พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบแร่จากการทำเหมืองโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้ไม่มีการฟ้องร้องอาญา
มาตรา 154 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดเหตุ บัญญัติว่า บรรดาแร่ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ สัตว์พาหนะ ยานพาหนะ หรือเครื่องจักรกลใด ๆ ที่บุคคลได้มาหรือได้ใช้ในการกระทำความผิด หรือมีไว้เนื่องในการกระทำความผิด หรือได้ใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดตามมาตรา 132 ทวิ ฯลฯ มาตรา 135 ฯลฯ มาตรา 148 ฯลฯ ให้ริบเสียทั้งสิ้นไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ โดยมาตรา 135 เป็นบทลงโทษในความผิดฐานทำเหมืองแร่โดยไม่ได้รับอนุญาตประทานบัตรหรือประทานบัตรชั่วคราว และมาตรา 148 เป็นบทลงโทษในความผิดฐานมีแร่ไว้ในครอบครองเกินสองกิโลกรัม เมื่อผู้คัดค้านไม่ได้รับประทานบัตรหรือประทานบัตรชั่วคราวในการทำเหมืองแร่ แต่ผู้คัดค้านทำการขุดดินและดินนั้นเป็นแร่ ซึ่งเป็นการทำเหมืองตามคำนิยามในมาตรา 4 ถือได้ว่ามีการกระทำความผิดฐานทำเหมืองแร่โดยไม่ได้รับอนุญาตประทานบัตรหรือประทานบัตรชั่วคราวเกิดขึ้นแล้ว ประกอบกับแร่ของกลางที่ขุดขึ้นมามีน้ำหนักเกินกว่าปริมาณที่กฎหมายกำหนด ผู้ใดจะครอบครองแร่ดังกล่าวได้จะต้องได้รับอนุญาตหรือมีเหตุยกเว้นตามกฎหมาย เมื่อไม่มีผู้ใดได้รับอนุญาตให้ครอบครองและไม่มีเหตุยกเว้นตามกฎหมาย แร่ของกลางจึงเป็นแร่ที่ได้มาหรือได้ใช้ในการกระทำความผิดหรือมีไว้เนื่องในการกระทำความผิดอันพึงต้องริบเสียทั้งสิ้นตามบทบัญญัติมาตรา 154 วรรคหนึ่ง สำหรับกรณีที่ผู้ร้องมีคำสั่งไม่ฟ้องผู้คัดค้านเนื่องด้วยขาดเจตนาในการกระทำความผิดนั้น หาได้กระทบถึงสิทธิการร้องขอให้ริบแร่ของกลางของผู้ร้อง เพราะการริบทรัพย์ตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว ริบได้โดยไม่จำต้องฟ้องหรือลงโทษผู้ใดเป็นผู้กระทำผิดมาด้วย ทั้งริบได้โดยไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1989/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีแร่ในครอบครองและขนแร่โดยไม่ได้รับอนุญาต แม้แร่เป็นของผู้อื่นก็มีความผิดได้
ปัญหาว่า ของกลางเป็นแร่หรือไม่ เป็นปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยให้การ รับสารภาพว่าของกลางดังกล่าวเป็นแร่ ฎีกาของจำเลยที่ว่าของกลางมิใช่แร่จึงเป็นฎีกาโต้เถียง ข้อเท็จจริงที่ยุติแล้ว ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้ พ.ร.บ. แร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 4 ให้บทนิยามคำว่า"มีแร่ไว้ในครอบครอง หมายความว่า การซื้อ แร่ การมีไว้ การยึดถือหรือการรับไว้ด้วย ประการใดซึ่ง แร่ ทั้งนี้ ไม่ว่าเพื่อตนเองหรือผู้อื่น" มาตรา 105 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดมีแร่ครอบครองแต่ ละชนิดเกินสองกิโลกรัม เว้นแต่ (1) ฯลฯ ถึง 12 ฯลฯ" มาตรา 108บัญญัติว่า ห้ามมิให้ผู้ใดขนแร่ในที่ใด เว้นแต่ (1) ฯลฯ ถึง 10 ฯลฯ"ดังนี้ การที่จำเลยครอบครองแร่โลหะตะกั่ว โดย ไม่ ชอบ ด้วย กฎหมายแม้ว่าแร่จะเป็นของบุคคลอื่น จำเลยย่อมมีความผิดฐาน มีแร่ไว้ในความครอบครองโดย ไม่ได้รับใบอนุญาตกระทงหนึ่ง และที่จำเลยครอบครองแร่โลหะตะกั่ว ของกลางแล้วขนแร่ไปโดย ไม่มีใบอนุญาตขนแร่ดังกล่าวโดย ฝ่าฝืนมาตรา 108 จำเลยย่อมมีความผิดฐาน ขนแร่โลหะตะกั่วตาม มาตรา 148 อีกกระทงหนึ่ง มิใช่เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5719/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษปรับผู้ร่วมกระทำผิด พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510 ต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายอาญา ม.17 ลงโทษรายบุคคล
พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 148 มิได้บัญญัติว่าถ้ามีผู้ร่วมกระทำความผิดหลายคนให้ปรับรวมกันตามมูลค่าของแร่กรณีจึงต้องนำบทบัญญัติในภาค 1 แห่งประมวลกฎหมายอาญา มาใช้มาตรา 17 ดังนี้ต้องลงโทษปรับจำเลยเรียงตามรายตัวบุคคลตามมาตรา 31 ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาย่อมแก้ไขให้ถูกต้องโดยไม่เพิ่มเติมโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2628/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษปรับทางอาญาสำหรับความผิดตาม พ.ร.บ.แร่: ลงโทษปรับเรียงรายบุคคล แม้เป็นนิติบุคคลและกรรมการผู้จัดการ
ผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 มาตรา 148 ซึ่งต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งเท่าถึงห้าเท่าของมูลค่าแร่ ตามราคาที่กำหนดโดยกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราค่าภาคหลวงแร่ มิได้มีข้อจำกัดว่า ถ้ามีผู้ร่วมกันกระทำผิดหลายคนแล้ว ให้ปรับรวมกันตามมูลค่าของแร่ เมื่อพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 มิได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงนำประมวลกฎหมายอาญามาใช้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 17 ต้องลงโทษปรับจำเลยเรียงตามรายตัวบุคคล ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 31
นิติบุคคลอาจต้องรับผิดในทางอาญาร่วมกับบุคคลธรรมดาซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของนิติบุคคลนั้นได้ หากการกระทำนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ซึ่งได้จดทะเบียนไว้ และนิติบุคคลได้รับประโยชน์อันเกิดจากการกระทำนั้น
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล มีจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการกระทำกิจการต่าง ๆ แทน ลำพังจำเลยที่ 1 ไม่อาจกระทำกิจการด้วยตนเองได้การกระทำผิดเกิดขึ้นเนื่องมาจากจำเลยที่ 2 โดยตรง ย่อมต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันเป็นตัวการกระทำความผิดฐานมีแร่ไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ มิได้โต้แย้งว่าการกระทำดังกล่าวอยู่นอกขอบวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองฐานเป็นตัวการร่วมกันกระทำความผิดได้โดยไม่จำต้องสอบถามข้อเท็จจริงจากจำเลยก่อน.
นิติบุคคลอาจต้องรับผิดในทางอาญาร่วมกับบุคคลธรรมดาซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของนิติบุคคลนั้นได้ หากการกระทำนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ซึ่งได้จดทะเบียนไว้ และนิติบุคคลได้รับประโยชน์อันเกิดจากการกระทำนั้น
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล มีจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการกระทำกิจการต่าง ๆ แทน ลำพังจำเลยที่ 1 ไม่อาจกระทำกิจการด้วยตนเองได้การกระทำผิดเกิดขึ้นเนื่องมาจากจำเลยที่ 2 โดยตรง ย่อมต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันเป็นตัวการกระทำความผิดฐานมีแร่ไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ มิได้โต้แย้งว่าการกระทำดังกล่าวอยู่นอกขอบวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองฐานเป็นตัวการร่วมกันกระทำความผิดได้โดยไม่จำต้องสอบถามข้อเท็จจริงจากจำเลยก่อน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2628/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษปรับนิติบุคคลและกรรมการผู้จัดการในความผิดตาม พ.ร.บ.แร่ โดยแยกปรับตามรายตัวบุคคล
ผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 มาตรา 148ซึ่งต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งเท่าถึงห้าเท่าของมูลค่าแร่ตามราคาที่กำหนดโดยกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราค่าภาคหลวงแร่มิได้มีข้อจำกัดว่า ถ้ามีผู้ร่วมกันกระทำผิดหลายคนแล้ว ให้ปรับรวมกันตามมูลค่าของแร่ เมื่อพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510มิได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงนำประมวลกฎหมายอาญามาใช้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 17 ต้องลงโทษปรับจำเลยเรียงตามรายตัวบุคคล ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 31
นิติบุคคลอาจต้องรับผิดในทางอาญาร่วมกับบุคคลธรรมดาซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของนิติบุคคลนั้นได้ หากการกระทำนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ซึ่งได้จดทะเบียนไว้ และนิติบุคคลได้รับประโยชน์อันเกิดจากการกระทำนั้น
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล มีจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการกระทำกิจการต่าง ๆ แทน ลำพังจำเลยที่ 1 ไม่อาจกระทำกิจการด้วยตนเองได้การกระทำผิดเกิดขึ้นเนื่องมาจากจำเลยที่ 2 โดยตรง ย่อมต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1ด้วย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันเป็นตัวการกระทำความผิดฐานมีแร่ไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ มิได้โต้แย้งว่าการกระทำดังกล่าวอยู่นอกขอบวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองฐานเป็นตัวการร่วมกันกระทำความผิดได้โดยไม่จำต้องสอบถามข้อเท็จจริงจากจำเลยก่อน.
นิติบุคคลอาจต้องรับผิดในทางอาญาร่วมกับบุคคลธรรมดาซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของนิติบุคคลนั้นได้ หากการกระทำนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ซึ่งได้จดทะเบียนไว้ และนิติบุคคลได้รับประโยชน์อันเกิดจากการกระทำนั้น
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล มีจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการกระทำกิจการต่าง ๆ แทน ลำพังจำเลยที่ 1 ไม่อาจกระทำกิจการด้วยตนเองได้การกระทำผิดเกิดขึ้นเนื่องมาจากจำเลยที่ 2 โดยตรง ย่อมต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1ด้วย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันเป็นตัวการกระทำความผิดฐานมีแร่ไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ มิได้โต้แย้งว่าการกระทำดังกล่าวอยู่นอกขอบวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองฐานเป็นตัวการร่วมกันกระทำความผิดได้โดยไม่จำต้องสอบถามข้อเท็จจริงจากจำเลยก่อน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 508/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขนแร่เกินใบอนุญาตต้องมีเจตนาหรือรู้เห็นเป็นใจ การริบแร่ต้องพิเคราะห์เจตนาเจ้าของ
เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 มิได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิดของจำเลยที่ 1 ถือไม่ได้ว่าเป็นตัวการตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 มาตรา 10 และพิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2 โจทก์มิได้อุทธรณ์หรือแก้อุทธรณ์ในปัญหานี้ ดังนั้นการที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการในการกระทำผิดของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนหรือลูกจ้างของจำเลยที่ 2 จึงเป็นฎีกาในปัญหาที่ยุติแล้ว และเป็นปัญหาที่มิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 110 วรรคท้าย แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522 มาตรา 19 บัญญัติว่า'การขนแร่เกินใบอนุญาตที่มิได้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวงให้ถือว่าแร่ที่ขนทั้งสิ้นนั้นเป็นแร่ที่ขนโดยไม่ได้รับอนุญาต' หมายความว่าเจ้าของแร่หรือผู้ถืออาชญาบัตร ผู้ถือประทานบัตรชั่วคราว ผู้ถือประทานบัตรหรือผู้รับใบอนุญาตจะต้องมีเจตนาหรือรู้เห็นเป็นใจในการขนแร่เกินใบอนุญาตด้วย เมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับอนุญาตให้ขนแร่ดีบุกจำนวน 11 กระสอบโดยได้ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ให้ขับรถยนต์ไปบรรทุกแร่ดีบุกจาก ท.คนเฝ้ารักษาแร่ดีบุกของจำเลยที่ 2 ท. ได้ยักยอกแร่ดีบุกของจำเลยที่ 2 บรรทุกไปในรถยนต์คันดังกล่าวอีก 15 กระสอบ กรณีแร่ดีบุกจำนวน 15 กระสอบนี้จำเลยที่ 2 มิได้มีเจตนาหรือรู้เห็นเป็นใจที่จะให้ขนเกินไปจากที่ระบุไว้ในใบอนุญาตขนแร่ หากแต่เป็นการกระทำโดยพลการของ ท. เอง จึงถือไม่ได้ว่าแร่ของกลางทั้งหมดเป็นแร่ที่ขนโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 110 และริบไม่ได้ตามมาตรา 154
พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 110 วรรคท้าย แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522 มาตรา 19 บัญญัติว่า'การขนแร่เกินใบอนุญาตที่มิได้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวงให้ถือว่าแร่ที่ขนทั้งสิ้นนั้นเป็นแร่ที่ขนโดยไม่ได้รับอนุญาต' หมายความว่าเจ้าของแร่หรือผู้ถืออาชญาบัตร ผู้ถือประทานบัตรชั่วคราว ผู้ถือประทานบัตรหรือผู้รับใบอนุญาตจะต้องมีเจตนาหรือรู้เห็นเป็นใจในการขนแร่เกินใบอนุญาตด้วย เมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับอนุญาตให้ขนแร่ดีบุกจำนวน 11 กระสอบโดยได้ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ให้ขับรถยนต์ไปบรรทุกแร่ดีบุกจาก ท.คนเฝ้ารักษาแร่ดีบุกของจำเลยที่ 2 ท. ได้ยักยอกแร่ดีบุกของจำเลยที่ 2 บรรทุกไปในรถยนต์คันดังกล่าวอีก 15 กระสอบ กรณีแร่ดีบุกจำนวน 15 กระสอบนี้จำเลยที่ 2 มิได้มีเจตนาหรือรู้เห็นเป็นใจที่จะให้ขนเกินไปจากที่ระบุไว้ในใบอนุญาตขนแร่ หากแต่เป็นการกระทำโดยพลการของ ท. เอง จึงถือไม่ได้ว่าแร่ของกลางทั้งหมดเป็นแร่ที่ขนโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 110 และริบไม่ได้ตามมาตรา 154
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 508/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขนแร่เกินใบอนุญาต การพิสูจน์เจตนา/รู้เห็นเป็นใจของเจ้าของแร่ และขอบเขตการริบของกลาง
เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 มิได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิดของจำเลยที่ 1 ถือไม่ได้ว่าเป็นตัวการตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 มาตรา 10 และพิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2 โจทก์มิได้อุทธรณ์หรือแก้อุทธรณ์ในปัญหานี้ ดังนั้นการที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการในการกระทำผิดของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนหรือลูกจ้างของจำเลยที่ 2 จึงเป็นฎีกาในปัญหาที่ยุติแล้ว และเป็นปัญหาที่มิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 110 วรรคท้าย แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่3) พ.ศ. 2522 มาตรา 19 บัญญัติว่า'การขนแร่เกินใบอนุญาตที่มิได้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวงให้ถือว่าแร่ที่ขนทั้งสิ้นนั้นเป็นแร่ที่ขนโดยไม่ได้รับอนุญาต' หมายความว่าเจ้าของแร่หรือผู้ถืออาชญาบัตรผู้ถือประทานบัตรชั่วคราว ผู้ถือประทานบัตรหรือผู้รับใบอนุญาตจะต้องมีเจตนาหรือรู้เห็นเป็นใจในการขนแร่เกินใบอนุญาตด้วยเมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับอนุญาตให้ขนแร่ดีบุกจำนวน 11 กระสอบโดยได้ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ให้ขับรถยนต์ไปบรรทุกแร่ดีบุกจากท.คนเฝ้ารักษษแร่ดีบุกของจำเลยที่2ท. ได้ยักยอกแร่ดีบุกของจำเลยที่ 2บรรทุกไปในรถยนต์คันดังกล่าวอีก 15 กระสอบกรณีแร่ดีบุกจำนวน 15 กระสอบนี้จำเลยที่ 2 มิได้มีเจตนาหรือรู้เห็นเป็นใจที่จะให้ขนเกินไปจากที่ระบุไว้ในใบอนุญาตขนแร่ หากแต่เป็นการกระทำโดยพลการของ ท. เอง จึงถือไม่ได้ว่าแร่ของกลางทั้งหมดเป็นแร่ที่ขนโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 110 และริบไม่ได้ตามมาตรา 154.
พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 110 วรรคท้าย แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่3) พ.ศ. 2522 มาตรา 19 บัญญัติว่า'การขนแร่เกินใบอนุญาตที่มิได้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวงให้ถือว่าแร่ที่ขนทั้งสิ้นนั้นเป็นแร่ที่ขนโดยไม่ได้รับอนุญาต' หมายความว่าเจ้าของแร่หรือผู้ถืออาชญาบัตรผู้ถือประทานบัตรชั่วคราว ผู้ถือประทานบัตรหรือผู้รับใบอนุญาตจะต้องมีเจตนาหรือรู้เห็นเป็นใจในการขนแร่เกินใบอนุญาตด้วยเมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับอนุญาตให้ขนแร่ดีบุกจำนวน 11 กระสอบโดยได้ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ให้ขับรถยนต์ไปบรรทุกแร่ดีบุกจากท.คนเฝ้ารักษษแร่ดีบุกของจำเลยที่2ท. ได้ยักยอกแร่ดีบุกของจำเลยที่ 2บรรทุกไปในรถยนต์คันดังกล่าวอีก 15 กระสอบกรณีแร่ดีบุกจำนวน 15 กระสอบนี้จำเลยที่ 2 มิได้มีเจตนาหรือรู้เห็นเป็นใจที่จะให้ขนเกินไปจากที่ระบุไว้ในใบอนุญาตขนแร่ หากแต่เป็นการกระทำโดยพลการของ ท. เอง จึงถือไม่ได้ว่าแร่ของกลางทั้งหมดเป็นแร่ที่ขนโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 110 และริบไม่ได้ตามมาตรา 154.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3854/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกักขังแทนค่าปรับ: ศาลฎีกาชี้แนวปฏิบัติการเฉลี่ยระยะเวลาตามสัดส่วนจำเลย และเพดานเวลาตามกฎหมาย
ศาลพิพากษาลงโทษปรับจำเลย5คนโดยรวมปรับเมื่อจะต้องกักขังแทนค่าปรับแม้จำเลยจะถูกลงโทษปรับในความผิดหลายกระทงก็คงกักขังจำเลยทุกคนแทนค่าปรับได้ไม่เกินสองปีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา30โดยต้องเฉลี่ยกักขังไปตามสัดส่วนของตัวจำเลยและเมื่อรวมจำนวนวันที่ถูกกักขังของจำเลยทุกคนแล้วต้องไม่เกินสองปีตามที่กำหนดไว้ในมาตรา30.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3854/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกักขังแทนค่าปรับสำหรับความผิดหลายกระทง ต้องเฉลี่ยเวลาและไม่เกินอัตราสูงสุดตามกฎหมาย
ศาลพิพากษาลงโทษปรับจำเลย 5 คนโดยรวมปรับ เมื่อจะต้องกักขังแทนค่าปรับ แม้จำเลยจะถูกลงโทษปรับในความผิดหลายกระทงก็คงกักขังจำเลยทุกคนแทนค่าปรับได้ไม่เกินสองปีตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 30 โดยต้องเฉลี่ยกักขังไปตามสัดส่วน ของตัวจำเลย และเมื่อรวมจำนวนวันที่ถูกกักขังของจำเลยทุกคนแล้ว ต้องไม่เกินสองปีตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3854/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกักขังแทนค่าปรับ: การรวมโทษปรับหลายกระทงและการเฉลี่ยระยะเวลา
ศาลพิพากษาลงโทษปรับจำเลย 5 คนโดยรวมปรับ เมื่อจะต้องกักขังแทนค่าปรับ แม้จำเลยจะถูกลงโทษปรับในความผิดหลายกระทงก็คงกักขังจำเลยทุกคนแทนค่าปรับได้ไม่เกินสองปีตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 30 โดยต้องเฉลี่ยกักขังไปตามสัดส่วนของตัวจำเลย และเมื่อรวมจำนวนวันที่ถูกกักขังของจำเลยทุกคนแล้วต้องไม่เกินสองปีตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 30