พบผลลัพธ์ทั้งหมด 758 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3035/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาขนส่ง, สัญญาต่างตอบแทน, ค่าเสียหายจากการเลิกสัญญาที่ไม่ชอบ, และประเด็นนอกฟ้อง
แม้คำให้การจะถือว่าเป็นคำคู่ความเช่นเดียวกับคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(5) แต่การพิจารณาว่าคำให้การที่จำเลยยื่นต่อศาลเป็นคำให้การที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ต้องพิจารณาตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(4) และ มาตรา 177 กฎหมายไม่ได้บัญญัติว่าในกรณีที่จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้คดีเอง แต่มอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินคดีแทนจำเลยจะต้องบรรยายไว้ในคำให้การด้วยว่ามอบอำนาจให้ผู้ใดดำเนินคดีแทนและต้องแสดงหลักฐานการมอบอำนาจมาพร้อมกับคำให้การด้วย เมื่อจำเลยทำคำให้การเป็นหนังสือและยื่นต่อศาลภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ และในคำให้การจำเลยได้ปฏิเสธข้ออ้างตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งหมดโดยแสดงเหตุแห่งการปฏิเสธโดยชัดแจ้งเมื่อจำเลยเป็นนิติบุคคลซึ่งต้องมีผู้กระทำการแทนและตามใบแต่งทนายความของจำเลยระบุว่าผู้แต่งทนายความคือ "บริษัท น. โดย ร. ผู้รับมอบอำนาจจำเลย" ขอแต่งตั้งให้ว. เป็นทนายความและลงลายมือชื่อ ร. ในช่องผู้แต่งทนายความ ถือว่าจำเลยได้มอบอำนาจให้ ร. ดำเนินคดีแทนจำเลยและต่อมาจำเลยยื่นคำแถลงขอยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมและยื่นสำเนาเอกสาร จำเลยก็ได้ส่งสำเนาภาพถ่ายหนังสือมอบอำนาจซึ่งรับรองสำเนาถูกต้อง ร. จึงมีอำนาจลงลายมือชื่อเป็นผู้แต่งตั้ง ว. เป็นทนายความแทนจำเลย ว. ในฐานะทนายความจึงมีอำนาจทำคำให้การและลงชื่อในคำให้การยื่นต่อศาลได้
สัญญารับจ้างขนส่งระหว่างโจทก์กับจำเลยระบุไว้ชัดแจ้งว่า "สัญญานี้มีกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2540 จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2541 แต่ถ้าผู้ว่าจ้างเห็นสมควร ผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญานี้ได้โดยทำเป็นหนังสือหรือจดหมายลงทะเบียนไปรษณีย์ตอบรับบอกกล่าวให้ผู้รับจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน" ดังนั้นสัญญานี้ย่อมเลิกกันเมื่อถึงวันที่ 31 มีนาคม 2541 โดยจำเลยไม่ต้องบอกเลิกสัญญาให้โจทก์ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน กรณีที่จำเลยต้องแจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้าเป็นกรณีที่สัญญายังไม่สิ้นสุดแต่จำเลยเห็นสมควรเลิกสัญญาก็มีสิทธิเลิกสัญญาได้โดยต้องแจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน แม้จำเลยได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาก่อนสัญญานี้สิ้นสุดลงโดยให้มีผลเป็นการเลิกสัญญาตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2541ซึ่งเป็นการบอกเลิกสัญญาที่ไม่ชอบ ก็มีผลเพียงไม่ทำให้สัญญาสิ้นสุดลงในวันที่ 1 มีนาคม2541 การที่โจทก์มีหนังสือทักท้วงการบอกเลิกสัญญาดังกล่าวและจำเลยมีหนังสือยินยอมให้โจทก์มีสิทธิขนส่งน้ำมันให้จำเลยต่อไปจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2541 อันเป็นระยะเวลาสิ้นสุดของสัญญา จึงไม่ใช่เป็นการบอกเลิกสัญญา แต่เป็นการแสดงเจตนายืนยันว่าจำเลยจะไม่ทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ต่อไปอีกเมื่อสัญญาสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว
โจทก์มิได้ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในเรื่องค่าเสียหาย หรือคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบอย่างไร คงฎีกาเพียงแต่ให้ศาลฎีกาพิจารณากำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ตามฟ้อง จึงเป็นฎีกาที่เคลือบคลุมไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
สัญญารับจ้างขนส่งระหว่างโจทก์กับจำเลยระบุไว้ชัดแจ้งว่า "สัญญานี้มีกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2540 จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2541 แต่ถ้าผู้ว่าจ้างเห็นสมควร ผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญานี้ได้โดยทำเป็นหนังสือหรือจดหมายลงทะเบียนไปรษณีย์ตอบรับบอกกล่าวให้ผู้รับจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน" ดังนั้นสัญญานี้ย่อมเลิกกันเมื่อถึงวันที่ 31 มีนาคม 2541 โดยจำเลยไม่ต้องบอกเลิกสัญญาให้โจทก์ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน กรณีที่จำเลยต้องแจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้าเป็นกรณีที่สัญญายังไม่สิ้นสุดแต่จำเลยเห็นสมควรเลิกสัญญาก็มีสิทธิเลิกสัญญาได้โดยต้องแจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน แม้จำเลยได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาก่อนสัญญานี้สิ้นสุดลงโดยให้มีผลเป็นการเลิกสัญญาตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2541ซึ่งเป็นการบอกเลิกสัญญาที่ไม่ชอบ ก็มีผลเพียงไม่ทำให้สัญญาสิ้นสุดลงในวันที่ 1 มีนาคม2541 การที่โจทก์มีหนังสือทักท้วงการบอกเลิกสัญญาดังกล่าวและจำเลยมีหนังสือยินยอมให้โจทก์มีสิทธิขนส่งน้ำมันให้จำเลยต่อไปจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2541 อันเป็นระยะเวลาสิ้นสุดของสัญญา จึงไม่ใช่เป็นการบอกเลิกสัญญา แต่เป็นการแสดงเจตนายืนยันว่าจำเลยจะไม่ทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ต่อไปอีกเมื่อสัญญาสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว
โจทก์มิได้ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในเรื่องค่าเสียหาย หรือคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบอย่างไร คงฎีกาเพียงแต่ให้ศาลฎีกาพิจารณากำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ตามฟ้อง จึงเป็นฎีกาที่เคลือบคลุมไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2989/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายทำให้ผู้เสียหายตกเป็นผู้กระทำผิด จึงขาดอำนาจฟ้องคดีเช็ค
จำเลยกู้เงินจากผู้เสียหายเพียง 50,000 บาท แต่ในสัญญากู้เงินระบุว่าจำเลยกู้ไป 60,000 บาท แสดงว่าเงิน 10,000 บาท ที่เกินมาคือดอกเบี้ยที่ผู้เสียหายคิดจากจำเลย ปรากฏว่าในสัญญากำหนดเวลาใช้เงินกู้คืนภายใน 1 เดือน จึงเท่ากับเป็นการคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 20 ต่อเดือน เกินกว่าอัตราตามกฎหมาย ย่อมเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3(ก) การที่ผู้เสียหายรับเช็คพิพาทจากจำเลยเพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมซึ่งมีดอกเบี้ยที่ผู้เสียหายเรียกเกินอัตราตามกฎหมายรวมอยู่ด้วย ถือว่าผู้เสียหายเป็นผู้กระทำผิดในส่วนของดอกเบี้ยที่คิดเกินอัตรา แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คดังกล่าวก็จะถือว่าผู้เสียหายเป็นผู้เสียหายไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)
แม้ผู้เสียหายที่เป็นผู้กระทำผิดจะร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนและพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 ก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่ามีการร้องทุกข์และสอบสวนโดยชอบตามกฎหมายแล้ว พนักงานอัยการโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120 และ 121
แม้ผู้เสียหายที่เป็นผู้กระทำผิดจะร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนและพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 ก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่ามีการร้องทุกข์และสอบสวนโดยชอบตามกฎหมายแล้ว พนักงานอัยการโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120 และ 121
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2924/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: ประเด็นสัญญาเช่าที่มิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลล่าง
เมื่อตามคำฟ้องและคำให้การไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าหรือไม่ และวินิจฉัยว่าฟังไม่ได้ว่ามีข้อตกลงตามที่โจทก์อ้าง กรณีจึงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าที่ทำไว้กับโจทก์เพราะทำผิดข้อตกลงดังกล่าว เท่ากับศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยผิดสัญญาเช่าเพราะทำผิดข้อตกลงตามที่โจทก์อ้างหรือไม่ จึงเป็นการกำหนดประเด็นข้อพิพาทนอกเหนือจากคำฟ้องและคำให้การ คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่ชอบ ไม่อาจถือว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นข้อที่ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น เมื่อโจทก์ยกปัญหานี้ขึ้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอีกว่ากรณีรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าที่ทำไว้ต่อโจทก์ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้จึงไม่ชอบ การที่โจทก์ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นฎีกาอีกจึงเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2924/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาเช่า – การตัดกระแสไฟฟ้า – พยานหลักฐาน – ความรับผิดทางละเมิด
ตามคำฟ้องโจทก์มิได้อ้างว่า จำเลยผิดสัญญาเช่าเพราะไม่ขับไล่แม่ค้าหาบเร่แผงลอยออกไปจากหน้าอาคารที่โจทก์เช่าจากจำเลยแต่อย่างใด โจทก์บรรยายแต่เพียงว่าจำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อที่ได้ตกลงกันไว้ก่อนทำสัญญาว่าจำเลยจะต้องขับไล่แม่ค้าหาบเร่แผงลอยที่ตั้งปิดหน้าอาคารที่เช่า ทำให้เกิดความไม่สวยงามและกีดขวางทางเข้าออก โจทก์ขอให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลง ซึ่งจำเลยไม่ปฏิบัติเท่านั้นโดยโจทก์หาได้บรรยายว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเช่า หากจำเลยปฏิบัติผิดข้อตกลงดังกล่าวถือว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าและต้องรับผิดต่อโจทก์อย่างไรแต่โจทก์กลับบรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์โดยตัดกระแสไฟฟ้าในอาคารที่โจทก์เช่าจากจำเลย ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างไรบ้าง เป็นเงินเท่าไรและคำขอท้ายฟ้องโจทก์ก็ขอให้บังคับจำเลยชำระค่าเสียหายอันเกิดจากการทำละเมิดดังกล่าว มิได้เรียกค่าเสียหายอันเกิดจากการที่จำเลยผิดสัญญาเช่าแต่อย่างใดทั้งคำให้การจำเลยก็ปฏิเสธว่ามิได้มีข้อตกลงดังโจทก์อ้าง ดังนั้น ตามคำฟ้องและคำให้การจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวจึงเป็นการกำหนดประเด็นข้อพิพาทนอกเหนือไปจากคำฟ้องและคำให้การ คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่ชอบ ไม่อาจถือว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นข้อที่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น และเมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวให้จึงไม่ชอบเช่นกัน ฉะนั้นการที่โจทก์ยกปัญหาว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าขึ้นฎีกาอีก จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2716/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษและรอการลงโทษในคดีอาญา: การพิจารณาโทษซ้ำซ้อนและการไม่รอการลงโทษ
คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในระหว่างที่คดีอาญาอีกคดีหนึ่งของจำเลยยังไม่ถึงที่สุด จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.อ. มาตรา 92 ที่จะเพิ่มโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2716/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษและรอการลงโทษในคดีอาญา: ผลของคดีที่ยังไม่ถึงที่สุดและการพิจารณาพฤติการณ์จำเลย
คดีอาญาเรื่องก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2542 ให้จำคุกจำเลย 1 ปี จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2543 ได้อ่านคำพิพากษาดังกล่าวให้จำเลยฟังเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2543 จึงครบกำหนดยื่นฎีกาวันที่ 11 สิงหาคม 2543 ในระหว่างยื่นฎีกา จำเลยยื่นคำร้องขยายระยะเวลาฎีกา แต่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต จำเลยได้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์คำสั่งและส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2543 ในขณะนั้นยังไม่แน่นอนว่าศาลอุทธรณ์จะขยายระยะเวลายื่นฎีกาให้จำเลยหรือไม่และหากศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกา และรับฎีกาจำเลยไว้พิจารณาแล้วคดีก็อยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกายังไม่ถึงที่สุด เมื่อคดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2543 ในระหว่างที่คดีอาญายังไม่ถึงที่สุด จึงไม่เข้าเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 ซึ่งจะเพิ่มโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2548/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าจากการใช้สิ่งของอันตรายทุ่มจากที่สูง
จำเลยใช้ก้อนหินซึ่งถึงแม้จะไม่ใช่อาวุธโดยสภาพ แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าเป็นก้อนหินที่มีน้ำหนักถึง 1 กิโลกรัมเศษ และครึ่งกิโลกรัมจำนวนหลายก้อนทุ่มมาจากที่สูงลงมาในหมู่คนจำนวนมากที่อยู่ในพื้นที่จำกัดเช่นเรือที่เกิดเหตุเช่นนี้ จำเลยหรือบุคคลผู้อยู่ในฐานะเช่นเดียวกับจำเลยย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นได้ว่าก้อนหินอาจจะไปถูกที่ศีรษะซึ่งเป็นอวัยวะที่สำคัญเป็นผลทำให้ถึงตายได้ แต่จำเลยก็หาได้ใยดีต่อผลที่จะเกิดขึ้นไม่ จึงถือว่าจำเลย มีเจตนาฆ่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2076/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการเพิ่มลดโทษตามกฎหมายอาญา และการแก้ไขโทษของจำเลยร่วม
การเพิ่มโทษอีกหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 นั้น จะต้องกำหนดโทษที่จะลงเสียก่อนแล้วจึงเพิ่มโทษ หลังจากนั้นจึงจะลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 54
คดีนี้ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาฯ พิพากษาเพียงลงโทษปรับสถานเดียว จึงไม่อาจเพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 ได้ และปัญหานี้เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีจึงมีผลถึงจำเลยอื่นที่มิได้อุทธรณ์ด้วย
คดีนี้ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาฯ พิพากษาเพียงลงโทษปรับสถานเดียว จึงไม่อาจเพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 ได้ และปัญหานี้เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีจึงมีผลถึงจำเลยอื่นที่มิได้อุทธรณ์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2076/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษตามมาตรา 92 ต้องกำหนดโทษจำคุกก่อน หากลงโทษปรับสถานเดียวแล้วไม่อาจเพิ่มโทษได้
การเพิ่มโทษอีกหนึ่งในสามตาม ป.อ.มาตรา 92 นั้น จะต้องกำหนดโทษที่จะลงเสียก่อนแล้วจึงเพิ่มโทษ หลังจากนั้นจึงจะลดโทษตาม ป.อ.มาตรา 54
คดีนี้ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาฯ พิพากษาเพียงลงโทษปรับสถานเดียว จึงไม่อาจเพิ่มโทษตาม ป.อ.มาตรา 92 ได้ และปัญหานี้เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีจึงมีผลถึงจำเลยอื่นที่มิได้อุทธรณ์ด้วย
คดีนี้ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาฯ พิพากษาเพียงลงโทษปรับสถานเดียว จึงไม่อาจเพิ่มโทษตาม ป.อ.มาตรา 92 ได้ และปัญหานี้เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีจึงมีผลถึงจำเลยอื่นที่มิได้อุทธรณ์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1998/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมียาเสพติดและอาวุธปืน การลงโทษกระทงความผิด และเหตุรอการลงโทษ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิด 2 กระทง เมื่อศาลลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายไปแล้วก็ควรจะลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตให้เป็นอย่างเดียวกันไม่ควรรอการลงโทษให้จำเลยเพราะจะเป็นการลักลั่นไม่เหมาะสมที่กระทงหนึ่งลงโทษจำคุก แต่อีกกระทงหนึ่งรอการลงโทษ