คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พิชิต คำแฝง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 603 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5449/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้า WASHINGTON และรูปแอปเปิ้ล: มีลักษณะบ่งเฉพาะ แม้เป็นคำสามัญ หากมีการใช้จนแพร่หลาย
แม้คำว่า "Washington" จะเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ คำว่า "แอปเปิ้ล" และรูปแอปเปิ้ลประดิษฐ์จะเล็งถึงลักษณะและคุณสมบัติของสินค้านั้น แต่ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสาม ได้บัญญัติเป็นข้อยกเว้นตามมาตรา 7 วรรคสอง (1) หรือ (2) ว่า แม้จะเป็นชื่อคำหรือข้อความที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะมาตรา 7 วรรคสอง (1) หรือ (2) หากได้มีการจำหน่าย เผยแพร่ หรือโฆษณาสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นจนแพร่หลายแล้วตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด และพิสูจน์ได้ว่าได้ปฏิบัติถูกต้องตามหลักเกณฑ์นั้นแล้ว ก็ให้ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะได้ ซึ่งข้อยกเว้นดังกล่าวย่อมรวมถึงกรณีชื่อทางภูมิศาสตร์ที่ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 7 วรรคสอง (2) ด้วย เพราะชื่อทางภูมิศาสตร์นั้นเป็นส่วนหนึ่งของคำหรือข้อความตามมาตรา 7 วรรคสอง (2) นั่นเอง เมื่อโจทก์นำสืบพิสูจน์ได้ว่าเครื่องหมายการค้าพิพาทได้จำหน่าย เผยแพร่ และโฆษณาสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทจนแพร่หลายแล้วในประเทศไทย จึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่ให้ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะอันพึงรับจดทะเบียนได้ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 6 (1) และมาตรา 7 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5377/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องเพิกถอนคำวินิจฉัยคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า ไม่มีกำหนดระยะเวลา 90 วัน
โจทก์อุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอ เนื่องจากเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 18 วรรคหนึ่ง เมื่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำวินิจฉัยแล้ว และโจทก์เห็นว่าเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์อาจฟ้องต่อศาลเพื่อให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้ ซึ่งการใช้สิทธิทางศาลในกรณีเช่นนี้ ไม่มีบทบัญญัติใดใน พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ หรือในกฎหมายอื่นใดบัญญัติให้โจทก์ต้องใช้สิทธิทางศาลหรือฟ้องคดีภายในกำหนด 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับทราบคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า โจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นฟ้องเป็นคดีนี้ได้ ดังนั้นที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยถือว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการดังกล่าวเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 38 วรรคสอง และมาตรา 39 จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4880-4881/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงร่วมเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า การโอนสิทธิ และการละเมิดเครื่องหมายการค้า
จำเลยที่ 1 ยินยอมให้โจทก์ที่ 1 มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า ซึ่งได้มีการดำเนินการจดทะเบียนเสร็จสิ้นแล้ว การที่โจทก์ที่ 1 ผิดข้อตกลงเกี่ยวกับการเป็นตัวแทนจำน่ายผลิตภัณฑ์แต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทยของโจทก์ที่ 1 เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 จะต้องว่ากล่าวเอาจากอีกฝ่ายหนึ่งต่อไปฐานะที่เป็นฝ่ายผิดข้อตกลงนั้น ไม่มีผลทำให้บันทึกข้อตกลงเรื่องการเข้าร่วมเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าเสียไป
โจทก์ที่ 1 ฟ้องว่า เครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นของตนเองทั้งหมด การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ฟังว่าโจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 1 ร่วมกันเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาท ย่อมพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของร่วมในเครื่องหมายการค้าพิพาทได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 (2) และไม่ถือว่าเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น
จำเลยที่ 1 มีเจตนาที่จะโอนเครื่องหมายการค้าให้โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของร่วมกับจำเลยที่ 1 เมื่อเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นเครื่องหมายชุด จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ต้องโอนเครื่องหมายการค้าส่วนที่เหลือด้วย ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 50

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4783/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบัตร: การประดิษฐ์ที่ไม่ใหม่ การพิจารณาความแตกต่างจากงานที่ปรากฏก่อนหน้า
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรของจำเลยที่ 1 โดยกล่าวอ้างว่าการประดิษฐ์ที่มีส่วนประกอบของกวาวเครือมีการเปิดเผยสาระสำคัญ หรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่เผยแพร่มาตั้งแต่ปี 2474 ก่อนวันที่จำเลยที่ 1 ขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์จึงไม่ใช่การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ นอกจากนี้การประดิษฐ์ดังกล่าวยังไม่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น เพราะองค์ประกอบสมุนไพรจากกวาวเครือเป็นส่วนประกอบพื้นๆ ธรรมดาที่บุคคลอื่นและโจทก์ใช้หรือผลิตกันอยู่ทั่วไป ทั้งไม่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรืออื่นๆ ได้ คงถือเป็นเพียงการผสมสมุนไพร จึงไม่อาจขอรับสิทธิบัตรได้ คำฟ้องดังกล่าวเป็นที่เข้าใจแล้วว่า สิทธิบัตรพิพาทไม่สมบูรณ์เพราะเหตุใด การที่โจทก์ไม่ได้ระบุว่าเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ดังกล่าวมีชื่อว่าอะไร เปิดเผยสาระสำคัญอย่างไร เผยแพร่ที่ไหนอย่างไร บุคคลทั่วไปรวมทั้งโจทก์นำสมุนไพรกวาวเครือไปผสมกับสารอะไรในอัตราส่วนเท่าใด มีขั้นตอนการผลิตอย่างไร ล้วนเป็นเพียงรายละเอียดซึ่งโจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
โจทก์ประกอบธุรกิจจำหน่ายและผลิตยาและเครื่องสำอางซึ่งผลิตจากสมุนไพรกวาวเครือ ต่อมาเมื่อประมาณเดือนสิงหาคม 2542 จำเลยที่ 1 ประกาศในหนังสือพิมพ์ให้ผู้ผลิต ขาย มีไว้เพื่อขาย และเสนอขายผลิตภัณฑ์จากกวาวเครือที่มีลักษณะเช่นเดียวกัน หรือคล้ายกันกับองค์ประกอบสมุนไพรจากกวาวเครือของจำเลยที่ 1 ยุติการกระทำและเรียกคืนผลิตภัณฑ์จากท้องตลาด จึงเป็นกรณีที่โจทก์ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรกวาวเครือเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 ซึ่งหากสิทธิบัตรพิพาทมีผลสมบูรณ์ จำเลยที่ 1 ย่อมจะมีสิทธิแต่ผู้เดียวในการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรดังกล่าวและมีสิทธิห้ามบุคคลอื่นรวมทั้งโจทก์ในการประกอบการค้าเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกวาวเครือได้ ทั้งนี้ โดยพิจารณาจากข้อถือสิทธิที่ระบุไว้ในสิทธิบัตรพิพาทเป็นสำคัญ โจทก์ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรได้ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคสอง โดยโจทก์ไม่ต้องบรรยายฟ้องในรายละเอียดว่า โจทก์ผลิตและจำหน่ายหรือมีไว้ซึ่งสินค้าดังกล่าวตั้งแต่เมื่อใด
ตำรายาหัวกวาวเครือของหลวงอนุสารสุนทรพิมพ์เผยแพร่ตั้งแต่ปี 2474 ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะยื่นคำขอรับสิทธิบัตร ทั้งถือว่าได้มีการเปิดเผยข้อมูลที่ปรากฏในตำราดังกล่าวต่อสาธารณชนด้วยเพราะประชาชนทั่วไปย่อมสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เปิดเผยดังกล่าวได้โดยชอบแล้ว กรณีไม่จำต้องพิจารณาถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพื้นที่ที่มีการเผยแพร่ และจำนวนของเอกสารที่พิมพ์เผยแพร่เมื่อเทียบเคียงกับจำนวนประชากรของประเทศ
สาระสำคัญของสิทธิบัตรพิพาทอยู่ที่ส่วนผสมของสมุนไพรจากกวาวเครือกับส่วนประกอบจากน้ำนมและผลิตภัณฑ์จากนมสัตว์ส่วนประกอบอื่นๆ นอกจากนี้อาจจะมีอยู่ด้วยหรือไม่ มากน้อยเพียงใดก็ได้ เมื่อตำรายาหัวกวาวเครือของหลวงอนุสารสุนทรที่มีการพิมพ์เผยแพร่มาก่อนได้กล่าวถึงการนำกวาวเครือมาผสมกับนมสัตว์ ปั้นเป็นลูกกลอนใช้รับประทาน ซึ่งหากพิจารณาว่าใช้อัตราส่วนผสมอย่างละร้อยละ 50 ไม่ว่าจะมีสารประกอบอื่นในจำนวนที่น้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับส่วนผสมดังกล่าวหรือไม่ ก็จะมีลักษณะเดียวกับข้อถือสิทธิของการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรพิพาทนั่นเอง การประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรพิพาทจึงไม่อาจนับเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ เพราะมีการเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดไว้ก่อนแล้ว ทั้งลำพังการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของผลิตภัณฑ์ ก็ไม่ได้ส่งผลให้การประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรพิพาทเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่และมีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4747/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าที่ไม่จดทะเบียน: การใช้ชื่อเสียงของบุคคลเพื่อประโยชน์ทางการค้าโดยมิชอบ
โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า "PELE" ซึ่งเป็นชื่อสมญาของโจทก์ที่ 2 เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักและนิยมแพร่หลายของสาธารณชน จำเลยนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวประกอบกับรูปประดิษฐ์ต่าง ๆ ไปจดทะเบียนการค้าเพื่อใช้กับสินค้าลูกฟุตบอลของจำเลยทำให้เครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนคล้ายกับของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ฟ้องของโจทก์ทั้งสองนับว่าเป็นการใช้สิทธิตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 46 วรรคสอง ในกรณีเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าฟ้องบุคคลอื่นซึ่งเอาสินค้าของตนไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้า นอกจากนี้คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองยังกล่าวอ้างอีกว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า "PELE" แม้จะมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทย แต่ก็เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปในความหมายของ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 8 (10) ห้ามมิให้จดทะเบียน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
เมื่อจำเลยยอมรับว่า จำเลยรู้จักโจทก์ที่สองในฐานะนักฟุตบอลที่มีชื่อเสียง การที่จำเลยนำชื่อสมญาของโจทก์ที่ 2 มาใช้กับสินค้าอุปกรณ์การกีฬาของจำเลยย่อมจะเป็นที่เล็งเห็นได้ว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการใช้ชื่อสมญาของโจทก์ที่ 2 ในหมู่คนที่รู้จักชื่อสมญาดังกล่าวอย่างแพร่หลาย และทำให้จำเลยได้รับประโยชน์จากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 และชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์ที่ 2 โดยมิชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4685/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แก้ไขคำให้การหลังชี้สองสถาน: สัญญา, อายุความ, ฟ้องแย้ง, ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดตามสัญญา จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การโดยกล่าวอ้างว่า สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้าซึ่งจะต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อไม่มีการจดทะเบียนย่อมเป็นโมฆะเช่นนี้ ปัญหาว่าโจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสองต้องรับผิดตามสัญญาได้หรือไม่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยทั้งสองจะยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การหลังจากวันชี้สองสถานก็ย่อมกระทำได้ แต่ประเด็นเรื่องอายุความและฟ้องแย้งที่จำเลยขอแก้ไขคำให้การมาด้วยนั้น เห็นว่า วันที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ และวันที่โจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์ล้วนปรากฏชัดเจนอยู่ในคำฟ้องซึ่งจำเลยทั้งสองก็ทราบเรื่องการทำสัญญามาตั้งแต่ต้น หากจำเลยทั้งสองมีความประสงค์ที่จะต่อสู้คดีในประเด็นเรื่องอายุความย่อมกระทำได้ตั้งแต่แรก และในส่วนของฟ้องแย้งก็เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองกล่าวอ้างถึงสัญญาซึ่งได้เคยทำไว้กับโจทก์มาก่อน จึงเป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองทราบอยู่ก่อนแล้วเช่นกัน หาใช่กรณีที่ไม่อาจยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การได้ก่อนวันชี้สองสถานแต่อย่างใดไม่ ทั้งไม่ใช่การแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย หรือข้อผิดหลงเล็กน้อยตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 180

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4369/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์และควบคุมกิจการเทปฯ โดยผู้ดูแลร้านไม่ใช่ผู้จัดการสถานประกอบการ
บทบัญญัติมาตรา 20 วรรคสอง และมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 มีเจตนารมณ์ที่จะบัญญัติเป็นความผิดโดยเฉพาะสำหรับเจ้าของหรือผู้จัดการสถานที่ที่ให้บริการเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ซึ่งไม่ได้ขออนุญาตจากนายทะเบียน เมื่อคดีนี้ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า จำเลยไม่ใช่เจ้าของร้านที่เกิดเหตุ เป็นเพียงผู้ดูแลคอมพิวเตอร์และดูแลร้านที่เกิดเหตุโดยร้านที่เกิดเหตุมีนาย ส. เป็นผู้ดำเนินการขออนุญาตฉายหรือให้บริการซึ่งเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ แต่ใบอนุญาตขาดอายุแล้ว แสดงให้เห็นว่า ร้านที่เกิดเหตุมีผู้อื่นดำเนินการเกี่ยวกับการขออนุญาตฉายหรือให้บริการซึ่งเทปหรือวัสดุโทรทัศน์อยู่แล้ว จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างไม่ได้มีหน้าที่เกี่ยวข้องด้วย จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้จัดการสถานที่ให้บริการเทปหรือวัสดุโทรทัศน์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4369/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิด พ.ร.บ.เทปฯ ต้องเป็นเจ้าของ/ผู้จัดการสถานที่ ไม่ใช่แค่ผู้ดูแลคอมพิวเตอร์
บทบัญญัติมาตรา 20 วรรคสอง พ.ร.บ. ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530 มีเจตนารมณ์ที่จะบัญญัติเป็นความผิดโดยเฉพาะสำหรับเจ้าของหรือผู้จัดการสถานที่ที่ให้บริการเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ซึ่งไม่ได้ขออนุญาตจากนายทะเบียน เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยไม่ใช่เจ้าของร้านที่เกิดเหตุ เป็นเพียงผู้ดูแลคอมพิวเตอร์และร้านที่เกิดเหตุ จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้จัดการสถานที่ที่ให้บริการเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ตาม พ.ร.บ. ควบคุมกิจการเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530 มาตรา 20 วรรคสอง และมาตรา 38

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4310/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความร้องทุกข์ในคดีละเมิดลิขสิทธิ์ต้องชัดเจนถึงเจตนาให้ลงโทษ จำเป็นต้องมีคำร้องทุกข์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าเป็นความผิดอันยอมความได้ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 66 พนักงานสอบสวนจะทำการสอบสวนได้ก็ต่อเมื่อมีคำร้องทุกข์ตามระเบียบ แม้ในรายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานระบุไว้ว่า "นาย ศ. อายุ 26 ปี... ได้รับมอบอำนาจจากบริษัท อาร์ เอส ให้แจ้งร้องทุกข์กล่าวโทษ ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์วีซีดีภาพยนตร์... เพื่อดำเนินคดีต่อไป" ก็ไม่ถือว่าเป็นคำร้องทุกข์ โดยถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (7) เพราะมิได้ชัดแจ้งว่าเป็นการแจ้งความโดยเจตนา จะให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษ เป็นเหตุให้การสอบสวนในความผิดฐานนี้ไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 121 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4077/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความร้องทุกข์โดยผู้เสียหายที่ชักจูงให้เกิดความผิด อำนาจฟ้องคดีลิขสิทธิ์ไม่ชอบ
การที่ผู้เสียหายได้ใช้ให้ อ. สั่งให้จำเลยซื้อแผ่นซีดีละเมิดสิขสิทธิ์ของกลางจากตลาดนัดมาให้เพื่อที่จะได้หลักฐานในการกระทำความผิด โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยมีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าด้วยความสมัครใจของตนเองมาก่อนและพร้อมที่จะจัดหาแผ่นซีดีที่ละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าวมาได้ทันที นอกจากนี้เจ้าพนักงานตำรวจก็ไม่ทราบเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายในคดีนี้ และไม่ทราบเรื่องที่ อ. ได้ติดต่อขอซื้อแผ่นซีดีละเมิดลิขสิทธิ์ของกลางจากจำเลยไว้ก่อน แต่เป็นการที่ผู้เสียหายดำเนินการแสวงหาพยานหลักฐานด้วยตนเอง แล้วแจ้งความร้องทุกข์เพื่อนำเจ้าพนักงานตำรวจเข้าจับกุมจำเลย จึงเป็นกรณีที่ผู้เสียหายได้ชักจูงใจหรือก่อให้จำเลยกระทำความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์และไม่อาจถือว่าเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย การแจ้งความร้องทุกข์จึงไม่ใช่การแจ้งความร้องทุกข์ตามกฎหมาย ทำให้การสอบสวนไม่ชอบและโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
of 61