พบผลลัพธ์ทั้งหมด 758 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7770/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาอนุญาตช่วงเครื่องหมายการค้าเป็นโมฆะ หากสัญญาหลักยังมิได้จดทะเบียนตามกฎหมาย ผู้รับอนุญาตช่วงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
ขณะที่จำเลยทำสัญญาอนุญาตช่วงให้โจทก์ใช้สิทธิในเครื่องหมายบริการที่ได้จดทะเบียนแล้วของบริษัท ค. จำเลยกับบริษัท ค. ยังมิได้นำหนังสือสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายบริการที่ได้จดทะเบียนแล้วระหว่างจำเลยผู้รับอนุญาตกับบริษัท ค. ผู้อนุญาต ไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 80 ประกอบด้วยมาตรา 68 วรรคสอง จึงเป็นการมิได้ทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้ สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิดังกล่าวย่อมเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 152 จำเลยจึงยังไม่มีสิทธิตามสัญญาดังกล่าวที่จะนำเครื่องหมายบริการที่ได้จดทะเบียนแล้วของบริษัท ค. ไปอนุญาตช่วงให้โจทก์ใช้สิทธิในเครื่องหมายบริการนั้นได้
โจทก์ทราบดีว่าสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายบริการที่ได้จดทะเบียนแล้วต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า ดังนั้น ก่อนที่โจทก์จะเข้าทำสัญญาอนุญาตช่วงให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายบริการที่ได้จดทะเบียนแล้วของบริษัท ค. กับจำเลย โจทก์ย่อมสามารถตรวจสอบทางทะเบียนได้ว่าผู้อนุญาตกับจำเลยได้ทำสัญญาอนุญาตเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าแล้วหรือไม่ แต่โจทก์ก็มิได้ทำการตรวจสอบ โจทก์กลับเข้าทำสัญญากับจำเลยและชำระค่าสิทธิจำนวน 200,000 บาท ให้แก่จำเลยไป การกระทำของโจทก์ถือได้ว่าเป็นการกระทำตามอำเภอใจเหมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ แม้จำเลยจะรับชำระค่าสิทธินั้นไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ แต่โจทก์ก็ไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนค่าสิทธิดังกล่าว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 407
โจทก์ทราบดีว่าสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายบริการที่ได้จดทะเบียนแล้วต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า ดังนั้น ก่อนที่โจทก์จะเข้าทำสัญญาอนุญาตช่วงให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายบริการที่ได้จดทะเบียนแล้วของบริษัท ค. กับจำเลย โจทก์ย่อมสามารถตรวจสอบทางทะเบียนได้ว่าผู้อนุญาตกับจำเลยได้ทำสัญญาอนุญาตเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าแล้วหรือไม่ แต่โจทก์ก็มิได้ทำการตรวจสอบ โจทก์กลับเข้าทำสัญญากับจำเลยและชำระค่าสิทธิจำนวน 200,000 บาท ให้แก่จำเลยไป การกระทำของโจทก์ถือได้ว่าเป็นการกระทำตามอำเภอใจเหมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ แม้จำเลยจะรับชำระค่าสิทธินั้นไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ แต่โจทก์ก็ไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนค่าสิทธิดังกล่าว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 407
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7342/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องขอรอการลงโทษ ต้องกระทำโดยการยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เท่านั้น
การขอให้ศาลฎีกาลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษ เป็นการขอให้ศาลฎีกาเปลี่ยนแปลงผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จำเลยจะต้องทำเป็นคำฟ้องฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เข้ามา เมื่อจำเลยไม่ได้ยื่นฎีกาแต่ทำมาเป็นเพียงคำแก้ฎีกา จึงเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7342/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอให้ศาลฎีกาลงโทษเบา ลดโทษ หรือรอการลงโทษ ต้องยื่นเป็นฎีกาคัดค้าน ไม่ใช่คำแก้ฎีกา
การขอให้ศาลฎีกาลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษ เป็นการขอให้ศาลฎีกาเปลี่ยนแปลงผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จำเลยจะต้องทำเป็นคำฟ้องฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เข้ามา เมื่อจำเลยไม่ได้ยื่นฎีกาแต่ทำมาเป็นเพียงคำแก้ฎีกาจึงเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7128/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจโจทก์ร่วม: ผู้ตายประมาทเอง ไม่มีสิทธิเรียกร้องความเสียหาย โจทก์ร่วมไม่มีอำนาจฟ้อง
แม้จำเลยจะขับรถจักรยานยนต์โดยประมาท ชนรถจักรยานยนต์ของผู้ตายเป็นเหตุให้ผู้ตายตกจากรถ ศีรษะฟาดพื้นและถึงแก่ความตาย แต่เหตุรถชนกันเกิดขึ้นก็เพราะผู้ตายซึ่งเป็นภรรยาโจทก์ร่วมมีส่วนกระทำโดยประมาท ผู้ตายจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย โจทก์ร่วมซึ่งเป็นสามีย่อมไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในความผิดฐานดังกล่าว และไม่มีสิทธิอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่รอการลงโทษ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมข้อนี้และพิพากษาจำคุกจำเลยมาจึงไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7084/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแข่งรถโดยประมาทและริบรถ ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาเรื่องการริบรถ และยืนโทษเดิม
การที่จำเลยร่วมกับพวกขับรถจักรยานยนต์แข่งกันประมาณ 400 คัน ด้วยความคึกคะนองและด้วยความเร็วสูง แซงซ้ายแซงขวา โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่นนั้น นอกจากจะก่อความเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนผู้อยู่ในละแวกใกล้เคียงกับถนนที่จำเลยกับพวกขับรถแข่งกันแล้ว ยังอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ใช้รถใช้ถนนรายอื่นอีกด้วย ตามพฤติการณ์เป็นเรื่องร้ายแรง ขณะกระทำความผิดจำเลยอายุ 20 ปี สมควรมีความรู้สึกผิดชอบชั่วดีแล้ว ไม่มีเหตุรอการลงโทษจำคุกให้จำเลย
ความผิดฐานขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือนร้อนของผู้อื่นและแข่งรถในทางโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษจำเลยตาม ป.อ. ตาม 90
ความผิดฐานขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือนร้อนของผู้อื่นและแข่งรถในทางโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษจำเลยตาม ป.อ. ตาม 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7004/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจอดรถกีดขวางการจราจร – การพิพากษาโทษ – การนับโทษ – การรับสารภาพ
จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 จอดรถบรรทุกพ่วงอยู่ชิดขอบทางด้านซ้ายโดยล้อหน้าอยู่บนไหล่ทาง และมีบางส่วนของตัวรถอยู่บนผิวช่องเดินรถ ซึ่งตรงกันข้ามกับคำฟ้องของโจทก์ที่บรรยายว่า จำเลยที่ 1 จอดรถบรรทุกพ่วงไว้กลางช่องเดินรถในลักษณะล้ำเข้ามาในช่องเดินรถอย่างมาก โดยไม่ชิดขอบถนนด้านซ้ายนั้น เป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นฎีกา ทั้งขัดกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 1 จึงมิใช่ข้อที่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
คดีนี้จำเลยที่ 1 กระทำโดยประมาทด้วยการจอดรถในลักษณะกีดขวางจราจรโดยไม่ให้สัญญาณไฟใด ๆ ให้ผู้อื่นเห็นว่ามีรถจอดอยู่ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์ชนท้ายรถที่จำเลยที่ 1 จอดไว้แล้วจำเลยที่ 1 หลบหนีไป มิใช่จำเลยที่ 1 ขับรถโดยประมาทหรือขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นแล้วไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือตามสมควร และไม่ไปแสดงตนและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที แม้จำเลยที่ 1 จะให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก ฯ มาตรา 43, 78, 157, 160 ได้ ที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ตามบทบัญญัติดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ข้อเท็จจริงที่ว่า จำเลยที่ 2 ในคดีนี้เป็นจำเลยคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาของศาลชั้นต้น เป็นข้อเท็จจริงต่างหากจากข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดในคดีนี้ และเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์มีหน้าที่นำสืบให้ปรากฏ แต่คดีนี้จำเลยที่ 2 เพียงให้การรับสารภาพตามฟ้องเท่านั้น จำเลยที่ 2 มิได้ให้การรับด้วยว่าจำเลยเป็นคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาที่โจทก์อ้างมาในฟ้อง และแม้คดีนี้เมื่อจำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพ ศาลจะสามารถพิพากษาคดีไปได้โดยที่โจทก์ไม่ต้องนำสืบพยานก็ตาม แต่หากโจทก์เห็นว่าคดีของโจทก์ยังมีข้อบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใดอยู่ โจทก์ก็สามารถนำพยานหลักฐานของตนเข้าสืบได้เพื่อให้คดีสมบูรณ์ เมื่อโจทก์ไม่สืบพยาน ข้อเท็จจริงจึงไม่อาจฟังเป็นยุติว่า จำเลยที่ 2 ในคดีนี้เป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์อ้างมาในฟ้อง จะนับโทษจำเลยที่ 2 ในคดีนี้ต่อจากโทษในคดีดังกล่าวหาได้ไม่ ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คดีนี้จำเลยที่ 1 กระทำโดยประมาทด้วยการจอดรถในลักษณะกีดขวางจราจรโดยไม่ให้สัญญาณไฟใด ๆ ให้ผู้อื่นเห็นว่ามีรถจอดอยู่ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์ชนท้ายรถที่จำเลยที่ 1 จอดไว้แล้วจำเลยที่ 1 หลบหนีไป มิใช่จำเลยที่ 1 ขับรถโดยประมาทหรือขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นแล้วไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือตามสมควร และไม่ไปแสดงตนและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที แม้จำเลยที่ 1 จะให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก ฯ มาตรา 43, 78, 157, 160 ได้ ที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ตามบทบัญญัติดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ข้อเท็จจริงที่ว่า จำเลยที่ 2 ในคดีนี้เป็นจำเลยคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาของศาลชั้นต้น เป็นข้อเท็จจริงต่างหากจากข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดในคดีนี้ และเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์มีหน้าที่นำสืบให้ปรากฏ แต่คดีนี้จำเลยที่ 2 เพียงให้การรับสารภาพตามฟ้องเท่านั้น จำเลยที่ 2 มิได้ให้การรับด้วยว่าจำเลยเป็นคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาที่โจทก์อ้างมาในฟ้อง และแม้คดีนี้เมื่อจำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพ ศาลจะสามารถพิพากษาคดีไปได้โดยที่โจทก์ไม่ต้องนำสืบพยานก็ตาม แต่หากโจทก์เห็นว่าคดีของโจทก์ยังมีข้อบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใดอยู่ โจทก์ก็สามารถนำพยานหลักฐานของตนเข้าสืบได้เพื่อให้คดีสมบูรณ์ เมื่อโจทก์ไม่สืบพยาน ข้อเท็จจริงจึงไม่อาจฟังเป็นยุติว่า จำเลยที่ 2 ในคดีนี้เป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์อ้างมาในฟ้อง จะนับโทษจำเลยที่ 2 ในคดีนี้ต่อจากโทษในคดีดังกล่าวหาได้ไม่ ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6519/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาจากการทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส แม้ไม่มีเจตนา
ความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสตาม ป.อ. มาตรา 297 เป็นเหตุที่ทำให้ผู้กระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามมาตรา 295 ต้องรับโทษหนักขึ้นเพราะผลที่เกิดจากการกระทำโดยที่ผู้กระทำไม่จำต้องมีเจตนาต่อผลที่ทำให้ต้องรับโทษหนักขึ้น ดังนั้น เมื่อจำเลยใช้ท่อนไม้ขว้างปาผู้เสียหายถูกบริเวณศีรษะทำให้ผู้เสียหายตกรถจักรยานยนต์ได้รับบาดเจ็บ แม้จำเลยไม่มีเจตนาให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส คงมีเจตนาทำร้ายร่างกายผู้เสียหายก็ตาม จำเลยก็ต้องรับผิดในผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำของจำเลยที่ทำร้ายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสตาม ป.อ. มาตรา 297 (8)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6519/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส แม้ไม่มีเจตนาโดยตรง ก็ต้องรับผิดตามกฎหมาย
ความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสตาม ป.อ. มาตรา 297 เป็นเหตุที่ทำให้ผู้กระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามมาตรา 295 ต้องรับโทษหนักขึ้นเพราะผลที่เกิดจากการกระทำโดยที่ผู้กระทำไม่จำต้องมีเจตนาต่อผลที่ทำให้ต้องรับโทษหนักขึ้น ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยใช้ท่อนไม้ขว้างปาผู้เสียหายถูกบริเวณศีรษะทำให้ผู้เสียหายตกรถจักรยานยนต์ได้รับบาดเจ็บ แม้จำเลยไม่มีเจตนาให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส คงมีเจตนาทำร้ายร่างกายผู้เสียหายก็ตาม จำเลยก็ต้องรับผิดในผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำของจำเลยที่ทำร้ายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสตาม ป.อ. มาตรา 297 (8)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6454/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินจากคดียาเสพติด: ต้องมีหลักฐานการกระทำความผิดฐาน 'มีไว้เพื่อจำหน่าย' เท่านั้น จึงจะริบได้
ตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 3 ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หมายความว่า การผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติด และให้หมายความรวมถึงการสมคบ สนับสนุน ช่วยเหลือ หรือพยายามกระทำความผิดดังกล่าวด้วย และมาตรา 30 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า บรรดาเครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะ เครื่องจักรกล หรือทรัพย์สินอื่นใดที่ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหรือใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิด หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดให้ริบเสียทั้งสิ้น ไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นและให้ลงโทษ จำเลยทั้งสองฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองและเสพเมทแอมเฟตามีนโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายโดยยกฟ้องในข้อหาร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายการกระทำของจำเลยทั้งสองจึงมิได้อยู่ในความหมายของคำว่า ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ ในอันที่จะขอให้ริบรถยนต์กระบะของกลาง ตามมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4959/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษคดีทำร้ายร่างกายและพาอาวุธ การแก้ไขโทษปรับที่ไม่สามารถกักขังแทนค่าปรับได้
ในความผิดฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษปรับจำเลยเป็นเงิน 50 บาท แต่ ป.อ. มาตรา 30 บัญญัติว่า ในการกักขังแทนค่าปรับให้ถืออัตรา 200 บาทต่อหนึ่งวัน ฉะนั้น การบังคับค่าปรับจึงกักขังแทนค่าปรับไม่ได้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่า ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29, 30 นั้น เป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องโดยแก้เป็นว่า "...ปรับ 50 บาท หากจำเลยไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29 แต่ประการเดียว..."