คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ธาดา กษิตินนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 229 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 616/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องสัมปทานป่าไม้: การระงับทำไม้ก่อนหมดอายุสัมปทานเป็นการโต้แย้งสิทธิ
สัมปทานทำไม้ป่าชายเลนระหว่างโจทก์กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จำเลยมีกำหนดระยะเวลา 15 ปี การที่จำเลยโดยกรมป่าไม้สั่งให้โจทก์ระงับการทำไม้ในระหว่างอายุสัมปทาน จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 616/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรณีสัมปทานทำไม้ถูกระงับก่อนครบกำหนด สิทธิทำไม้ตามสัญญาเป็นประเด็นสำคัญ
สัมปทานทำไม้ป่าชายเลนระหว่างโจทก์กับจำเลยมีกำหนดระยะเวลา 15 ปี ในระหว่างอายุสัมปทาน โจทก์จึงมีสิทธิทำไม้ในเขตสัมปทานของโจทก์ได้ภายใต้เงื่อนไขสัมปทาน การที่จำเลยโดยกรมป่าไม้สั่งให้โจทก์ระงับการทำไม้ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 593/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างและลูกจ้างในคดีชนแล้วเกิดความเสียหาย: ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาอุทธรณ์
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ขับรถยนต์ในทางการที่จ้างด้วยความประมาทเลินเล่อชนกับรถแท็กซี่ของโจทก์ที่ 1 ซึ่งโจทก์ที่ 2 เป็นผู้ขับ ได้รับความเสียหายและโจทก์ที่ 2 ได้รับบาดเจ็บ แม้คดีของโจทก์ที่ 2 จะต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง แต่เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่อฝ่ายเดียว จึงทำให้คำวินิจฉัยในส่วนที่ว่าโจทก์ที่ 2 ประมาทเลินเล่อด้วยตามคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาขัดกัน ต้องบังคับตาม ป.วิ.พ. มาตรา 146 วรรคหนึ่ง โดยถือตามคำพิพากษาศาลฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่ออย่างเดียว จำเลยทั้งสองจึงต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 2 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 593/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: การประมาทเลินเล่อฝ่ายเดียว และข้อยกเว้นการฎีกา
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ขับรถยนต์ในทางการที่จ้างด้วยความประมาทเลินเล่อชนกับรถแท็กซี่ของโจทก์ที่ 1 ซึ่งโจทก์ที่ 2 เป็นผู้ขับ ได้รับความเสียหายและโจทก์ที่ 2 ได้รับบาดเจ็บ แม้คดีของโจทก์ที่ 2 จะต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง แต่เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่อฝ่ายเดียวจึงทำให้คำวินิจฉัยในส่วนที่ว่าโจทก์ที่ 2 ประมาทเลินเล่อด้วยตามคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาขัดกัน ต้องบังคับตาม ป.วิ.พ. มาตรา 146 วรรคหนึ่ง โดยถือตามคำพิพากษาศาลฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่อฝ่ายเดียว จำเลยทั้งสองจึงต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 2 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12564/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการไม่แจ้งบัญชีทรัพย์สินของกรรมการสาขาพรรคการเมือง: ศาลฎีกาตัดสินคดีขาดอายุความ
พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มาตรา 22 (5) บัญญัติว่า สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงเมื่อพรรคการเมืองที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกเลิกหรือยุบไป และมาตรา 65 (4) บัญญัติว่า พรรคการเมืองย่อมเลิกหรือยุบด้วยเหตุที่มีคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคการเมือง เมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบเลิกพรรคเสรีธรรมในวันที่ 6 กันยายน 2544 สมาชิกภาพของจำเลยในการเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองและการดำรงตำแหน่งกรรมการสาขาพรรคเสรีธรรมย่อมสิ้นสุดในวันดังกล่าว ตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ให้หัวหน้าพรรคการเมือง กรรมการบริหารพรรคการเมือง และกรรมการสาขาพรรคการเมือง มีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เข้าดำรงตำแหน่งและภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง จำเลยซึ่งเป็นกรรมการสาขาพรรคเสรีธรรมจึงมีหน้าที่ที่จะต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ พ้นจากตำแหน่งโดยยื่นตั้งแต่วันที่ 7 กันยายน 2544 จนถึงวันที่ 6 ตุลาคม 2544
ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มาตรา 84 ระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทและปรับอีกไม่เกินวันละห้าร้อยบาทตลอดเวลาที่ยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง จึงมีอายุความเพียงหนึ่งปีตาม ป.อ. มาตรา 95 วรรคหนึ่ง (5) การไม่แจ้งบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินเป็นการหลีกเลี่ยงการกระทำที่กฎหมายบังคับให้กระทำ ความผิดของจำเลยจึงเสร็จสิ้นลงนับแต่ครบวันที่จำเลยมีหน้าที่ต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน แม้มาตรา 84 จะบัญญัติให้ปรับจำเลยอีกไม่เกินวันละห้าร้อยบาทตลอดเวลาที่จำเลยยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง ก็เป็นเพียงที่มีผลในทำนองกำหนดหน้าที่ให้จำเลยปฏิบัติภายหลังการกระทำความผิดเท่านั้น หามีผลทำให้ความผิดของจำเลยเป็นความผิดต่อเนื่องไม่
ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่า คดีของจำเลยในส่วนที่จะต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินอันเป็นการปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา 84 ยังไม่ขาดอายุความและลงโทษปรับจำเลยย่อมไม่ชอบ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องแม้จำเลยไม่ได้ฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจที่จะยกขึ้นว่ากล่าวเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12208/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญต้องกระทำในระหว่างพิจารณาคดีเท่านั้น คำพิพากษาศาลฎีกาถึงที่สุดแล้ว ไม่อาจอ้างขัดรัฐธรรมนูญได้
ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 264 วรรคหนึ่ง จะต้องเป็นเรื่องที่ศาลเห็นเองหรือคู่ความโต้แย้งว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีต้องด้วยมาตรา 6 คือ ขัดต่อรัฐธรรมนูญเท่านั้นที่ศาลจะส่งความเห็นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย แต่คดีนี้จำเลยอ้างว่าศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงผิดพลาดคำพิพากษาศาลฎีกาตลอดจนกระบวนพิจารณาของศาลฎีกาจึงขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 6 ซึ่งการรับฟังพยานเป็นดุลพินิจของศาลหาใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายตามความหมายของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 264 แต่อย่างใด นอกจากดุลพินิจในการฟังพยานของศาลจะไม่ใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายแล้ว การที่ศาลจะส่งความเห็นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามมาตรา 264 วรรคหนึ่ง นั้น จะกระทำได้ต่อเมื่อศาลจะใช้บทกฎหมายนั้นบังคับแก่คดีที่อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลนั้น หากคดีดังกล่าวได้เสร็จสิ้นถึงที่สุดไปแล้ว ศาลหรือบุคคลใดจะกล่าวอ้างว่ากฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญจะส่งเรื่องหรือขอให้ศาลส่งเรื่องนั้นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยหาได้ไม่ ดังถ้อยคำในมาตรา 264 วรรคหนึ่งที่ว่า "ในการที่ศาลจะใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายบังคับแก่คดีใด... ให้ศาลรอการพิจารณาพิพากษาคดีนั้นไว้ชั่วคราว และในมาตรา 264 วรรคสาม ที่ว่า "คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้ใช้ได้ในคดีทั้งปวง แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุดแล้ว" ดังนี้ เมื่อศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาในคดีนี้ และได้อ่านให้คู่ความฟังแล้วเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2542 จึงต้องถือว่าคดีระหว่างโจทก์และจำเลยเสร็จสิ้นถึงที่สุดไปแล้ว จำเลยไม่มีสิทธิโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้บังคับในคดีนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญได้อีกต่อไป กรณีของจำเลยจึงไม่ต้องด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 264

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8883/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความผิดฐานจำหน่ายยาเสพติดต้องอาศัยพยานหลักฐานที่ชัดเจน และการริบของกลางต้องเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดที่ฟ้อง
โจทก์มีจ่าสิบตำรวจ ส. เบิกความเป็นพยานเพียงปากเดียว โดยไม่เห็นเหตุการณ์การล่อซื้อ คงมีเพียงคำรับสารภาพของจำเลยเท่านั้น การจะพิพากษาลงโทษจำเลย ศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคหนึ่ง พยานหลักฐานของโจทก์จึงฟังไม่ได้ว่า จำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน
ธนบัตรของกลางจำนวน 380 บาท พบรวมอยู่กับธนบัตรที่ใช้ล่อซื้อ จำเลยรับในชั้นจับกุมว่าได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ธนบัตรของกลางดังกล่าวจึงได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนครั้งก่อน หาใช่ได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนครั้งที่โจทก์ฟ้อง จึงไม่อาจริบธนบัตรของกลางได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8574/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมกันจำหน่ายยาเสพติดและประเด็นการนับโทษที่ศาลล่างวินิจฉัยคลาดเคลื่อน
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ฯ มาตรา 4 บัญญัติว่า จำหน่าย หมายความว่า ขาย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน ให้ ที่จำเลยที่ 3 อ้างว่า ยังไม่มีการส่งมอบเงินที่ใช้ล่อซื้อแก่จำเลยที่ 2 การซื้อขายยังไม่สำเร็จนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 3 ได้ส่งมอบเมทแอมเฟตามีนแก่สายลับแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 3 จึงเป็นควมผิดสำเร็จแล้ว
โจทก์มิได้ระบุรายละเอียดว่าศาลจังหวัดสมุทรสาครพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 หรือไม่ อย่างไร จึงไม่มีข้อเท็จจริงที่ปรากฏแก่ศาลให้รับฟังได้ว่าศาลจังหวัดสมุทรสาครพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ดังนั้น จึงไม่อาจนับโทษจำเลยที่ 1 ต่อจากคดีดังกล่าวได้ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8179/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับคำให้การปฏิเสธเฉพาะบางข้อหา ศาลต้องไม่ลงโทษในข้อหาที่จำเลยปฏิเสธหากโจทก์ไม่สืบพยาน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน วันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยยื่นคำให้การรับสารภาพและยื่นคำร้องอีกฉบับหนึ่งประกอบด้วย แม้ในคำร้องจะสรุปความได้ว่า จำเลยให้การรับสารภาพเฉพาะข้อหาความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ส่วนข้อหาความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายคงให้การปฏิเสธ แต่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งในคำร้องในวันนัดสืบพยานโจทก์นั้นว่า สอบจำเลยยืนยันตามคำร้อง รับคำร้อง สำเนาให้โจทก์ ซึ่งแม้จะไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับสำเนาคำร้องแล้วหรือไม่ แต่ก็ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้สอบถามจำเลยเกี่ยวกับคำร้องต่อหน้าโจทก์ซึ่งไปศาลและลงชื่อรับทราบกระบวนพิจารณาของศาลในวันนั้นแล้วด้วย โดยโจทก์แถลงไม่ติดใจสืบพยาน จึงต้องถือว่าโจทก์ทราบข้อความในคำร้องแล้ว เมื่อเป็นกรณีที่โจทก์ทราบแล้วว่าจำเลยให้การปฏิเสธในข้อหาความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แต่โจทก์ไม่ติดใจสืบพยาน จึงฟังลงโทษจำเลยได้เพียงฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7880/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาลักทรัพย์: การคืนทรัพย์สินที่ขโมยมาไม่ใช่การแสดงเจตนาตั้งแต่แรก
หลังจากจำเลยทั้งสองร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 แล้ว จำเลยทั้งสองหลบหนีไป โดยจำเลยที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายที่ 4 ไปด้วย หลังเกิดเหตุ 2 วัน พบรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายที่ 4 จอดอยู่ที่ป้อมตำรวจ หากจำเลยทั้งสองมีเจตนาจะเอารถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายที่ 4 ไปโดยทุจริตก็สามารถทำได้ แต่จำเลยที่ 2 กลับไปจอดไว้ที่ป้อมตำรวจ แสดงว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาเพียงใช้รถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายที่ 4 เป็นยานพาหนะหลบหนีเท่านั้น หาได้มีเจตนาเอาไปโดยทุจริตไม่ จำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์รถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายที่ 4
of 23