พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,006 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 232/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. การเป็นสมาชิกพรรคการเมือง และการลาออก
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน มาตรา 107 (4) ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน เมื่อข้อเท็จจริงยังรับฟังไม่ได้ว่า ผู้ร้องเป็นสมาชิกพรรคมหาชนตามที่ผู้คัดค้านอ้าง และข้อเท็จจริงน่าเชื่อว่า ผู้ร้องได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทยส่งไปถึงพรรคไทยรักไทยแล้วเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2547 ดังนั้น เมื่อ พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มาตรา 22 บัญญัติว่า สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงเมื่อ...(2) ลาออก จึงต้องถือว่าการลาออกจากสมาชิกพรรคไทยรักไทยของผู้ร้องมีผลเมื่อหนังสือของผู้ร้องไปถึงพรรคไทยรักไทย ความเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทยของผู้ร้องจึงสิ้นสุดลงในวันที่ 5 ตุลาคม 2547 นับแต่วันที่ความเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทยของผู้ร้องสิ้นสุดลงดังกล่าว ผู้ร้องคงเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์แต่เพียงพรรคเดียว ผู้ร้องสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2548 เมื่อนับถึงวันรับสมัครเลือกตั้งผู้ร้องจึงเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน ผู้ร้องจึงมีคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 107 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12413/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดอำนาจศาล: การเรียกรับเงินนอกศาลเพื่อวิ่งเต้นล้มคดี ไม่ถือว่าเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล
หลังจากผู้ร้องเรียนได้รับการปล่อยชั่วคราวแล้ว ผู้ถูกกล่าวหาเรียกและรับเงินจากผู้ร้องเรียนจำนวน 120,000 บาท โดยอ้างว่าจะนำไปใช้วิ่งเต้นล้มคดีกับพนักงานอัยการและผู้พิพากษา แต่การเรียกและรับเงินนั้นได้กระทำที่บ้านของผู้ร้องเรียนและที่บ้านของผู้ถูกกล่าวหาซึ่งอยู่ห่างไกลจากศาลชั้นต้นมาก ไม่มีผลกระทบต่อการรักษาความสงบเรียบร้อยในบริเวณศาล หรือเป็นอุปสรรคขัดขวางมิให้กระบวนพิจารณาของศาลดำเนินไปโดยเที่ยงธรรมและรวดเร็วส่วนกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหามาศาลกับผู้ร้องเรียนทุกนัดนั้นเป็นเพราะผู้ถูกกล่าวหามีภาระหน้าที่ในฐานะผู้รับมอบฉันทะจากนายประกัน ให้นำตัวผู้ร้องเรียนส่งศาลตามสัญญาขอปล่อยชั่วคราว และการพูดกับผู้ร้องเรียนว่าไม่ต้องกลัวถึงอย่างไรก็ไม่ติดคุกสามารถวิ่งเต้นได้อยู่แล้วนั้น ก็เป็นแต่เพียงการปลอบใจผู้ร้องเรียนให้คลายวิตกกังวลในผลคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องเกี่ยวโยงเป็นกรรมเดียวกับการเรียกการรับเงินจำนวนดังกล่าวที่เกิดขึ้นนอกบริเวณศาล ดังนั้นแม้การหลอกลวงเรียกรับเงินว่าจะนำไปวิ่งเต้นล้มคดีกับพนักงานอัยการและผู้พิพากษาจะเข้าข่ายเป็นความผิดอาญาร้ายแรง กระทบต่อชื่อเสียงเกียรติคุณของสถาบันในกระบวนการยุติธรรม สมควรที่จะลงโทษให้หลาบจำมิให้เป็นเยี่ยงอย่างต่อไป แต่เมื่อการกระทำความผิดดังกล่าวเกิดขึ้นนอกบริเวณศาล กรณียังถือไม่ได้ว่าเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 31 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9295/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนมรดกโดยไม่ชอบ ผู้จัดการมรดกไม่มีอำนาจโอนทรัพย์ให้ตนเอง แม้เป็นการชำระหนี้
การที่ ป. ทำนิติกรรมโอนทรัพย์มรดกให้แก่ตนเองซึ่งไม่ใช่ทายาท แม้จะเป็นการตอบแทนการเอาเงินส่วนตัวชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองแทนกองมรดก อันเป็นการจัดการมรดกทั่วไป ก็ไม่มีอำนาจกระทำเพราะเป็นปฏิปักษ์ ต่อกองมรดก เมื่อผู้ตายมิได้ทำพินัยกรรมอนุญาตและ ป. ไม่ได้รับอนุญาตจากศาลจึงเป็นการฝ่าฝืน ป.พ.พ. มาตรา 1722 ย่อมตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9295/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์มรดกโดยผู้จัดการมรดกโดยมิชอบ และการขาดอายุความคดีมรดก
การที่ ป. ในฐานะผู้จัดการมรดกทำนิติกรรมโอนทรัพย์มรดกที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่ตนเองซึ่งไม่ใช่ทายาท แม้จะเป็นการตอบแทนการเอาเงินส่วนตัวชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองแทนกองมรดก อันเป็นการจัดการมรดกทั่วไป ก็ไม่มีอำนาจกระทำเพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก เมื่อผู้ตายมิได้ทำพินัยกรรมอนุญาตและ ป. ไม่ได้รับอนุญาตจากศาลจึงเป็นการฝ่าฝืน ป.พ.พ. มาตรา 1722 ย่อมตกเป็นโมฆะ ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงจึงยังคงเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9220/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังเอกสารแปล & อายุความฟ้องเรียกเงินคืน
โจทก์อ้างเอกสารที่เป็นภาษาอังกฤษพร้อมคำแปลซึ่งมีผู้แปลอาชีพเป็นผู้แปลประกอบคำเบิกความของพยานโจทก์ จำเลยมิได้ถามค้านพยานโจทก์ขณะเบิกความถึงเอกสารดังกล่าวว่าคำแปลไม่ถูกต้อง ทั้งกฎหมายมิได้บังคับให้ต้องนำผู้แปลเอกสารภาษาต่างประเทศมาสืบเพื่อรับรองความถูกต้องของคำแปล เมื่อจำเลยที่ 1 เห็นว่าคำแปลตอนไหนไม่ถูกต้องและคลาดเคลื่อนอย่างไร จำเลยที่ 1 ก็ชอบที่จะโต้แย้งหรือเสนอคำแปลที่ถูกต้องได้ แต่จำเลยที่ 1 หาได้กระทำการดังกล่าวไม่ จึงถือได้ว่าคำแปลดังกล่าวถูกต้องแล้ว และศาลชอบที่จะรับฟังเอกสารดังกล่าวได้
ธนาคารโจทก์สาขาท่าแพโอนเงินเข้าบัญชีของจำเลยที่ 1 รวม 2 ครั้ง ต่อมาวันที่ 29 พฤศจิกายน 2536 หัวหน้าศูนย์บริการการค้าต่างประเทศของโจทก์ สาขาท่าแพ ตรวจสอบการจ่ายเงินให้ลูกค้าทั้งสองครั้ง พบว่าเป็นการจ่ายตามคำสั่งของลูกค้าต่างประเทศเพียงครั้งเดียว จึงถือว่าโจทก์ทราบเหตุการโอนเงินผิดพลาดเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2536 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2537 จึงยังไม่พ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกเงินคืน คดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ
ธนาคารโจทก์สาขาท่าแพโอนเงินเข้าบัญชีของจำเลยที่ 1 รวม 2 ครั้ง ต่อมาวันที่ 29 พฤศจิกายน 2536 หัวหน้าศูนย์บริการการค้าต่างประเทศของโจทก์ สาขาท่าแพ ตรวจสอบการจ่ายเงินให้ลูกค้าทั้งสองครั้ง พบว่าเป็นการจ่ายตามคำสั่งของลูกค้าต่างประเทศเพียงครั้งเดียว จึงถือว่าโจทก์ทราบเหตุการโอนเงินผิดพลาดเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2536 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2537 จึงยังไม่พ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกเงินคืน คดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9106/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากฎีกาไม่ชัดเจน ขาดการระบุข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคลาดเคลื่อน
คดีนี้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน และพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยเพียงกรรมเดียวศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรม ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ฎีกาของจำเลยเพียงแต่กล่าวว่าการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยเพิ่มอีกข้อหาหนึ่ง โดยที่ศาลชั้นต้นยังมิได้ใช้ดุลพินิจว่าจะลงโทษกระทงดังกล่าวเท่าใดและจะลดโทษให้เท่าใด เป็นการพิพากษาคลาดเคลื่อนต่อกฎหมาย โดยมิได้ระบุข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายอ้างอิงให้เห็นว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์คลาดเคลื่อนในข้อใด ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9085/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะแลกเปลี่ยนที่ดิน: การยึดถือแทนเจ้าของเดิมไม่ถือเป็นการแย่งการครอบครอง และสิทธิในการเรียกร้องราคาที่ดิน
การตกลงแลกเปลี่ยนที่ดินระหว่างโจทก์กับเทศบาลเมืองร้อยเอ็ดจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาซึ่งคู่สัญญาต่างโอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้กันและกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 518 อันมีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทน ซึ่งมาตรา 519 ระบุให้นำบทบัญญัติทั้งหลายในลักษณะซื้อขายมาใช้ถึงการแลกเปลี่ยนด้วย เมื่อฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยที่ 1 ได้เจรจาต่อรองกันมาตลอด แม้ที่ดินที่จำเลยที่ 1 นำมาแลกเปลี่ยนจะเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ แต่จำเลยที่ 1 ก็ตกลงที่จะดำเนินการให้สามารถโอนที่ดินสาธารณประโยชน์นั้นแลกเปลี่ยนกับที่ดิน ส.ค. 1 ของ ก. ปู่โจทก์ซึ่งต่อมาเป็นที่ดินมีโฉนดที่ดินของโจทก์ได้ และจำเลยที่ 1 ก็ได้ดำเนินการเกี่ยวกับการออกพระราชบัญญัติเพื่อโอนที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นให้แก่โจทก์จนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ดให้ความเห็นชอบในการออกพระราชบัญญัติโอนที่ดินสาธารณประโยชน์สระสิมให้แก่โจทก์ แต่ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้ถอนร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงไม่อาจดำเนินการโอนที่ดินนั้นให้โจทก์เพื่อแลกเปลี่ยนกับที่ดินของโจทก์ได้ แสดงว่าการตกลงแลกเปลี่ยนที่ดินดังกล่าวระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิใช่การแลกเปลี่ยนที่ดินเสร็จเด็ดขาด แต่เป็นการแลกเปลี่ยนที่ดินโดยมีเงื่อนไขว่าจำเลยที่ 1 จะดำเนินการเกี่ยวกับการออกพระราชบัญญัติเพื่อโอนที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินให้แก่โจทก์เพื่อแลกเปลี่ยนกับที่ดินของโจทก์ จึงเป็นสัญญาจะแลกเปลี่ยนที่ดิน เมื่อปรากฏว่า ก. ได้ตกลงแลกเปลี่ยนที่ดินของตนกับจำเลยที่ 1 และได้ยอมให้จำเลยที่ 1 เข้าทำถนนในที่ดินดังกล่าวจึงเท่ากับมีการชำระหนี้บางส่วน ย่อมฟ้องร้องบังคับคดีกัน ตามสัญญาจะแลกเปลี่ยนที่ดินนั้นได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 519 ประกอบมาตรา 456 วรรคสอง
การที่จำเลยที่ 1 เข้าครอบครองที่ดิน ส.ค. 1 ของ ก. และทำเป็นถนนสาธารณะจึงเป็นการยึดถือแทน ก. จ. บิดาโจทก์ และโจทก์ผู้มีสิทธิครอบครอง มิใช่ยึดถือในฐานะเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครอง และไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินนั้น ไปยัง ก. หรือ จ. หรือโจทก์ว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีเจตนาจะยึดถือที่ดินนั้นแทน ก. หรือ จ. หรือโจทก์ต่อไป อันจะถือเป็นการแย่งการครอบครองที่ดินดังกล่าว เมื่อถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้แย่งการครอบครองที่ดินดังกล่าว กรณีจึงยังไม่อาจเริ่มนับระยะเวลาที่ฝ่ายโจทก์ถูกแย่งการครอบครองที่ดินนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสองได้
เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่อาจโอนที่ดินสาธารณประโยชน์สระสิมโดยออกพระราชบัญญัติโอนที่ดินนั้นแก่โจทก์ตามสัญญาจะแลกเปลี่ยนที่ดินอันเป็นสัญญาต่างตอบแทนได้ จำเลยที่ 1 ย่อมไม่มีสิทธิได้รับโอนที่ดินของโจทก์จากโจทก์ และจำเลยที่ 1 ต้องคืนที่ดินนั้นแก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่อาจคืนที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์ได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ราคาที่ดินนั้นแก่โจทก์ได้
เมื่อการแลกเปลี่ยนที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินกับที่ดิน ส.ค. 1 ระหว่างฝ่ายจำเลยที่ 1 กับฝ่ายโจทก์เป็นสัญญาจะแลกเปลี่ยนที่ดินโดยมีเงื่อนไขว่าจำเลยที่ 1 จะดำเนินการเกี่ยวกับการออกพระราชบัญญัติเพื่อโอนที่ดิน สาธารณสมบัติของแผ่นดินเพื่อแลกเปลี่ยนกับที่ดินของฝ่ายโจทก์ มิใช่สัญญาแลกเปลี่ยนที่ดินเสร็จเด็ดขาด สัญญาจะแลกเปลี่ยนที่ดินดังกล่าวจึงบังคับกันได้ และหากมีพระราชบัญญัติให้โอนที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินให้โจทก์ ที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นก็สามารถโอนให้โจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1305 ดังนี้ การกระทำของนายกเทศมนตรีซึ่งเป็นผู้แทนจำเลยที่ 1 ในขณะทำสัญญาจะแลกเปลี่ยนที่ดินดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อกฎหมาย
การที่จำเลยที่ 1 เข้าครอบครองที่ดิน ส.ค. 1 ของ ก. และทำเป็นถนนสาธารณะจึงเป็นการยึดถือแทน ก. จ. บิดาโจทก์ และโจทก์ผู้มีสิทธิครอบครอง มิใช่ยึดถือในฐานะเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครอง และไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินนั้น ไปยัง ก. หรือ จ. หรือโจทก์ว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีเจตนาจะยึดถือที่ดินนั้นแทน ก. หรือ จ. หรือโจทก์ต่อไป อันจะถือเป็นการแย่งการครอบครองที่ดินดังกล่าว เมื่อถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้แย่งการครอบครองที่ดินดังกล่าว กรณีจึงยังไม่อาจเริ่มนับระยะเวลาที่ฝ่ายโจทก์ถูกแย่งการครอบครองที่ดินนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสองได้
เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่อาจโอนที่ดินสาธารณประโยชน์สระสิมโดยออกพระราชบัญญัติโอนที่ดินนั้นแก่โจทก์ตามสัญญาจะแลกเปลี่ยนที่ดินอันเป็นสัญญาต่างตอบแทนได้ จำเลยที่ 1 ย่อมไม่มีสิทธิได้รับโอนที่ดินของโจทก์จากโจทก์ และจำเลยที่ 1 ต้องคืนที่ดินนั้นแก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่อาจคืนที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์ได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ราคาที่ดินนั้นแก่โจทก์ได้
เมื่อการแลกเปลี่ยนที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินกับที่ดิน ส.ค. 1 ระหว่างฝ่ายจำเลยที่ 1 กับฝ่ายโจทก์เป็นสัญญาจะแลกเปลี่ยนที่ดินโดยมีเงื่อนไขว่าจำเลยที่ 1 จะดำเนินการเกี่ยวกับการออกพระราชบัญญัติเพื่อโอนที่ดิน สาธารณสมบัติของแผ่นดินเพื่อแลกเปลี่ยนกับที่ดินของฝ่ายโจทก์ มิใช่สัญญาแลกเปลี่ยนที่ดินเสร็จเด็ดขาด สัญญาจะแลกเปลี่ยนที่ดินดังกล่าวจึงบังคับกันได้ และหากมีพระราชบัญญัติให้โอนที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินให้โจทก์ ที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นก็สามารถโอนให้โจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1305 ดังนี้ การกระทำของนายกเทศมนตรีซึ่งเป็นผู้แทนจำเลยที่ 1 ในขณะทำสัญญาจะแลกเปลี่ยนที่ดินดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9032/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานออกเช็ค – การลงโทษหลายกระทง – ความผิดแยกจากกันตามเช็คแต่ละฉบับ
การออกเช็คเป็นการสั่งให้ธนาคารจ่ายเงินตามจำนวนในเช็ค ณ วันที่ที่ลงในเช็คนั้น ผู้ออกเช็คมีเจตนาให้จ่ายเงินตามเช็คแต่ละฉบับแยกจากกันเป็นคนละส่วนคนละจำนวนไม่ได้ร่วมเป็นเช็คฉบับเดียวกัน ความผิดเกิดขึ้นต่างหากแยกจากกันได้โดยชัดเจนเป็นการเฉพาะตัวของเช็คแต่ละฉบับเมื่อธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คนั้น ๆ แล้ว การที่จำเลยออกเช็คแต่ละฉบับชำระหนี้รายเดียวกันและได้ลงวันที่สั่งจ่ายคนละวัน ธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงินตามวันที่ลงในเช็คจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันเป็นคนละกระทงความผิดแยกจากกัน ซึ่งศาลต้องลงโทษจำเลยเรียงเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ. มาตรา 91
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8591/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝาก: ราคาขายฝากที่แท้จริง, ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม, การเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร, สิทธิไถ่, การชำระหนี้ไม่ถูกต้อง
พ.ร.บ. ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 มาตรา 12 ไม่ใช้บังคับแก่นิติกรรมหรือสัญญาที่ทำขึ้นก่อนวันที่ พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับ การที่จำเลยทำสัญญาขายฝากที่ดินพร้อมบ้านกับโจทก์เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2541 ก่อน พ.ร.บ. ดังกล่าว และ พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ป.พ.พ. (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 มาตรา 5 ที่แก้ไขเพิ่มเติม ป.พ.พ. มาตรา 499 วรรคสอง มีผลใช้บังคับ จึงนำ พ.ร.บ. ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมและ ป.พ.พ. มาตรา 499 วรรคสอง ที่ให้สิทธิแก่ผู้ขายฝากไถ่ทรัพย์ได้ตามราคาขายฝากที่แท้จริงรวมผลประโยชน์ตอบแทนร้อยละสิบห้าต่อปีมาปรับใช้แก่คดีนี้ไม่ได้ เมื่อสัญญาขายฝากที่ดินพร้อมบ้านระบุราคาขายฝากไว้จำนวน 310,000 บาท การที่จำเลยอ้างตนเองและบุคคลอื่นสืบเป็นพยานเพื่อแสดงถึงราคาขายฝากที่แท้จริงว่ามีราคาเพียง 200,000 บาท เป็นการนำพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) จึงต้องฟังว่าคู่สัญญากำหนดสินไถ่ไว้เป็นเงิน 310,000 บาท แต่จำเลยขอไถ่ในราคา 230,000 บาท อันเป็นการปฏิบัติการชำระหนี้ที่ไม่ถูกต้องตามมูลหนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกปัดไม่ชำระหนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8433/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ชื่อทางการค้าโดยไม่สุจริต ละเมิดสิทธิเจ้าของชื่อเดิม ศาลสั่งห้ามใช้ชื่อ
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 12 ทราบเป็นอย่างดีว่าโจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของชื่อทางการค้าคำว่า "ไทยคม" ที่โจทก์ทั้งสองได้ใช้กับกิจการให้บริการเช่าช่องสัญญาณดาวเทียมไทยคมก่อนที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 12 นำชื่อทางการค้าคำว่า "ไทยคม" ไปขอจดทะเบียนเป็นส่วนหนึ่งของชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 12 ได้ร่วมกันจัดตั้งบริษัทจำเลยที่ 1 โดยนำชื่อทางการค้าที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปคำว่า "ไทยคม" ของโจทก์ทั้งสองมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 ว่า "บริษัทไทยคมเทเลคอม จำกัด" โดยจำเลยที่ 1 มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการค้าอุปกรณ์สื่อสาร รวมทั้งบริการรับซ่อมและติดตั้งเครื่องมือสื่อสารทุกชนิดอันเป็นวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการทำนองเดียวกับโจทก์ที่ 1 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการจำหน่ายเครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคม และโจทก์ที่ 2 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการให้เช่าช่องสัญญาณสื่อสารดาวเทียมและจำหน่ายเครื่องอุปกรณ์โทรคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ทั้งสอง จึงเป็นการเอาชื่อทางการค้าคำว่า "ไทยคม" ของโจทก์ทั้งสองมาใช้เป็นชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 โดยไม่สุจริต เป็นการแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงในชื่อทางการค้าของโจทก์ทั้งสองโดยมิชอบและเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทั้งสอง ทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายและต้องเสื่อมเสียประโยชน์เนื่องจากประชาชนผู้ซื้ออุปกรณ์สื่อสารของบริษัทจำเลยที่ 1 ย่อมเข้าใจสับสนหรือหลงผิดว่าจำเลยที่ 1 เป็นบริษัทในเครือโจทก์ทั้งสอง ส่งผลให้โจทก์ทั้งสองจำหน่ายอุปกรณ์สื่อสารของโจทก์ทั้งสองได้น้อยลง การกระทำของจำเลยทั้งสิบสองเป็นการละเมิดสิทธิในชื่อทางการค้าของโจทก์ทั้งสองตาม ป.พ.พ. มาตรา 18, 420 และ 421 จำเลยทั้งสิบสองจึงไม่มีสิทธิใช้ชื่อ "ไทยคม" เป็นส่วนหนึ่งของชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายจากการที่จำเลยทั้งสิบสองใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "ไทยคม" ของโจทก์ทั้งสองโดยมิชอบ โจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ระงับความเสียหายและขอให้ศาลสั่งห้ามจำเลยที่ 1 ใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "ไทยคม" ของโจทก์ทั้งสองเป็นส่วนหนึ่งของชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 ได้
โจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสิบสองดำเนินการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 และห้ามจำเลยทั้งสิบสองใช้คำว่า "ไทยคม" และภาษาอังกฤษคำว่า "THAICOM" ทั้งในการเขียนและเรียกขานเป็นชื่อของจำเลยที่ 1 หรือใช้ประกอบกิจการค้าของจำเลยที่ 1 แต่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 18 ให้สิทธิโจทก์ทั้งสองร้องขอต่อศาลให้สั่งห้ามจำเลยที่ 1 ใช้ชื่อทางการค้าของโจทก์ทั้งสองคำว่า "ไทยคม" เป็นส่วนหนึ่งของชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 เท่านั้น มิได้ให้สิทธิแก่โจทก์ทั้งสองที่จะบังคับให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 ได้
โจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสิบสองดำเนินการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 และห้ามจำเลยทั้งสิบสองใช้คำว่า "ไทยคม" และภาษาอังกฤษคำว่า "THAICOM" ทั้งในการเขียนและเรียกขานเป็นชื่อของจำเลยที่ 1 หรือใช้ประกอบกิจการค้าของจำเลยที่ 1 แต่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 18 ให้สิทธิโจทก์ทั้งสองร้องขอต่อศาลให้สั่งห้ามจำเลยที่ 1 ใช้ชื่อทางการค้าของโจทก์ทั้งสองคำว่า "ไทยคม" เป็นส่วนหนึ่งของชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 เท่านั้น มิได้ให้สิทธิแก่โจทก์ทั้งสองที่จะบังคับให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 ได้