คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปรีดา พูนคำ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 48 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6899/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ที่ไม่ได้ยกขึ้นสู่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ และยืนตามคำพิพากษาเดิม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานยักยอก จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกาว่าไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง แม้จำเลยจะยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัย ฎีกาของจำเลยดังกล่าวก็ถือเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5887/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ลงลายมือชื่อในฎีกาทำให้ฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ฎีกาของจำเลยไม่มีลายมือชื่อผู้ฎีกา โดยเหตุที่ฎีกาเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่งตามคำนิยามในมาตรา 1 (3) แห่ง ป.วิ.พ. ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ดังนั้น เมื่อไม่มีลายมือชื่อผู้ฎีกา ฎีกาของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 158 (7) ประกอบด้วยมาตรา 215 และ 225 แห่ง ป.วิ.อ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5855/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ครอบครองทรัพย์ที่ถูกลักทรัพย์มีสิทธิเป็นผู้เสียหายได้ แม้กรรมสิทธิ์จะยังไม่โอน
คำว่า "ผู้เสียหาย" ในความผิดฐานลักทรัพย์ไม่จำต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ถูกลักไป บุคคลที่เป็นผู้ครอบครองทรัพย์ที่ถูกลักไปก็เป็นผู้เสียหายได้ คดีนี้ได้ความว่าจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์ร่วมได้ร่วมกันลักอาหารสัตว์ส่วนหนึ่งในระหว่างทางที่โจทก์ร่วมขนส่งเพื่อส่งมอบให้แก่บริษัท ซ. ผู้ซื้อ ระหว่างการขนส่งอาหารสัตว์ที่บรรทุกในรถยนต์คันเกิดเหตุ อาหารสัตว์เหล่านั้นจึงยังคงอยู่ในความครอบครองของโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมย่อมได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยทั้งสองเนื่องจากโจทก์ร่วมมีหน้าที่จำต้องส่งมอบอาหารสัตว์ให้ครบจำนวนแก่บริษัท ซ. ผู้ซื้อ โจทก์ร่วมจึงมีฐานะเป็นผู้เสียหายในเหตุคดีนี้อยู่ด้วย ไม่ว่ากรรมสิทธิ์ในอาหารสัตว์ที่โจทก์ร่วมตกลงขายได้โอนไปยังบริษัท ซ. เพราะมีการชั่งน้ำหนักอันเป็นการบ่งตัวทรัพย์สินนั้นออกเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งตั้งแต่ต้นทางการขนส่งโดยผลของกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 460 วรรคแรก แล้วหรือไม่ก็ตาม โจทก์ร่วมจึงมีสิทธิเข้าดำเนินคดีเป็นโจทก์ร่วมในคดีนี้โดยชอบ แม้ขณะเกิดเหตุหากกรรมสิทธิ์ในอาหารสัตว์ดังกล่าวได้โอนไปยังบริษัท ซ. เสียก่อนแล้วโดยผลของกฎหมายอันเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาว่าจำเลยทั้งสองลักทรัพย์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท ซ. ขณะอยู่ในความครอบครองโจทก์ร่วมผู้เป็นนายจ้างของจำเลยทั้งสองซึ่งแตกต่างกับข้อเท็จจริงดั่งที่กล่าวในฟ้องซึ่งบรรยายว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันลักทรัพย์ของโจทก์ร่วม กรณีก็เป็นข้อแตกต่างที่มิใช่ข้อสาระสำคัญและจำเลยทั้งสองมิได้หลงข้อต่อสู้ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 335 (7) (11) วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 83 ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5249/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายห้องชุดเพื่อหลีกเลี่ยงชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ ถือเป็นการฉ้อฉล เพิกถอนได้
การที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาซื้อขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดกับจำเลยที่ 1 โดยก่อนจะมีการทำสัญญาซื้อขายห้องชุดดังกล่าว จำเลยที่ 1 ได้นำเช็คมาแลกเงินสดไปจากจำเลยที่ 2 รวม 10 ฉบับ เป็นเงิน 597,000 บาท ภายหลังจากเช็คถึงกำหนดชำระ จำเลยที่ 2 นำเช็คทั้งสิบฉบับไปเรียกเก็บเงิน ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค จำเลยที่ 1 จึงโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดดังกล่าวชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 2 โดยที่จำเลยที่ 1 ไม่เคยรู้จักจำเลยที่ 2 มาก่อน ซึ่งจำเลยที่ 2 รับเช็คไว้ถึง 10 ฉบับ ทั้งๆ ที่จำเลยที่ 2 ไม่เคยมีอาชีพปล่อยเงินกู้ อีกทั้งไม่เคยรับแลกเช็ค เพิ่งทำครั้งนี้เป็นครั้งแรก การที่จำเลยที่ 2 รับแลกเช็คจากจำเลยที่ 1 จึงผิดปกติวิสัยหลายประการ ประการแรก คือ พฤติการณ์ที่ลุงของจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่กล้าให้จำเลยที่ 1 แลกเช็ค แต่แนะนำให้จำเลยที่ 1 นำเช็คมาแลกเงินสดจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหลานของตนเอง ประการต่อมาเช็คที่จำเลยที่ 1 นำมาแลกเงินสดทั้งสิบฉบับล้วนเป็นเช็คของคนอื่น ไม่ใช่เช็คของจำเลยที่ 1 และเมื่อเช็คแต่ละฉบับถึงกำหนดแทนที่จำเลยที่ 2 จะรีบนำเช็คแต่ละฉบับไปเรียกเก็บเงินทันที กลับปล่อยเวลาล่วงเลยไป จึงเพิ่งนำไปเรียกเก็บเงินพร้อมกัน และต่อมาจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดเพื่อชำระหนี้ตามเช็ค และจำเลยที่ 2 ได้จดทะเบียนจำนองต่อจำเลยที่ 3 ในวันเดียวกัน อีกทั้งจำเลยที่ 2 ยังได้ทำบันทึกว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับโอนห้องชุดดังกล่าวชำระหนี้ตามเช็คทั้งสิบฉบับ รวมเป็นเงิน 597,100 บาท และหนี้ที่เหลือไม่ติดใจเรียกร้องอีกต่อไป ซึ่งการกระทำดังกล่าวขัดต่อเหตุผล เพราะกรรมสิทธิ์ห้องชุดที่จำเลยที่ 2 รับโอนมีราคาประมาณ 400,000 บาท อีกทั้งยังจำนวนแก่จำเลยที่ 3 เป็นประกันหนี้อยู่ประมาณ 270,000 บาท เมื่อจำเลยที่ 2 รับโอนกรรมสิทธิ์แล้วจึงยังต้องรับภาระชำระหนี้จำนองดังกล่าวด้วย แต่จำเลยที่ 2 กลับทำบันทึกว่า หนี้ที่เหลือไม่ติดใจเรียกร้องอีกต่อไป ทั้งช่วงระยะเวลาที่จำเลยที่ 2 รับแลกเช็คจากจำเลยที่ 1 และทำสัญญารับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด อยู่ในระหว่างเวลาที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ชำระหนี้และจำเลยที่ 2 ก็ทราบดีว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นนอกจากกรรมสิทธิ์ในห้องชุด ดังกล่าว จึงเป็นข้อบ่งชี้ชัดว่าจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาซื้อขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดโดยรู้ว่าจะเป็นการให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบเป็นการฉ้อฉลโจทก์
โจทก์ได้ไปตรวจสอบเอกสารกรรมสิทธิ์ห้องชุดที่สำนักงานที่ดิน เขตลาดพร้าว วันที่ 2 มีนาคม 2542 จึงทราบว่าจำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้จำเลยที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 6 กรกฎาคม 2541 โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2543 เมื่อนับแต่วันที่โจทก์ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนคือวันที่ 2 มีนาคม 2542 ถึงวันฟ้อง จึงเป็นระยะเวลาไม่พ้นหนึ่งปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4458/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีอาญา: โทษจำคุกต่อกระทงไม่เกิน 5 ปี
คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าจำเลยกระทำความผิดรวม 90 กระทง ลงโทษจำคุกกระทงละ 6 เดือน ลดโทษให้กึ่งหนึ่งแล้วคงจำคุกกระทงละ 3 เดือน แม้รวมโทษทุกกระทงแล้วลงโทษจำคุกจำเลยถึง 10 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 91 (1) ก็ตาม แต่เมื่อโทษจำคุกแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี จึงห้ามคู่ความมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4004/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์เครื่องมือเกษตรและการปรับบทลงโทษตามมาตรา 335 วรรคสาม โดยการบรรยายฟ้องต้องระบุว่าเป็นเครื่องกลหรือเครื่องจักร
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยลักเครื่องสูบน้ำซึ่งเป็นเครื่องมืออันมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมของผู้เสียหาย ซึ่งเป็นผู้มีอาชีพกสิกรรมทำนาไปโดยทุจริต แต่ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าเครื่องสูบน้ำเป็นเครื่องกลหรือเครื่องจักรตามที่ระบุไว้ใน ป.อ. มาตรา 335 วรรสาม การกระทำของจำเลยตามคำฟ้องไม่เป็นความผิดตามมาตรา 335 วรรคสาม ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ฎีกา ศาลฎาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3052/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานลักทรัพย์โคของผู้ประกอบอาชีพเกษตรกร ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อกฎหมายเกี่ยวกับความถูกต้องของฐานความผิด
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันลักโคของผู้เสียหาย ซึ่งมีอาชีพกสิกรรมและมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (7) (12) วรรคสาม ประกอบมาตรา 83 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามมาตรา 335 (7) (12) วรรคสอง ประกอบมาตรา 83 จึงไม่ต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้คู่ความมิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 โดยให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2874/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องเคลือบคลุม: สิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายต้องชัดเจนถึงความสัมพันธ์และฐานะทางกฎหมายของผู้ฟ้อง
คำฟ้องของโจทก์ปรากฏข้อความที่กล่าวถึงการที่จำเลยทั้งสามโต้แย้งสิทธิของโจทก์อยู่ในข้อ 3 ว่า "ด้วยผลแห่งการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ดังกล่าวในข้อ 2 ทำให้โจทก์และบุตรอีก 3 คน ต้องได้รับความเสียหายและขาดผู้อุปการะ..." โดยคำฟ้องของโจทก์ข้ออื่นตลอดจนเอกสารท้ายฟ้องทุกฉบับไม่ปรากฏข้อความใดที่ระบุว่าโจทก์และบุตรทั้งสามของโจทก์เกี่ยวข้องหรือมีความสัมพันธ์กับผู้ตาย ในฐานะใด อันมีผลทำให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด ในฐานะส่วนตัวหรือฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรทั้งสามได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เป็นการบรรยายฟ้องโดยไม่แจ้งชัดว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องโดยอาศัยสิทธิใดในการฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับค่าปลงศพ และโจทก์อาศัยสิทธิใดในการฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับเรื่องการต้องขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย จำเลยที่ 2 และที่ 3 ย่อมไม่เข้าใจและไม่สามารถต่อสู้คดีปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ได้ตามสมควร จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แม้จะได้ความในทางพิจารณาว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 อาจทราบฐานะของโจทก์ว่าเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายมาก่อนที่โจทก์ฟ้องคดี ก็ไม่ทำให้คำฟ้องของโจทก์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายมาแต่แรกกลับเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2278/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: การโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ยุติแล้วในศาลอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายลงโทษจำคุก 10 ปี ริบเมทแอมเฟตามีนและโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลาง ข้อหาและคำขออื่นให้ยก โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายอีกกระทงหนึ่งตามฟ้อง จำเลยมิได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้คืนโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางแก่จำเลย นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ดังนี้ ความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจึงยุติตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ที่จำเลยฎีกาว่า พยานหลักฐานของโจทก์เป็นพิรุธ ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางอยู่ในความครอบครองของจำเลย ขอให้พิพากษากลับยกฟ้องโจทก์ และหากศาลฎีกาฟังว่าจำเลยมีความผิดก็ขอให้ลงโทษสถานเบานั้น เป็นฎีกาที่โต้เถียงปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งยุติไปแล้ว และเป็นปัญหาที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยมา ศาลฎีกาก็ไม่อาจรับวินิจฉัยฎีกาให้จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2014/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทมาตรา 335 ป.อ. กรณีลักทรัพย์โดยทำลายสิ่งกีดกั้น – การพิจารณาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
โจทก์ฟ้องว่า ระหว่างเวลากลางคืนก่อนเที่ยงจนถึงเวลากลางวันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยทำอันตรายกุญแจประตูบ้านพักซึ่งเป็นสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์ แล้วผ่านประตูดังกล่าวเข้าไปลักทรัพย์ภายในบ้านพักอันเป็นเคหสถาน ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) (3) อันเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืนโดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์ หรือโดยผ่านสิ่งเช่นว่านั้นเข้าไปด้วยประการใด ๆ จึงเป็นการปรับบทกฎหมายไม่ถูกต้อง ซึ่งปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
of 5