พบผลลัพธ์ทั้งหมด 229 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2959/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีอนาถาชั้นอุทธรณ์: จำเป็นต้องสาบานตัวใหม่ แม้เคยได้รับอนุญาตในชั้นต้น
โจทก์ยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาชั้นอุทธรณ์ แต่โจทก์มิได้สาบานตัว ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา โจทก์อุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 9 วินิจฉัยว่าโจทก์ขอดำเนินคดีชั้นอุทธรณ์อย่างคนอนาถา โจทก์จึงต้องสาบานตัวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคหนึ่ง คำสั่งของศาลชั้นต้นชอบแล้ว ให้ยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของโจทก์ คำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 9 เป็นคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นที่สุดตามมาตรา 156 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2959/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเป็นผู้ไม่สามารถจ่ายค่าฤชาธรรมเนียมได้ในชั้นอุทธรณ์ ต้องสาบานตัวตามกฎหมาย หากไม่ปฏิบัติตามคำขอจะถูกยก
โจทก์ยื่นอุทธรณ์พร้อมยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาชั้นอุทธรณ์ แม้โจทก์เคยได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในศาลชั้นต้น แต่อุทธรณ์ของโจทก์เป็นคำฟ้องอุทธรณ์ เมื่อโจทก์ขอดำเนินคดีชั้นอุทธรณ์อย่างคนอนาถาโจทก์จึงต้องสาบานตัวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคหนึ่ง แต่โจทก์มิได้สาบานตัวภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา โจทก์อุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 9 มีคำสั่งยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของโจทก์ คำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 9 เป็นคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2880/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนคดีอาญาต่อเนื่องหลายท้องที่: การกำหนดพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ
ผู้เสียหายพักอาศัยอยู่กับอาในเขตท้องที่รับผิดชอบของสถานีตำรวจภูธรตำบลคูคต จำเลยพรากผู้เสียหายไป พาผู้เสียหายไปพักและกระทำชำเราผู้เสียหายในหลายท้องที่ต่างกัน จึงเป็นกรณีไม่แน่ว่าการกระทำความผิดอาญาได้กระทำในท้องที่ใดในระหว่างหลายท้องที่ และความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องในท้องที่ต่าง ๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป และเป็นความผิดเกิดขึ้นขณะผู้เสียหายกำลังเดินทาง พนักงานสอบสวนในท้องที่ใดท้องที่หนึ่งที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 วรรคหนึ่ง (1) (3) (6) และวรรคสอง พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรตำบลคูคตจึงมีอำนาจสอบสวนคดีนี้ได้
พ. อาของผู้เสียหายไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางเขน แต่พนักงานสอบสวนไม่รับแจ้งความร้องทุกข์เนื่องจาก พ. และผู้เสียหายพักอยู่ที่บ้านในเขตท้องที่สถานีตำรวจภูธรตำบลคูคต จึงเท่ากับไม่มีการแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางเขน พ. จึงไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรตำบลคูคต ต่อมาจำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมได้ที่อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ ดังนั้น พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรตำบลคูคต จึงเป็นพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่พบการกระทำความผิดก่อน จึงเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตามมาตรา 19 วรรคสาม (ข) มีอำนาจสรุปสำนวนและทำความเห็นควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้อง ส่งไปพร้อมสำนวนเพื่อให้พนักงานอัยการพิจารณาตามมาตรา 140, 141 ได้ การสอบสวนคดีนี้จึงชอบด้วยกฎหมาย
พ. อาของผู้เสียหายไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางเขน แต่พนักงานสอบสวนไม่รับแจ้งความร้องทุกข์เนื่องจาก พ. และผู้เสียหายพักอยู่ที่บ้านในเขตท้องที่สถานีตำรวจภูธรตำบลคูคต จึงเท่ากับไม่มีการแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางเขน พ. จึงไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรตำบลคูคต ต่อมาจำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมได้ที่อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ ดังนั้น พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรตำบลคูคต จึงเป็นพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่พบการกระทำความผิดก่อน จึงเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตามมาตรา 19 วรรคสาม (ข) มีอำนาจสรุปสำนวนและทำความเห็นควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้อง ส่งไปพร้อมสำนวนเพื่อให้พนักงานอัยการพิจารณาตามมาตรา 140, 141 ได้ การสอบสวนคดีนี้จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2880/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนคดีพรากผู้เยาว์ต่อเนื่องหลายท้องที่ และข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
พ. ซึ่งเป็นอาและทำหน้าที่เป็นผู้ปกครองดูแลผู้เสียหายไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางเขน แต่พนักงานสอบสวนไม่รับแจ้งความร้องทุกข์ เนื่องจาก พ. และผู้เสียหายพักอยู่ที่บ้านในเขตท้องที่สถานีตำรวจภูธรตำบลคูคต จึงเท่ากับไม่มีการแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางเขน พ. จึงไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรตำบลคูคตว่าผู้เสียหายถูกจำเลยพรากตัวไป ต่อมาจำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมได้ที่อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ ดังนั้น พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรตำบลคูคต จึงเป็นพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่พบการกระทำความผิดก่อน จึงเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตามมาตรา 19 วรรคสาม (ข) มีอำนาจสรุปสำนวนและทำความเห็นควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องส่งไปพร้อมสำนวนเพื่อให้พนักงานอัยการพิจารณาตามมาตรา 140 และ 141 ได้ การสอบสวนคดีนี้จึงชอบด้วยกฎหมาย เมื่อพนักงานอัยการเห็นควรสั่งฟ้องจำเลยคำฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย ศาลมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2737-2751/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงหนี้และการออกเช็คไม่มีเงินรองรับ ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ 15,467,184 บาท ต่อมาโจทก์จำเลยตกลงกันโดยโจทก์ตกลงลดหนี้แก่จำเลย 467,184 บาท ส่วนที่เหลือ 15,000,000 บาท ให้จำเลยผ่อนชำระเป็นรายเดือนเดือนละ 1,000,000 บาท โดยทำหลักฐานเป็นสัญญากู้ยืมเงินไว้ ถือเป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้เป็นการแปลงหนี้ใหม่ เมื่อเช็คพิพาทลงวันที่สั่งจ่ายตรงกับวันถึงกำหนดชำระเงินกู้ตามสัญญากู้ยืมเงิน จึงถือได้ว่าจำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน ซึ่งเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย โดยในขณะที่ออกเช็คไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้ โดยเจตนาไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คหรือห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินตามเช็คนั้นโดยเจตนาทุจริต จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4
ศาลล่างพิพากษาว่าการออกเช็คของจำเลยทั้ง 15 ฉบับ เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 และลงโทษจำคุกกระทงละ 6 เดือน โดยเรียงกระทงลงโทษซึ่งศาลถือว่ามีผลเสมือนเป็นการนับโทษต่อ ดังนั้น แม้ศาลล่างจะปรับบทตาม ป.อ. มาตรา 91 มาด้วยนั้น ย่อมหมายความว่า ศาลล่างพิพากษาให้จำคุกจำเลยทั้ง 15 สำนวน สำนวนละ 6 เดือน แล้วนับโทษแต่ละสำนวนต่อกันตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ เพียงแต่อ้างบทมาตราผิดพลาดไป ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
ศาลล่างพิพากษาว่าการออกเช็คของจำเลยทั้ง 15 ฉบับ เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 และลงโทษจำคุกกระทงละ 6 เดือน โดยเรียงกระทงลงโทษซึ่งศาลถือว่ามีผลเสมือนเป็นการนับโทษต่อ ดังนั้น แม้ศาลล่างจะปรับบทตาม ป.อ. มาตรา 91 มาด้วยนั้น ย่อมหมายความว่า ศาลล่างพิพากษาให้จำคุกจำเลยทั้ง 15 สำนวน สำนวนละ 6 เดือน แล้วนับโทษแต่ละสำนวนต่อกันตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ เพียงแต่อ้างบทมาตราผิดพลาดไป ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2737-2751/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกเช็คเพื่อชำระหนี้ใหม่ และการเรียงกระทงโทษในความผิด พ.ร.บ.เช็ค
จำเลยเป็นหนี้โจทก์จำนวนตามเช็คเอกสารหมาย จ. 1 ถึง จ. 12 รวมทั้งสิ้นจำนวน 15,467,184 บาท ต่อมาโจทก์จำเลยตกลงกันโดยโจทก์ตกลงลดหนี้แก่จำเลยจำนวน 467,184 บาท ส่วนที่เหลือจำนวน 15,000,000 บาท ให้จำเลยผ่อนชำระเป็นรายเดือนเดือนละ 1,000,000 บาท โดยทำหลักฐานเป็นสัญญากู้ยืมเงินตามสำเนาสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ. 13 ถึง จ. 26 และ จ. 56 ไว้ ถือเป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ เป็นการแปลงหนี้ใหม่ เช็คพิพาทตามสำเนาเช็คทั้งสิบห้าฉบับลงวันที่สั่งจ่ายตรงกับวันถึงกำหนดชำระเงินกู้ตามสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ. 13 ถึง จ. 26 และ จ. 56 ฟังได้ว่าจำเลยออกเช็คพิพาทดังกล่าวเพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน ซึ่งเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย โดยในขณะที่ออกเช็คไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้โดยเจตนาไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คหรือห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินตามเช็คนั้นโดยเจตนาทุจริต จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดต่อ พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 ในเช็คจำนวน 15 ฉบับ โดยแยกฟ้องเป็น 15 สำนวน และมีคำขอให้นับโทษของจำเลยแต่ละสำนวนต่อกัน ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้รวมพิจารณาคดีทั้งสิบห้าสำนวนเข้าด้วยกัน การกระทำของจำเลยในแต่ละสำนวนเป็นความผิดต่างกรรมกัน การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่า การออกเช็คของจำเลยทั้ง 15 ฉบับ เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 และลงโทษจำคุกกระทงละ 6 เดือน โดยเรียงกระทงลงโทษซึ่งศาลถือว่ามีผลเสมือนเป็นการนับโทษต่อ แม้ศาลล่างทั้งสองจะปรับบทตาม ป.อ. มาตรา 91 มาด้วยนั้น ย่อมหมายความว่า ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำคุกจำเลยทั้ง 15 สำนวน สำนวนละ 6 เดือน แล้วนับโทษแต่ละสำนวนต่อกันตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์นั่นเอง เพียงแต่อ้างบทมาตราผิดพลาดไป
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดต่อ พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 ในเช็คจำนวน 15 ฉบับ โดยแยกฟ้องเป็น 15 สำนวน และมีคำขอให้นับโทษของจำเลยแต่ละสำนวนต่อกัน ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้รวมพิจารณาคดีทั้งสิบห้าสำนวนเข้าด้วยกัน การกระทำของจำเลยในแต่ละสำนวนเป็นความผิดต่างกรรมกัน การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่า การออกเช็คของจำเลยทั้ง 15 ฉบับ เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 และลงโทษจำคุกกระทงละ 6 เดือน โดยเรียงกระทงลงโทษซึ่งศาลถือว่ามีผลเสมือนเป็นการนับโทษต่อ แม้ศาลล่างทั้งสองจะปรับบทตาม ป.อ. มาตรา 91 มาด้วยนั้น ย่อมหมายความว่า ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำคุกจำเลยทั้ง 15 สำนวน สำนวนละ 6 เดือน แล้วนับโทษแต่ละสำนวนต่อกันตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์นั่นเอง เพียงแต่อ้างบทมาตราผิดพลาดไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1989/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับคดีอาญาจากคำร้องถอนฟ้อง และการกำหนดโทษความผิดกรรมเดียวที่ยังเหลืออยู่
ในระหว่างฎีกา ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ในความผิดข้อหากระทำชำเราตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคแรก อันเป็นความผิดอันยอมความกันได้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ส่วนข้อหาบุกรุกตามมาตรา 365 (1) (2) (3) ประกอบมาตรา 364 ซึ่งมิใช่ความผิดอันยอมความกันได้นั้น ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 ยังมิได้กำหนดโทษแก่จำเลย เนื่องจากเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทกับข้อหาข่มขืนกระทำชำเรา จึงกำหนดโทษเฉพาะข้อหากระทำชำเราซึ่งเป็นบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดเท่านั้น และอัตราโทษตามมาตรา 365 นั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืนในส่วนการกระทำความผิดตามศาลชั้นต้น แม้จะยังไม่ได้กำหนดโทษแก่จำเลย แต่ก็เห็นได้ชัดว่า ไม่อาจกำหนดโทษเกินกว่าอัตราโทษตามมาตรา 365 ได้ ซึ่งคดีอาจจะต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก จึงต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นกำหนดโทษในข้อหาบุกรุกแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1664/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดในสัญญาจ้างเหมา: ตัวแทนโดยปริยาย และการเกี่ยวข้องกับการทำสัญญา
จำเลยที่ 1 เป็นบุตรเขยจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 รับราชการ มีอายุมากแล้ว จำเลยที่ 1 ทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ลงบนที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขออนุญาตทำการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ดังกล่าวต่อเทศบาลด้วยตนเอง เมื่อก่อสร้างเสร็จ นางสาว ท. หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างโจทก์ยังตกลงซื้ออาคารพาณิชย์จากจำเลยที่ 2 จำนวน 1 ห้อง โดยจำเลยที่ 2 ก็เป็นผู้ลงลายมือชื่อผู้จะขายในสัญญาจะซื้อจะขายหรือสัญญาวางมัดจำ นอกจากนี้จำเลยที่ 2 ก็อ้างว่าหนี้ตามฟ้องคดีนี้ไม่ถูกต้อง เพราะต้องหักเงินค่ามัดจำและค่าหินขัดออกก่อน ซึ่งหากจำเลยที่ 2 ไม่เกี่ยวข้องกับการที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างกับโจทก์แล้วเหตุใดจึงจะยอมให้มีการหักเงินกันได้ เพราะไม่ใช่หนี้ที่จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิด ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ก่อนหน้านี้จำเลยที่ 2 เคยติดต่อว่าจ้างโจทก์ให้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ดังกล่าว ต่อมาจำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 มาทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารพาณิชย์กับโจทก์ กรณีดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงเป็นตัวแทนโดยปริยายของจำเลยที่ 2 ไม่ใช่เรื่องตัวแทนเชิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1663/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าปรับในสัญญาที่สูงเกินส่วน ศาลลดลงได้ และพิจารณาความล่าช้าในการใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา
ค่าปรับหรือเบี้ยปรับเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ถ้าสูงเกินส่วนศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ ข้อเท็จจริงได้ความว่า เมื่อครบกำหนดตามสัญญาแล้วจำเลยขอผ่อนผันการทำงานอีกหลายครั้งแต่จำเลยก็ทำงานไม่แล้วเสร็จ พฤติการณ์ของจำเลยอยู่ในความรู้เห็นของโจทก์ โจทก์ย่อมเล็งเห็นได้ว่าจำเลยไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จได้ น่าจะต้องละทิ้งงานและเกิดความเสียหาย โจทก์จึงควรใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาภายในเวลาอันสมควร แต่โจทก์กลับละเลยปล่อยให้เวลาล่วงเลยไปเกือบ 1 ปี จึงบอกเลิกสัญญา ความเสียหายจึงเกิดจากความล่าช้าของโจทก์ที่ไม่บอกเลิกสัญญาในเวลาอันสมควรอยู่ด้วยส่วนหนึ่ง และเมื่อพิเคราะห์ทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายแล้ว ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้ปรับจำเลยวันละ 5,000 บาท จึงนับว่าเป็นจำนวนที่เหมาะสมดีแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1521/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าตอบแทนพยาน: สัญญาจ้างพยานเบิกความและให้ข้อมูลคดี ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม
โจทก์เคยช่วยติดต่อหาซื้อที่ดินให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 และ ส. และหาคนมาเช่าที่ดิน โจทก์จึงเป็นผู้รู้รายละเอียดดังกล่าว การที่จำเลยทั้งสามไปหาข้อเท็จจริงจากโจทก์และโจทก์ยังให้คำแนะนำเกี่ยวกับทนายความและติดตามหาบุคคลที่เกี่ยวข้องไปเป็นพยานให้งานของโจทก์จึงเป็นงานรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับคดี ส่วนที่โจทก์ต้องไปเบิกความเป็นพยานก็เป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องที่ต้องกระทำไม่ขัดต่อกฎหมายเรื่องการรับฟังพยานหลักฐาน ทั้งไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามคู่ความให้ค่าตอบแทนแก่พยาน การที่ฝ่ายจำเลยทั้งสามตกลงให้ค่าตอบแทนแก่โจทก์เป็นเงิน 2,000,000 บาท ก็เป็นเรื่องที่เสนอผลประโยชน์แก่โจทก์เอง โจทก์มิได้เรียกร้อง เมื่อเที่ยบกับมูลค่าทรัพย์ที่ฝ่ายจำเลยทั้งสามจะได้รับคืนและจำนวนคดีที่จำเลยทั้งสามเป็นความซึ่งใช้เวลานาน 8 ถึง 9 ปี ค่าตอบแทนดังกล่าวจึงไม่สูงจนเกินไป จึงไม่เป็นการแสวงหาประโยชน์จากการที่ผู้อื่นเป็นความกัน ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่เป็นโมฆะ
จำเลยที่ 2 เป็นภริยาของจำเลยที่ 1 และร่วมกันตกลงว่าจ้างโจทก์เป็นพยาน ให้คำปรึกษาและให้ข้อมูลเกี่ยวกับคดีด้วย จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมกันรับผิดในฐานะเป็นผู้ร่วมว่าจ้าง กรณีมิใช่เรื่องตัวการตัวแทน
จำเลยที่ 2 เป็นภริยาของจำเลยที่ 1 และร่วมกันตกลงว่าจ้างโจทก์เป็นพยาน ให้คำปรึกษาและให้ข้อมูลเกี่ยวกับคดีด้วย จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมกันรับผิดในฐานะเป็นผู้ร่วมว่าจ้าง กรณีมิใช่เรื่องตัวการตัวแทน