พบผลลัพธ์ทั้งหมด 48 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 483/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์ในสถานที่ทำงาน: ความผิดฐานลักทรัพย์ธรรมดา มิใช่ลักทรัพย์ในสถานที่ราชการ
จำเลยเป็นพนักงานช่วยงานพยาบาลซึ่งทำงานในโรงพยาบาลที่เกิดเหตุ ห้องน้ำที่เกิดเหตุเป็นสถานที่ที่จำเลยต้องเข้าไปทำงานตามหน้าที่ และเหตุคดีนี้เกิดในช่วงเวลาที่จำเลยทำงาน กรณีจึงมิใช่เรื่องที่จำเลยเข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาตแล้วลักทรัพย์ในสถานที่ดังกล่าว การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 334 มิใช่ลักทรัพย์ในสถานที่ราชการ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20504/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องคดีพยายามฆ่า: ต้องระบุเจตนาที่ชัดเจน หากเปลี่ยนแปลงรายละเอียดสาระสำคัญในชั้นฎีกา ศาลไม่รับวินิจฉัย
ข้อเท็จจริงในความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นที่โจทก์บรรยายไว้ในคำฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวหาจำเลยทั้งสองว่ากระทำผิดด้วยเจตนาโดยประสงค์ต่อผลให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายจากการถูกฟันด้วยมีดแตกต่างไปจากที่โจทก์อ้างในฎีกาว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำผิดด้วยเจตนาโดยเล็งเห็นผลว่าผู้เสียหายอาจถึงแก่ความตายเนื่องจากขาดอากาศหายใจซึ่งเป็นสาระสำคัญ หาใช่ข้อเท็จจริงอันเป็นรายละเอียดที่โจทก์ไม่จำต้องบรรยายในคำฟ้องไม่ ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ชอบที่จะไม่รับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวเพราะเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้กล่าวในฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4525/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยนั่งซ้อนท้ายรถใกล้คนร้ายหลังทำร้ายผู้เสียหาย ศาลฎีกาตัดสินว่าไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยเป็นตัวการร่วม
แม้ความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายกับความผิดฐานร่วมกันทำให้ผู้อื่นเกิดความกลัวหรือความตกใจโดยการขู่เข็ญ จะต้องห้ามมิให้จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยในส่วนความผิดสองฐานนี้ โดยไม่ปรากฏว่าได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์จากผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ตรี และศาลอุทธรณ์รับพิจารณาพิพากษาต่อมาอันเป็นการไม่ชอบก็ตาม แต่พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบในความผิดฐานมีและพาอาวุธปืนครอบคลุมถึงข้อเท็จจริงในความผิดทั้งสองฐานดังกล่าว โดยเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกัน เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับคนร้ายในคดีนี้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยยกฟ้องไปถึงความผิดดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18538/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานในคดีทำร้ายร่างกาย: การพิจารณาความน่าเชื่อถือของพยาน, การแปลคำเบิกความของพยานชาวต่างชาติ และบทบาทของล่าม
ป.วิ.อ. มาตรา 13 วรรคสอง บัญญัติว่า "ในกรณีที่...พยานไม่สามารถพูดหรือเข้าใจภาษาไทย...และไม่มีล่าม ให้พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการหรือศาลจัดหาล่าม...ให้ถามตอบหรือสื่อความหมายโดยวิธีอื่นที่เห็นสมควร" จากบทบัญญัติดังกล่าวบ่งชี้ว่า "ผู้ที่จะเป็นล่ามจะเป็นบุคคลใดก็ได้ที่มีความสามารถในการเป็นล่ามแต่จะต้องมิใช่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการหรือศาลซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ในการสอบสวนหรือซักถามพยานนั้น ได้ความว่าในการสอบสวน จ. และ ม. ผู้ทำการสอบสวนคือร้อยตำรวจตรี ค. ส่วนร้อยตำรวจโท ธ. ทำหน้าที่เป็นล่าม และในการที่ จ. เบิกความต่อศาล ร้อยตำรวจโท ธ. ก็เป็นเพียงล่าม ดังนี้ ร้อยตำรวจโท ธ. จึงเป็นเพียงล่ามที่พนักงานสอบสวน และศาลเป็นผู้จัดหาล่ามให้แก่ จ. และ ม. ตามกฎหมาย แม้ทนายจำเลยได้แถลงคัดค้านเรื่องที่ร้อยตำรวจโท ธ. เป็นล่ามดังกล่าวในวันสืบพยานโจทก์ แต่ทนายจำเลยก็มิได้แสดงเหตุแห่งคำคัดค้านว่าร้อยตำรวจโท ธ. เป็นล่ามแปลไม่ถูกต้องอย่างไร การที่ร้อยตำรวจโท ธ. ทำหน้าที่เป็นล่ามแปลในชั้นสอบสวนจึงไม่ต้องห้ามมิให้รับฟังถ้อยคำของพยานที่แปลนั้นเป็นพยานหลักฐานแต่อย่างใด ส่วนการพิจารณาสืบพยานบุคคลปาก จ. ก่อนโจทก์ฟ้องคดีต่อศาลนั้น ปรากฏว่าร้อยตำรวจโท ธ. ผู้ทำหน้าที่เป็นล่ามได้สาบานตนก่อนแปลคำเบิกความของ จ. ต่อศาลแล้ว การให้การและเบิกความของ จ. ซึ่งเป็นชาวต่างประเทศและไม่เข้าใจภาษาไทยจึงเป็นการชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 13 วรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14795/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำชำเราเด็กและพรากเด็กจากผู้ดูแลเพื่อการอนาจาร
ผู้เสียหายที่ 2 พักอาศัยอยู่กับผู้เสียหายที่ 1 ผู้เป็นป้า ตั้งแต่ผู้เสียหายที่ 2 อายุ 3 ปีเศษ เนื่องจากบิดามารดาของผู้เสียหายที่ 2 หย่าร้างกัน ถือว่าผู้เสียหายที่ 1 อยู่ในฐานะผู้ดูแลผู้เสียหายที่ 2 การที่จำเลยโทรศัพท์ชวนผู้เสียหายที่ 2 ไปพบแล้วพาขึ้นบ้านไปที่ระเบียง แล้วดึงแขนผู้เสียหายที่ 2 จากระเบียงพาเข้าห้องไปกระทำชำเรา เป็นการรบกวนล่วงอำนาจผู้ดูแลของผู้เสียหายที่ 1 ที่มีต่อผู้เสียหายที่ 2 โดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร ซึ่งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ก็รับฟังข้อเท็จจริงมาดังกล่าว แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะใช้ถ้อยคำว่าผู้เสียหายที่ 1 เป็นผู้ปกครองคลาดเคลื่อนไป ศาลฎีกาก็ปรับบทให้ถูกต้องได้ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความและตามฟ้องโจทก์ จำเลยจึงมีความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากผู้ดูแลเพื่อการอนาจาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13718/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์สินที่ได้มาจากการทำมาหากินร่วมกันก่อนจดทะเบียนสมรส ไม่เป็นสินสมรส
เงินที่โจทก์และจำเลยทำมาหาได้ร่วมกันเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกันก่อนที่โจทก์และจำเลยจดทะเบียนสมรสกัน เมื่อนำเงินดังกล่าวไปซื้อที่ดินและบ้าน ที่ดินและบ้านที่ซื้อจึงเป็นกรรมสิทธิ์รวมของโจทก์และจำเลย การจดทะเบียนสมรสกันในภายหลังไม่มีผลทำให้ที่ดินและบ้านดังกล่าวกลายเป็นสินสมรสแต่อย่างใด จึงยังคงเป็นสินส่วนตัวของทั้งโจทก์และจำเลย ซึ่งต้องแบ่งกันคนละกึ่งหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11700/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลยกคำร้องคุ้มครองชั่วคราวถึงที่สุด โจทก์ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยจึงไม่ชอบ
โจทก์ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวในเหตุฉุกเฉิน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง เนื่องจากไม่มีเหตุฉุกเฉิน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 267 วรรคหนึ่ง คำสั่งเช่นว่านี้ให้เป็นที่สุด โจทก์ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6 เมื่อโจทก์ฎีกาต่อมา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5053/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานข่มขู่และทำร้ายร่างกายเพื่อขัดขวางการเสนอราคาจ้างเหมางาน มีความผิดตามกฎหมายอาญาและพ.ร.บ.เสนอราคา
จำเลยที่ 1 มาขอไม่ให้ผู้เสียหายยื่นซองสอบราคาโดยจำเลยที่ 2 ก็อยู่ในบริเวณนั้น แต่ผู้เสียหายคงยืนยันจะยื่นซองสอบราคา จากนั้นจำเลยที่ 1 เดินมาพูดกับผู้เสียหายว่า "ไอ้น้อยมึงแน่หรือ" และตบหน้าผู้เสียหายที่บริเวณเบ้าตาขวาเป็นเหตุให้ผู้เสียหายตกจากเก้าอี้ล้มลงที่พื้น แล้วจำเลยที่ 2 กับพวกเข้าสมทบกับจำเลยที่ 1 รุมทำร้ายผู้เสียหาย โดยระหว่างนั้นจำเลยที่ 1 พูดในเชิงข่มขู่ผู้เสียหายว่า "ไอ้น้อยมึงเก่งจริงมึงยื่นเลย" พฤติการณ์แห่งคดีบ่งชี้โดยแจ้งชัดว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกับพวกรุมทำร้ายผู้เสียหายเพื่อเป็นการข่มขู่มิให้ผู้เสียหายยื่นซองสอบราคาจ้างเหมางานที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพี่ชายต่างบิดาของจำเลยที่ 2 ขอไม่ให้ผู้เสียหายยื่นในวันเกิดเหตุ ดังนี้ จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 295, 309 วรรคแรก ประกอบมาตรา 83 แม้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ยื่นซองสอบราคาในวันเกิดเหตุตามที่จำเลยที่ 2 อ้างก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ 2 ร่วมใช้กำลังประทุษร้ายต่อผู้เสียหายเพื่อให้จำยอมไม่เข้าร่วมในการเสนอราคาตามประกาศสอบราคาจ้างเหมาในเหตุคดีนี้จนผู้เสียหายต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลจากแพทย์ที่โรงพยาบาลและไม่กล้ายื่นซองสอบราคาภายในกำหนด ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 มาตรา 6 อีกฐานหนึ่งด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4402/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการยื่นคำร้องขอพิจารณาภาษีโรงเรือนและที่ดินสงวนไว้สำหรับผู้รับประเมิน เจ้าของทรัพย์สิน การชำระภาษีตามสัญญาเช่าไม่ทำให้มีอำนาจดังกล่าว
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 25 บัญญัติให้ผู้รับประเมินที่ไม่พอใจในการประเมินอาจยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินนั้นใหม่ได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติแล้วว่า บริษัท ซ. เจ้าของโรงเรือนและที่ดินดังกล่าวเป็นผู้ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษีพิพาท และพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ได้แจ้งรายการประเมินไปยังบริษัท ซ. อันเป็นการแจ้งรายการประเมินแก่ผู้รับประเมินตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 24 แล้ว ดังนั้นผู้รับประเมินที่อาจยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่จึงหมายถึงบริษัท ซ. แม้โจทก์จะมีหน้าที่ต้องชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามสัญญาเช่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โจทก์ก็ไม่เป็นผู้รับประเมินในกรณีนี้และไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ ทั้งตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 37 ก็บัญญัติให้ผู้รับประเมินที่จะต้องลงนามในแบบพิมพ์ใดจะให้ตัวแทนลงนามแทนก็ได้ โดยต้องมอบฉันทะเป็นลายลักษณ์อักษร เมื่อโจทก์ยื่นแบบพิมพ์คำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ภ.ร.ด. 9) ในนามของตนเองโดยบริษัท ซ. ผู้รับประเมินไม่ได้มอบฉันทะเป็นลายลักษณ์อักษรให้ลงนามแทนได้ จึงเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจ และถือว่าไม่มีการยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 25 จำนวนเงินที่ประเมินจึงเป็นจำนวนเด็ดขาด โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 420/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินให้วัดโดยไม่มีค่าตอบแทน ไม่ถือเป็นการขายเพื่อหากำไร จึงไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
มาตรา 91/2 (6) แห่ง ป.รัษฎากร มิได้บัญญัติไว้ว่าการขายอสังหาริมทรัพย์กรณีใดเป็นการขายที่เข้าลักษณะเป็นทางค้าหรือหากำไรอันต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแต่ได้บัญญัติให้การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรเป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขตามที่กำหนดโดย พ.ร.ฎ.ซึ่ง พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) ฯ มาตรา 3 ที่ใช้บังคับอยู่ขณะนั้นบัญญัติให้การขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไรตามมาตรา 91/2 (6) แห่ง ป.รัษฎากร มีดังต่อไปนี้ (1) ... (6) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เข้าลักษณะตาม (1) (2) (3) (4) หรือ (5) ที่ได้กระทำภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น เว้นแต่... อันแสดงว่าการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เข้าลักษณะตาม (1) (2) (3) (4) หรือ (5) ที่ได้กระทำภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้นมิใช่ว่าจะเป็นทางค้าหรือหากำไรเสมอไป แต่เป็นข้อเท็จจริงที่ต้องพิจารณาเป็นรายกรณี คดีนั้นแม้จะฟังได้ว่าการที่โจทก์จดทะเบียนโอนที่ดินทั้ง 11 แปลง ให้แก่วัดใหม่กระทุ่มล้ม ถือเป็นการขายตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/1 (4) ที่ได้กระทำภายในห้าปีนับแต่วันที่โจทก์ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้นก็ตาม แต่ผู้ที่โจทก์โอนที่ดินทั้ง 11 แปลงให้มีฐานะเป็นวัดตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ฯ และเป็นการโอนโดยไม่มีค่าตอบแทนทั้งปรากฏตามที่โจทก์นำสืบว่าที่ดินดังกล่าวติดต่อเป็นผืนเดียวกันและอยู่ติดกับที่ดินที่ตั้งวัดใหม่กระทุ่มล้ม ปัจจุบันใช้ในการจัดกิจกรรมของวัดและเป็นลานกีฬาชุมชนอันแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์ที่ต้องการบริจาคที่ดินทั้ง 11 แปลงเพื่อเป็นการกุศลให้ใช้เป็นสถานที่ทางศาสนาและสาธารณประโยชน์โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในทางการค้าหรือหากำไร การโอนที่ดินดังกล่าวจึงไม่ใช่การขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร โจทก์จึงไม่จำต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ