พบผลลัพธ์ทั้งหมด 758 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1599/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีอาญาต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ห้ามใช้ มาตรา 223 ทวิ มาใช้โดยอนุโลม
การใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีอาญาต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ภาค 4 ลักษณะ 1 โดยมาตรา 193 วรรคหนึ่ง ซึ่งได้บัญญัติเรื่องการอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่าให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ กรณีเช่นนี้จึงนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1291/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจนำคดีเข้าสู่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเป็นอำนาจประธานศาลฎีกา ไม่ใช่สิทธิคู่ความ
การจะนำปัญหาใดในคดีเรื่องใดเข้าวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา เป็นอำนาจของประธานศาลฎีกาโดยเฉพาะ ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้สิทธิคู่ความที่จะขอให้นำคดีเข้าพิพากษาโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 290/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดลิขสิทธิ์จากการเสนอขายของละเมิด แม้โจทก์ฟ้องผิดฐาน ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขโทษให้ถูกต้อง
แม้ตามฟ้องของโจทก์ในตอนแรกจะบรรยายว่าจำเลยละเมิดลิขสิทธิ์โดยกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายโดยตรงโดยนำม้วนเทปเพลงจำนวน 20 ม้วน แผ่นเอ็มพีสามจำนวน 2 แผ่น และแผ่นวีซีดีคาราโอเกะจำนวน 209 แผ่น ที่บันทึกภาพและเสียงเพลงอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายออกวางจำหน่ายและเผยแพร่ต่อสาธารณชนก็ตาม แต่ในตอนท้าย โจทก์บรรยายว่าตามวันเวลาที่อ้างว่าจำเลยละเมิดลิขสิทธิ์เจ้าพนักงานจับจำเลยพร้อมยึดได้ม้วนเทปเพลงแผ่นเอ็มพีสาม และแผ่นวีซีดีคาราโอเกะเดียวกันดังกล่าวที่บันทึกภาพและเสียงโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่จำเลยได้เสนอขายแก่บุคคลทั่วไปดังกล่าวข้างต้นเป็นของกลาง การบรรยายฟ้องในตอนท้ายเช่นนี้แสดงให้เห็นว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์โดยกระทำแก่งานที่มีบุคคลอื่นได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายอยู่แล้ว ที่โจทก์บรรยายฟ้องในตอนแรกว่า จำเลยนำม้วนเทปเพลง แผ่นเอ็มพีสาม และแผ่นวีซีดีคาราโอเกะและอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย "ออกวางจำหน่าย" มีความหมายเช่นเดียวกับที่โจทก์บรรยายฟ้องในตอนท้ายว่า จำเลย "เสนอขาย" สิ่งของดังกล่าวที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายแก่บุคคลทั่วไป แต่การนำออกวางจำหน่ายหรือเสนอขายซึ่งสิ่งที่มิได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มิได้บัญญัติให้ถือว่าเป็นความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์แต่อย่างใด คงมีแต่เฉพาะมาตรา 31 (1) ที่บัญญัติให้การเสนอขายซึ่งสิ่งที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเป็นการกระทำอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เท่านั้น ในส่วนที่เกี่ยวกับการเผยแพร่ต่อสาธารณชนโจทก์ก็มิได้บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการกระทำใดของจำเลยที่เป็นการเผยแพร่ต่อสาธารณชนอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายโดยตรงแต่อย่างใด ที่โจทก์บรรยายฟ้องมาดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการบรรยายฟ้องว่าจำเลยละเมิดลิขสิทธิ์โดยกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายโดยตรงอันจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 28 ที่โจทก์บรรยายฟ้องมานั้นเป็นเพียงการบรรยายฟ้องว่าจำเลยละเมิดลิขสิทธิ์โดยกระทำแก่งานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 เท่านั้น ดังนี้ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง จึงถือได้ว่าจำเลยรับข้อเท็จจริงว่า จำเลยได้ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายโดยนำม้วนเทปเพลงจำนวน 20 ม้วน แผ่นเอ็มพีสามจำนวน 2 แผ่น และแผ่นวีซีดีคาราโอเกะจำนวน 209 แผ่น ที่มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายมาเสนอขายแก่บุคคลทั่วไปเพื่อหากำไรและเพื่อการค้า การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (1) แม้ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์จะขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 27, 28 และ 69 ไม่ได้ขอให้ลงโทษตามมาตรา 31 (1) และมาตรา 70 วรรคสอง ก็ตาม แต่ก็เป็นที่เห็นได้ว่าโจทก์อ้างฐานความผิดและบทมาตราผิด ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดและบทมาตราที่ถูกต้องได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบด้วยมาตรา 26 และ ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาว่า จำเลยกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 69 วรรคสอง จำคุก 2 ปี และปรับ 400,000 บาท ก่อนลดโทษให้นั้นจึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 201/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การเพิกถอนทะเบียนเนื่องจากไม่ต่ออายุ และสิทธิที่ดีกว่าของผู้ฟ้อง
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า "HACKETT" ที่ใช้กับสินค้าเสื้อผ้าและใช้เป็นชื่อบริษัทอยู่ก่อน จำเลยนำคำว่า "HACKETT" มายื่นขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าใช้กับสินค้าเสื้อผ้าเช่นเดียวกันโดยไม่สุจริต แม้โจทก์จะยังไม่ได้ส่งสินค้าเสื้อผ้าภายใต้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาจำหน่ายในประเทศไทยก่อนที่จำเลยจะยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โจทก์ก็มีสิทธิในเครื่องหมายการค้า ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นดีกว่าจำเลย
กำหนดระยะเวลาตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 67 เป็นระยะเวลาการฟ้องร้องคดีอันเป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง มิใช่อายุความฟ้องคดี การที่จำเลยให้การว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว ถือได้เท่ากับว่าจำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
เครื่องหมายการค้าคำว่า "HACKETT" ที่จำเลยได้รับการจดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกที่ 38 เดิม เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2534 เป็นการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น มิใช่การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 จึงไม่อาจนำบทบัญญัติมาตรา 67 มาใช้บังคับแก่การฟ้องคดีนี้ของโจทก์ได้ การฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าคดีนี้เป็นการฟ้องโดยอาศัยสิทธิตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41 (1) ซึ่งมิได้กำหนดอายุความไว้ จึงมีอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่เครื่องหมายการค้าคำว่า "HACKETT" ของจำเลยได้รับการจดทะเบียนตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม
จำเลยลืมต่ออายุการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "HACKETT" ต่อนายทะเบียนภายใน 90 วัน ก่อนวันที่ 16 กันยายน 2544 อันเป็นวันสิ้นอายุ 10 ปี นับแต่วันที่จดทะเบียนตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 53 วรรคหนึ่ง และ 54 วรรคหนึ่ง จึงต้องถือว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า "HACKETT" ได้ถูกเพิกถอนการจดทะเบียนแล้วโดยผลของกฎหมายตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 56 ศาลจึงไม่จำต้องพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "HACKETT" ตามคำขอท้ายคำฟ้องของโจทก์อีก ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่าจำเลยมิได้ยื่นคำขอต่ออายุการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "HACKETT" ภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายถือว่าเครื่องหมายการค้านั้นได้ถูกเพิกถอนการจดทะเบียนแล้วตามมาตรา 56 ไม่มีเหตุที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนอีก จึงเป็นการวินิจฉัยในประเด็นที่ว่า ต้องเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวตามคำขอท้ายคำฟ้องของโจทก์หรือไม่ มิใช่การวินิจฉัยเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
กำหนดระยะเวลาตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 67 เป็นระยะเวลาการฟ้องร้องคดีอันเป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง มิใช่อายุความฟ้องคดี การที่จำเลยให้การว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว ถือได้เท่ากับว่าจำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
เครื่องหมายการค้าคำว่า "HACKETT" ที่จำเลยได้รับการจดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกที่ 38 เดิม เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2534 เป็นการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น มิใช่การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 จึงไม่อาจนำบทบัญญัติมาตรา 67 มาใช้บังคับแก่การฟ้องคดีนี้ของโจทก์ได้ การฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าคดีนี้เป็นการฟ้องโดยอาศัยสิทธิตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41 (1) ซึ่งมิได้กำหนดอายุความไว้ จึงมีอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่เครื่องหมายการค้าคำว่า "HACKETT" ของจำเลยได้รับการจดทะเบียนตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม
จำเลยลืมต่ออายุการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "HACKETT" ต่อนายทะเบียนภายใน 90 วัน ก่อนวันที่ 16 กันยายน 2544 อันเป็นวันสิ้นอายุ 10 ปี นับแต่วันที่จดทะเบียนตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 53 วรรคหนึ่ง และ 54 วรรคหนึ่ง จึงต้องถือว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า "HACKETT" ได้ถูกเพิกถอนการจดทะเบียนแล้วโดยผลของกฎหมายตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 56 ศาลจึงไม่จำต้องพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "HACKETT" ตามคำขอท้ายคำฟ้องของโจทก์อีก ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่าจำเลยมิได้ยื่นคำขอต่ออายุการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "HACKETT" ภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายถือว่าเครื่องหมายการค้านั้นได้ถูกเพิกถอนการจดทะเบียนแล้วตามมาตรา 56 ไม่มีเหตุที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนอีก จึงเป็นการวินิจฉัยในประเด็นที่ว่า ต้องเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวตามคำขอท้ายคำฟ้องของโจทก์หรือไม่ มิใช่การวินิจฉัยเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 201/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเนื่องจากผู้ฟ้องมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่า และการขาดอายุความฟ้อง
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า "HACKETT" ในประเทศอังกฤษ โดยใช้กับเสื้อผ้ามาตั้งแต่ปี 2526 และโฆษณาอย่างต่อเนื่องแพร่หลายไปทั่วโลก จำเลยซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายเสื้อผ้าใช้คำว่า "HACKETT" เป็นเครื่องหมายการค้า ไม่ปรากฏว่าจำเลยคิดคำว่า "HACKETT" ขึ้นมาเองหรือทีมงานออกแบบสินค้าเสื้อผ้าจำเลยได้คำนี้มาอย่างไร จึงไม่มีเหตุผลและน้ำหนักให้รับฟังว่าจำเลยได้นำคำว่า "HACKETT" มายื่นขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าโดยสุจริตและโดยบังเอิญไปเหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ประกอบกับจำเลยได้มีโอกาสได้สำรวจตลาดค้าขายเสื้อผ้าในต่างประเทศและได้พบเห็นสินค้าเสื้อผ้าภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า "HACKETT" ของโจทก์ในประเทศอังกฤษและได้ใช้คำว่า "HACKETT" กับธงชาติอังกฤษมาติดกับสินค้าเสื้อยืดที่จำเลยผลิตออกจำหน่าย ดังนี้ การยื่นเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลย จึงเป็นการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยไม่สุจริต แม้โจทก์จะยังไม่ได้ส่งสินค้าเสื้อผ้าภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า "HACKETT" ของโจทก์มาจำหน่ายในประเทศไทยก่อนที่จำเลยจะยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว โจทก์ก็มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "HACKETT" ที่ได้รับการจดทะเบียนไว้กับสินค้าจำพวกที่ 38 เดิม ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ได้แก่ เสื้อยืด เสื้อเชิ้ต เสื้อกีฬา กางเกงขาสั้น และกางเกงกีฬา ดีกว่าจำเลยผู้ซึ่งได้รับการจดทะเบียน
การฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นการฟ้องโดยอาศัยสิทธิตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41 (1) ซึ่งมิได้กำหนดอายุความไว้ จึงมีอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่เครื่องหมายการค้าคำว่า "HACKETT" ของจำเลยได้รับการจดทะเบียน เมื่อเครื่องหมายการค้าคำว่า "HACKETT" ของจำเลยได้รับการจดทะเบียนเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2534 โจทก์จึงต้องฟ้องคดีนี้ภายในวันที่ 16 กันยายน 2544 ปรากฏว่าวันที่ 16 กันยายน 2544 เป็นวันอาทิตย์อันเป็นวันหยุดราชการ ดังนี้ ที่โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2544 ซึ่งเป็นวันเปิดทำการจึงเป็นการฟ้องคดีภายในกำหนดอายุความ 10 ปี คดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ แต่เมื่อจำเลยลืมต่ออายุการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "HACKETT" ต่อนายทะเบียนภายใน 90 วันก่อนวันที่ 16 กันยายน 2544 อันเป็นวันสิ้นอายุ 10 ปี นับแต่วันที่จดทะเบียนตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 53 วรรคหนึ่ง และ 54 วรรคหนึ่ง จึงต้องถือว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า "HACKETT" ได้ถูกเพิกถอนการจดทะเบียนแล้วโดยผลของกฎหมาย ทั้งนี้ ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 56
การฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นการฟ้องโดยอาศัยสิทธิตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41 (1) ซึ่งมิได้กำหนดอายุความไว้ จึงมีอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่เครื่องหมายการค้าคำว่า "HACKETT" ของจำเลยได้รับการจดทะเบียน เมื่อเครื่องหมายการค้าคำว่า "HACKETT" ของจำเลยได้รับการจดทะเบียนเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2534 โจทก์จึงต้องฟ้องคดีนี้ภายในวันที่ 16 กันยายน 2544 ปรากฏว่าวันที่ 16 กันยายน 2544 เป็นวันอาทิตย์อันเป็นวันหยุดราชการ ดังนี้ ที่โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2544 ซึ่งเป็นวันเปิดทำการจึงเป็นการฟ้องคดีภายในกำหนดอายุความ 10 ปี คดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ แต่เมื่อจำเลยลืมต่ออายุการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "HACKETT" ต่อนายทะเบียนภายใน 90 วันก่อนวันที่ 16 กันยายน 2544 อันเป็นวันสิ้นอายุ 10 ปี นับแต่วันที่จดทะเบียนตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 53 วรรคหนึ่ง และ 54 วรรคหนึ่ง จึงต้องถือว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า "HACKETT" ได้ถูกเพิกถอนการจดทะเบียนแล้วโดยผลของกฎหมาย ทั้งนี้ ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 56
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 98/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาทรัสต์รีซีทต่อเนื่องจาก L/C ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญ หนี้เดิมไม่ระงับ ผู้ค้ำประกันต้องรับผิด
การที่โจทก์เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตให้จำเลยที่ 1 ตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและชำระเงินค่าสินค้าแก่ผู้ขายไปแล้ว เมื่อสินค้าขนส่งมาถึงประเทศไทย จำเลยที่ 1 ยังไม่สามารถชำระเงินค่าสินค้าที่โจทก์ชำระแทนไปก่อนได้ทันที จำเลยที่ 1 จึงขอทำสัญญาทรัสต์รีซีทกับโจทก์ด้วยการขอรับสินค้าไปก่อนแล้วจะชำระราคาภายในวันที่กำหนดไว้ ซึ่งสินค้าตามสัญญาทรัสต์รีซีทดังกล่าวก็คือสินค้าที่ขอให้โจทก์ชำระเงินแทนตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตนั่นเอง สัญญาทรัสต์รีซีทจึงเป็นเรื่องที่คู่สัญญาตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตทำความตกลงกันในรายละเอียดเกี่ยวกับการชำระหนี้ที่เกิดขึ้นแล้วตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต อันถือว่าสัญญาทรัสต์รีซีทเป็นสัญญาที่ทำต่อเนื่องจากคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต หาใช่เป็นเรื่องที่คู่สัญญามีเจตนาจะก่อหนี้ขึ้นใหม่หรือเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญในมูลหนี้เดิมแต่อย่างใด คงเป็นมูลหนี้ในประเภทและจำนวนเดียวกัน มูลหนี้ตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตจึงไม่ระงับไปเพราะการแปลงหนี้ใหม่ จำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในมูลหนี้ค่าซื้อสินค้าที่โจทก์ชำระแทนจำเลยที่ 1 ไปตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและต่อมาทำสัญญาทรัสต์รีซีทไว้ ในฐานะที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 88/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์: ต้องปฏิบัติตามก่อนแล้วค่อยโต้แย้งด้วยการฎีกาหลังมีคำพิพากษา
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่จะต้องใช้แทนโจทก์มาวางศาลภายใน 15 วันนับแต่วันรับหมายนั้น เป็นคำสั่งที่ศาลชั้นต้นปฏิบัติตามคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 7 จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 หากจำเลยเห็นว่าคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 7 ดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร จำเลยชอบที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 7 โดยนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาวางศาลภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดก่อน แล้วใช้สิทธิโต้แย้งคำสั่งดังกล่าวไว้เพื่อการใช้สิทธิฎีกาในภายหลังเมื่อได้อ่านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 แล้ว การที่จำเลยฎีกาคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 7 ในทันทีในขณะที่ยังถือว่าคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12213/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.ยาเสพติด: ความแตกต่างระหว่างมาตรา 29 และ 30, สิทธิในการขอคืนทรัพย์สิน
ในการดำเนินคดีตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 นั้น มีอยู่ 2 กรณี คือ การร้องขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินตามมาตรา 29 ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามมาตรา 27 และการร้องขอให้ริบบรรดาเครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะ เครื่องจักรกล หรือทรัพย์สินอื่นใดที่ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิด หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตามมาตรา 30 ซึ่งกระบวนการการร้องขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินทั้งสองกรณีกฎหมายบัญญัติไว้แตกต่างกันโดยแยกต่างหากจากกัน ทั้งขั้นตอนการร้องขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินหรือร้องขอคืนทรัพย์สินตามมาตรา 29 และ 30 ก็มีความแตกต่างกันคือ การร้องขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินตามมาตรา 29 จะต้องมีการปิดประกาศไว้ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และที่สถานีตำรวจท้องที่ที่มีการยึดหรืออายัดทรัพย์สินอย่างน้อยเจ็ดวันและให้ประกาศอย่างน้อยสองวันติดต่อกันในหนังสือพิมพ์ที่มีแพร่หลายในท้องถิ่น ส่วนการร้องขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินตามมาตรา 30 นั้น ไม่ต้องมีการปิดประกาศในที่ใด ๆ แต่ต้องมีการประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันที่มีจำหน่ายแพร่หลายในท้องถิ่นอย่างน้อยสองวันติดต่อกัน นอกจากนี้การขอคืนทรัพย์สินตามมาตรา 29 นั้น ผู้เป็นเจ้าของสามารถร้องขอคืนได้ก่อนคดีถึงที่สุดและแสดงให้ศาลเห็นว่า
"(1) ตนเป็นเจ้าของที่แท้จริง และทรัพย์สินนั้นไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหรือ
(2) ตนเป็นผู้รับโอนหรือผู้รับประโยชน์ และได้ทรัพย์สินนั้นมาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน หรือได้มาตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี หรือในทางกุศลสาธารณ"
ส่วนการร้องขอคืนทรัพย์สินตามมาตรา 30 ผู้เป็นเจ้าของจะต้องยื่นคำร้องขอเข้ามาก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง และศาลจะสั่งริบได้เมื่อปรากฏว่าเจ้าของไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าตนไม่มีโอกาสทราบหรือไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการกระทำความผิด และจะมีการนำทรัพย์สินดังกล่าวไปใช้ในการกระทำความผิด คดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า จำเลยทั้งสองได้ใช้รถยนต์กระบะของกลางเป็นยานพาหนะบรรทุกขนส่งและซื้อขายยาเสพติดให้โทษจึงขอให้ริบรถยนต์กระบะพร้อมกุญแจรถยนต์ จำนวน 2 ชุด ของกลางตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30, 31 การร้องขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินในคดีนี้จึงเป็นการร้องขอตามมาตรา 30 ดังนั้น กระบวนการที่ศาลจะต้องไต่สวนและมีคำสั่ง จึงต้องดำเนินกระบวนพิจารณาตามมาตรา 30 หาใช่มาตรา 29
พยานหลักฐานของผู้คัดค้านไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่า ผู้คัดค้านเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์กระบะพร้อมกุญแจรถจำนวน 2 ชุด ของกลาง ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิขอคืนของกลาง และไม่จำต้องวินิจฉัยต่อไปว่าผู้คัดค้านไม่มีโอกาสทราบหรือไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการกระทำความผิด และจะมีการนำทรัพย์สินดังกล่าวไปใช้ในการกระทำความผิดอีกต่อไปหรือไม่
"(1) ตนเป็นเจ้าของที่แท้จริง และทรัพย์สินนั้นไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหรือ
(2) ตนเป็นผู้รับโอนหรือผู้รับประโยชน์ และได้ทรัพย์สินนั้นมาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน หรือได้มาตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี หรือในทางกุศลสาธารณ"
ส่วนการร้องขอคืนทรัพย์สินตามมาตรา 30 ผู้เป็นเจ้าของจะต้องยื่นคำร้องขอเข้ามาก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง และศาลจะสั่งริบได้เมื่อปรากฏว่าเจ้าของไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าตนไม่มีโอกาสทราบหรือไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการกระทำความผิด และจะมีการนำทรัพย์สินดังกล่าวไปใช้ในการกระทำความผิด คดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า จำเลยทั้งสองได้ใช้รถยนต์กระบะของกลางเป็นยานพาหนะบรรทุกขนส่งและซื้อขายยาเสพติดให้โทษจึงขอให้ริบรถยนต์กระบะพร้อมกุญแจรถยนต์ จำนวน 2 ชุด ของกลางตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30, 31 การร้องขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินในคดีนี้จึงเป็นการร้องขอตามมาตรา 30 ดังนั้น กระบวนการที่ศาลจะต้องไต่สวนและมีคำสั่ง จึงต้องดำเนินกระบวนพิจารณาตามมาตรา 30 หาใช่มาตรา 29
พยานหลักฐานของผู้คัดค้านไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่า ผู้คัดค้านเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์กระบะพร้อมกุญแจรถจำนวน 2 ชุด ของกลาง ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิขอคืนของกลาง และไม่จำต้องวินิจฉัยต่อไปว่าผู้คัดค้านไม่มีโอกาสทราบหรือไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการกระทำความผิด และจะมีการนำทรัพย์สินดังกล่าวไปใช้ในการกระทำความผิดอีกต่อไปหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12055/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำร้องทุกข์ระงับสิทธิฟ้องอาญาได้ แม้ถอนต่อพนักงานสอบสวน ศาลจำหน่ายคดีได้ชอบ
การถอนคำร้องทุกข์เป็นสิทธิของผู้เสียหาย เมื่อได้มีการถอนคำร้องทุกข์แล้ว สิทธินำคดีอาญาความผิดอันยอมความได้นั้นมาฟ้องผู้กระทำผิดย่อมเป็นอันระงับไปตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ฯ มาตรา 38 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ซึ่งการขอถอนคำร้องทุกข์จะกระทำต่อพนักงานสอบสวน หรือพนักงานอัยการ หรือศาลก็ได้ แม้คดีจะอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลแล้ว เพราะไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดกำหนดให้ต้องถอนคำร้องทุกข์ต่อศาลเท่านั้น เมื่อคดีนี้ได้มีการถอนคำร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนแล้ว สิทธิในการนำคดีมาฟ้องจำเลยย่อมเป็นอันระงับไป และศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางชอบที่จะมีคำสั่งจำหน่ายคดี ส่วนการที่ผู้ร้องทั้งห้ายื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวน และเพิกถอนคำสั่งอนุญาตถอนฟ้องและคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ และยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่นั้น แม้ผู้ร้องทั้งห้าจะอ้างว่า ส. ไม่ได้รับมอบอำนาจช่วงให้ทำการถอนคำร้องทุกข์คดีนี้ หรือได้แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อกล่าวโทษ ส. ในข้อหาแจ้งความเท็จ และนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ แต่ข้ออ้างของผู้ร้องทั้งห้าขัดกับหลักฐานที่ปรากฏต่อศาล จึงไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งจำหน่ายคดี ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางชอบที่จะมีคำสั่งยกคำร้องขอให้ไต่สวนของผู้ร้องทั้งห้ามานั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12013/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแย้งโดยชอบด้วยกฎหมายและการนับระยะเวลาการยื่นคำให้การแก้ฟ้อง
จำเลยยื่นคำร้องขอส่งและปิดหมายเรียกและสำเนาคำให้การและฟ้องแย้งให้ทนายโจทก์ ศาลจึงมีคำสั่งให้ส่งสำเนาและหมายเรียกโจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้ง โดยส่งแก่ทนายโจทก์แทนตามที่ขอ ซึ่งกรณีนี้ไม่ใช่การส่งคำคู่ความตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ฯ มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 83 ทวิ และมาตรา 83 ฉ แต่เป็นกรณีของการส่งคำคู่ความให้แก่ทนายความที่คู่ความแต่งตั้งให้ว่าคดีตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ฯ มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 75 ซึ่งถือว่าเป็นการส่งโดยชอบด้วยกฎหมาย และการส่งสำเนาคำให้การและฟ้องแย้งให้แก่ทนายโจทก์โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ มีผลเสมือนว่าเจ้าพนักงานศาลเป็นผู้ส่งตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ฯ มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 73 ทวิ เมื่อ พ. ซึ่งอายุเกิน 20 ปี และอยู่บ้านหรือสำนักงานเดียวกันกับทนายโจทก์ได้รับสำเนาคำให้การและฟ้องแย้งดังกล่าวแทนทนายโจทก์เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2546 ย่อมถือได้ว่ามีการส่งสำเนาคำให้การและฟ้องแย้งให้แก่โจทก์โดยชอบแล้วตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ฯ มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 76 วรรคหนึ่ง และโจทก์อาจยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้งได้ภายใน 15 วัน นับแต่วันดังกล่าวตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ฯ มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 178 วรรคหนึ่ง ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 30 กันยายน 2546 การที่โจทก์ยื่นคำให้การวันที่ 29 ตุลาคม 2546 จึงเกินกำหนด 15 วัน ตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับคำให้การแก้ฟ้องแย้งของโจทก์ได้