พบผลลัพธ์ทั้งหมด 48 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 420/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินให้วัดโดยไม่มีค่าตอบแทน ไม่ถือเป็นการขายเพื่อหากำไร จึงไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
มาตรา 91/2 (6) แห่ง ป.รัษฎากร มิได้บัญญัติไว้ว่าการขายอสังหาริมทรัพย์กรณีใดเป็นการขายที่เข้าลักษณะเป็นทางค้าหรือหากำไรอันต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแต่ได้บัญญัติให้การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรเป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขตามที่กำหนดโดย พ.ร.ฎ.ซึ่ง พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) ฯ มาตรา 3 ที่ใช้บังคับอยู่ขณะนั้นบัญญัติให้การขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไรตามมาตรา 91/2 (6) แห่ง ป.รัษฎากร มีดังต่อไปนี้ (1) ... (6) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เข้าลักษณะตาม (1) (2) (3) (4) หรือ (5) ที่ได้กระทำภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น เว้นแต่... อันแสดงว่าการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เข้าลักษณะตาม (1) (2) (3) (4) หรือ (5) ที่ได้กระทำภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้นมิใช่ว่าจะเป็นทางค้าหรือหากำไรเสมอไป แต่เป็นข้อเท็จจริงที่ต้องพิจารณาเป็นรายกรณี คดีนั้นแม้จะฟังได้ว่าการที่โจทก์จดทะเบียนโอนที่ดินทั้ง 11 แปลง ให้แก่วัดใหม่กระทุ่มล้ม ถือเป็นการขายตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/1 (4) ที่ได้กระทำภายในห้าปีนับแต่วันที่โจทก์ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้นก็ตาม แต่ผู้ที่โจทก์โอนที่ดินทั้ง 11 แปลงให้มีฐานะเป็นวัดตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ฯ และเป็นการโอนโดยไม่มีค่าตอบแทนทั้งปรากฏตามที่โจทก์นำสืบว่าที่ดินดังกล่าวติดต่อเป็นผืนเดียวกันและอยู่ติดกับที่ดินที่ตั้งวัดใหม่กระทุ่มล้ม ปัจจุบันใช้ในการจัดกิจกรรมของวัดและเป็นลานกีฬาชุมชนอันแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์ที่ต้องการบริจาคที่ดินทั้ง 11 แปลงเพื่อเป็นการกุศลให้ใช้เป็นสถานที่ทางศาสนาและสาธารณประโยชน์โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในทางการค้าหรือหากำไร การโอนที่ดินดังกล่าวจึงไม่ใช่การขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร โจทก์จึงไม่จำต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 137/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมคบเพื่อขอเฉลี่ยทรัพย์โดยไม่สุจริต ถือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่ชอบ ศาลยกคำร้อง
ผู้ร้องฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งและทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันเพื่อจะให้ผู้ร้องเข้ามาขอเฉลี่ยทรัพย์ เป็นการสมคบกับจำเลยเพื่อจะมิให้มีการนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยไปชำระหนี้ให้โจทก์ เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ศาลยกคำร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8988/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: หลักเกณฑ์ค่ารายปีปีก่อน และข้อจำกัดการอุทธรณ์เรื่องกระบวนการ
ค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วที่ใช้เป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมาตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 18 หมายความถึงค่ารายปีของปีก่อนถัดจากปีที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำลังประเมิน ดังนั้น การประเมินค่ารายปีสำหรับโรงเรือนพิพาทที่โจทก์ใช้ในปี 2546 เพื่อคำนวณภาษีซึ่งต้องชำระประจำปีภาษี 2547 จึงต้องนำค่ารายปีของปี 2545 ที่มีการชำระค่าภาษีประจำปีภาษี 2546 มาเป็นหลักในการคำนวณค่าภาษี
ปัญหาว่าใบแจ้งคำชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 หรือไม่ เมื่อศาลภาษีอากรกลางมิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทนี้ไว้ในชั้นชี้สองสถานและโจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้าน โดยยินยอมดำเนินกระบวนพิจารณาเท่าที่ศาลภาษีอากรกลางกำหนดประเด็นไว้ คดีจึงไม่มีประเด็นว่า ใบแจ้งคำชี้ขาดที่พิพาทไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 หรือไม่ อุทธรณ์ของโจทก์ในประเด็นดังกล่าว จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง และมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29
ปัญหาว่าใบแจ้งคำชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 หรือไม่ เมื่อศาลภาษีอากรกลางมิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทนี้ไว้ในชั้นชี้สองสถานและโจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้าน โดยยินยอมดำเนินกระบวนพิจารณาเท่าที่ศาลภาษีอากรกลางกำหนดประเด็นไว้ คดีจึงไม่มีประเด็นว่า ใบแจ้งคำชี้ขาดที่พิพาทไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 หรือไม่ อุทธรณ์ของโจทก์ในประเด็นดังกล่าว จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง และมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8937-8938/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาอุทธรณ์ภาษีอากร การรวมสำนวนคดี และเหตุสมควรลดเบี้ยปรับ
ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยถึงวันที่ 17 มิถุนายน 2549 จำเลยยื่นอุทธรณ์คดีทั้งสองสำนวนเป็นอุทธรณ์คนละฉบับเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2549 ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งเป็นใจความว่า ศาลสั่งรวมการพิจารณาคดีทั้งสองสำนวนแล้วจึงให้จำเลยทำอุทธรณ์มาในฉบับเดียวกันภายใน 7 วัน ต่อมาจำเลยจึงยื่นอุทธรณ์คดีทั้งสองสำนวนมาในฉบับเดียวกันเป็นอุทธรณ์ฉบับลงวันที่ 21 มิถุนายน 2549 ดังนี้อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองจึงเป็นอุทธรณ์ที่จำเลยจัดทำและยื่นภายในกำหนดที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่ง ถือว่าจำเลยยื่นอุทธรณ์คดีทั้งสองสำนวนภายในกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์แล้ว
การที่โจทก์ ช. และ ส. เป็นคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลในการขายที่ดิน 1 แปลงและโจทก์กับ ส. เป็นคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลในการขายที่ดินอีก 1 แปลง แต่เจ้าพนักงานของจำเลยส่งหนังสือขอทราบรายละเอียดการขายอสังหาริมทรัพย์เฉพาะที่ดินเพียงแปลงเดียวถึง ส. โดยไม่ได้ระบุชัดแจ้งว่าเป็นหนังสือที่ส่งถึง ส. ในฐานะบุคคลในคณะบุคคลดังเช่นที่มีการระบุในหนังสือแจ้งการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะ จึงต้องถือว่าเจ้าพนักงานของจำเลยต้องการขอทราบรายละเอียดการขายที่ดินจาก ส. ในฐานะส่วนตัว ทั้งไม่ได้ความว่าเจ้าพนักงานของจำเลยส่งหนังสือขอทราบรายละเอียดการขายอสังหาริมทรัพย์ถึงโจทก์ด้วยแต่อย่างใด หลังจากขายที่ดินทั้งสองแปลงแล้ว โจทก์ไม่เคยพบกับ ส. อีก จึงไม่อาจนำข้อเท็จจริงที่ ส. ไม่ไปพบเจ้าพนักงานของจำเลยตามหนังสือขอทราบรายละเอียดการขายอสังหาริมทรัพย์มาเป็นเหตุให้มีผลถึงโจทก์โดยอนุมานว่า โจทก์ซึ่งเป็นบุคคล ในคณะบุคคลกับ ส. ไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบภาษีการขายที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวด้วยได้ ทั้งโจทก์ขายที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวหลังจากมีการแก้ไขประมวลรัษฎากรซึ่งเปลี่ยนการจัดเก็บภาษีการค้ามาเป็นการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะแทนไม่กี่เดือน ตามพฤติการณ์ของโจทก์ที่ยอมเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ แต่ยังเพียงติดใจขอลดเบี้ยปรับลงเพราะคิดว่ามีการชำระครบถ้วนขณะขายที่ดินเรียบร้อยแล้ว โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงอื่นใดที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีรายพิพาท กรณีจึงมีเหตุสมควรลดเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่งจากเบี้ยปรับที่ต้องชำระตามการประเมิน
การที่โจทก์ ช. และ ส. เป็นคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลในการขายที่ดิน 1 แปลงและโจทก์กับ ส. เป็นคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลในการขายที่ดินอีก 1 แปลง แต่เจ้าพนักงานของจำเลยส่งหนังสือขอทราบรายละเอียดการขายอสังหาริมทรัพย์เฉพาะที่ดินเพียงแปลงเดียวถึง ส. โดยไม่ได้ระบุชัดแจ้งว่าเป็นหนังสือที่ส่งถึง ส. ในฐานะบุคคลในคณะบุคคลดังเช่นที่มีการระบุในหนังสือแจ้งการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะ จึงต้องถือว่าเจ้าพนักงานของจำเลยต้องการขอทราบรายละเอียดการขายที่ดินจาก ส. ในฐานะส่วนตัว ทั้งไม่ได้ความว่าเจ้าพนักงานของจำเลยส่งหนังสือขอทราบรายละเอียดการขายอสังหาริมทรัพย์ถึงโจทก์ด้วยแต่อย่างใด หลังจากขายที่ดินทั้งสองแปลงแล้ว โจทก์ไม่เคยพบกับ ส. อีก จึงไม่อาจนำข้อเท็จจริงที่ ส. ไม่ไปพบเจ้าพนักงานของจำเลยตามหนังสือขอทราบรายละเอียดการขายอสังหาริมทรัพย์มาเป็นเหตุให้มีผลถึงโจทก์โดยอนุมานว่า โจทก์ซึ่งเป็นบุคคล ในคณะบุคคลกับ ส. ไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบภาษีการขายที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวด้วยได้ ทั้งโจทก์ขายที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวหลังจากมีการแก้ไขประมวลรัษฎากรซึ่งเปลี่ยนการจัดเก็บภาษีการค้ามาเป็นการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะแทนไม่กี่เดือน ตามพฤติการณ์ของโจทก์ที่ยอมเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ แต่ยังเพียงติดใจขอลดเบี้ยปรับลงเพราะคิดว่ามีการชำระครบถ้วนขณะขายที่ดินเรียบร้อยแล้ว โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงอื่นใดที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีรายพิพาท กรณีจึงมีเหตุสมควรลดเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่งจากเบี้ยปรับที่ต้องชำระตามการประเมิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8892/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: หลักเกณฑ์ค่ารายปี, ความชอบด้วยกฎหมาย, และข้อจำกัดการอุทธรณ์
ค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วที่ใช้เป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมาตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 18 หมายความถึงค่ารายปีของปีก่อนถัดจากปีที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำลังประเมิน ดังนั้น การประเมินค่ารายปีสำหรับโรงเรือนพิพาทที่โจทก์ใช้ในปี 2546 เพื่อคำนวณภาษีซึ่งต้องชำระประจำปีภาษี 2547 จึงต้องนำค่ารายปีของปี 2545 ที่มีการชำระค่าภาษีประจำปีภาษี 2546 มาเป็นหลักในการคำนวณค่าภาษี
ปัญหาว่าใบแจ้งคำชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ชอบด้วย พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 หรือไม่ เมื่อศาลภาษีอากรกลางมิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทนี้ไว้ในชั้นชี้สองสถานและโจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้าน ถือว่าโจทก์สละประเด็นดังกล่าวแล้ว อุทธรณ์ข้อนี้ของโจทก์จึงมิใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง และมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29
ปัญหาว่าใบแจ้งคำชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ชอบด้วย พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 หรือไม่ เมื่อศาลภาษีอากรกลางมิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทนี้ไว้ในชั้นชี้สองสถานและโจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้าน ถือว่าโจทก์สละประเด็นดังกล่าวแล้ว อุทธรณ์ข้อนี้ของโจทก์จึงมิใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง และมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8872/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาบังคับใช้ข้อบัญญัติท้องถิ่น: การเริ่มต้นนับวัน และผลของการระบุวันใช้บังคับผิดพลาด
พ.ร.บ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2540 มาตรา 53 วรรคหนึ่ง หมายความว่า ข้อบัญญัติที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดตราขึ้นในกรณีทั่วไปต้องได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัด และมีการประกาศข้อบัญญัตินั้นไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดแล้วจนครบกำหนด 15 วัน จึงจะมีผลใช้บังคับได้ แต่มีข้อยกเว้นว่าในกรณีฉุกเฉินหากข้อบัญญัติที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดตราขึ้นโดยมีข้อความระบุให้ใช้บังคับได้ทันทีและได้รับการอนุมัติข้อบัญญัตินั้นจากผู้ว่าราชการจังหวัดแล้วก็มีผลใช้บังคับได้ในวันที่มีการประกาศ ทั้งนี้ไม่ปรากฏบทบัญญัติอื่นใน พ.ร.บ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2540 กำหนดวิธีการนับวันเริ่มต้นแห่งระยะเวลาประกาศข้อบัญญัติในกรณีทั่วไปไว้ด้วย ทั้งข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี เรื่อง การเก็บภาษีบำรุงองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2542 มิใช่ข้อบัญญัติที่ตราขึ้นในกรณีฉุกเฉินจึงต้องคำนวณระยะเวลาการปิดประกาศตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/3 วรรคสอง โดยไม่นับวันแรกแห่งระยะเวลาที่ประกาศรวมเข้าด้วยเมื่อมีการประกาศ ณ วันที่ 16 เมษายน 2542 จึงเริ่มต้นนับหนึ่งตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน 2542 ซึ่งจะครบกำหนด 15 วัน ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2542 และข้อบัญญัติที่ประกาศนั้นจะมีผลใช้บังคับได้ตั้งแต่วันถัดไปคือวันที่ 2 พฤษภาคม 2542
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี เรื่อง การเก็บภาษีบำรุงองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2542 มีการนับระยะเวลาการปิดประกาศครบกำหนด 15 วัน ว่าตรงกับวันใดไว้ผิดพลาดจึงมีการระบุข้อความล่วงหน้าให้ข้อบัญญัติใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2542 แต่การประกาศข้อบัญญัติซึ่งระบุวันใช้บังคับผิดพลาดมิใช่เรื่องที่ทำโดยไม่ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้ ถือได้ว่าข้อบัญญัติดังกล่าวยังไม่สิ้นผลหรือเป็นโมฆะ เมื่อมีการประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนจังหวัดแล้ว 15 วัน ข้อบัญญัติทั้งหมดยกเว้นข้อ 2 จึงมีผลบังคับใช้ได้ตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม 2542 เป็นต้นไป การกระทำความผิดของจำเลยเกิดขึ้นหลังวันที่ 2 พฤษภาคม 2542 จึงเป็นความผิดตามฟ้อง
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี เรื่อง การเก็บภาษีบำรุงองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2542 มีการนับระยะเวลาการปิดประกาศครบกำหนด 15 วัน ว่าตรงกับวันใดไว้ผิดพลาดจึงมีการระบุข้อความล่วงหน้าให้ข้อบัญญัติใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2542 แต่การประกาศข้อบัญญัติซึ่งระบุวันใช้บังคับผิดพลาดมิใช่เรื่องที่ทำโดยไม่ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้ ถือได้ว่าข้อบัญญัติดังกล่าวยังไม่สิ้นผลหรือเป็นโมฆะ เมื่อมีการประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนจังหวัดแล้ว 15 วัน ข้อบัญญัติทั้งหมดยกเว้นข้อ 2 จึงมีผลบังคับใช้ได้ตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม 2542 เป็นต้นไป การกระทำความผิดของจำเลยเกิดขึ้นหลังวันที่ 2 พฤษภาคม 2542 จึงเป็นความผิดตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8809/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อุทธรณ์คำสั่งศาลภาษีอากรกลางทันเวลา และการสละประเด็นข้อพิพาท ทำให้ฎีกาไม่รับฟังประเด็นใหม่
คำสั่งให้งดสืบพยานก่อนที่ศาลภาษีอากรกลางได้มีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา หากคู่ความฝ่ายใดไม่เห็นด้วยและประสงค์จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นภายหลังจะต้องโต้แย้งคำสั่งไว้ จึงจะมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร ฯ มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 226 เมื่อโจทก์มีเวลาเพียงพอที่จะโต้แย้งคัดค้านคำสั่งดังกล่าวได้แต่มิได้โต้แย้งคัดค้าน จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์
การที่โจทก์แถลงต่อศาลภาษีอากรกลางว่า โจทก์ยินยอมชำระภาษีตามที่เจ้าพนักงานประเมินและได้ผ่อนชำระจนเหลือเพียงงวดสุดท้ายแล้วแต่ยังคงติดใจอยู่เพียงประเด็นเดียวคือ ประสงค์จะขอให้ลดหรืองดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแก่โจทก์ จึงถือว่าโจทก์ได้สละประเด็นข้อพิพาทอื่นทั้งหมด ดังนั้น การที่โจทก์อุทธรณ์ประเด็นอื่น จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาโดยชอบในศาลภาษีอากรกลางต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรกรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร ฯ มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
การที่โจทก์แถลงต่อศาลภาษีอากรกลางว่า โจทก์ยินยอมชำระภาษีตามที่เจ้าพนักงานประเมินและได้ผ่อนชำระจนเหลือเพียงงวดสุดท้ายแล้วแต่ยังคงติดใจอยู่เพียงประเด็นเดียวคือ ประสงค์จะขอให้ลดหรืองดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแก่โจทก์ จึงถือว่าโจทก์ได้สละประเด็นข้อพิพาทอื่นทั้งหมด ดังนั้น การที่โจทก์อุทธรณ์ประเด็นอื่น จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาโดยชอบในศาลภาษีอากรกลางต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรกรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร ฯ มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8808/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งทางปกครองต้องมีเหตุผลตามกฎหมาย แม้กฎหมายเฉพาะจะไม่ได้บังคับ เหตุผลต้องชัดเจนและครบถ้วน
มาตรา 37 แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ฯ กำหนดให้คำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือและการยืนยันคำสั่งทางปกครองเป็นหนังสือต้องจัดให้มีเหตุผลไว้ด้วย และเหตุผลอย่างน้อยต้องประกอบด้วยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ข้อกฎหมายที่อ้างอิง ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ และมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือน ฯ กำหนดให้คำชี้ขาดของอธิบดีกรมสรรพากรหรือสมุหเทศาภิบาลให้แจ้งไปยังผู้ร้องเป็นลายลักษณ์อักษร ดังนั้น คำชี้ขาดดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งทางปกครองที่จะต้องทำเป็นหนังสือและต้องทำให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ฯ มาตรา 37 คือต้องจัดให้มีเหตุผลและเหตุผลต้องประกอบด้วยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ข้อกฎหมายที่อ้างอิง ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ ซึ่งตามใบแจ้งคำชี้ขาดระบุเพียงว่า จำเลยที่ 2 มีคำวินิจฉัยชี้ขาดให้โจทก์ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินยืนตามที่จำเลยที่ 1 ประเมิน ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 มีเหตุผลอย่างไรที่วินิจฉัยยืนตามการประเมินของจำเลยที่ 1 คำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 จึงไม่ปรากฏเหตุผลตามที่กฎหมายกำหนด และไม่เข้าข้อยกเว้นที่ไม่ต้องแสดงเหตุผลตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ฯ มาตรา 37 วรรคสาม (2) ที่ว่าเหตุผลนั้นเป็นที่รู้กันอยู่แล้วโดยไม่จำต้องระบุอีกจึงขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 37 แม้มาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ฯ บัญญัติเพียงว่าคำชี้ขาดให้แจ้งไปยังผู้ร้องเป็นลายลักษณ์อักษร โดยมิได้บังคับว่าต้องให้เหตุผล แต่ตามมาตรา 3 วรรคแรก แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ฯ ได้วางหลักเกณฑ์ไว้ว่า วิธีปฏิบัติราชการปกครองตามกฎหมายต่าง ๆ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติ เว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายใดกำหนดวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองเรื่องใดไว้โดยเฉพาะแล้ว และมีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรม หรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการไม่ต่ำกว่าที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้ คำชี้ขาดตามมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ฯ เป็นวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองอย่างหนึ่ง และเป็นคำสั่งทางปกครองที่ต้องทำเป็นหนังสือและต้องให้เหตุผลไว้ด้วยตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ฯ มาตรา 37 แต่มาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ฯ เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตราฐานในการปฏิบัติราชการต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดใน พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ฯ มาตรา 37 ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ขั้นต่ำอยู่แล้ว คำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 จึงไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 3 วรรคแรก แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ฯ เมื่อคำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 ไม่มีเหตุผลตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 37 คำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8443/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มจากรายงานภาษีซื้อที่ถูกต้องตามกฎหมาย แม้มีการแก้ไขแบบแสดงรายการภาษีโดยทุจริต
คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้โจทก์ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มโดยพิจารณาจากยอดซื้อเฉพาะที่ปรากฏในรายงานภาษีซื้อของโจทก์ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 13 ส่งมาให้เท่านั้น มิได้พิจารณายอดซื้อตามใบกำกับภาษีที่สำนักงานบัญชีที่โจทก์มอบหมายให้ทำบัญชีส่งมอบเพิ่มเติม เนื่องจากเป็นใบกำกับภาษีที่สำนักงานบัญชีส่งมอบเพื่อประกอบยอดซื้อตามแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มของโจทก์ที่ถูกแก้ไขในการทุจริตโกงเงินภาษีที่นำส่งจำเลยซึ่งโจทก์ได้ชำระภาษีในส่วนนี้ตามเช็คที่ได้เรียกเก็บเงินเข้าบัญชีของจำเลยแล้ว แต่ยอดซื้อตามรายงานภาษีซื้อของโจทก์ที่ไม่รวมส่วนที่สำนักงานบัญชีและเจ้าพนักงานของจำเลยร่วมกันทุจริตก็ปรากฏว่ายังมีภาษีซื้อต้องห้ามตาม ป.รัษฎากร มาตรา 82/5 เนื่องจากเป็นยอดซื้อตามใบกำกับภาษีซื้อที่มีข้อความไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ ภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการ ค่าใช้จ่ายรถยนต์ หรือไม่มีใบกำกับภาษีซื้อมาแสดง และยอดซื้อจากใบกำกับภาษีปลอม ดังนี้ คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7089/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ที่ไม่ได้อุทธรณ์ และยืนตามคำพิพากษาเดิมเรื่องโทษ
ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยมิได้มีเจตนาลักรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายนั้น ซึ่งในชั้นอุทธรณ์จำเลยได้ยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัย จำเลยก็ไม่ได้ฎีกาโต้แย้งว่าที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยนั้นไม่ชอบแต่อย่างไร การที่จำเลยยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นฎีกาซ้ำอีก ถือได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่เพิ่งยกขึ้นในชั้นฎีกาและเป็นฎีกาไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย