผู้ตายก็มิได้อยู่จังหวัดเดียวกัน ผู้ตายเพิ่งมาบ้านที่เกิดเหตุซึ่งเป็นบ้านพ่อตาแม่ยายและอยู่ใกล้กับบ้านจำเลยในวันเกิดเหตุนั้นเอง การที่จำเลยฆ่าผู้ตายมิได้เป็นการซุ่มยิง แต่เป็นการใช้อาวุธปืนยิงจากข้างล่าง 1 นัด แล้วเดินตามขึ้นไปยิงผู้ตายบนบ้านที่เกิดเหตุอีก 1 นัด และยังใช้อาวุธมีดแทงทำร้ายผู้ตายต่อหน้าญาติจำเลยและญาติผู้ตายอีกหลายคน ผิดวิสัยที่จะเป็นการฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ความคิดของจำเลยที่จะฆ่าผู้ตายเกิดขึ้นอย่างกะทันหันเมื่อเห็นผู้ตายที่บ้านที่เกิดเหตุโดยจำเลยมิได้มีการตระเตรียมการหรือมีการวางแผนมาก่อน จำเลยจึงมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 288 เท่านั้น
ความผิดฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และฐานพาอาวุธมีดไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควร เป็นความผิดต่างกรรมกัน แต่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษตาม พ.ร.บ. อาวุธปืน ฯ ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด ตาม ป.อ. มาตรา 90 จึงไม่ถูกต้อง แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาจึงแก้ไขให้ถูกต้องโดยไม่เพิ่มเติมโทษจำเลย
ความผิดฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และฐานพาอาวุธมีดไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควร เป็นความผิดต่างกรรมกัน แต่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษตาม พ.ร.บ. อาวุธปืน ฯ ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด ตาม ป.อ. มาตรา 90 จึงไม่ถูกต้อง แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาจึงแก้ไขให้ถูกต้องโดยไม่เพิ่มเติมโทษจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7834/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถยนต์ในคดียาเสพติด: การซ่อนยาไม่ใช่การใช้ยานพาหนะในการกระทำผิด
จำเลยซ่อนเมทแอมเฟตามีนไว้ที่บริเวณหน้ารถด้านคนขับรถยนต์ของกลางจึงไม่ใช่ยานพาหนะซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตโดยตรงจึงไม่อาจริบได้ ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522มาตรา 102
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7834/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนครอบครอง – การพิสูจน์เจตนา และขอบเขตการริบรถยนต์
จำเลยที่ 4 มีเมทแอมเฟตามีน อันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 จำนวน 197 เม็ด ไว้ในครอบครองโดย ไม่ได้รับอนุญาต เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยที่ 4 ได้พร้อมจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 โดยจำเลยทั้งสี่นั่งมาด้วยกันในรถยนต์บรรทุกของกลางซึ่งมีจำเลยที่ 1 เป็นคนขับ และเมทแอมเฟตามีนจำนวนดังกล่าวซ่อนอยู่ที่บริเวณหน้ารถด้านคนขับ เมทแอมเฟตามีนดังกล่าวจำเลยที่ 4 เพิ่งไปรับมาในวันนั้น จำเลยทั้งสี่ออกเดินทางไปพร้อมกัน กลับมาพร้อมกัน โดยรถยนต์บรรทุกคันเดียวกัน แสดงว่าขณะนำเมทแอมเฟตามีนมาไว้ในรถจำเลยทั้งสี่อยู่ด้วยกันตลอด การมี เมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1ไว้ในครอบครองเป็นความผิด จำเลยทั้งสี่ย่อมทราบดี หากจำเลยทั้งสี่ไม่มีเจตนาร่วมกันแล้ว จำเลยที่ 4 ย่อมไม่กล้ากระทำโดยเปิดเผยให้ผู้อื่นได้รู้ โดยเฉพาะจำเลยที่ 1 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 4 จำเลยที่ 4 ย่อมจะต้องปกปิดอย่างยิ่ง ชั้นจับกุมและสอบสวนจำเลยที่ 1 และที่ 4 รับสารภาพ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้การว่าร่วมไปด้วยเพื่อนำเอามาเสพ พยานหลักฐานโจทก์ดังกล่าวฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 4 มีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต
จำเลยทั้งสี่มีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต การที่จำเลยทั้งสี่เพียงแต่ซ่อนเมทแอมเฟตามีนไว้ที่บริเวณหน้ารถด้านคนขับ รถยนต์ของกลางจึงไม่ใช่ยานพาหนะซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตโดยตรง จึงไม่อาจริบตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 102 ได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2544)
จำเลยทั้งสี่มีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต การที่จำเลยทั้งสี่เพียงแต่ซ่อนเมทแอมเฟตามีนไว้ที่บริเวณหน้ารถด้านคนขับ รถยนต์ของกลางจึงไม่ใช่ยานพาหนะซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตโดยตรง จึงไม่อาจริบตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 102 ได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2544)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7050/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลอกลวงจัดหางานต่างประเทศไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางาน หากไม่มีเจตนาจัดหางานจริง
ในคดีอาญา ปัญหาที่ว่าฟ้องโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยซึ่งศาลฎีกายกขึ้นเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 225 ประกอบด้วย มาตรา 195 วรรคสอง
โจทก์บรรยายฟ้องสรุปได้ว่าจำเลยจัดหางานให้แก่โจทก์ร่วม ซึ่งเป็นคนหางานเพื่อทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยจำเลยหลอกลวงประชาชนทั่วไปด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จด้วยการประกาศโฆษณาและชักชวนว่าจำเลยสามารถจัดส่งคนงานไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นซึ่งจะได้เงินเดือนอัตราสูง และจำเลยจัดส่งคนหางานไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นหลายคนแล้ว แต่ผู้สมัครจะต้องจ่ายเงินค่าบริการและค่าจัดส่งให้จำเลยจำนวนหนึ่ง ความจริงแล้วจำเลยไม่สามารถจัดส่งคนหางานให้ไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นตามที่หลอกลวงไว้ เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงอยู่ในตัวว่าจำเลยไม่มีเจตนาจัดหางานให้แก่โจทก์ร่วมและผู้เสียหาย คงมีแต่เจตนาหลอกลวงเพื่อจะได้รับเงินจากโจทก์ร่วมและ ผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำของจำเลยตามฟ้องจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง, 82
โจทก์บรรยายฟ้องสรุปได้ว่าจำเลยจัดหางานให้แก่โจทก์ร่วม ซึ่งเป็นคนหางานเพื่อทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยจำเลยหลอกลวงประชาชนทั่วไปด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จด้วยการประกาศโฆษณาและชักชวนว่าจำเลยสามารถจัดส่งคนงานไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นซึ่งจะได้เงินเดือนอัตราสูง และจำเลยจัดส่งคนหางานไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นหลายคนแล้ว แต่ผู้สมัครจะต้องจ่ายเงินค่าบริการและค่าจัดส่งให้จำเลยจำนวนหนึ่ง ความจริงแล้วจำเลยไม่สามารถจัดส่งคนหางานให้ไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นตามที่หลอกลวงไว้ เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงอยู่ในตัวว่าจำเลยไม่มีเจตนาจัดหางานให้แก่โจทก์ร่วมและผู้เสียหาย คงมีแต่เจตนาหลอกลวงเพื่อจะได้รับเงินจากโจทก์ร่วมและ ผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำของจำเลยตามฟ้องจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง, 82
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6814/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคำพิพากษาฎีกาใหม่มีผลเหนือคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขมีผลบังคับใช้
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาเช่าซื้อ โจทก์ไม่ผิดสัญญาและสัญญายังไม่เลิกกันจำเลยไม่มีสิทธิยึดรถยนต์คืนให้จำเลยคืนรถยนต์แก่โจทก์ให้โจทก์ชำระเงินค่าเช่าซื้อที่ค้าง ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ฎีกา แต่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้ความว่า จำเลยได้ฟ้องโจทก์กับพวกเป็นจำเลยในมูลคดีเดียวกันนี้ กล่าวถึงการปฏิบัติชำระหนี้อันแบ่งแยกจากกันไม่ได้ กล่าวคือขอให้โจทก์คืนรถยนต์แก่จำเลย ผลคดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกามีคำพิพากษาให้โจทก์กับพวกคืนรถยนต์ หากคืนไม่ได้ให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลย คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่ว่าสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาเช่าซื้อ โจทก์ไม่ผิดสัญญาและสัญญายังไม่เลิกกัน จึงขัดกับคำวินิจฉัยตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวที่ว่าเป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข การชำระหนี้ของโจทก์ไม่ได้เป็นไปตามกำหนด จำเลยจึงมีสิทธิครอบครองรถยนต์พิพาทได้โดยชอบเมื่อกรณีเป็นดังนี้ จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 146 วรรคหนึ่งโดยถือตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6814/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำพิพากษาศาลฎีกาที่ขัดแย้งกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีซื้อขายรถยนต์ โดยศาลฎีกาต้องบังคับตามคำพิพากษาเดิม
ศาลชั้นต้นเห็นว่า สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาเช่าซื้อ โจทก์ไม่ผิดสัญญา และสัญญายังไม่เลิกกัน จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิยึดรถยนต์คืน ให้จำเลยที่ 1 คืนรถยนต์ดังกล่าวแก่โจทก์ ให้โจทก์ชำระเงินค่าเช่าซื้อที่ค้างพร้อม ดอกเบี้ยแก่จำเลยที่ 1 และให้จำเลยทั้งสามชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ โจทก์และจำเลยทั้งสามอุทธรณ์ แต่จำเลยทั้งสามทิ้งอุทธรณ์ คดีคงมีปัญหาวินิจฉัยเฉพาะอุทธรณ์โจทก์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ฎีกา แต่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้ความว่า จำเลยที่ 1 ได้ฟ้องโจทก์กับพวกรวม 3 คน เป็นจำเลยในมูลคดีเดียวกันนี้ กล่าวถึงการปฏิบัติชำระหนี้อันแบ่งแยกจากกันไม่ได้ กล่าวคือ ขอให้โจทก์คืนรถยนต์แก่จำเลยที่ 1 ผลคดีถึงที่สุดโดย ศาลฎีกามีคำพิพากษาให้โจทก์กับพวกคืนรถยนต์ หากคืนไม่ได้ ให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 1 เมื่อคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นคดีนี้ขัดกับคำวินิจฉัยตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ว่าสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข การชำระหนี้ของโจทก์ไม่ได้เป็นไปตามกำหนดตามสัญญา จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิเข้าครอบครองรถยนต์พิพาทได้โดยชอบ กรณีจึงต้องบังคับตาม ป.วิ.พ. มาตรา 146 วรรคหนึ่ง โดยถือตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาโจทก์ต่อไป และพิพากษากลับให้ยกฟ้อง