คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พิชิต คำแฝง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 758 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2879/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท: การทำร้ายร่างกายผู้เสียหายหลายคนพร้อมกัน
จำเลยที่ 2 กับพวกร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายทั้งสองในขณะเดียวกันโดยไม่ได้แบ่งแยกว่าใครเป็นใคร ลักษณะของเจตนาในการกระทำความผิดเป็นอันเดียวกัน แม้จะมีการกระทำต่อผู้เสียหายสองคนด้วยกัน ก็อยู่ภายในเจตนาอันเดียวกันนั้น การกระทำของจำเลยที่ 2 กับพวก จึงเป็นความผิดกรรมเดียว หาใช่สองกรรมไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2821/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: การโต้แย้งข้อเท็จจริงและการวินิจฉัยดุลพินิจของศาลอุทธรณ์เกี่ยวกับสิทธิผู้ต้องหาและการรับฟังพยานหลักฐาน
ในการวินิจฉัยฎีกาของจำเลยว่า การกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 237 และมาตรา 241 หรือไม่นั้น ศาลฎีกาจำต้องย้อนไปวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า ขณะที่เจ้าพนักงานตำรวจจับกุม จำเลยไม่ได้รับโอกาสแจ้งให้ญาติหรือผู้ซึ่งจำเลยไว้วางใจทราบในโอกาสแรกหรือไม่ และขณะที่พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนจำเลยไม่ได้รับสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งจำเลยไว้วางใจเข้าฟังการสอบสวนด้วยหรือไม่ ฎีกาของจำเลยจึงมีลักษณะเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานที่ศาลอุทธรณ์ฟังมา เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยยกขึ้นอ้าง เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 3 ปี 4 เดือน และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ฎีกาของจำเลยจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2821/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง เนื่องจากเป็นการโต้แย้งดุลพินิจศาลอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
การวินิจฉัยฎีกาของจำเลยว่า การกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 237 และมาตรา 241 หรือไม่ ศาลฎีกาจำต้องย้อนไปวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า ขณะที่เจ้าพนักงานตำรวจจับกุม จำเลยไม่ได้รับโอกาสแจ้งให้ญาติหรือผู้ซึ่งจำเลยไว้วางใจทราบในโอกาสแรกหรือไม่ และขณะที่พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนจำเลยไม่ได้รับสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งจำเลยไว้วางใจเข้าฟังการสอบสวนด้วยหรือไม่ ฎีกาของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยยกขึ้นอ้างเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 3 ปี 4 เดือนและศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2766/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดหลายกรรม: รับของโจรกับฉ้อโกงโดยใช้เอกสารปลอมเป็นคนละกรรมกัน
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองแยกเป็น 3 ข้อ คือ ก,ขและค การกระทำตามที่บรรยายฟ้องมาแต่ละข้อเป็นความผิดสำเร็จในตัวเอง สำหรับความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรตามฟ้องข้อ กและข นั้น จำเลยทั้งสองรับสารภาพฐานรับของโจรความผิดฐานรับของโจรสำเร็จเมื่อจำเลยทั้งสองรับเอาบัตรเครดิตของธนาคาร ย. ซึ่งออกให้แก่ ด. ไว้ โดยจำเลยทั้งสองรู้อยู่แล้วว่าบัตรเครดิตดังกล่าวได้มาจากการลักทรัพย์ โจทก์ฟ้องในข้อ ค.ว่าหลังจากกระทำความผิดตามฟ้องข้อกและขแล้วจำเลยทั้งสองได้นำบัตรเครดิตของธนาคาร ย. ซึ่งออกให้แก่ ด. ไปซื้อสินค้าที่ร้าน ซ. โดยร่วมกันหลอกลวงพนักงานขายว่าจำเลยที่ 1 ชื่อ ด. จำเลยทั้งสองได้ชำระราคาสินค้าด้วยบัตรเครดิตดังกล่าว โดยจำเลยที่ 1 ปลอมลายมือชื่อของ ด. ลงในเอกสารสิทธิบันทึกการขายในช่องลายมือชื่อผู้ถือบัตรแล้วจำเลยทั้งสองร่วมกันส่งมอบบันทึกการขายดังกล่าวแก่พนักงานขายของร้าน ซ. การกระทำของจำเลยทั้งสองตามฟ้องข้อ ค. เป็นคนละวาระกันกับการกระทำความผิดฐานรับของโจรทั้งทรัพย์ที่ได้จากการกระทำความผิดก็แตกต่างกัน กล่าวคือทรัพย์ที่ได้จากการกระทำความผิดฐานรับของโจรเป็นบัตรเครดิต ส่วนทรัพย์ที่ได้จากการกระทำความผิดในฟ้องข้อ ค เป็นสินค้าที่จำเลยทั้งสองซื้อจากร้าน ซ. คือ โทรทัศน์สีและเครื่องเล่นวีดีโอเทปฉะนั้น การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดหลายกรรม หาใช่กรรมเดียวไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1551/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาบวกโทษจำคุกที่รอการลงโทษ: การตีความ 'วัน' ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/4
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/4 นั้น บัญญัติว่า ในบางคดีความ ในทางราชการ หรือทางธุรกิจการค้าและอุตสาหกรรม วัน หมายความว่า เวลาทำการตามปีที่ได้กำหนดขึ้นโดยกฎหมาย คำสั่งศาล หรือระเบียบข้อบังคับ หรือเวลาทำการตามปกติของกิจการนั้น แล้วแต่กรณี หมายถึง ในการต้องติดต่อราชการเช่นการฟ้องคดี การยื่นคำร้อง คำขอ ต่อศาล ก็ต้องทำภายในเวลา 16.30 นาฬิกา หรือธุรกรรมในทางธุรกิจการค้าและอุตสาหกรรมพึงต้องทำในวันเวลาทำการตามปกติที่กำหนดไว้ของกิจการนั้น เช่นเดียวกัน แต่การนับระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นรอการลงโทษให้แก่จำเลยจนถึงวันที่จำเลยกระทำความผิดในคดีนี้ เพื่อนำโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หาใช่เป็นการติดต่อ ราชการตามนัยมาตรา 193/4 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ การนับระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ 20 มีนาคม 2542 จะต้องครบ 1 ปี ในวันที่ 20 มีนาคม 2543 เวลา 24 นาฬิกา อันเป็นการนับวันเวลาตามปกตินั่นเอง ศาลบวก โทษจำคุกในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1551/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาโทษรอการลงโทษและการบวกโทษคดีอาญา: เกณฑ์เวลาที่ถูกต้องและการปรับบทกฎหมาย
การนับระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นรอการลงโทษให้แก่จำเลยจนถึงวันที่จำเลยกระทำความผิดในคดีหลัง เพื่อนำโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษในคดีหลังตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 หาใช่เป็นการติดต่อราชการตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/4 ไม่ การนับระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ 20 มีนาคม 2542 จะต้องไปครบ 1 ปี ในวันที่ 20 มีนาคม 2543 เวลา 24 นาฬิกาอันเป็นการนับวันเวลาตามปกตินั่นเอง จำเลยกระทำผิดในวันที่ 20มีนาคม 2543 เวลา19.45 นาฬิกา จึงบวกโทษจำคุกในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลังได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1295/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คไม่สมบูรณ์ - ผู้ลงลายมือชื่อไม่จำเป็นต้องผิด - เหตุไม่มีข้อมูลสำคัญครบถ้วน
ว. นำเช็คพิพาทที่มีจำเลยเพียงแต่ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายไว้ โดยมิได้กรอกข้อความทั้งวันเดือนปีที่สั่งจ่าย ชื่อผู้รับเงินและจำนวนเงิน ไปมอบให้แก่ผู้เสียหายเพื่อชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์ เมื่อขณะที่จำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาท ยังไม่มีรายการวันที่ออกเช็คอันเป็นวันกระทำความผิด คำสั่งให้ใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอน และชื่อผู้รับเงินซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 988(2)(4) และ (6) บังคับให้ต้องมีรายการเหล่านี้ เช็คพิพาทจึงเป็นเช็คที่ไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 910 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 989 วรรคหนึ่ง จำเลยผู้ออกเช็คย่อมไม่มีความผิดทางอาญา อันจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯมาตรา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 647/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม – การบังคับคดี – ไม่ขายทรัพย์สินรวม – ราคาต่ำเกินสมควร
อุทธรณ์ของผู้ร้องมีอยู่ 2 ประเด็น คือ เจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้บังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษารวมกันไปทั้งหมด เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 309 วรรคสอง และเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินในราคาต่ำเกินสมควร เป็นการกระทำไม่สุจริตตามมาตรา 296 วรรคสอง ประกอบมาตรา 309 ทวิวรรคสอง ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 7 รับวินิจฉัยให้เฉพาะประเด็นที่สอง โดยรับฟังไม่ได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย คำวินิจฉัยดังกล่าวจึงเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 309 ทวิ วรรคสี่ ฉะนั้น การที่ผู้ร้องฎีกาว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีทำการบังคับคดีฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 309 วรรคสอง จึงมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7 ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 493/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนขายทรัพย์สินของผู้เช่า: สิทธิของโจทก์ต้องอาศัยความเป็นตัวแทนเชิดที่พิสูจน์ได้
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ที่ดินพร้อมตึกแถวพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 แต่โจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินและตึกแถวดังกล่าวกับ อ. ในระหว่างอายุสัญญาเช่า จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินและตึกแถวพิพาทให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 โจทก์จึงฟ้องจำเลยทั้งสามให้เพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินและตึกแถวพิพาท แต่มิได้บรรยายข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 ได้รู้เห็นยินยอมเชิดให้ อ. เป็นผู้ทำสัญญาเช่าแทน เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ก็ไม่เคยมอบอำนาจให้ อ. ทำสัญญาเช่ากับโจทก์ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์ แต่โจทก์ไม่ได้ให้การตั้งประเด็นเรื่องตัวแทนเชิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 821 ไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำสืบว่าจำเลยที่ 1 รู้เห็นยินยอมเชิดให้ อ. ทำสัญญาเช่าแทนตนได้ ฉะนั้น จำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวพิพาทจึงชอบที่จะโอนขายทรัพย์สินดังกล่าวได้ ในเมื่อโจทก์ไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินและตึกแถวพิพาทให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 493/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทรัพย์สินของผู้เช่า: สิทธิของผู้เช่าเมื่อเจ้าของขายทรัพย์สินระหว่างสัญญาเช่า
ที่ดินพร้อมตึกแถวเป็นของจำเลยที่ 1 แต่โจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินและตึกแถวกับอ. ในระหว่างอายุสัญญาเช่าจำเลยที่ 1 ขายที่ดินและตึกแถวให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 โจทก์จึงฟ้องจำเลยทั้งสามให้เพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินและตึกแถว แต่ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ได้รู้เห็นยินยอมเชิดให้ อ. เป็นผู้ทำสัญญาเช่าแทน เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่เคยมอบอำนาจให้ อ. ทำสัญญาเช่ากับโจทก์และโจทก์ไม่ได้ให้การตั้งประเด็นเรื่องตัวแทนเชิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821 ไว้ โจทก์จึงไม่สามารถนำสืบว่าจำเลยที่ 1 รู้เห็นยินยอมเชิดให้ อ. ทำสัญญาเช่าแทนตน ฉะนั้นจำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวชอบที่จะขายทรัพย์สินดังกล่าวได้เมื่อโจทก์ไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 ขายที่ดินและตึกแถวให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์
of 76