คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ธาดา กษิตินนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 229 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3530/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต: สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายของผู้เสียหาย
จำเลยมีความผิดฐานจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง 82 เท่านั้น แต่จำเลยมิได้มีความผิดฐานฉ้อโกงตามฟ้องด้วย พนักงานอัยการโจทก์จึงไม่มีอำนาจเรียกทรัพย์หรือราคาแทนผู้เสียหายเพราะไม่ใช่เป็นความผิดตามที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 43 ทั้งตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528ก็มิได้ให้อำนาจพนักงานอัยการโจทก์ที่จะเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3516/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้สนับสนุนการครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย: ความผิดฐานสนับสนุน vs. ตัวการร่วม
การที่จำเลยที่ 1 ขนเมทแอมเฟตามีนจำนวนมากมาจากจังหวัดอื่นแล้วมาหาจำเลยที่ 2 ซึ่งรู้จักกัน จำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 นำถุงพลาสติกขนาดใหญ่บรรจุเมทแอมเฟตามีนไปวางหลบสายตาคน ที่อาจเข้ามาในบ้าน เป็นพฤติการณ์ที่รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ทราบว่า สิ่งของในถุงพลาสติกนั้นคือสิ่งใด แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าจะมีคน มารับเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยที่ 1 ต่อไป ไม่ใช่กรณีที่จำเลยที่ 1 นำเมทแอมเฟตามีนมาส่งมอบให้จำเลยที่ 2 โดยตรง เมื่อพิจารณา สภาพบ้านของจำเลยที่ 2 ประกอบ ซึ่งเป็นกระต๊อบใช้พื้นดินเป็น พื้นบ้านภายในบ้านไม่กั้นห้องและไม่ปรากฏว่าพบเงินสดในบ้าน จำนวนมากเชื่อได้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่มีส่วนร่วมในการจำหน่าย คงเพียงแต่ ให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 1 ในการกระทำผิด จำเลยที่ 2 คงมี ความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการมีเมทแอมเฟตามีน ไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่าย
แม้พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิด เกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 6(1) จะบัญญัติว่า ผู้ใดสนับสนุนผู้กระทำ ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดต้องระวางโทษเช่นเดียวกับตัวการ แต่ บทกฎหมายดังกล่าวเป็นบทกำหนดโทษให้หนักขึ้น โจทก์ไม่ได้ ขอมาในฟ้อง จึงไม่อาจนำมาปรับแก่คดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3426/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานหลอกลวงหางานในต่างประเทศ พ.ร.บ.จัดหางานฯ มาตรา 91 ตรี แม้แจ้งข้อหาอื่นก่อนก็มีอำนาจฟ้องได้
++ เรื่อง ความผิดต่อพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน ++
++
จำเลยติดต่อกับผู้เสียหายเพื่อให้ผู้เสียหายไปทำงานในประเทศกาตาร์ ตำแหน่งพนักงานขับรถ มีเงินเดือน เดือนละประมาณ 8,000 บาท และเก็บเงินจากผู้เสียหายรวม 4 ครั้ง เป็นเงิน 30,000 บาท เป็นค่าช่วยเหลือให้ความสะดวกในการส่งผู้เสียหายไปทำงานในต่างประเทศจำนวน 16,000 บาทรวมอยู่ด้วย เมื่อผู้เสียหายเดินทางไปถึงบริษัทที่ประเทศกาตาร์ ประมาณ 3 สัปดาห์ก็ยังไม่ได้ทำงาน เนื่องจากไม่มีงานในตำแหน่งพนักงานขับรถตามที่จำเลยกล่าวอ้างต่อจากนั้นบริษัท ม.ให้ผู้เสียหายทำงานขัดหิน เงินเดือนเดือนละประมาณ 4,000 บาทผู้เสียหายแจ้งแก่นายจ้างว่าต้องการกลับประเทศไทย แต่ได้รับคำชี้แจงว่าผู้เสียหายต้องทำงานหาเงินเป็นค่าตั๋วโดยสารเครื่องบินกลับประเทศไทยเอง ผู้เสียหายจึงต้องทำงานต่อไปอีกจนได้ค่าจ้างเป็นเงินเพียงพอเป็นค่าตั๋วโดยสารเครื่องบินแล้วเดินทางกลับประเทศไทย และทวงถามเงินคืนจากจำเลย แต่จำเลยไม่ยอมคืนให้หลังจากผู้เสียหายกลับมาถึงประเทศไทยเพียงไม่กี่วัน ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์เพื่อให้ดำเนินคดีแก่จำเลย จำเลยยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย จำนวน 45,000 บาทโดยจ่ายให้ผู้เสียหายในวันที่ตกลงกันจำนวน 25,000 บาท ส่วนอีก 20,000 บาทจะจ่ายให้ผู้เสียหายเมื่อผู้เสียหายไปแถลงต่อศาลว่าไม่เอาความแก่จำเลย นอกจากนี้เจ้าพนักงานตำรวจตรวจค้นบ้านจำเลยพบเครื่องโทรสาร เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้า ตรายาง และสิ่งของรายการอื่น ๆ อีกหลายอย่าง รวมทั้งหนังสือเดินทางจำนวน 29 เล่ม ซึ่งค้านกับข้ออ้างของจำเลยที่ว่าไม่ได้จัดหางาน รับสมัครงานหรือมีธุรกิจด้านนี้เลย ข้ออ้างของจำเลยที่ว่าไม่ได้หลอกลวงผู้เสียหายว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้และไม่ได้รับค่าตอบแทนจากผู้เสียหายนั้น ขัดต่อเหตุผลและไม่น่าเชื่อฟัง แม้โจทก์มีผู้เสียหายเป็นประจักษ์พยานเพียงปากเดียวรู้เห็นในขณะที่จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายและได้เงินจากผู้เสียหายตามฟ้องก็ตาม แต่เมื่อตามพฤติการณ์แห่งคดีและพยานแวดล้อมต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นมีเหตุให้เชื่อได้ว่าผู้เสียหายเบิกความไปตามความจริง กรณีจึงฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้ และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้เงินไปจากผู้เสียหาย อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528มาตรา 91 ตรี การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 หาได้หมายความว่า พนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิดไม่ แม้เดิมแจ้งข้อหาแก่จำเลยว่าร่วมกันจัดหางานให้คนหางานไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาตฉ้อโกง และปลอมเอกสาร แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฏว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดข้อหาหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้อีกด้วย ก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดข้อหาดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 แล้วพนักงานอัยการโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดข้อหาหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2994/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาตามยอมต้องทำหลังศาลรับฟ้องคดี การบังคับคดีตามคำพิพากษาที่ไม่ชอบ
การประนีประนอมยอมความกันในศาลและศาลจะพิพากษาตามยอมได้ ศาลจะต้องมีคำสั่งรับฟ้องคดีนั้นแล้ว
โจทก์ฟ้องพร้อมยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ไต่สวนคำร้อง ส่วนคำฟ้องรอไว้สั่งเมื่อไต่สวนคำร้องขออนาถาเสร็จแล้วระหว่างไต่สวน โจทก์จำเลยทั้งหกตกลงกันได้และศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาตามยอมโดยศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำสั่งให้รับฟ้องโจทก์ก่อน จึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ตามที่ ป.วิ.พ.มาตรา 27 บัญญัติไว้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวจึงไม่ชอบ คำบังคับและหมายบังคับคดีที่ออกตามคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวจึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบตามไปด้วย เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่มีอำนาจยึดทรัพย์สินของจำเลย ศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องเสียก่อน ทั้งนี้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 243 (1)ประกอบด้วย มาตรา 247 และให้ปล่อยทรัพย์สินที่ยึดของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2994/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาตามยอมต้องมีคำสั่งรับฟ้องก่อน มิฉะนั้นเป็นกระบวนการที่ไม่ชอบ
การประนีประนอมยอมความกันในศาลและศาลจะพิพากษาตามยอมได้ ศาลจะต้องมีคำสั่งรับฟ้องคดีนั้นแล้ว
โจทก์ฟ้องพร้อมยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ไต่สวนคำร้อง ส่วนคำฟ้องรอไว้สั่งเมื่อไต่สวนคำร้องขออนาถาเสร็จแล้วระหว่างไต่สวน โจทก์จำเลยทั้งหกตกลงกันได้และศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาตามยอมโดยศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำสั่งให้รับฟ้องโจทก์ก่อนจึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27บัญญัติไว้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวจึงไม่ชอบ คำบังคับและหมายบังคับคดีที่ออกตามคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวจึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบตามไปด้วย เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่มีอำนาจยึดทรัพย์สินของจำเลย ศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องเสียก่อน ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1) ประกอบด้วยมาตรา 247 และให้ปล่อยทรัพย์สินที่ยึดของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2523/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยผิดสัญญาซื้อขายห้องชุดเนื่องจากเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอาคาร โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกเงินคืนพร้อมดอกเบี้ย
โจทก์จองซื้อห้องชุดจากจำเลย 1 ห้อง โดยจองซื้อห้องชุดชั้น 7 ของโพเดียม แต่จำเลยมิได้ทำการก่อสร้างชั้น 7 ตามสัญญา ซึ่งจำเลยอ้างว่าในแผ่นโฆษณามีข้อความระบุว่า บริษัทฯ สงวนสิทธิที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลเพิ่มเติม โดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า แต่สิทธิของจำเลยนั้น หมายถึงเฉพาะสิทธิแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายละเอียด หาใช่สิทธิแก้ไขโครงสร้างในสาระสำคัญถึงขนาดเปลี่ยนแปลงตัดทอนชั้นของอาคาร เมื่อโจทก์ทวงถามให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญา จำเลยมีหนังสือแจ้งโจทก์ว่า ถึงแม้ทางบริษัทจำเลยมิได้ทำการก่อสร้างห้องชุดชั้น 7 แต่ได้จัดสรรห้องชุดอื่น ๆ แทนห้องชุดเดิมไว้ก็ตาม โจทก์มีสิทธิที่จะไม่รับพิจารณาห้องชุดในชั้นอื่นที่จำเลยเสนอ การที่จำเลยไม่ก่อสร้างห้องชุดชั้น 7 ให้โจทก์ จึงเป็นการกระทำผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
สัญญาที่โจทก์จองซื้อห้องชุดนี้ เป็นสัญญาต่างตอบแทน จำเลยมีหนี้ที่ต้องชำระโดยก่อสร้างอาคารแก่โจทก์ตามสัญญา เมื่อจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาได้อย่างแน่แท้จึงเป็นกรณีการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัย โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ทันที เพราะเป็นการเลิกสัญญาโดยอาศัยเหตุตามกฎหมาย ไม่จำเป็นจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในการเลิกสัญญาตามที่กำหนดไว้ในสัญญา เมื่อสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์จำเลยเป็นอันเลิกกัน จำเลยมีหน้าที่ต้องให้โจทก์ได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม ส่วนดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสอง นั้นให้คิดตั้งแต่ที่รับเงินไว้ โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลย ตั้งแต่เวลาที่จำเลยรับเงินจากโจทก์ในแต่ละงวด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1821/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำผิดต่อผู้ข่มเหงต่อเนื่อง: การป้องกันสิทธิในฐานะผู้ถูกทำร้าย
ผู้ตายเมาสุรามากกลับมาบ้าน ผู้ตายเอะอะหาเรื่องจำเลยหลายเรื่อง และกล่าวหาว่าจำเลยเอามีดของผู้ตายไปซ่อน ผู้ตายบอกให้จำเลยออกจากบ้านมิเช่นนั้นจะสับให้เป็นชิ้น แล้วใช้มีดดังกล่าวไล่ฟันจำเลยก่อน จำเลยวิ่งไปบ้านน้องผู้ตายซึ่งอยู่ใกล้กัน มีผู้ตายถือมีดวิ่งติดตามไป จำเลยต้องหลบหนีออกไปซ่อนตัวข้างต้นมะขามในทุ่งนา ผู้ตายหาจำเลยไม่พบจึงกลับบ้าน ปิดบ้านล็อกกุญแจนอน ต่อมาจำเลยกลับบ้าน แอบมองทางรอยแตกเห็นผู้ตายหลับอยู่ จึงใช้ลูกกุญแจไขเปิดประตูหน้าบ้านเข้าไป แล้วจำเลยใช้มีดฟันผู้ตายด้วยความโมโหที่ถูกผู้ตายวิ่งไล่ทำร้ายอยู่เป็นประจำ การที่ผู้ตายใช้มีดไล่ฟันจำเลย นับว่าเป็นการข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม แม้จำเลยจะเป็นภริยาผู้ตาย ผู้ตายก็หามีสิทธิที่จะกระทำแก่จำเลยเช่นนั้นไม่ ดังนี้ เมื่อจำเลยเกิดความโกรธ คือบันดาลโทสะ และจำเลยกระทำแก่ผู้ตายในทันทีเมื่อกลับมาถึงบ้านและพบผู้ตาย อันเป็นระยะเวลาห่างจากถูกข่มเหงเพียง 2 ชั่วโมงหรือ 2 ชั่งโมงเศษ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่จำเลยต้องหลบหนีจากการที่ถูกผู้ตายข่มเหงอย่างร้ายแรงจนถึงกับต้องไปแอบซ่อนตัวอยู่ในป่าละเมาะ พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าการข่มเหงยังอยู่ในช่วงเวลาที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงกันอยู่ จึงตกอยู่ในหลักเกณฑ์ที่ว่าจำเลยกระทำผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น การกระทำของจำเลยต้องด้วยบทบัญญัติ ป.อ.มาตรา 72

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1821/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บันดาลโทสะจากการถูกข่มเหงต่อเนื่อง: การกระทำผิดต่อผู้ข่มเหงตามมาตรา 72
การที่ผู้ตายใช้มีดไล่ฟันจำเลย นับว่าเป็นการข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม แม้จำเลยจะเป็นภริยาผู้ตาย ผู้ตายก็หามีสิทธิที่จะกระทำแก่จำเลยเช่นนั้นไม่ พฤติการณ์แห่งคดีมีเหตุผลให้เชื่อว่าจำเลยเกิดความโกรธคือบันดาลโทสะการที่จำเลยกระทำแก่ผู้ตายในทันทีเมื่อกลับมาถึงบ้านและพบผู้ตาย อันเป็นระยะเวลาห่างจากถูกข่มเหงเพียง 2 ชั่วโมงหรือ 2 ชั่วโมงเศษ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่จำเลยต้องหลบหนีจากการที่ถูกผู้ตายข่มเหงอย่างร้ายแรงจนถึงกับต้องไปแอบซ่อนตัวอยู่ในป่าละเมาะ พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าการข่มเหงยังอยู่ในช่วงเวลาที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงกันอยู่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1821/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บันดาลโทสะจากการถูกข่มเหง: การกระทำผิดต่อผู้ข่มเหงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72
ผู้ตายเมาสุรามากกลับมาบ้าน ผู้ตายเอะอะหาเรื่องจำเลยหลายเรื่อง และกล่าวหาว่าจำเลยเอามีดของผู้ตายไปซ่อน ผู้ตายบอกให้จำเลยออกจากบ้านมิเช่นนั้นจะสับให้เป็นชิ้น แล้วใช้มีดดังกล่าวไล่ฟันจำเลยก่อน จำเลยวิ่งไป บ้านน้องผู้ตายซึ่งอยู่ใกล้กัน มีผู้ตายถือมีดวิ่งติดตามไป จำเลยต้องหลบหนีออกไปซ่อนตัวข้างต้นมะขามในทุ่งนา ผู้ตายหาจำเลยไม่พบจึงกลับบ้าน ปิดบ้านล็อกกุญแจนอน ต่อมาจำเลยกลับบ้าน แอบมองทางรอยแตกเห็นผู้ตายหลบอยู่ จึงใช้ลูกกุญแจไขเปิดประตูหน้าบ้านเข้าไป แล้วจำเลยใช้มีดฟันผู้ตายด้วยความโมโหที่ถูกผู้ตายวิ่งไล่ทำร้ายอยู่เป็นประจำการที่ผู้ตายใช้มีดไล่ฟันจำเลย นับว่าเป็นการข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม แม้จำเลยจะเป็นภริยาผู้ตาย ผู้ตายก็หามีสิทธิที่จะกระทำแก่จำเลยเช่นนั้นไม่ ดังนี้ เมื่อจำเลยเกิดความโกรธ คือบันดาลโทสะ และจำเลยกระทำแก่ผู้ตายในทันทีเมื่อกลับมาถึงบ้านและพบผู้ตาย อันเป็นระยะเวลาห่างจากถูกข่มเหงเพียง 2 ชั่วโมงหรือ 2 ชั่วโมงเศษ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่จำเลยต้องหลบหนีจากการที่ถูกผู้ตายข่มเหงอย่างร้ายแรงจนถึงกับต้องไปแอบซ่อนตัวอยู่ในป่าละเมาะ พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าการข่มเหงยังอยู่ในช่วงเวลาที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงกันอยู่ จึงตกอยู่ในหลักเกณฑ์ที่ว่าจำเลยกระทำผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น การกระทำของจำเลยต้องด้วยบทบัญญัติประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1489/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนกระทำชำเรา, การสนับสนุน, ความยินยอม, การโทรมหญิง, ภาวะจำยอม
จำเลยทั้งสามกับพวกได้ร่วมกันพาผู้เสียหายไปที่บ้านเกิดเหตุเพื่อกระทำชำเราจำเลยที่ 3 กระทำชำเราผู้เสียหายโดยผู้เสียหายยินยอม จึงไม่มีความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา แต่เมื่อจำเลยที่ 3 ออกไปจากห้องแล้วปล่อยให้จำเลยที่ 1 ที่ 2และพวกอีก2 คน ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเข้าไปข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายในห้องทีละคนโดยจำเลยที่ 3 มิได้ขัดขวางหรือห้ามปรามแต่อย่างใดถือว่าเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และพวกอีก 2 คน ก่อนหรือขณะกระทำความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราในลักษณะเป็นการโทรมหญิงจำเลยที่ 3 จึงมีความผิดเป็นผู้สนับสนุนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86
of 23