คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมชัย จึงประเสริฐ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,006 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8176/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษเจ้าพนักงานกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด: ขอบเขตการเพิ่มโทษสามเท่าจำกัดเฉพาะความผิดด้านการผลิต-จำหน่าย
ตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 3 และมาตรา 10 บัญญัติให้ระวางโทษผู้กระทำความผิดซึ่งเป็นเจ้าพนักงานเป็นสามเท่าของโทษกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเฉพาะการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดทางด้านการผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเท่านั้น หาได้หมายความรวมถึงความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7975/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรณีถูกกล่าวหาลักทรัพย์: การเสียหายต่อบิดาผู้ใช้อำนาจปกครอง และขอบเขตความรับผิดของลูกจ้าง
โจทก์และเด็กชาย ศ. บุตรโจทก์ไปซื้อสินค้าในห้างของจำเลยที่ 1 ด้วยกัน ขณะที่โจทก์และ ศ. เดินกลับจากการซื้อสินค้ามายังบริเวณที่จอดรถ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้เข้ามาแจ้งต่อโจทก์ว่า ศ. ลักสินค้าในห้างของจำเลยที่ 1 และขอตรวจค้นตัว ศ. แต่เมื่อโจทก์ให้ ศ. ล้วงกระเป๋ากางเกงออกมาไม่พบสินค้าที่อ้างว่าถูกลักมา จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงกลับไป โจทก์เป็นบิดา ศ. ซึ่งขณะเกิดเหตุอายุ 9 ปี จึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองและมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดู ขณะเลี้ยงดู ศ. ตามกฎหมายและให้การศึกษาตามสมควร ตลอดจนให้การอบรมสั่งสอนให้เป็นพลเมืองดีของสังคม เหตุที่ ศ. ถูกกล่าวหาว่าลักทรัพย์ในห้างของจำเลยที่ 1 เกิดขึ้นขณะที่ ศ. เดินซื้อสินค้าอยู่กับโจทก์ การควบคุมดูแล ศ. มิให้ลักทรัพย์ในห้างของจำเลยที่ 1 ย่อมเป็นหน้าที่ของโจทก์ผู้เป็นบิดาด้วย นอกจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 จะพูดกล่าวหา ศ. แล้ว ยังขอค้นตัว ศ. อีก ความเสียหายจึงมิใช่เกิดจากคำพูดของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่กล่าวหา ศ. เพียงประการเดียว แต่กระทบถึงโจทก์ซึ่งเป็นบิดาผู้ใช้อำนาจปกครองอยู่ในขณะนั้นด้วย เพราะบุคคลทั่วไปที่ได้ยินคำพูดของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ย่อมเข้าใจว่าบุตรโจทก์ชอบลักเล็กขโมยน้อย อันแสดงว่าโจทก์ไม่ดูแลสั่งสอนบุตรให้เป็นพลเมืองดี หรืออาจเข้าใจได้ว่าโจทก์สนับสนุนบุตรให้ลักเล็กขโมยน้อย ซึ่งโจทก์ย่อมได้รับความอับอายและเสียชื่อเสียง โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียจากการกล่าวหาของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เช่นกัน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7712/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนรถยนต์ประกอบจากชิ้นส่วน - รถใหม่ไม่ใช่รถเดิม
รถยนต์คันที่โจทก์ได้รับมอบกรรมสิทธิ์มาจากบริษัท บ. หมายเลขทะเบียน 9 ห - 7742 กรุงเทพมหานคร แต่รถยนต์พิพาทมีเพียงหัวเก๋งกับกระบะเท่านั้นที่เป็นของคันหมายเลขทะเบียน 9 ห - 7742 ส่วนคัสซีหรือเลขตัวรถและเครื่องยนต์เป็นของคันหมายเลขทะเบียน บ - 1317 ชัยภูมิ ซึ่งเจ้าของได้ขอจดทะเบียนรถยนต์ประเภทรถยนต์ที่ประกอบขึ้นจากชิ้นส่วนอุปกรณ์รถยนต์เก่า รถยนต์พิพาทจึงเป็นทรัพย์สินที่เกิดจากการเอาอุปกรณ์หรือสังหาริมทรัพย์ของบุคคลหลายคนมารวมเข้ากันจนเป็นส่วนควบหรือแบ่งแยกไม่ได้ และโดยที่หัวเก๋งกับกระบะไม่ใช่ทรัพย์ประธาน รถยนต์พิพาทจึงเป็นรถยนต์คันใหม่ ไม่ใช่รถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 9 ห - 7742 กรุงเทพมหานคร ตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1316 ดังนั้นการที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนโอนรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 9 ห - 7742 กรุงเทพมหานคร โดยมิได้นำรถยนต์คันดังกล่าวไปให้จำเลยตรวจสอบ จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. 2531 หมวด 2, 4 และ 6 การโอนรถ ข้อ 35 (1) ซึ่งอธิบดีกรมการขนส่งทางบกอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10, 13, 16 และ 17 แห่ง พ.ร.บ. รถยนต์ พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. รถยนต์ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2530 วางระเบียบไว้ และมีผลใช้ในทำนองเดียวกับกฎหมาย จำเลยชอบที่จะปฏิเสธไม่ยอมดำเนินการจดทะเบียนโอนรถยนต์ตามคำขอของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7422/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อหาที่ไม่ตรงกับความผิดที่สืบสวน และการลงโทษโดยไม่ใช้ข้อสันนิษฐานของกฎหมาย
การสอบสวนเป็นการรวบรวมพยานหลักฐานและดำเนินการทั้งหลายอื่นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำไปเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหาเพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิด และเพื่อจะเอาตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ ซึ่งการแจ้งข้อหาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 ก็เป็นขั้นตอนหนึ่งของการสอบสวนเพื่อต้องการให้ผู้ต้องหารู้ตัวก่อนว่าตนจะถูกสอบสวนในคดีอาญาเรื่องใดเท่านั้น แม้เดิมจะแจ้งข้อหาหนึ่งแต่เมื่อสอบสวนไปแล้วปรากฏว่าการกระทำของผู้ต้องหาเป็นความผิดฐานอื่นก็ถือได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดฐานดังกล่าวแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 มีโคคาอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ซึ่งโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 69 วรรคสาม จำคุกตั้งแต่สามปีถึงยี่สิบปี จึงไม่จำต้องสืบพยานโจทก์ประกอบคำให้การรับสารภาพตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง และเมื่อจำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพตามฟ้องโดยสมัครใจ ข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่โจทก์ฟ้อง แม้โคคาอีนที่จำเลยที่ 1 มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจะมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่ถึงจำนวนถึงข้อสันนิษฐานของกฎหมาย ศาลก็ลงโทษจำเลยที่ 1 ตามพฤติการณ์แห่งคดีที่ได้ความ หาได้ลงโทษจำเลยที่ 1 โดยฟังข้อสันนิษฐานของกฎหมายมาปรับใช้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7193/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ถือประทานบัตรเหมืองแร่กับการลักทรัพย์น้ำยางพารา ต้นยางพาราไม่เป็นส่วนควบของที่ดิน
การที่ผู้ถือประทานบัตรเหมืองแร่ปลูกต้นยางพาราลงในที่ดินซึ่งอยู่ในเขตเหมืองแร่ซึ่งเป็นป่าสงวนแห่งชาติ เป็นการใช้สิทธิในฐานะผู้ถือประทานบัตรตาม พ.ร.บ. เหมืองแร่ฯ มาตรา 73 ไม่ทำให้ต้นยางพาราที่ปลูกไว้เป็นส่วนควบของที่ดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 146 ยางพารายังคงเป็นทรัพย์สินของโจทก์ผู้ถือประทานบัตร การที่จำเลยกรีดเอาน้ำยางพาราจากต้นยางพาราของโจทก์ไปจึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7193/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทำประโยชน์ในที่ดินเหมืองแร่กับการลักทรัพย์ผลผลิตทางการเกษตร
พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 73 ให้สิทธิแก่ผู้ถือประทานบัตรใช้ที่ดินในเขตเหมืองแร่ที่มีแร่ไม่สมบูรณ์พอที่จะเปิดทำเหมืองเพื่อเกษตรกรรมในระหว่างอายุประทานบัตรได้ การที่โจทก์ปลูกต้นยางพาราลงในที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ในเขตเหมืองแร่ เป็นการใช้สิทธิในฐานะผู้ถือประทานบัตร ไม่ทำให้ต้นยางพาราที่ปลูกสร้างไว้เป็นส่วนควบของที่ดิน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 146 และยังคงเป็นทรัพย์สินของโจทก์ การที่จำเลยกรีดเอาน้ำยางพาราจากต้นยางพาราของโจทก์ไป จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและจำเลยเข้าไปกรีดเอาน้ำยางพาราภายหลังประทานบัตรของโจทก์หมดอายุแล้วเพื่อการยังชีพมิได้มีเถยจิตเป็นโจรผู้ร้ายแต่อย่างใด กับทั้งภายหลังเกิดเหตุจำเลยได้รับอนุญาตจากรัฐให้มีสิทธิทำกินในที่ดินพิพาท กรณีมีเหตุอันสมควรให้ความปรานีแก่จำเลยโดยรอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 56

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6466/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำไม่เข้าข่ายเป็นผู้ประกอบธุรกิจจัดหางาน แม้มีการเรียกเงินจากผู้หางาน ศาลยกฟ้องความผิดตาม พ.ร.บ. จัดหางาน
การจะเป็นผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 4 วรรคหนึ่ง, 30 วรรคหนึ่ง และมาตรา 31 วรรคหนึ่ง ได้ต้องเป็นผู้ประกอบธุรกิจจัดหารงานก่อน จำเลยเป็นบุคคลธรรมดาไม่เคยได้รับอนุญาตให้จัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศและไม่ได้จดทะเบียนเป็นลูกจ้างหรือตัวแทนจัดหางานของบริษัทจัดหางานแต่อย่างใด ดังนั้น การกระทำของจำเลยนอกจากจะไม่ต้องด้วยคำจำกัดความของคำว่า "จัดหางาน" แล้ว ยังมิได้มีเจตนาจะจัดหางานให้แก่คนหางานหรือจัดหาลูกจ้างให้แก่นายจ้างอย่างจริงจัง แต่เป็นเรื่องที่จำเลยอ้างเอาเรื่องการจัดหางานขึ้นมาเป็นเหตุหลอกลวงเอาเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ถูกหลอกลวงอันอาจเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 91 ตรี และความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 4 วรรคหนึ่ง, 30 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 82
ฟ้องข้อ 1 ข. กล่าวหาว่าจำเลยหลอกลวงผู้เสียหายที่ 1 ระหว่างวันที่ 3 พฤษภาคม 2542 เวลากลางวัน ถึงวันที่ 17 พฤษภาคม 2542 เวลากลางคืนหลังเที่ยงต่อเนื่องกันและฟ้องข้อ 1 ค. หาว่าจำเลยหลอกลวงผู้เสียหายที่ 2 ระหว่างวันที่ 4 พฤษภาคม 2542 เวลากลางวัน ถึงวันที่ 17 พฤษภาคม 2542 จำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงฟังได้ตามโจทก์ฟ้อง การกระทำความผิดของจำเลยตามฟ้องข้อ 1 ข. และข้อ 1 ค. จึงมีวันกระทำความผิดต่างกันอย่างน้อย 1 วัน และความผิดดังกล่าวนี้มีเจตนากระทำต่อผู้เสียหายต่างคนกันด้วย จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5138/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของผู้ให้เช่าซื้อที่มุ่งหวังผลประโยชน์จากการรับชำระค่าเช่าซื้อมากกว่าการปฏิบัติตามสัญญา
เมื่อสัญญาเช่าซื้อครบกำหนดแล้ว ผู้ร้องยังคงให้ผู้เช่าซื้อครอบครองใช้รถที่เช่าซื้อตลอดมาเป็นเวลาถึง 2 ปีเศษ โดยมิได้บอกเลิกสัญญา แต่ยังรับผ่อนชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างอยู่ตลอดมา ย่อมแสดงให้เห็นว่าผู้ร้องยินยอมให้ผู้เช่าซื้อครอบครองใช้รถเพื่อให้ผู้ร้องยังคงได้รับชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างนั่นเอง ต่อเมื่อผู้ร้องทราบว่ารถที่เช่าซื้อถูกริบในคดีนี้จึงบอกเลิกสัญญาแก่ผู้เช่าซื้อ ซึ่งผู้ร้องสามารถใช้สิทธิทางศาลเรียกร้องค่าเสียหายในส่วนที่ขาดประโยชน์ตามสัญญาเช่าซื้อจากผู้เช่าซื้อได้ แต่กลับมาใช้สิทธิในการเรียกร้องทรัพย์ที่ถูกริบในคดีในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์แทน จากข้อเท็จจริงดังกล่าวทำให้เห็นได้ว่าผู้ร้องมุ่งประโยชน์จากการได้รับชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างจากผู้เช่าซื้อมากกว่าถือปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ผู้ให้เช่าซื้อ การร้องขอคืนของกลางของผู้ร้องในคดีนี้จึงมีลักษณะเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4849/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ปริมาณยาเสพติดกับข้อสันนิษฐานการมีไว้เพื่อจำหน่าย: โจทก์ต้องพิสูจน์เจตนา แม้ปริมาณต่ำกว่าเกณฑ์
ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) ฯ มาตรา 15 วรรคสาม ได้กำหนดข้อสันนิษฐานโดยเด็ดขาดของกฎหมายว่าผู้ที่ครอบครองยาเสพติดให้โทษเกินปริมาณที่กำหนดไว้ให้ถือว่าเป็นการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย หาได้มีความหมายในทางกลับกันว่าผู้ที่มียาเสพติดให้โทษในปริมาณที่ต่ำกว่าข้อสันนิษฐานแล้วจะฟังว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายไม่ได้แต่ประการใด โดยโจทก์มีหน้าที่ต้องพิสูจน์ความผิดให้ศาลเชื่อได้ว่ามีไว้ในครอบครองนั้นเพื่อจำหน่าย โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจำนวน 9 เม็ด จำเลยให้การรับสารภาพ โจทก์สืบพยานประกอบคำให้การรับสารภาพว่าจำเลยมีพฤติการณ์จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจริง การที่ศาลล่างทั้งสองรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามฟ้องโจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4545/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปรียบเทียบงดฟ้องร้องทางศุลกากร: อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการและขอบเขตความรับผิดของเจ้าหน้าที่
จำเลยที่ 10 ซึ่งเป็นรองอธิบดีกรมศุลกากรได้มีความเห็นตามที่เจ้าหน้าที่เสนอมาว่า ม. ซึ่งเป็นผู้นำเข้ารถยนต์ใช้แล้วจากประเทศญี่ปุ่นได้นำเข้ารถยนต์โดยสำแดงรุ่นผิดไปจากรถยนต์โตโยต้า ซอเรอร์ เป็นรถยนต์โตโยต้า มาร์คทู ต่อมา ม. ขอยกรถยนต์คันดังกล่าวให้ตกเป็นของแผ่นดินเพื่อตกลงระงับคดีตามมาตรา 27 หรือ 27 ทวิ ของ พ.ร.บ. ศุลกากร จึงให้นำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมคณะกรรมการเปรียบเทียบงดการฟ้องร้อง แม้จำเลยที่ 10 จะมีความเห็นให้นำเรื่องเข้าที่ประชุมโดยมิได้มีความเห็นชี้ขาดก่อนว่าการกระทำของ ม. จะเป็นความตามมาตรา 27 หรือว่าจะเป็นความผิดตามมาตรา 27 ทวิ ฐานใดฐานหนึ่ง เพื่อพิจารณาก่อนว่าความผิดที่ ม. กระทำจะตรงหรือไม่ตรงด้วยข้อหาความผิดที่จะเปรียบเทียบได้ก็ตาม ก็หาเป็นการละเมิดต่อโจทก์ไม่ เพราะอำนาจการวินิจฉัยชี้ขาดว่า ม. ผู้นำเข้ารถยนต์จะมีความผิดฐานใด เป็นอำนาจของศาล
การเปรียบเทียบปรับโดยอธิบดีกรมศุลกากร ตามมาตรา 102 ก็ดี หรือโดยคณะกรรมการเปรียบเทียบงดการฟ้องร้องตามมาตรา 102 ทวิ ก็ดี จะต้องปรากฏว่าผู้จะถูกฟ้องร้องได้ยินยอมและใช้ค่าปรับตามที่มีผู้มีอำนาจได้เปรียบเทียบด้วยจึงจะชอบ ดังนั้น การที่คณะกรรมการเปรียบเทียบงดการฟ้องร้องได้มีมติให้รับทำความตกลงระงับคดีโดยรับรถยนต์ของกลางไว้เป็นของแผ่นดินตามข้อเสนอของผู้ต้องหา จึงย่อมเป็นการเปรียบเทียบที่ชอบด้วยกฎหมาย
แม้ในการประชุมของคณะกรรมการเปรียบเทียบงดการฟ้องร้องจะมีแต่เลขานุการคณะกรรมการเป็นผู้รายงาน โดยจำเลยที่ 10 และที่ 11 จะทราบข้อเท็จจริงและมิได้ทักท้วงหรือชี้แจงแสดงเหตุผลในที่ประชุมเป็นเรื่องการบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่การประชุม ซึ่งไม่ถึงขนาดที่จะถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออันเป็นการละเมิด เพราะที่ประชุมจะมีมติอย่างไรย่อมต้องเป็นไปตามความเห็นของผู้เข้าร่วมประชุม ซึ่งมิได้มีเพียงจำเลยที่ 10 และที่ 11 เท่านั้น การมีมติจึงเป็นมติของคณะกรรมการเปรียบเทียบงดการฟ้องร้อง มิใช่ความเห็นส่วนตัวของจำเลยที่ 10 และที่ 11 ดังนี้ แม้การมีมติของคณะกรรมการเปรียบเทียบงดการฟ้องร้องจะทำให้โจทก์ไม่สามารถเรียกค่าอากรที่ขาดจากข้าราชการที่กระทำผิดวินัยได้ก็ตาม ก็ไม่อาจเรียกให้จำเลยที่ 10 และที่ 11 รับผิดฐานละเมิดต่อโจทก์ได้
of 101