พบผลลัพธ์ทั้งหมด 166 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8172/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญากู้เงิน – การเริ่มต้นนับอายุความ – เหตุสะดุดอายุความ – การพิสูจน์หลักฐาน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินรวม 4 ฉบับ จำเลยให้การต่อสู้ว่า สัญญากู้ตามฟ้องไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้นับแต่วันทำสัญญากู้แต่ละฉบับ โจทก์นำคดีมาฟ้องเกินกว่า 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ ซึ่งภาระการพิสูจน์ในประเด็นข้อนี้ตกแก่โจทก์ที่จะต้องนำสืบให้ได้ความว่าฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ โจทก์จึงมีสิทธินำสืบถึงเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงได้ ไม่เป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น
สัญญากู้เงินไม่ได้กำหนดเวลาชำระต้นเงินคืนไว้ โจทก์ย่อมเรียกให้จำเลยชำระหนี้ได้โดยพลันตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคหนึ่ง และถือเป็นระยะเวลาที่ผู้ให้กู้อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ อายุความจึงเริ่มนับแต่วันถัดจากวันทำสัญญากู้เงินแต่ละฉบับ ซึ่งกฎหมายมิได้กำหนดอายุความการกู้ยืมเงินไว้โดยเฉพาะต้องใช้อายุความทั่วไป 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
สัญญากู้เงินไม่ได้กำหนดเวลาชำระต้นเงินคืนไว้ โจทก์ย่อมเรียกให้จำเลยชำระหนี้ได้โดยพลันตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคหนึ่ง และถือเป็นระยะเวลาที่ผู้ให้กู้อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ อายุความจึงเริ่มนับแต่วันถัดจากวันทำสัญญากู้เงินแต่ละฉบับ ซึ่งกฎหมายมิได้กำหนดอายุความการกู้ยืมเงินไว้โดยเฉพาะต้องใช้อายุความทั่วไป 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8051/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องบัตรเครดิต: สัญญาเลิกแล้ว การนำเงินฝากมาชำระหนี้ไม่สะดุดอายุความ
การที่โจทก์นำเงินฝากในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของจำเลยมาชำระหนี้หลังจากสัญญาบัตรเครดิตและข้อตกลงในสัญญาได้สิ้นสุดลงแล้วจึงเป็นการกระทำของโจทก์เอง หาใช่ลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้โดยชำระหนี้ให้เจ้าหนี้บางส่วนไม่ กรณีย่อมไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) โจทก์ประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่างๆ เรียกเอาเงินที่ได้ทดรองไป สิทธิเรียกร้องของโจทก์มีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7) โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2544 พ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ได้ ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7993/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้รับพินัยกรรม vs. ผู้ปลูกสร้างบนที่ดินมรดก: ผู้รับพินัยกรรมมีสิทธิเหนือกว่า
ผู้คัดค้านที่ 2 เป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่มีสิทธิรับมรดกของ ป. แต่ที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกที่ผู้คัดค้านที่ 2 ขอเป็นผู้จัดการมรดก ป. ได้ทำพินัยกรรมยกให้ผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 แล้ว ผู้คัดค้านที่ 2 ไม่มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกดังกล่าว การที่ ป. อนุญาตให้ผู้คัดค้านที่ 2 ปลูกสร้างบ้านลงในที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกไม่มีผลผูกพันผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นผู้รับพินัยกรรม ถือไม่ได้ว่าผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้มีส่วนได้เสียตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 จึงไม่มีสิทธิคัดค้านและขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7895/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีไม่มีทุนทรัพย์: ประเด็นกรรมสิทธิ์ที่ดินไม่ได้เป็นข้อพิพาทโดยตรง ศาลจังหวัดมีอำนาจพิจารณา
โจทก์ฟ้องคดีไม่มีทุนทรัพย์ต่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลจังหวัด จำเลยทั้งสองให้การว่า ที่ดินพิพาทเดิมเป็นสินสมรสของจำเลยทั้งสอง จำเลยที่ 2 เป็นหนี้เงินกู้ ส. และได้โอนที่ดินพิพาทใช้หนี้เงินกู้ต่ำกว่าราคาท้องตลาดแห่งทรัพย์สินในเวลาและสถานที่ส่งมอบ ทำให้การโอนตกเป็นโมฆะ จำเลยที่ 2 จึงฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาท ส. ตกลงจะโอนที่ดินพิพาทคืนให้แก่จำเลยที่ 2 กึ่งหนึ่ง จึงมีการถอนฟ้อง แต่ ส. กลับโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ และโจทก์รับโอนไว้โดยไม่สุจริจ ดังนี้ เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสอง คดีย่อมไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทว่าเป็นของจำเลยทั้งสองหรือไม่ ถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองให้การกล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์และอยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 18 ประกอบด้วยมาตรา 17 และมาตรา 25 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7656/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จเพื่อเอื้อประโยชน์ผู้อื่นในการทำบัตรประชาชนและทะเบียนบ้าน ศาลฎีกาปรับบทและลดโทษ
การที่จำเลยแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการเพื่อสนับสนุนให้ผู้อื่นมีชื่อในทะเบียนบ้านโดยมิชอบ และแจ้งข้อความหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อสนับสนุนผู้อื่นในการขอมีบัตรประจำตัวประชาชน เป็นการก่อให้เกิดความเสียหายต่อทางราชการและสังคมส่วนรวมและยังกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของประเทศชาติ นับว่าเป็นเรื่องร้ายแรง แม้จำเลยไม่เคยกระทำความผิดมาก่อนและมีภาระต้องเลี้ยงดูครอบครัว ก็ไม่เป็นเหตุที่จะรอการโทษให้แก่จำเลย แต่เนื่องจากขณะกระทำความผิดจำเลยมีอายุมากถึง 62 ปี และไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อนประกอบกับเป็นโทษจำคุกระยะสั้นเห็นสมควรเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นโทษกักขังแทน
การที่จำเลยแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานเพื่อสนับสนุนให้ผู้อื่นมีชื่อในทะเบียนบ้านโดยมิชอบและการแจ้งข้อความหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อสนับสนุนผู้อื่นในการขอมีบัตรประจำตัวประชาชน ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมานั้น หาใช่เป็นตัวการตามที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทไม่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137, 267 พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชนฯ มาตรา 14 (1) วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.อ. มาตรา 86 และ พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎรฯ มาตรา 50 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.อ. มาตรา 86 ซึ่งการกระทำดังกล่าวก็ล้วนแล้วแต่มีความมุ่งหมายเพียงประการเดียวคือเพื่อให้เจ้าพนักงานออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ผู้อื่นเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชนฯ มาตรา 14 (1) วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.อ. มาตรา 86 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยมานั้น ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของกฎหมาย ปัญหาดังกล่าวแม้จำเลยมิได้ฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและปรับบทลงโทษให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
การที่จำเลยแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานเพื่อสนับสนุนให้ผู้อื่นมีชื่อในทะเบียนบ้านโดยมิชอบและการแจ้งข้อความหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อสนับสนุนผู้อื่นในการขอมีบัตรประจำตัวประชาชน ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมานั้น หาใช่เป็นตัวการตามที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทไม่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137, 267 พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชนฯ มาตรา 14 (1) วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.อ. มาตรา 86 และ พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎรฯ มาตรา 50 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.อ. มาตรา 86 ซึ่งการกระทำดังกล่าวก็ล้วนแล้วแต่มีความมุ่งหมายเพียงประการเดียวคือเพื่อให้เจ้าพนักงานออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ผู้อื่นเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชนฯ มาตรา 14 (1) วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.อ. มาตรา 86 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยมานั้น ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของกฎหมาย ปัญหาดังกล่าวแม้จำเลยมิได้ฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและปรับบทลงโทษให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7188/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสินค้าทางธุรกิจ: อายุความ 5 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33(5) และการรับรองการชำระหนี้จากการส่งมอบสินค้า
จำเลยสั่งซื้อสินค้าและได้รับสินค้าจากโจทก์แล้ว ถือได้ว่า การซื้อขายสินค้ารายนี้โจทก์ผู้ขายได้ชำระหนี้ให้แก่จำเลยผู้ซื้อแล้ว โจทก์ไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือและมีลายมือชื่อของจำเลยมาแสดง การซื้อขายชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสองและวรรคสาม จำเลยต้องชำระค่าสินค้าพร้อมดอกเบี้ยให้โจทก์ตามฟ้อง
จำเลยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์เพื่อนำไปจำหน่ายให้แก่ลูกค้าอันเป็นการประกอบธุรกิจของจำเลย การที่โจทก์ฟ้องขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้ค่าสินค้า จึงเป็นกรณีที่โจทก์ผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรมใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าสินค้าจากจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ที่สั่งซื้อมาเพื่อนำมาใช้ในการประกอบธุรกิจของจำเลยอีกต่อหนึ่ง เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง จึงอยู่ในบังคับ ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5) ประกอบมาตรา 193/34 (1) สิทธิเรียกร้องตามฟ้องโจทก์จึงมีอายุความ 5 ปี มิใช่อายุความ 2 ปี ตามมาตรา 193/34 (1) เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกินกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้ คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์เพื่อนำไปจำหน่ายให้แก่ลูกค้าอันเป็นการประกอบธุรกิจของจำเลย การที่โจทก์ฟ้องขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้ค่าสินค้า จึงเป็นกรณีที่โจทก์ผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรมใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าสินค้าจากจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ที่สั่งซื้อมาเพื่อนำมาใช้ในการประกอบธุรกิจของจำเลยอีกต่อหนึ่ง เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง จึงอยู่ในบังคับ ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5) ประกอบมาตรา 193/34 (1) สิทธิเรียกร้องตามฟ้องโจทก์จึงมีอายุความ 5 ปี มิใช่อายุความ 2 ปี ตามมาตรา 193/34 (1) เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่เกินกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้ คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6306/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วมจากการกู้ยืมระหว่างสมรส แม้หย่าแล้วเจ้าหนี้ยังบังคับคดีได้
สัญญากู้ยืมเงินเป็นหนี้ที่จำเลยซึ่งเป็นภริยาผู้ร้องก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างสมรส และเป็นหนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว การอุปการะเลี้ยงดูตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพ ถือได้ว่าเป็นหนี้ร่วมกันระหว่างผู้ร้องและจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 (1) แม้ภายหลังจำเลยกับผู้ร้องได้จดทะเบียนหย่าและแบ่งสินสมรสกันก็ไม่กระทบสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่จะดำเนินการบังคับคดีแก่เงินในบัญชีเงินฝากของผู้ร้อง โจทก์จึงมีสิทธิอายัดเงินในบัญชีเงินฝากของผู้ร้องเพื่อนำมาชำระหนี้ให้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5767/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการบังคับคดี: ผู้ร้องยื่นคำร้องล่าช้าเกิน 15 วันตามกฎหมาย
คำร้องของผู้ร้องทั้งสองที่กล่าวอ้างว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 79812 และ 79813 พร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของจำเลย ไม่ใช่ทรัพย์สินในกองมรดกที่โจทก์ฟ้องขอแบ่ง เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินดังกล่าวเป็นการบังคับคดีโดยฝ่าฝืนกฎหมาย จึงขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการบังคับคดีที่ผิดระเบียบ มีความหมายว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง ขอให้ศาลเพิกถอนเสีย ซึ่งการยื่นคำร้องตามมาตรานี้อาจกระทำได้ไม่ว่าในเวลาใดก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลง แต่ต้องไม่ช้ากว่าสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้นตามที่บัญญัติไว้ในวรรคสาม เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินโฉนดเลขที่ 79812 และ 79813 พร้อมสิ่งปลูกสร้างเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2544 ต่อมาวันที่ 4 กันยายน 2544 ทนายผู้ร้องทั้งสองยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นว่า โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลย จึงขอคัดถ่ายเอกสารในสำนวนเพื่อดำเนินการต่อไป แสดงว่าผู้ร้องทั้งสองทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้นแล้วนับแต่วันที่ 4 กันยายน 2544 เป็นอย่างช้า ผู้ร้องทั้งสองเพิ่งมายื่นคำร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาในชั้นบังคับคดีที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2545 จึงพ้นระยะเวลา 15 วันตามที่กฎหมายกำหนด คำร้องของผู้ร้องทั้งสองเป็นคำร้องที่ไม่ชอบและเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5722/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคุ้มครองชั่วคราวต้องเกี่ยวข้องกับประโยชน์ที่ผู้ร้องมีในคดี กรณีพิพาทเรื่องผู้จัดการมรดก
ผู้ร้องกับผู้คัดค้านมิได้พิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องเอาทรัพย์สินซึ่งเป็นมรดกของผู้ตายแต่อย่างใด คงพิพาทกันเพียงว่า ผู้ร้องหรือผู้คัดค้านสมควรเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ประโยชน์ของผู้คัดค้านในคดีนี้จึงอยู่ที่การจะได้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่เท่านั้น ไม่ได้อยู่ที่การจะได้รับส่วนแบ่งในทรัพย์มรดกของผู้ตาย คำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวของผู้คัดค้านที่ขอให้อายัดทรัพย์มรดกและห้ามผู้ร้องทำนิติกรรมใดเกี่ยวกับทรัพย์มรดกจึงไม่เกี่ยวกับประโยชน์ของผู้คัดค้านที่มีอยู่ในคดี อันพึงจะต้องให้ศาลมีคำสั่งกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาดังบัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 264
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5440/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาต้องปฏิบัติตามขั้นตอนการส่งสำเนาคำฟ้องและคำร้องให้จำเลย
ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ บัญญัติหลักเกณฑ์ในการอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา ให้ผู้อุทธรณ์ยื่นคำร้องขออนุญาตต่อศาลชั้นต้นพร้อมคำฟ้องอุทธรณ์ เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์และคำร้องแก่จำเลยอุทธรณ์แล้ว หากไม่มีคู่ความอื่นยื่นอุทธรณ์และจำเลยอุทธรณ์มิได้คัดค้านคำร้องดังกล่าว ก็ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งคำร้องนั้นว่าจะอนุญาตหรือไม่ การที่โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ว่า รับเป็นอุทธรณ์ของโจทก์ และมีคำสั่งในคำร้องของโจทก์ว่าอุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย จึงให้รวบรวมถ้อยคำสำนวนส่งศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัย ถือได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาแล้ว แต่ศาลชั้นต้นไม่ได้ส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์และสำเนาคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาแก่จำเลยอุทธรณ์ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ในชั้นตรวจคำฟ้อง หาเป็นข้อยกเว้นให้ไม่ต้องส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์และสำเนาคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาแก่จำเลยอุทธรณ์แต่อย่างใดไม่ คำสั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาจึงไม่ชอบ