คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุวัตน์ วรรธนะหทัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความมรดก: สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ต่อเจ้ามรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม บัญญัติถึงอายุความสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดก เมื่อโจทก์เป็นเจ้าหนี้ในสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีทอ้างว่าเจ้ามรดกต้องรับผิดเพราะเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทต่อโจทก์ คดีย่อมอยู่ในบังคับอายุความมาตรา 1754 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 186/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาวางค่าธรรมเนียมศาล: เหตุผลทางเศรษฐกิจไม่ถือเป็นพฤติการณ์พิเศษ
การที่ภาวะเศรษฐกิจราคาน้ำมันแพงทำให้แหล่งเงินที่จำเลยขอกู้และหยิบยืมไม่มีเงินให้จำเลย จึงไม่มีเงินเพียงพอที่จะนำมาวางเป็นค่าฤชาธรรมเนียมศาลได้ ถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีมีพฤติการณ์พิเศษตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาการค้าระหว่าประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบประมวลฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ที่ศาลจะมีคำสั่งขยายระยะเวลาการวางเงินค่าธรรมเนียมศาลในการยื่นอุทธรณ์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1662/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลต้องวางค่าธรรมเนียมตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 แม้จะเป็นการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา
จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่งดสืบพยานจำเลยเพราะเหตุไม่มีพยานมาเบิกความ เป็นการขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์มาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ด้วย เมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว โดยมิได้นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่โจทก์มาวาง จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2295/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานเอกสารที่ไม่ส่งสำเนาให้คู่ความ และการอนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติมหลังสืบพยาน
เอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.7 และ ล.12 เป็นเอกสารโต้ตอบกันระหว่างโจทก์และจำเลย ระบุถึงความชำรุดบกพร่องของรองเท้าพิพาทและการตรวจสอบความชำรุดบกพร่องโดยตัวแทนของโจทก์และจำเลย เมื่อฟ้องแย้งของจำเลยเป็นการฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายเกี่ยวกับโจทก์ส่งมอบรองเท้าพิพาทไม่ตรงตามแบบที่จำเลยกำหนด จึงเป็นเอกสารที่เกี่ยวกับประเด็นสำคัญในคดีอันเป็นข้อที่ทำให้แพ้ชนะระหว่างคู่ความ แม้จำเลยจะมิได้ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่โจทก์อันเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 แต่จำเลยได้ใช้เอกสารดังกล่าวในการถามค้านพยานปากแรกของโจทก์ โจทก์ย่อมมีโอกาสที่จะหักล้างข้อเท็จจริงหรือโต้แย้งเอกสารดังกล่าวได้ การไม่ส่งสำเนาเอกสารของจำเลยไม่ทำให้โจทก์เสียเปรียบเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลมีอำนาจรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 87(2)
ในขณะที่จำเลยส่งเอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.7 และ ล.12 ต่อศาลชั้นต้นโจทก์มิได้คัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสาร คงคัดค้านเพียงว่าจำเลยมิได้ส่งสำเนาเอกสารให้แก่โจทก์เท่านั้น จึงต้องถือว่าโจทก์ยอมรับว่าเอกสารดังกล่าวถูกต้องศาลย่อมรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวได้
จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่สองระบุ อ. เป็นพยานเพิ่มเติมซึ่งศาลได้อนุญาตแล้ว อ. จึงเป็นพยานจำเลยที่สามารถนำเข้าเบิกความต่อศาลได้แม้ต่อมาจำเลยจะแถลงต่อศาลว่าติดใจสืบพยานจำเลยอีกเพียงสามปากซึ่งไม่รวม อ. ด้วยอันมีผลผูกพันจำเลยตามที่แถลงก็ตาม แต่ระหว่างสืบพยานจำเลยไม่เสร็จสิ้น จำเลยไม่สามารถนำ ร. ซึ่งเป็นพยานหนึ่งในสามปากมาเบิกความได้และขออ้าง อ. เป็นพยานเพิ่มเติมพร้อมกับยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมอีกครั้งหนึ่งเป็นการที่จำเลยกลับใจนำ อ. ซึ่งได้เคยระบุอ้างไว้ในบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งสองเข้าเบิกความต่อไปเท่านั้น ซึ่งไม่มีกฎหมายห้าม คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมนั้นมิใช่การอนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติม หากแต่มีผลเป็นการอนุญาตให้จำเลยนำ อ. ซึ่งได้ระบุอ้างเป็นพยานไว้แล้วเข้าเบิกความต่อไปได้