คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ธาดา กษิตินนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 229 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4162/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จและเบิกความเท็จต้องมีเจตนาทุจริตและข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้ หากไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุนการกล่าวหา ก็ถือว่าไม่มีความผิด
จำเลยทั้งสองเคยให้การและเบิกความว่าโจทก์ทั้งสองกระทำผิดฐานปล้นทรัพย์ แต่ศาลพิพากษายกฟ้อง โจทก์ทั้งสองจึงฟ้องว่าจำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญา และเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีอาญา แต่ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบไม่มีเหตุผลที่จะชี้ให้เห็นเจตนาอันไม่สุจริตของจำเลยทั้งสองว่านำเอาความเท็จซึ่งควรรู้อยู่แล้วมาแกล้งกล่าวหาโจทก์ทั้งสอง ข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสองเห็นว่าโจทก์เป็นคนร้ายหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงที่ยุติระหว่างคู่ความในคดีปล้นทรัพย์เท่านั้น จะนำมาฟังในคดีนี้ว่าการให้การชั้นสอบสวนและเบิกความในชั้นศาลเป็นการแจ้งความเท็จและเบิกความเท็จ โดยโจทก์ไม่มีพยานมาสืบว่าความจริงเป็นดังฟ้องอย่างใดหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4074/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาต้องกระทำต่อหน้าศาล การยื่นเอกสารไม่ใช่การฟ้องคดี
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 19 บัญญัติให้โจทก์อาจฟ้องด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้ หากจะฟ้องด้วยวาจา โจทก์ต้องแจ้งต่อศาลถึงชื่อ ที่อยู่ และสัญชาติของจำเลย ฐานความผิด การกระทำที่อ้างว่าจำเลยไดกระทำความผิด ข้อเท็จจริง และรายละเอียดเกี่ยวกับเวลา สถานที่และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี และมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด ศาลจะบันทึกใจความไว้เป็นหลักฐานและให้คู่ความลงชื่อไว้ ดังนั้น โจทก์จึงต้องมาศาลกล่าวฟ้องจำเลยต่อศาลด้วยวาจาให้ได้สาระตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว การที่โจทก์ให้พนักงานธุรการนำบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจามาเสนอต่อศาลชั้นต้น และเจ้าหน้าที่ของศาลได้ประทับตราพนักงานรับฟ้องไว้ โดยสภาพของบันทึกดังกล่าวไม่ใช่การฟ้องคดีอาญาต่อศาลด้วยวาจา แต่เป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานเพื่อจะฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาด้วยวาจา และเป็นความสะดวกที่ศาลจะบันทึกการฟ้องด้วยวาจาลงในแบบพิมพ์ของศาลได้รวดเร็วขึ้นเท่านั้น ดังนั้น การที่ในวันดังกล่าวโจทก์ไม่ได้มาศาล จึงไม่อาจฟ้องคดีด้วยวาจาได้ ศาลเองก็ไม่อาจพิจารณาพิพากษาลงโทษหรือพิพากษายกฟ้องจำเลยได้ กรณีต้องจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3996/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความและการชำระหนี้โดยมีเงื่อนไข ศาลแก้ไขดอกเบี้ยผิดพลาด
ตามสำเนารายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานเอกสารหมาย จ. 1 จำเลยรับว่าโจทก์ไม่สามารถเข้า ครอบครองที่ดินที่จำเลยขายให้โจทก์ได้จริง จึงยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เป็นเงิน 180,000 บาท (หนึ่งแสน แปดหมื่นบาท) โจทก์พอใจและไม่เรียกร้องใด ๆ หากจำเลยนำเงินมาให้ภายใน 2 เดือน นับแต่วันนี้ เมื่อโจทก์ได้รับเงินแล้วจะโอนที่ดิน น.ส. 3 ก. ดังกล่าวให้แก่จำเลย หากจำเลยไม่สามารถดำเนินการได้ตามที่ได้ตกลงจะยินยอมเสีย ดอกเบี้ยตามกฎหมาย ตามข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความโดยแต่ละฝ่ายมีหน้าที่ปฏิบัติต่างตอบแทน ซึ่งจำเลยมีหน้าที่จะต้องชำระเงิน 180,000 บาท ให้แก่โจทก์ก่อน แล้วโจทก์จึงจะโอนสิทธิในที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวให้แก่จำเลย ดังนั้นจำเลยจึงจะเกี่ยงให้โจทก์ปฏิบัติการชำระหนี้โดยส่งมอบที่ดินพิพาทให้จำเลยก่อนมิฉะนั้นจะไม่ชำระเงิน 180,000 บาท ให้แก่โจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืนตามมานั้นได้กำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์นับตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2542 นั้นผิดพลาดไปเพราะศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาแล้วว่า จำเลยจะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงภายในวันที่ 18 กรกฎาคม 2541 ดังนั้นย่อมจะต้องชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2541 ซึ่งกรณีดังกล่าวเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยแม้จำเลยฎีกาเพียงฝ่ายเดียว ศาลฎีกาชอบที่จะแก้ไขให้ถูกต้องโดยอาศัยอำนาจมาตรา 143 แห่ง ป.วิ.พ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3922/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของที่ดินประมาทเลินเล่อเปิดโอกาสให้ผู้อื่นนำเอกสารไปจดจำนอง ศาลยกฟ้องเพิกถอนจำนอง
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท ธ. ได้ขอซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวโดยให้ ม. เป็นนายหน้า ต่อมา ม. นำเอกสารให้โจทก์พิมพ์ลายนิ้วมือในหนังสือมอบอำนาจโดยมิได้กรอกข้อความ และโจทก์ยังได้มอบโฉนดที่ดินพิพาทให้แก่ ม. ไปจนกระทั่งมีการกรอกข้อความในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ส. มีอำนาจจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทได้ เป็นการกระทำที่เปิดโอกาสให้บุคคลอื่นนำหนังสือมอบอำนาจไปใช้จดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทแก่จำเลยตามพฤติการณ์ของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทกระทำดังกล่าว ถือว่าโจทก์ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โจทก์จึงไม่อาจอ้างความประมาทเลินเล่อของตนมาเป็นมูลเหตุฟ้องร้องจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้รับจำนองโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนเพื่อให้ตนพ้นความรับผิด โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3847/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องหนี้จากการทำสัญญาร่วมชำระหนี้ และการไม่เป็นสัญญาแปลงหนี้
สัญญาที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์นั้น จำเลยที่ 1 ตกลงว่า การที่จำเลยที่ 1 ยอมเข้าร่วมชำระหนี้กับผู้เช่าใช้บริการโทรศัพท์ คู่สายโทรศัพท์ไม่ทำให้คู่สัญญาเดิมหลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาเดิม และไม่ตัดสิทธิโจทก์จะระงับการให้บริการตามระเบียบขององค์การโทรศัพท์ ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่มีการเปลี่ยนตัวลูกหนี้เดิม เมื่อไม่มีการเปลี่ยนตัวลูกหนี้เดิมจึงไม่ใช่สัญญาแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ สัญญาเดิมไม่ระงับ และการที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมิได้เป็นลูกหนี้ผูกพันตนเข้าชำระหนี้ให้โจทก์จึงไม่ใช่การรับสภาพหนี้ แต่เป็นสัญญาประเภทหนึ่งระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ ซึ่งคู่สัญญาทำด้วยความสมัครใจ เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้และเมื่อหนี้ตามสัญญาไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 แต่ดอกเบี้ยที่โจทก์ขอนับแต่วันผิดนัดตามสัญญาร่วมชำระหนี้ถึงวันฟ้องเป็นดอกเบี้ยค้างชำระ มีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3569/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนนิติกรรมขายที่ดินมรดก: การโอนทรัพย์สินโดยไม่สุจริตและราคาต่ำกว่าตลาด
เมื่อ ด. ถึงแก่ความตาย ที่ดินพิพาทจึงเป็นมรดกตกแก่โจทก์ซึ่งเป็นมารดาของ ด. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 (2) ร. ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ด. ตามคำสั่งศาลย่อมมีหน้าที่โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ การที่ ร. จดทะเบียนขายที่ดินพิพาทแก่จำเลยในราคาเพียง 45,000 บาท ทั้ง ๆ ที่ที่ดินพิพาทกับที่ดินอีก 1 แปลง มีราคาถึง 70,000 บาท จึงเป็นราคาต่ำมากไม่น่าเชื่อว่าจะซื้อขายกันจริง และที่จำเลยนำสืบอ้างว่าเบิกเงินจากธนาคารจำนวน 30,000 บาท มาชำระค่าซื้อที่ดินพิพาทนั้นก็ไม่มีหลักฐานการเบิกเงินจากธนาคารมาแสดง ประกอบกับข้อเท็จจริงที่ว่า โจทก์จำเลยเป็นบุตรของ ร. ร่วมบิดาเดียวกัน จำเลยย่อมทราบว่า ด. เป็นบุตรโจทก์ จึงเชื่อว่าจำเลยและ ร. กระทำการโอนที่ดินพิพาทโดยไม่มีค่าตอบแทนและโดยไม่สุจริต โจทก์ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายจึงมีอำนาจฟ้องเพิกถอนนิติกรรมขายที่ดินพิพาทระหว่าง ร. ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ด. กับจำเลยได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3568/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนนิติกรรมโอนมรดกโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน
ร. ผู้จัดการมรดกผู้ตายจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งไม่ใช่ทายาทผู้ตายโดยไม่มีค่าตอบแทนและโดยไม่สุจริต แล้วจำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนให้แก่จำเลยที่ 2 โดยเสน่หา โจทก์ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายมีอำนาจฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการโอนดังกล่าวได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ใช่ทายาทของผู้ตาย ดังนั้น จึงไม่อาจนำ ป.พ.พ. มาตรา 1754 มาใช้บังคับแก่คดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3399/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายไม่สมบูรณ์เมื่อไม่มีลายมือชื่อครบถ้วน การคืนเงินและค่าเสียหายจากสัญญาที่ผิดนัด
สัญญาจะซื้อจะขายที่โจทก์ที่ 1 ทำกับจำเลยที่ 1 ไม่ปรากฏว่ามีลายมือชื่อของฝ่ายจำเลยในช่องผู้ขาย มีเพียงลายมือชื่อโจทก์ที่ 1 ในช่องผู้ซื้อ ทั้งไม่มีลายมือชื่อพยาน และไม่ได้มีการระบุวันเดือนปีไว้ ในการติดต่อสื่อสารถึงกันก็ไม่ได้มีการอ้างถึงสัญญาดังกล่าว คงอ้างถึงแต่ใบสมัครเข้าร่วมการก่อสร้างบ้านปันส่วนซึ่งมีข้อความในข้อ 5 ระบุว่า โจทก์ที่ 1 ผู้จองจะต้องทำสัญญากับจำเลยที่ 1 เช่นนี้เป็นกรณีตาม ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคสอง ดังนั้น สัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวจึงไม่สมบูรณ์และไม่มีผลผูกพันโจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 1
โจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 1 ผูกพันกันตามใบสมัครเข้าร่วมการก่อสร้างบ้านปันส่วน เมื่อโจทก์ที่ 1 ผิดสัญญาและจำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาแล้ว คู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนว่ามิได้มีสัญญาต่อกันเลย สิ่งใดที่ส่งมอบกันแล้วก็ต้องคืนให้แก่กันตามมาตรา 391 วรรคหนึ่ง โจทก์ที่ 1 จึงต้องคืนห้องชุดให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ก็ต้องคืนค่างวดและเงินดาวน์ให้แก่โจทก์ที่ 1 พร้อมดอกเบี้ย และเมื่อปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ได้ครอบครองและใช้ประโยชน์ในห้องชุดมาตลอดเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นการงานอันที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำให้และเป็นการยอมให้ใช้ทรัพย์สินนั้น โจทก์ที่ 1 จึงต้องชดใช้ด้วยเงินตามควรตามมาตรา 391 วรรคสาม
การที่โจทก์ที่ 1 ได้ขายสิทธิในการผ่อนชำระเงินให้แก่โจทก์ที่ 2 นั้น ตามมาตรา 350 บัญญัติว่า แปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้นั้นจะทำเป็นสัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้คนใหม่ก็ได้ แต่จะทำโดยขืนใจลูกหนี้เดิมหาได้ไม่ จากข้อเท็จจริงปรากฏว่าไม่มีการทำสัญญากันระหว่างจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้กับโจทก์ที่ 2 ซึ่งจะเข้าเป็นลูกหนี้คนใหม่เลย สัญญาแปลงหนี้ใหม่จึงไม่เกิดขึ้น โจทก์ที่ 1 จึงยังคงเป็นลูกหนี้อยู่เช่นเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3252/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีโดยโจทก์ร่วม: สิทธิในการรวมฟ้องคดีเมื่อมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลเหตุ
โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 109 ฟ้องว่า โจทก์แต่ละคนเป็นสมาชิกและผู้รับประโยชน์ของสมาชิกสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ฯ ของจำเลยที่ 1 โดยมีข้อตกลงกับฝ่ายจำเลยว่า จำเลยทั้งหกจะจ่ายเงินสงเคราะห์ศพให้แก่สมาชิกที่เสียชีวิต แต่ปรากฏว่าเมื่อมีสมาชิกเสียชีวิตและมีการไปขอรับเงินสงเคราะห์ศพเพื่อจัดการศพได้รับแจ้งจากจำเลยทั้งหกว่าไม่มีเงินจ่ายสงเคราะห์ศพ และอ้างว่าสมาชิกทุกคนลาออกหมดแล้วซึ่งความจริงสมาชิกยังมิได้ลาออก และไม่ได้กระทำผิดระเบียบจนกระทั่งมีการแจ้งความร้องทุกข์และพนักงานสอบสวนได้ดำเนินคดีข้อหาฉ้อโกงประชาชนกับจำเลยทั้งหก โจทก์ทั้งหนึ่งร้อยเก้าจึงทราบว่าจำเลยทั้งหกกระทำผิดข้อตกลงและสัญญาและเป็นเหตุบอกเลิกสัญญาโดยปริยาย จำเลยทั้งหกจึงต้องคืนเงินให้แก่โจทก์ทั้งหนึ่งร้อยเก้าตามทุนทรัพย์ที่ได้ชำระหรือชดใช้ค่าเสียหายเท่ากับจำนวนเงินที่โจทก์ทั้งหนึ่งร้อยเก้าได้ชำระแก่จำเลยทั้งหก ถือได้ว่าโจทก์แต่ละคนมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 วรรคหนึ่ง จึงร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งหกมาในคดีเดียวกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2959/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินคดีอนาถาชั้นอุทธรณ์: จำเป็นต้องสาบานตัวใหม่ แม้เคยได้รับอนุญาตในชั้นต้น
โจทก์ยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาชั้นอุทธรณ์ แต่โจทก์มิได้สาบานตัว ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา โจทก์อุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 9 วินิจฉัยว่าโจทก์ขอดำเนินคดีชั้นอุทธรณ์อย่างคนอนาถา โจทก์จึงต้องสาบานตัวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคหนึ่ง คำสั่งของศาลชั้นต้นชอบแล้ว ให้ยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของโจทก์ คำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 9 เป็นคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นที่สุดตามมาตรา 156 วรรคท้าย
of 23