พบผลลัพธ์ทั้งหมด 229 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 133/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายเกินเนื้อที่ตกลง, ความรับผิดของผู้ซื้อร่วม, ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจากโจทก์เนื้อที่ 107 ตารางวา แต่จดทะเบียนโอนเกินกว่าที่ตกลงไป 11 ตารางวา ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียน หรือให้จำเลยชำระค่าเสียหายเท่าราคาที่ดินตารางวาละ 120,000 บาท เมื่อศาลเห็นว่าคำขอท้ายฟ้องที่ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินไม่สามารถเพิกถอนได้ ก็ยกคำขอส่วนนี้ และพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 1,320,000 บาท ตามคำขอท้ายฟ้องที่ว่า หากสภาพแห่งหนี้ไม่อาจบังคับได้ขอให้จำเลยชำระค่าที่ดิน ซึ่งหมายความว่า เมื่อเพิกถอนนิติกรรมไม่ได้ ก็ขอให้จำเลยชดใช้ค่าที่ดินส่วนที่เกินได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
สัญญาขายเหมาคือสัญญาซื้อขายที่ผู้ซื้อตกลงซื้อทรัพย์สินที่ผู้ขายเสนอขายหมดทั้งจำนวนในราคาที่ตกลงกัน ซึ่งผู้ซื้อต้องผูกพันชำระราคาและผู้ขายต้องส่งมอบทรัพย์สินทั้งหมดตามที่ตกลงกันไว้ ทั้งนี้ไม่ว่าทรัพย์สินที่ซื้อขายจะมีปริมาณมากหรือน้อยกว่าที่คิดคำนวณไว้ ดังนั้น เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์จำเลยได้ระบุตัวทรัพย์และส่วนของทรัพย์ที่จะซื้อจะขายไว้แน่นอน คือที่ดินเนื้อที่ 107 ตารางวา แต่ในส่วนของราคาระบุว่าให้เพิ่มหรือลดลงได้ตามเนื้อที่ซึ่งยังไม่แน่นอนว่าจะมีราคาเท่าใด จึงไม่ใช่สัญญาขายเหมา
จำเลยที่ 1 กับที่ 3 ตกลงกันว่าจะสร้างอาคารพาณิชย์บนที่ดินของโจทก์ จึงให้จำเลยที่ 1 ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับโจทก์ ระหว่างนั้นได้ดำเนินการจดทะเบียนตั้งบริษัทจำเลยที่ 2 ขึ้น โดยมีจำเลยที่ 3 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจและจำเลยที่ 1 เป็นผู้เริ่มก่อการและผู้ถือหุ้น เมื่อถึงกำหนดก็จดทะเบียนโอนที่ดินเป็นชื่อจำเลยที่ 3 พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 3 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินของโจทก์ จึงต้องรับผิดตามสัญญาจะซื้อจะขาย
สัญญาขายเหมาคือสัญญาซื้อขายที่ผู้ซื้อตกลงซื้อทรัพย์สินที่ผู้ขายเสนอขายหมดทั้งจำนวนในราคาที่ตกลงกัน ซึ่งผู้ซื้อต้องผูกพันชำระราคาและผู้ขายต้องส่งมอบทรัพย์สินทั้งหมดตามที่ตกลงกันไว้ ทั้งนี้ไม่ว่าทรัพย์สินที่ซื้อขายจะมีปริมาณมากหรือน้อยกว่าที่คิดคำนวณไว้ ดังนั้น เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์จำเลยได้ระบุตัวทรัพย์และส่วนของทรัพย์ที่จะซื้อจะขายไว้แน่นอน คือที่ดินเนื้อที่ 107 ตารางวา แต่ในส่วนของราคาระบุว่าให้เพิ่มหรือลดลงได้ตามเนื้อที่ซึ่งยังไม่แน่นอนว่าจะมีราคาเท่าใด จึงไม่ใช่สัญญาขายเหมา
จำเลยที่ 1 กับที่ 3 ตกลงกันว่าจะสร้างอาคารพาณิชย์บนที่ดินของโจทก์ จึงให้จำเลยที่ 1 ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับโจทก์ ระหว่างนั้นได้ดำเนินการจดทะเบียนตั้งบริษัทจำเลยที่ 2 ขึ้น โดยมีจำเลยที่ 3 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจและจำเลยที่ 1 เป็นผู้เริ่มก่อการและผู้ถือหุ้น เมื่อถึงกำหนดก็จดทะเบียนโอนที่ดินเป็นชื่อจำเลยที่ 3 พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 3 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินของโจทก์ จึงต้องรับผิดตามสัญญาจะซื้อจะขาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 109/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงคำสั่งศาลเกี่ยวกับมาตรการทางอาญาสำหรับเด็กและเยาวชน โดยพิจารณาถึงสภาพแวดล้อมและการศึกษา
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมที่ สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนมีกำหนด 2 ปี นับแต่ วันพิพากษาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 74(5) แล้ว ผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นบิดามารดาของจำเลยยื่นคำร้องต่อศาลขอรับตัวจำเลยไปดูแลแทนการส่งตัวไปฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน โดยยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขต่าง ๆที่ศาลจะกำหนด ถือได้ว่าเป็นกรณีที่พฤติการณ์เกี่ยวกับคำสั่งเดิมเปลี่ยนแปลงไปมีทางให้ศาลเลือกวิธีการที่เป็นผลดีแก่จำเลยมากกว่าวิธีการเดิม ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 74 วรรคท้าย เมื่อจำเลยยังต้องศึกษาเล่าเรียนต่อการมอบจำเลยให้ผู้ร้องทั้งสองไปโดยวางข้อกำหนดให้ผู้ร้องระวังจำเลยไม่ให้ก่อเหตุร้ายอีก จะเป็นผลดีกว่าการส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8334/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก: ความผูกพันของจำเลยตามหนังสือค้ำประกัน
หนังสือค้ำประกันมีข้อความว่า "?บริษัท ต. ได้ค้ำประกันการซื้อสินค้าถุงพลาสติกระหว่าง ซ. (ผู้ซื้อ) กับโจทก์ (ผู้ขาย) ? หากบริษัท ต. ไม่สามารถชำระเงินให้ จำเลย สาขาสุพรรณบุรี ตกลงชำระเงินแทนให้ 600,000 บาท" จำเลยได้ทำหนังสือค้ำประกันฉบับดังกล่าวขึ้น โดยบริษัท ต. ยื่นคำขอให้จำเลยออกหนังสือสัญญาค้ำประกันระบุข้อความว่า จำเลยจะชำระหนี้แก่โจทก์หากบริษัท ต. ไม่ชำระหนี้ โดยบริษัท ต. กับจำเลยจัดทำหนังสือค้ำประกัน จากนั้น ทางบริษัท ต. ได้จัดส่งเอกสารดังกล่าวให้โจทก์ หนังสือค้ำประกันดังกล่าวจึงเป็นสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างบริษัท ต. กับจำเลยมิใช่สัญญาที่จำเลยทำกับโจทก์ว่าหากบริษัท ต. ผู้ค้ำประกันไม่ชำระหนี้ จำเลยจะชำระแทน จึงมิใช่สัญญาค้ำประกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 680 กรณีจึงมิใช่สัญญาที่จำเลยเป็นผู้รับเรือนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 682 วรรคหนึ่ง แต่หนังสือสัญญาดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยทำสัญญากับบริษัท ต. ยินยอมจะชำระหนี้ให้โจทก์ เมื่อโจทก์แสดงเจตนาแก่จำเลยว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นแล้ว เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 โจทก์จึงมีสิทธิจะเรียกชำระหนี้จากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8303/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสัมพันธ์ผู้ขาย-นายหน้า: ผู้ขายต้องส่งมอบเอกสารรถยนต์ให้ผู้ซื้อ แม้ซื้อผ่านนายหน้า
โจทก์ซื้อรถยนต์จากจำเลยที่ 2 หลังจากโจทก์วางเงินมัดจำแล้วจำเลยที่ 2 จึงสั่งรถยนต์มาจากจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ดำเนินการจดทะเบียนรถยนต์ให้ โจทก์จึงร้องเรียนไปยังบริษัท ส.ซึ่งเป็นผู้ประกอบรถยนต์คันที่โจทก์ซื้อ บริษัทส.มีหนังสือแจ้งโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 (ดิลเลอร์) ได้ดำเนินการติดต่อประสานงานกับจำเลยที่ 2 (โบรคเกอร์) เพื่อเจรจาใช้หนี้ให้โจทก์ หากโจทก์ประสงค์ซื้อรถยนต์ในครั้งต่อไปขอให้ติดต่อกับจำเลยที่ 1 โดยตรงเพราะจำเลยที่ 1 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จำหน่ายจากบริษัท ส.แล้ว พอแปลคำว่าดิลเลอร์ได้ว่าหมายถึงผู้จำหน่าย ประกอบกับจำเลยที่ 1 มีวัตถุประสงค์เป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ของบริษัท ส. ดังนั้นจำเลยที่ 1จึงเป็นผู้จำหน่ายรถยนต์ของบริษัท ส. ส่วนคำว่าโบรคเกอร์ หมายถึงนายหน้าประกอบกับจำเลยที่ 2 มีวัตถุประสงค์เป็นนายหน้า ความสัมพันธ์ของจำเลยทั้งสองจึงอยู่ในลักษณะจำเลยที่ 1 เป็นผู้จำหน่ายรถยนต์ โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นนายหน้าในการขายรถยนต์ให้
โจทก์ซื้อรถยนต์ของจำเลยที่ 1 ผ่านทางจำเลยที่ 2 ผู้เป็นนายหน้าของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดส่งมอบชุดจดทะเบียนแก่โจทก์ด้วย
โจทก์ซื้อรถยนต์ของจำเลยที่ 1 ผ่านทางจำเลยที่ 2 ผู้เป็นนายหน้าของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดส่งมอบชุดจดทะเบียนแก่โจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8303/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสัมพันธ์ผู้ขาย-นายหน้า: ผู้ซื้อมีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ขายส่งมอบเอกสารจากนายหน้าได้
โจทก์ซื้อรถยนต์จากจำเลยที่ 2 หลังจากโจทก์วางเงินมัดจำแล้วจำเลยที่ 2 จึงสั่งรถยนต์มาจากจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ดำเนินการจดทะเบียนรถยนต์ให้ โจทก์จึงร้องเรียนไปยังบริษัท ส. ซึ่งเป็นผู้ประกอบรถยนต์คันที่โจทก์ซื้อ บริษัท ส. มีหนังสือแจ้งโจทก์ว่าจำเลยที่ 1(ดิลเลอร์) ได้ดำเนินการติดต่อประสานงานกับจำเลยที่ 2(โบรคเกอร์) เพื่อเจรจาใช้หนี้ให้โจทก์ หากโจทก์ประสงค์ซื้อรถยนต์ในครั้งต่อไปขอให้ติดต่อกับจำเลยที่ 1 โดยตรงเพราะจำเลยที่ 1ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จำหน่ายจากบริษัท ส. แล้ว พอแปลคำว่าดิลเลอร์ได้ว่าหมายถึงผู้จำหน่าย ประกอบกับจำเลยที่ 1 มีวัตถุประสงค์เป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ของบริษัท ส. ดังนั้น จำเลยที่ 1จึงเป็นผู้จำหน่ายรถยนต์ของบริษัท ส. ส่วนคำว่าโบรคเกอร์ หมายถึงนายหน้าประกอบกับจำเลยที่ 2 มีวัตถุประสงค์เป็นนายหน้า ความสัมพันธ์ของจำเลยทั้งสองจึงอยู่ในลักษณะจำเลยที่ 1 เป็นผู้จำหน่ายรถยนต์โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นนายหน้าในการขายรถยนต์ให้
โจทก์ซื้อรถยนต์ของจำเลยที่ 1 ผ่านทางจำเลยที่ 2 ผู้เป็นนายหน้าของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดส่งมอบชุดจดทะเบียนแก่โจทก์ด้วย
โจทก์ซื้อรถยนต์ของจำเลยที่ 1 ผ่านทางจำเลยที่ 2 ผู้เป็นนายหน้าของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดส่งมอบชุดจดทะเบียนแก่โจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8187/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มเติมฟ้องแก้ฐานความผิดของจำเลยที่เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ และการใช้พยานหลักฐานจากการล่อซื้อยาเสพติด
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163 วรรคหนึ่งบัญญัติว่า "เมื่อมีเหตุอันควร โจทก์มีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้องก่อนมีคำพิพากษาศาลชั้นต้น" และมาตรา 164 บัญญัติว่า"คำร้องขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้องนั้น ถ้าจะทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดี ห้ามมิให้ศาลอนุญาต แต่การแก้ฐานความผิด การเพิ่มเติมฐานความผิด ไม่ว่าจะทำเช่นนี้ในระยะใดระหว่างการพิจารณาในศาลชั้นต้นมิให้ถือว่าทำให้จำเลยเสียเปรียบ เว้นแต่จำเลยได้หลงต่อสู้ในข้อที่ผิดหรือที่มิได้กล่าวไว้นั้น" เมื่อโจทก์ขอเพิ่มเติมฟ้องว่าจำเลยเป็นพนักงานองค์การรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นการแก้ฐานความผิด ทั้งเป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับฐานะและอาชีพของจำเลยซึ่งจำเลยทราบดีอยู่แล้วไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบและหลงต่อสู้ ถือได้ว่ามีเหตุอันสมควรและโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา โจทก์จึงขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163 วรรคหนึ่ง และมาตรา 164
การที่เจ้าพนักงานตำรวจใช้สายลับนำเงินไปล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยซึ่งมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอยู่แล้ว เป็นวิธีการแสวงหาพยานหลักฐานในการกระทำความผิดของจำเลยที่ได้กระทำอยู่แล้ว มิได้ล่อหรือชักจูงใจให้จำเลยกระทำความผิดอาญาที่จำเลยไม่ได้กระทำความผิดมาก่อน การกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวเป็นเพียงวิธีการเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลย ไม่เป็นการกระทำที่ดูหมิ่นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของจำเลย ไม่เป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และไม่เข้าข้อต้องห้ามอ้างเป็นพยานหลักฐานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 226
ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยกระทำผิดขณะเป็นพนักงานขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ซึ่งเป็นองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐจึงต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดดังกล่าวตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100 และพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 10 แต่กลับไม่ได้ปรับบทลงโทษตามกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
การที่เจ้าพนักงานตำรวจใช้สายลับนำเงินไปล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยซึ่งมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอยู่แล้ว เป็นวิธีการแสวงหาพยานหลักฐานในการกระทำความผิดของจำเลยที่ได้กระทำอยู่แล้ว มิได้ล่อหรือชักจูงใจให้จำเลยกระทำความผิดอาญาที่จำเลยไม่ได้กระทำความผิดมาก่อน การกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวเป็นเพียงวิธีการเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลย ไม่เป็นการกระทำที่ดูหมิ่นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของจำเลย ไม่เป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และไม่เข้าข้อต้องห้ามอ้างเป็นพยานหลักฐานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 226
ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยกระทำผิดขณะเป็นพนักงานขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ซึ่งเป็นองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐจึงต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดดังกล่าวตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100 และพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 10 แต่กลับไม่ได้ปรับบทลงโทษตามกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8187/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มเติมฟ้อง, พยานหลักฐานจากการล่อซื้อ, และการปรับบทลงโทษสำหรับความผิดของเจ้าพนักงานรัฐวิสาหกิจ
หลังจากสืบพยานจำเลยเสร็จแล้วโจทก์ขอเพิ่มเติมฟ้องโดยแก้ฐานความผิดว่าจำเลยเป็นพนักงานองค์การรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานของรัฐ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับฐานะและอาชีพของจำเลยซึ่งจำเลยทราบดีอยู่แล้ว ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบและหลงต่อสู้ ถือได้ว่ามีเหตุอันสมควร และโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา โจทก์จึงขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 163 วรรคหนึ่ง และมาตรา 164
การที่เจ้าพนักงานตำรวจใช้สายลับนำเงินไปล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยซึ่งมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอยู่แล้วเป็นวิธีการแสดงหาพยานหลักฐานในการกระทำความผิดของจำเลยที่ได้กระทำอยู่แล้ว มิได้ล่อหรือชักจูงใจให้จำเลยกระทำความผิดอาญาที่จำเลยไม่ได้กระทำความผิดมาก่อน การกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวเป็นเพียงวิธีการเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลย ไม่เป็นการกระทำที่ดูหมิ่นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของจำเลยและไม่เป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และไม่เข้าข้อต้องห้ามอ้างเป็นพยานหลักฐานตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226
ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยกระทำผิดขณะเป็นพนักงานขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ซึ่งเป็นองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ จึงต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดดังกล่าวตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100 และ พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 แต่กลับไม่ได้ปรับบทลงโทษตามกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
การที่เจ้าพนักงานตำรวจใช้สายลับนำเงินไปล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยซึ่งมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอยู่แล้วเป็นวิธีการแสดงหาพยานหลักฐานในการกระทำความผิดของจำเลยที่ได้กระทำอยู่แล้ว มิได้ล่อหรือชักจูงใจให้จำเลยกระทำความผิดอาญาที่จำเลยไม่ได้กระทำความผิดมาก่อน การกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวเป็นเพียงวิธีการเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลย ไม่เป็นการกระทำที่ดูหมิ่นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของจำเลยและไม่เป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และไม่เข้าข้อต้องห้ามอ้างเป็นพยานหลักฐานตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226
ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยกระทำผิดขณะเป็นพนักงานขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ซึ่งเป็นองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ จึงต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดดังกล่าวตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100 และ พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 แต่กลับไม่ได้ปรับบทลงโทษตามกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7531/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้ออำพรางการซื้อขาย กรรมสิทธิ์ยังไม่โอนจนกว่าชำระราคาครบถ้วน
สัญญาเช่าซื้อรถยนต์ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ทำขึ้นเพื่ออำพรางสัญญาซื้อขายต้องนำบทบัญญัติกฎหมายซื้อขายมาใช้บังคับจำเลยที่ 1 เพียงแต่ส่งมอบรถยนต์คันพิพาทโดยยังไม่ส่งมอบเอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนแก่จำเลยที่ 2 แสดงว่าจำเลยที่ 1 ยังไม่มีเจตนาโอนกรรมสิทธิ์ให้จนกว่าจำเลยที่ 2 จะชำระราคาครบถ้วน เมื่อจำเลยที่ 2ชำระราคายังไม่ครบถ้วน กรรมสิทธิ์ยังไม่ตกเป็นของจำเลยที่ 2 โจทก์ซื้อรถยนต์คันพิพาทจากจำเลยที่ 2 จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ และไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7531/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้ออำพรางการซื้อขาย กรรมสิทธิ์ยังไม่โอน จนกว่าชำระราคาครบถ้วน ผู้ซื้อไม่มีกรรมสิทธิ์ จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
สัญญาเช่าซื้อรถยนต์ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ทำขึ้นเพื่ออำพรางสัญญาซื้อขาย จึงต้องนำบทบัญญัติกฎหมายซื้อขายมาใช้บังคับ จำเลยที่ 1 เพียงแต่ส่งมอบรถยนต์คันพิพาทโดยยังไม่ส่งมอบเอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนแก่จำเลยที่ 2 ทั้งมีข้อตกลงตามสัญญาว่ากรรมสิทธิ์ของรถยนต์ยังไม่โอนให้แก่ผู้ซื้อจนกว่าจะชำระราคาครบถ้วน แสดงว่าจำเลยที่ 1 ยังไม่มีเจตนาโอนกรรมสิทธิ์ให้จนกว่าจำเลยที่ 2 จะชำระราคาครบถ้วน เมื่อจำเลยที่ 2 ชำระราคายังไม่ครบถ้วน กรรมสิทธิ์ยังไม่ตกเป็นของจำเลยที่ 2 โจทก์ซื้อรถยนต์คันพิพาทจากจำเลยที่ 2 จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์และไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7391/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่รับฟ้องแย้งในคดีมรดก เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้กำจัดจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 มิให้รับมรดกของ ว. และให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินทรัพย์มรดกระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 5 สภาพแห่งข้อหาเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาว่ามีเหตุตามกฎหมาย ที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จะต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของ ว. และจะต้องเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 5 ตามฟ้องหรือไม่ ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ที่ขอให้กำจัดโจทก์ที่ 2 มิให้รับมรดกของ ว. และให้โจทก์ที่ 2 ชดใช้เงินแก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จึงไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจาณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้
ส่วนที่โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้เพิกถอนจำเลยที่ 1 จากการเป็นผู้จัดการมรดกของ ว. และตั้งโจทก์ทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกแทน จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ให้การว่า จำเลยที่ 1 จัดการมรดกโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์ทั้งสองไม่เหมาะที่จะเป็นผู้จัดการมรดกและฟ้องแย้งขอให้ตั้งจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นผู้จัดการมรดกซึ่งยังไม่แน่นอนว่า ศาลจะเพิกถอนจำเลยที่ 1 จากการเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ ฟ้องแย้งในส่วนนี้จึงเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีเข้าด้วยกันได้เช่นเดียวกัน
ส่วนที่โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้เพิกถอนจำเลยที่ 1 จากการเป็นผู้จัดการมรดกของ ว. และตั้งโจทก์ทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกแทน จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ให้การว่า จำเลยที่ 1 จัดการมรดกโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์ทั้งสองไม่เหมาะที่จะเป็นผู้จัดการมรดกและฟ้องแย้งขอให้ตั้งจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นผู้จัดการมรดกซึ่งยังไม่แน่นอนว่า ศาลจะเพิกถอนจำเลยที่ 1 จากการเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ ฟ้องแย้งในส่วนนี้จึงเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีเข้าด้วยกันได้เช่นเดียวกัน