พบผลลัพธ์ทั้งหมด 166 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 634/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีใหม่หลังคำพิพากษาเดิมถึงที่สุดจากการขยายเวลาอุทธรณ์
ศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ เพราะคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจและมีคำสั่งขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้โจทก์ไปจนถึงวันที่ 28 ตุลาคม 2543 แต่โจทก์มิได้ยื่นอุทธรณ์ตามที่ได้รับอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ จึงต้องถือว่าคำพิพากษาถึงที่สุดในวันครบกำหนดระยะเวลาขยายอุทธรณ์คือ วันที่ 28 ตุลาคม 2543 โจทก์ย่อมมีสิทธินำคดีมาฟ้องที่ศาลชั้นต้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ 28 ตุลาคม 2543 เป็นต้นไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง โจทก์ฟ้องคดีนี้ในวันที่ 26 ธันวาคม 2543 ยังไม่พ้นกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 487/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ/ฟ้องซ้อน: สัญญาขายลดเช็ค - มูลหนี้/จำเลยต่างกัน ไม่ขัดประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ก่อนที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โจทก์ได้ฟ้อง ว. ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้ง 128 ฉบับ ที่ศาลแพ่งธนบุรี 2 คดี ซึ่งคดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาให้ ว. ชำระเงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ยให้โจทก์ และโจทก์ฟ้องบริษัท น. ที่ศาลจังหวัดสมุทรปราการ 2 คดี ซึ่งศาลจังหวัดสมุทรปราการพิพากษาให้บริษัท น. ชำระเงินตามฟ้องโจทก์ คดีถึงที่สุด ส่วนคดีของศาลจังหวัดสมุทรปราการจำเลยอุทธรณ์ คดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 คดีทั้งสี่สำนวนดังกล่าวจำเลยผู้สั่งจ่ายยังไม่ได้ชำระเงินตามคำพิพากษาให้โจทก์ ดังนั้น โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีนี้และโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามคดีนี้ให้รับผิดตามสัญญาขายลดเช็ค ส่วนคดีเดิมทั้งสี่สำนวนโจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาท แม้การฟ้องคดีนี้กับคดีเดิมเป็นการฟ้องเกี่ยวกับเช็คพิพาทชุดเดียวกันแต่มูลหนี้คดีนี้เป็นคนละมูลหนี้กับคดีเดิมและสภาพแห่งข้อหาต่างกันทั้งจำเลยก็เป็นคนละคนกัน กรณีมิใช่คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันและมิใช่เป็นการยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือต่อศาลอื่นอันต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 วรรคหนึ่ง และมาตรา 173 วรรคสอง (1) จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำและฟ้องซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 487/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ/ซ้อน & ดอกเบี้ยผิดนัด: สัญญาขายลดเช็ค, มูลหนี้ต่างกัน, อัตราดอกเบี้ยตามสัญญา
ก่อนที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ โจทก์ได้ฟ้องผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้ง 128 ฉบับ คือ ว. ที่ศาลแพ่งธนบุรี 2 คดี ซึ่งคดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาให้ ว. ชำระเงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ยให้โจทก์ และโจทก์ฟ้องบริษัท น. จำกัด ที่ศาลจังหวัดสมุทรปราการ 2 คดี เช่นกัน ซึ่งศาลจังหวัดสมุทรปราการพิพากษาให้บริษัท น. จำกัด ชำระเงินตามฟ้องให้โจทก์ตามเอกสารหมาย จ.21 และ จ.22 คดีตามเอกสารหมาย จ.21 ถึงที่สุด ส่วนคดีตามเอกสารหมาย จ.22 จำเลยอุทธรณ์ คดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 และปรากฏข้อเท็จจริงว่า คดีทั้งสี่สำนวนดังกล่าวจำเลยผู้สั่งจ่ายยังไม่ได้ชำระเงินตามคำพิพากษาให้โจทก์ ดังนั้น โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีนี้ และโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามคดีนี้ให้รับผิดตามสัญญาขายลดเช็ค ส่วนคดีเดิมทั้งสี่สำนวนโจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานนะผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาท แม้การฟ้องคดีนี้กับคดีเดิมเป็นการฟ้องเกี่ยวกับเช็คพิพาทชุดเดียวกัน แต่มูลหนี้คดีนี้เป็นคนละมูลหนี้กับคดีนี้เดิมและสภาพแห่งข้อหาต่างกัน ทั้งจำเลยก็เป็นคนละคนกัน กรณีมิใช่คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันและมิใช่เป็นการยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือต่อศาลอื่นอันต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 วรรคหนึ่ง และมาตรา 173 วรรคสอง (1) ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำและฟ้องซ้อนกับคดีที่โจทก์ฟ้องผู้สั่งจ่ายเช็คไว้ที่ศาลอื่น
ตามสัญญาขายลดตั๋วเงินพิพาททุกฉบับ กำหนดว่าในกรณีผู้ขายผิดนัดธนาคารโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของอัตราสินเชื่อผิดนัดที่ธนาคารโจทก์ได้ประกาศให้เรียกเก็บจากลูกหนี้สินเชื่อผิดนัดในขณะนั้น ขณะทำสัญญาธนาคารโจทก์กำหนดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัดร้อยละ 18 ต่อปี สัญญาดังกล่าวเป็นไปตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของธนาคารโจทก์ ซึ่งทำให้สิทธิโจทก์กำหนดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัดไม่เกินร้อยละ 18 ต่อปี ทั้งสัญญาขายลดตั๋วเงินดังกล่าวไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงมีผลบังคับใช้ไม่เป็นโมฆะ
ตามสัญญาขายลดตั๋วเงินพิพาททุกฉบับ กำหนดว่าในกรณีผู้ขายผิดนัดธนาคารโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของอัตราสินเชื่อผิดนัดที่ธนาคารโจทก์ได้ประกาศให้เรียกเก็บจากลูกหนี้สินเชื่อผิดนัดในขณะนั้น ขณะทำสัญญาธนาคารโจทก์กำหนดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัดร้อยละ 18 ต่อปี สัญญาดังกล่าวเป็นไปตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของธนาคารโจทก์ ซึ่งทำให้สิทธิโจทก์กำหนดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัดไม่เกินร้อยละ 18 ต่อปี ทั้งสัญญาขายลดตั๋วเงินดังกล่าวไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงมีผลบังคับใช้ไม่เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 428/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา การฎีกาคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 2 ที่ยืนตามคำปฏิเสธ
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งปฏิเสธไม่รับอุทธรณ์ของผู้ร้องที่อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำขอออกหมายเรียก โดยเห็นว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1), (2) และผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง ต้องห้ามมิให้ฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9378/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทุเลาการบังคับและการขยายระยะเวลาวางเงินค่าเสียหาย คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ถือเป็นที่สุด
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 เกี่ยวกับเรื่องการขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าเสียหายตามเงื่อนไขที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 อนุญาตให้ทุเลาการบังคับไว้ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 เป็นเรื่องต่อเนื่องกับการทุเลาการบังคับ ซึ่งเป็นอำนาจโดยเฉพาะของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 231 เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลาวางเงินค่าเสียหายที่ต้องชำระให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 นั้นต่อมา และถือว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ชั้นขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าเสียหายดังกล่าวเป็นที่สุดแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคหนึ่ง โจทก์ย่อมมีสิทธิบังคับคดีได้ และไม่มีประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่ฎีกาชั้นนี้ว่า การออกคำบังคับของศาลชั้นต้นเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ขอให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าเสียหาย และกำหนดระยะเวลาให้จำเลยนำเงินประกันความเสียหายตามคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 1 มาวางต่อศาลชั้นต้นใหม่ เพราะไม่ว่าศาลฎีกาวินิจฉัยฎีกาของจำเลยอย่างไรก็ไม่อาจกระทบถึงคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ซึ่งเป็นที่สุดแล้วดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8999/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนขายที่ดินก่อนถูกยึดทรัพย์: นิติกรรมไม่ฉ้อฉล เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิเพิกถอน
จำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด น. โอนการครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของจำเลยที่ 1 ให้แก่ ค. ตั้งแต่วันทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท ต่อมา ค. ได้โอนการครอบครองให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรตั้งแต่ปี 2523 จำเลยที่ 2 จึงได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทก่อนที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด น. จะได้รับแจ้งการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกรมสรรพากรโจทก์เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2542 จึงเป็นการกระทำโดยสุจริต ส่วนการที่จำเลยที่ 1 เพิ่งจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ภายหลังก็เพียงเพื่อมีชื่อผู้เป็นเจ้าของถูกต้องตามทะเบียน นิติกรรมที่จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 จึงไม่ได้เกิดจากการฉ้อฉล โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7429/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: การร้องทุกข์แทนผู้เสียหายโดยไม่มีตราสำคัญของผู้เสียหาย
ปัญหาเรื่องผู้เสียหายร้องทุกข์โดยชอบหรือไม่เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 4 ในบันทึกคำให้การของผู้ร้องทุกข์ ซึ่งเป็นคำร้องทุกข์มีข้อความระบุอย่างชัดแจ้งว่า พ. ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของผู้เสียหาย มิใช่ในฐานะส่วนตัว การร้องทุกข์แทนผู้เสียหายซึ่งเป็นนิติบุคคลจะต้องทำให้ถูกต้องตามข้อบังคับของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนไว้ ตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลของผู้เสียหายระบุว่า พ. เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแต่เพียงผู้เดียวและไม่มีข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการว่าหากจะกระทำแทนผู้เสียหายจะต้องใช้ตราสำคัญของผู้เสียหายประทับด้วย ดังนั้น พ. จึงมีอำนาจดำเนินการหรือร้องทุกข์แทนผู้เสียหายได้โดยไม่จำต้องใช้ตราสำคัญของผู้เสียหายประทับลงในช่องลายมือชื่อผู้กล่าวหาในบันทึกคำให้การของผู้ร้องทุกจ์ด้วย ถือได้ว่า พ. ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนแทนผู้เสียหายโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วพนักงานสอบสวนย่อมมีอำนาจสอบสวนและพนักงานอัยการโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6437/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งกรรมสิทธิ์รวม: สิทธิครอบครองจากการเข้าทำประโยชน์, อายุความ, และการสันนิษฐานเรื่องส่วนแบ่ง
การฟ้องขอแบ่งทรัพย์ที่มีกรรมสิทธิ์รวมอยู่ด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1363 ไม่มีอายุความ ตามมาตรา 1363 วรรคสอง เป็นเรื่องผู้มีกรรมสิทธิ์รวมจะทำนิติกรรมห้ามแบ่งกรรมสิทธิ์รวมได้คราวละไม่เกินสิบปี มิใช่เป็นอายุความ
โจทก์ ฮ. และจำเลยที่ 1 ได้ตกลงรังวัดที่ดินมือเปล่ายังไม่มีหลักฐานหนังสือสำคัญเพื่อแบ่งกรรมสิทธิ์รวมไว้ โจทก์ได้ที่ดินเป็นที่พิพาท โจทก์ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินเป็นสัดส่วนตลอดมา การแบ่งแยกเจ้าของรวมจึงไม่อาจจดทะเบียนแบ่งแยกต่อเจ้าพนักงานที่ดินได้ ถือว่าโจทก์ยึดถือที่ดินส่วนที่เข้าครอบครองเพื่อตน โจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367 แม้ต่อมาทางราชการจะออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) และโฉนดที่ดินมีชื่อโจทก์ จำเลยที่ 1 และ ฮ. ถือกรรมสิทธิ์รวม โดยไม่ได้ระบุว่ามีส่วนคนละเท่าใดและตาม ป.พ.พ. มาตรา 1357 ให้สันนิษฐานว่าผู้เป็นเจ้าของรวมกันมีส่วนเท่ากันก็เป็นเพียงข้อสันนิษฐานของกฎหมายในกรณีที่ไม่ปรากฏชัดว่าเจ้าของรวมแต่ละคนมีส่วนเท่าใด โจทก์ย่อมมีกรรมสิทธิ์ตามสัดส่วนที่ครอบครอง จำเลยที่ 1 จะอ้างว่าเจ้าของรวมยังคงมีส่วนเท่ากันหาได้ไม่
โจทก์ ฮ. และจำเลยที่ 1 ได้ตกลงรังวัดที่ดินมือเปล่ายังไม่มีหลักฐานหนังสือสำคัญเพื่อแบ่งกรรมสิทธิ์รวมไว้ โจทก์ได้ที่ดินเป็นที่พิพาท โจทก์ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินเป็นสัดส่วนตลอดมา การแบ่งแยกเจ้าของรวมจึงไม่อาจจดทะเบียนแบ่งแยกต่อเจ้าพนักงานที่ดินได้ ถือว่าโจทก์ยึดถือที่ดินส่วนที่เข้าครอบครองเพื่อตน โจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367 แม้ต่อมาทางราชการจะออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) และโฉนดที่ดินมีชื่อโจทก์ จำเลยที่ 1 และ ฮ. ถือกรรมสิทธิ์รวม โดยไม่ได้ระบุว่ามีส่วนคนละเท่าใดและตาม ป.พ.พ. มาตรา 1357 ให้สันนิษฐานว่าผู้เป็นเจ้าของรวมกันมีส่วนเท่ากันก็เป็นเพียงข้อสันนิษฐานของกฎหมายในกรณีที่ไม่ปรากฏชัดว่าเจ้าของรวมแต่ละคนมีส่วนเท่าใด โจทก์ย่อมมีกรรมสิทธิ์ตามสัดส่วนที่ครอบครอง จำเลยที่ 1 จะอ้างว่าเจ้าของรวมยังคงมีส่วนเท่ากันหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6437/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิกรรมสิทธิ์รวมและการครอบครองประโยชน์ใช้สอย การแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ตามข้อตกลงก่อนมีหลักฐานหนังสือ
โจทก์บรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดแล้วว่าจำเลยที่ 1 บุรกรุกเข้าไปแย่งทำนาในที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ตามแผนที่โดยประมาณท้ายฟ้องมีเนื้อที่ประมาณ 4 ไร่ ซึ่งแผนที่ท้ายฟ้องเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องและได้ระบุบริเวณที่อ้างว่าจำเลยที่ 1 บุกรุกไว้อย่างชัดเจนพอให้จำเลยที่ 1 เข้าใจข้อหาและต่อสู้คดีได้ ฟ้องของโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์ที่โจทก์มีกรรมสิทธิ์รวมอยู่ด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1363 ซึ่งการฟ้องเช่นนี้มีอายุความ ส่วนมาตรา 1363 วรรคสอง นั้น เป็นเรื่องผู้มีกรรมสิทธิ์รวมจะทำนิติกรรมห้ามแบ่งกรรมสิทธิ์รวมได้คราวละไม่เกินสิบปี มิใช่อายุความ คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์ที่โจทก์มีกรรมสิทธิ์รวมอยู่ด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1363 ซึ่งการฟ้องเช่นนี้มีอายุความ ส่วนมาตรา 1363 วรรคสอง นั้น เป็นเรื่องผู้มีกรรมสิทธิ์รวมจะทำนิติกรรมห้ามแบ่งกรรมสิทธิ์รวมได้คราวละไม่เกินสิบปี มิใช่อายุความ คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5902/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การขัดแย้งและประเด็นข้อพิพาทใหม่ในชั้นอุทธรณ์ ศาลมีอำนาจยกอุทธรณ์ได้ตามกฎหมาย
โจทกฟ้องว่าจำเลยทำสัญญาเช่าห้องแถวพิพาทจากโจทก์ ต่อมาโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าห้องแถวพิพาทอีกต่อไป จึงบอกเลิกสัญญาและให้จำเลยกับบริวารขนย้ายทรัพย์สินออกจากห้องแถวพิพาท ตอนแรกจำเลยให้การว่าจำเลยซื้อห้องแถวพิพาทจาก ซ.ในราคา 38,000 บาท จำเลยได้รับมอบการครอบครองมาแล้ว แต่ในตอนต่อมาจำเลยกลับให้การว่าจำเลยทำสัญญาเช่าห้องแถวพิพากจาก ส. มารดาโจทก์ ซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาจึงเป็นคำให้การที่ขัดแย้งกันเองเป็นคำให้การที่ยืนยันในข้อเท็จจริงหลายทางไม่ชัดแจ้งว่าข้อเท็จจริงที่ให้การนั้นไปทางหนึ่งทางใด ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง แต่คำให้การจำเลยเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยสิ้นเชิง คดีคงมีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยทำสัญญาเช่าห้องแถวพิพาทจากโจทก์หรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าห้องแถวเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์หรือจำเลยและวินิจฉัยตามนั้น จึงเป็นการไม่ชอบและถือว่าประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวเป็นขึ้นที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจยกอุทธรณ์ของจำเลยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และ 242 (1)